Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1.การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury) - Coggle Diagram
1.การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
2) การบาดเจ็บของกระดูก (Bone injuries)
2.3) กระดูกไหปลาร้าหัก กระดูกไหปลาร้าหัก มักพบตรงกลางของลำกระดูก
สาเหตุ
การคลอดทารกท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก ทารกตัวโตหรือคลอดท่าก้นที่แขนเหยียดซึ่งผู้ทำคลอดดึงแขนออกมา
การตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่าแขนทั้งสองข้างของทารกเคลื่อนไหวไม่เท่ากัน โดยทารกจะยกแขนข้างที่ดีได้เท่านั้น
ในกรณีที่กระดูกเดาะทารกอาจยกแขนได้ก็ได้
แต่ถ้าคลำตรงบริเวณที่หักอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ
อาการและอาการแสดง
ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหักน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
ทารกจะมีอาการหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อสัมผัสบริเวณที่กระดูกหัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจับใต้แขนยกตัวทารกขึ้น
อาจพบว่ามีอาการบวมห้อเลือด (ecchymosis) ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ปมประสาทใต้ไหปลาร้า (brachial plexus) ของทารกอาจได้รับอันตรายร่วมด้วย
บางรายหลังจากจำหน่ายทารกกลับบ้านไปแล้วหลายสัปดาห์ พบว่าอาจมีก้อนนูนที่ไหปลาร้าหรือคลำได้ก้อนแข็ง ซึ่งแสดงถึงการมีกระดูกเกิดขึ้นใหม่แทนที่กระดูกที่หัก
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่หายได้เองค่อนข้างเร็ว มักเกิดกระดูกงอกใหม่ภายใน 1 สัปดาห์
รักษาโดยให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกไหลปลาร้าหักอยู่นิ่ง ๆ โดยการกลัดแขนเสื้อติดกับตัวเสื้อประมาณ 10 – 14 วัน
3) การบาดเจ็บของเส้นประสาท
3.1) การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า (facial nerve injury)
สาเหตุ
การคลอดยาก การใช้คีมช่วยคลอดทำให้กดเยื่อประสาทสมองคู่ที่ 7 (facial nerve injury) ที่ไปเลี้ยงใบหน้า
การตรวจร่างกาย
จากการสังเกตสีหน้าของทารกเวลานอน เวลาร้องไห้หรือแสดงสีหน้าท่าทาง
อาการและอาการแสดง
อาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า โดยทั่วไปมักเป็นด้านเดียว
ทำให้ใบหน้าด้านที่เป็นไม่มีการเคลื่อนไหว ทารกจะลืมตาได้เพียงครึ่งเดียว ตาปิดไม่สนิท
มีอันตรายเฉพาะแขนงประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนล่างของใบหน้า
ปากข้างที่เป็นจะถูกดึงลงมาทำให้มุมริมฝีปากล่างตก ไม่มีรอยย่นที่หน้าฝาก เมื่อจับใบหน้าให้ตรง รูปหน้าทั้ง 2 ด้านจะไม่เท่ากัน เห็นได้ชัดเจนที่สุด
เมื่อทารกร้องไห้ กล้ามเนื้อด้านที่เป็นอัมพาตจะไม่เคลื่อนไหว ทำให้หน้าเบี้ยวไปข้างที่ดี
แนวทางการรักษา
ถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้าเพียงถูกกดอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน ถึง
สัปดาห์ แต่ถ้าเส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
3.2) การบาดเจ็บของเส้นประสาท Brachial
เส้นประสาทแต่ละเส้นที่ออกจากไขสันหลังจะมารวมกันเป็นกลุ่มประสาท เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 5 จนถึงกระดูกสันหลังตอนอกท่อนที่ (C5 -T1) รวมกันเป็นปมประสาทใต้ไหปลาร้า(Brachial nerve plexus) ที่ด้านข้างของคอใต้ไหปลาร้า ซึ่งจะกระจายออกไปสู่แขน อันตรายที่เกิดกับปมประสาทนี้ จึงเป็นสาเหตุให้มีอัมพาตของแขนส่วนนั้นบางระดับได้
สาเหตุ
เกิดจากข่ายประสาท Brachial ถูกดึงหรือกด จะพบในทารกที่คลอดโดยมีส่วนนำเป็นก้น
หรือคลอดยากบริเวณแขนหรือไหล่จากการที่ดึงไหล่ออกไปจากศีรษะในระหว่างการคลอด
จำแนกอันตรายเป็น 2 ส่วน คือ อันตรายต่อส่วนบน (C5-C6) และอันตรายต่อส่วนล่าง (C7-C8 และ T1)
อาการและอาการแสดง
ส้นประสาทจากกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 5 และ 6 ได้รับอันตรายจะ
มีอัมพาตของแขน กล้ามเนื้อแขนข้างที่เป็นจะอ่อนแรงสามารถขยับข้อมือ และมือได้ตามปกติ กำนิ้วมือได้เรียกว่า :check: Erb Duchenne Paralysis
อันตรายที่เกิดกับเส้นประสาทจากกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 7-8และเส้นประสาทที่มาเลี้ยงทรวงอกคู่ที่ 1 ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อแขนส่วนปลายและข้อมือทำหน้าที่เสียไป ข้อมือตก นิ้วคลายกำมือไม่ได้ เรียกว่า :check: Klumpke’ s paralysis
การตรวจร่างกาย
ในรายที่เป็น Erb Duchen Paralysis ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex)พบว่า แขนข้างที่เป็นยกขึ้นไม่ได้หรือยกได้น้อย การเคลื่อนไหวและการงอของแขนลดลง การตอบสนองต่อการกำมือ (grasp reflex) ปกติ
ส่วนในรายที่เป็น Klumpke’ s paralysis ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (mororeflex) พบว่า ไหล่และแขนส่วนบนเหยียดกางออกเป็นปกติ แต่ข้อมือ นิ้วมือตกไม่มีแรง ทดสอบการตอบสนองต่อการกำมือจะไม่ตอบสนองต่อการกำมือ
แนวทางการรักษา
ให้แขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว
ทำกายภาพบำบัด
ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกมีโอกาสเกิดอัมพาตที่แขนถาวร เนื่องจากเส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขนได้รับบาดเจ็บ
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่เส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขนทารก