Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ -…
บทที่ 9 การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
การบาดเจ็บที่ศีรษะทารก (Skull injuries)
Cephalhematoma
ความหมาย
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
เป็นการคั่ง ของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะมีขอบเขตชัดเจน และไม่ข้ามรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะ
พบมากที่กระดูก parietal
สาเหตุ
ระยะเวลาการคลอดยาวนาน
ศีรษะทารกถูกกดจากช่องทางคลอด
การใช้ V/E
อาการและอาการแสดง
อาการจะชัดเจนหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว เนื่องจากเลือดจะค่อย ๆ ซึมออกมานอกหลอดเลือด
ในรายที่รุนแรงอาจพบทันทีหลัง เกิดและพบว่า ก้อนโนเลือดมีสีผิดปกติ คือเป็นสีดำหรือน้ำเงินคล้ำ เนื่องจากการแข็งตัวของเลือด และอาจพบว่าทารกมีภาวะซีดได้จากการสูญเสียเลือดมาก
ภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีอาการรุนแรง ก้อนโนเลือดมีขนาดใหญ่ จะเกิด ภาวะ hyperbilirubinemia ได้
อาจเกิดการติดเชื้อจากการดูดเลือดออกจากก้อนโนเลือดในกรณีมีแผนการรักษา
บทบาทการพยาบาล
สังเกต ลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ ภาวะเลือดออกในสมอง
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด
สังเกตอาการซีด เจาะ Hct และให้เลือดตามแผนการรักษา
ตรวจ MB ถ้าตัว เหลืองรายงานแพทย์ เพื่อพิจารณาส่องไฟ(phototherapy)
อธิบายมารดาและบิดาให้เข้าใจถึงอาการของทารก
แนะนำไม่ใช้ใช้ยาทา ยานวด ประคบหรือเจาะเอา
การวินิจฉัย
ประวัติเบ่งคลอดนาน ช่วยคลอดโดยใช้ V/E
ตรวจพบศีรษะมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่งลักษณะแข็งหรือค่อนข้างตึง คลำขอบเขตได้ชัดเจน กดไม่บุ๋ม เลือดออกเอง
แนวทางการรักษา
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะค่อยๆหายไปเองภายใน 2 เดือน
ถ้ามีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วยและมีระดับบิลลิรูบินในเลือดสูงจำเป็นต้องได้รับการส่องไฟ (phototherapy)
ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ (caput succedaneum)
ความหมาย
เกิดจากการคั่ง ของของเหลวในระหว่างชั้น ของหนังศีรษะกับชั้น เยื่อ หุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
ก้อนบวมโนนี้จะข้ามรอยต่อ (suture) ของกระดูกกะโหลกศีรษะ
มีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุ
เกิดจากแรงดันที่กดลงบนศีรษะทารกระหว่างการคลอดท่าศีรษะทำให้มีของเหลวไหลซึม ออกมานอกหลอดเลือดในชั้น ใต้เยื่อหุ้มหนังศีรษะ
การใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด
อาการและอาการแสดง
พบได้ด้านข้างของศีรษะ การบวมของก้อนโนนี้จะมีความกว้างและมีขนาดโตประมาณไข่ห่าน ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
การวินิจฉัย
จากการคล่ำศีรษะทารก พบก้อนบวมโน นุ่ม กดบุ๋ม ขอบเขตไม่ชัดเจนข้าม suture พบทันทีภายหลังคลอด
แนวทางการรักษา
▪ หายไปได้เอง ประมาณ 2 -3 วันหลังคลอด
▪ ถ้าเกิดจาก V/E จะหายได้ช้ากว่า
บทบาทการพยาบาล
สังเกตลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการ
บันทึกอาการและการพยาบาล
ภาวะเลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ (intracranial hemorrhage)
ความหมาย
➢ เป็นภาวะที่เลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ
➢ เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง
เหนือเยื่อหุ้ม สมองชั้นดูรา (epidural)
ใต้เยื่อหุ้มสมองชั้น ดูรา (subdural)
ใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นอะแรคนอยด์ (subarachnoid)
ภายในเนื้อสมอง (intracerebral)
ภายในห้องสมอง (intraventricular)
ภาวะแทรกซ้อน
เลือดออกกดศูนย์หายใจทำให้ทารกหายใจลำบาก
ทารกอาจเกิดปัญญาอ่อน (mental retardation)
การวินิจฉัย
จากประวัติการคลอดเพื่อค้นหาสาเหตุ
สาเหตุ
Preterm
ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานในขณะคลอดหรือเกิดภายหลังคลอด
▪ การได้รับอันตรายรุนแรงจาการคลอด เป็นสาเหตุสำคัญ ที่สุด เช่น
✓ การใช้เครื่องมือช่วยคลอด
✓ การคลอดท่าก้น
✓ ภาวะ CPD
✓ การคลอดยาก
✓ การให้ยาช่วยเร่งคลอดไม่เหมาะสม
อาการและอาการแสดง
รายที่มีอาการรุนแรงจะแสดงอาการแรกคลอดทันที หรืออาจค่อย ๆ แสดงอาการหรืออาจไม่แสดงอาการเลยในบางราย โดยอาการ มีดังนี้
• Reflex ลดน้อยลงหรือไม่มี โดยเฉพาะ moro reflex จะเสียไป
• กำลังกล้ามเนื้อไม่ดี มีอาการอ่อนแรง
• มีภาวะซีด หรือมีอาการเขียว (cyanosis)
• ซึม ดูดนมไม่ดี หรือไม่ยอมดูดนม
• ร้องเสียงแหลม
• การหายใจผิดปกติ มีหายใจเร็ว ตื้น ช้า ไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดหายใจ
แนวทางการรักษา
ถ้ามีความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจได้รับการรักษาโดยเจาะน้ำไขสันหลัง เพื่อบรรเทาอาการความดันในสมอง
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารกถ้าตัวเย็น
ดูแลให้ได้รับยาระงับการชักและให้วิตามินเค
ดูแลให้ออกซิเจนถ้าทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำอย่างเพียงพอ
Subgaleal hematoma
ภาวะที่มีเลือดสะสมใต้ช่องว่างของเนื้อเยื่อ ที่อยู่ระหว่างพังพืดของกะโหลกกับเยื่อหุ้มกะโหลก
สาเหตุ : มักพบในการคลอดโดยใช้ V/E
Subgaleal hematoma อันตรายมากกว่า Cephalhematoma เนื่องจากสามารถขยายขนาดได้ตั้งแต่ขอบกระดูกเบ้าตาจนถึงชายผมทำให้ทารกเสียเลือดมากจนเกิด hypovolemia
การบาดเจ็บของกระดูก (Bone injuries)
กระดูกไหปลาร้าหัก (Fracture clavicle)
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่หายได้เองค่อนข้างเร็วมักเกิดกระดูกงอกใหม่ภายใน 1สัปดาห์
รักษาโดยให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกไหลปลาร้าหักอยู่นิ่งๆ โดยการกลัดแขนเสื้อติดกับตัวเสื้อประมาณ 10 – 14 วัน
สาเหตุ
การคลอดทารกท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
ทารกตัวโตหรือคลอดท่าก้นที่แขนเหยียดซึ่งผู้ทำคลอดดึงแขนออกมา
อาการและอาการแสดง
ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหัก น้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
ทารกจะมีอาการหงุดหงิดหรือร้องไห้ เมื่อสัมผัสบริเวณที่กระดูกหัก
อาจพบว่ามีอาการบวมห้อเลือด (ecchymosis) ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
อาจพบปมประสาทใต้ไหปลาร้า ของทารกอาจได้รับอันตรายร่วมด้วย
การตรวจร่างกาย
ทดสอบ moro reflex แขนทั้งสองข้างของทารกเคลื่อนไหวไม่เท่ากัน
กรณีที่กระดูกเดาะอาจยกแขนได้ คลำบริเวณที่หักอาจไดยินเสียงกรอบแกรบ
บทบาทการพยาบาลทารกที่มีอาการบาดเจ็บ ของกระดูก
จัดกิจกรรมการพยาบาลไม่ให้เคลื่อนไหวร่างกายทารกบ่อย ๆ
ดูแลให้ได้รับความสุขสบายและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่ม
ดูแลให้ทารกได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
ดูแลการขับถ่าย ป้องกันการระคายเคืองจากอุจจาระและปัสสาวะ
ดูแลให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจแก่ทารก
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
ดูแลไม่ให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหว
กระดูกต้นขาหัก (Fracture femur)
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น
ผู้ทำคลอดดึงขาทารกขณะที่ติดอยทู่ ทางเข้าเชิงการตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ ทารกไม่ยกขาข้างที่กระดูกหัก
อาการและอาการแสดง
อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทารกคลอด
อาจไม่ทราบว่ากระดูกหักจนเวลาผ่านไปหลายวัน จะพบว่าขาทารกมีอาการบวม เนื่องจากเลือดเข้า ไปในกล้ามเนื้อใกล้เคียงบริเวณที่หัก
เมื่อจับทารกเคลื่อนไหวหรือถูกบริเวณที่กระดูกต้นขาหกทารกจะร้องไห้
แนวทางการรักษา
ถ้ากระดูกไม่หักแยกจากกัน (incomplete) รักษาโดยการใส่เฝือกขายาว ประมาณ 3 -4 สัปดาห์
ถ้ากระดูกหักแยกจากกัน (complete) รักษาโดยการห้อยขาทั้งสองข้างไว้กับราวที่ขวางปลายเตียง ขาเหยียดตรง ให้ก้นและสะโพกลอยจากพื้นเตียง ดึงขาไว้นาน 2-3 สัปดาห์
กระดูกต้นแขนหัก (Fracture humurus)
อาการและอาการแสดง
ในรายที่มีกระดูกหักสมบูรณ์ (complete) อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะคลอด
แขนข้างที่หัก จะมีอาการบวมและทารกไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่หักเนื่องจากรูสึกเจ็บ
สาเหตุ
การคลอดท่าก้นผู้ทำคลอดดึงทารกออกมาแขนเหยียด
การคลอดท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
การตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ (moro reflex) พบว่า ทารกจะไม่งอแขน
อาการและอาการแสดง
ในรายที่มีกระดูกหักสมบูรณ์ (complete) อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะคลอด
แขนข้างที่หัก จะมีอาการบวมและทารกไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่หักเนื่องจากรูสึกเจ็บ
การบาดเจ็บของเส้นประสาท(Nerve injury)
การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า(facialnerve injury)
แนวทางการรักษา
ปกติถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้าเพียงถูกกดอาจหายไปได้ องภายใน 2-3วัน ถึงสัปดาห์
แต่ถ้าเส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
อาการและอาการแสดง
มีอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้ามักเป็นด้านเดียว
กล้ามเนื้อด้านที่เป็นอัมพาตจะไม่เคลื่อนไหวทำให้หน้าเบี้ยวไปข้างที่ดี
รูปหน้าทั้ง 2 ด้านจะไม่เท่ากัน เห็นได้ชัด เจนเมื่อทารกรองไห้ ้
ทารกจะลืมตาได้เพียงครึ่งเดียว ตาปิดไม่สนิท
ปากข้างที่เป็นจะถูกดึงลงมาทำให้มุมริมฝีปากล่างตก
ไม่มีรอยย่นที่หน้าผาก
การตรวจร่างกาย
จากสังเกตสีหน้าของทารกเวลานอน เวลาร้องไห้หรือแสดงสีหน้าท่าทาง
บทบาทการพยาบาล Facial nerve injury
ล้างตา หยอดตาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อบุตาตาขาว และกระจกตาของทารกแห้ง
ดูแลให้ได้รับนมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและเฝ้าระวัง การสำลัก เนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต
ดูแลให้ทารกได้รับการตอบสนองด้านจิตใจ
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
สาเหตุ
การคลอดยาก
การใช้คีมช่วยคลอดทำให้กดเยื่อประสาทสมองคู่ที่7 (facial nerve injury) ที่ไปเลี้ยงใบหน้า
การบาดเจ็บของเส้นประสาท Brachial
สาเหตุ
พบในทารกที่คลอดโดยมีส่วนนำเป็นก้นหรือคลอดยากบริเวณแขนหรือไหล่จากการที่ดึ่งไหล่ออกไปจากศีรษะในระหว่างการคลอด Erb-Duchenne paralysis
เกิดจากข่ายประสาท Brachial ถูกดึงหรือกด
Klumpke’ s paralysis
เป็นการบาดเจ็บที่เส้นประสาทจากกระดูกสันหลัง ตอนคอท่อนที่ 7-8และเส้นประสาทเลี้ยงทรวงอกคู่ที่1(c7-c8 และ T1)
แขนข้างนั้นส่วนล่างไม่ขยับ
แขนอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
บริเวณข้อมือไม่ขยับ
กำมือไม่ได้
Erb-Duchenne paralysis
เป็นการบาดเจ็บที่เส้น ประสาทจากกระดูกสันหลังระดับคอท่อนที่ 5-6 (c5-c6)
แขนข้างนั้นส่วนบนไม่ขยับ
แขนจะอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
บริเวณข้อมือยังขยับ
กำมือได้ตามปกติ
การตรวจร่างกาย
Erb Duchen Paralysis
✓ ทดสอบ moro reflex พบว่าแขนข้างที่เป็นยกขึ้นไม่ได้หรือยกได้น้อย
✓ การเคลื่อนไหวและการงอของแขนลดลง
✓ การตอบสนองต่อการกำมือ (grasp reflex) ปกติ
Klumpke’ s paralysis
✓ ทดสอบ moro reflex ไหล่และแขนส่วนบนเหยียดกางออกเป็นปกติ แต่ข้อมือ นิ้วมือตกไม่มีแรง
✓ การตอบสนองต่อการกำมือ (grasp reflex) ผิดปกติ
แนวทางการรักษา
ให้แขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว
ทำกายภาพบำบัด
ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
ทารกคลอดก่อนกำหนด (Preterm baby)
และน้ำหนักตัวน้อย (Low birth weight infant)
ผลกระทบของภาวะคลอดก่อนกำหนดต่อทารก
▪ ระบบทางเดินหายใจ
ปอดพัฒนาไม่เต็มที่ ทาให้เกิด RDS
ศูนย์ควบคุมการหายใจใน Medulla ยัง เจริญไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อช่วยการหายใจไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิด Periodic breathing
▪ ระบบประสาท
hypothermia and hyperthermia
retinopathy of prematurity
intraventricular hemorrhage
▪ ระบบหัวใจและระบบเลือด
patent ductus arteriosus
hyperbilirubinemia
▪ ระบบทางเดินอาหารและภาวะโภชนาการ
✓ necrotizing enterocolitis
✓ malnutrition
▪ ระบบภูมิต้านทาน
✓ sepsis
▪ ระบบเมตาบอลิซึมและต่อมไร้ท่อ
บทบาทการพยาบาลทารกแรกเกิดคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อย
ห่อตัวทารกและให้อยู่ใต้ radiant warmer 36.5-37 ๐C
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง ให้นอนตะแคงหรือนอนศีรษะสูง
ดูแลให้ได้รับ นมมารดาหรือนมผสมตามแผนการรักษาที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ดูแลและแนะนำมารดาบิดาในการป้องกันการติดเชื้อ ทำความสะอาดร่างกายทำความสะอาดสะดือ ป้ายตาด้วยยาปฏิชีวนะ
ดูแลให้วิตามินเค 1 mg.ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่าย
ลักษณะของทารกคลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500กรัม
รูปร่างรวมทั้งแขนขามีขนาดเล็ก
ศีรษะจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัวกะโหลกศีรษะนุ่มรอยต่อ กะโหลกศีรษะและขม่อมกว้าง
เปลือกตาบวมและนูนออกมา ตามักปิดตลอดเวลา
ผิวหนังบาวสีแดงและเหี่ยวย่น มองเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังได้ชัดเจน มักบวมตามมือและเท้า
ไขเคลือบตัว (vernix caseosa) มีน้อยหรือไม่มีเลย
พบขนอ่อน (Lanugo hair) ได้ที่บริเวณใบหน้าหลังและแขน ผมน้อย
ลายฝ่ามือฝ่าเท้ามีน้อยและเรียบ เล็บมือเล็บเท้าอ่อนนิ่มและสั้น
กล้ามเนื้อมีกำลังน้อย
กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงยังเจริญไม่ดีกระดูกซี่โครงค่อนข้างอ่อนนิ่ม
ขณะหายใจอาจถูกกระบังลมดึงรั้งเข้าไปเกิด Intercostals retraction
หัวนมมีขนาดเล็ก หรือมองไม่เห็นหัวนม
เสียงร้องเบา และร้องน้อยกว่าทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนด
reflex ต่างๆ มีน้อยหรือไม่มี
ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่าอายุครรภ์ (Large for gestational age)
สาเหตุทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่าอายุครรภ์จากมารดาเป็นเบาหวาน
ผลกระทบต่อทารกเกิดน้ำหนักมากกว่าอายุครรภ์
คลอดยากเนื่องจากตัวใหญ่ทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการคลอด
Hypoglycemia ภายหลังคลอด
Hyperbilirubinemia จากภาวะเลือดข้น
ภาวะเลือดข้น (Polycythemia)
ภาวะแคลเซียม แมกนีเซียมในเลือดต่ำ
ความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
ผนังกั้นหัว ใจห้องล่างมีรูรั่วหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบตัน
ทารกคลอดเกินกำหนด (Postterm baby)
บทบาทการพยาบาลทารกแรกเกิดที่คลอดเกินกำหนด
ระยะรอคลอด ให้ติดตาม EFM ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกัน การเกิดภาวะขาดออกซิเจนในครรภ์มารดา และติดตามผลการประเมินปริมาณน้ำคร่ำด้วย U/S เพื่อประเมินภาวะน้ำคร่ำน้อย
ระยะคลอด ป้องกันการบาดเจ็บจากการคลอด จากทารกตัวใหญ่/การคลอดติดไหล่
ระยะหลังคลอด ดูดสิ่งคัดหลั่งจากปากและจมูกให้ดีเพื่อป้องกันการสูดสำลัก ขี้เทาในน้ำคร่ำ
ทารกที่มี APGAR score ปกติให้ดูแลเหมือนทารกแรกเกิดทั่วไป แต่ทารกที่มี APGAR score ต่ำดูแลให้เหมาะสมตามระดับของภาวะพร่องออกซิเจนแรกคลอด
ลักษณะของทารกคลอดเกินกำหนด
▪ มีภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ จาก Uteroplacental insufficiency
▪ มีการสะสมไขมันใต้ผิวหนังลดลง มีการหลุดลอกของไข ทำให้ผิวหนังทารกสัมผัสกับน้ำคร่ำทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น
▪ ผมและเล็บจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ
▪ ผิวหนังแห้งแตกเหี่ยวย่น และหลุดลอก เนื่องจากสูญเสียไขมันใต้ผิวหนัง
▪ มีขี้เทาเคลือบติดตามตัว
▪ รูปร่างผอม มีลักษณะขาดสารอาหาร แต่ตื่นตัว (alert)
▪ หน้าตาดูแกกว่าเด็กทั่วไป