Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:warning: โรคเนื่องจากความวิตกกังวล :warning:, image, image, image, image,…
:warning:
โรคเนื่องจากความวิตกกังวล
:warning:
Generalized anxiety disorder
เกณฑ์วินิจฉัย
:red_flag:
วิตกกังวลมากเกินกว่าเหตุหลายๆ เรื่องพร้อมกัน
ไม่สามารถควบคุมความวิตกกังวลได้
มีอาการทางกายอย่างน้อย 3 ใน 6 อาการต่อไปนี้ คือ (1) กระสับกระส่าย (2) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย (3) ไม่ค่อยมีสมาธิ (4) หงุดหงิดง่าย (5) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (6) มีปัญหาการอนหลับ
เป็นอยู่นานมากกว่า 6 เดือน
:check:
ความหมาย
เป็นโรคที่แสดงอาการวิตกกังวลกับเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันหลายเรื่องที่มากเกินกว่าเหตุ
การพยาบาล
:star:
ยอมรับว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิตกกังวลสุดขีด และไม่ตำหนิพฤติกรรมของผู้ป่วย
ควรมีสมาธิ และมีจิตใจสงบขณะอยู่กับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเพิ่มความวิตกกังวลในผู้ป่วย
ควรอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลสุดขีด และควรให้ความมั่นใจผู้ป่วยในด้านความรู้สึกมั่นคง และปลอดภัย
สนทนากับผู้ป่วยด้วยประโยคสั้นๆ และเข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการให้กำลังใจที่ผิด
ให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ มีแสงสว่างพอเหมาะ และเปิดโอกาสให้พบกับบุคคลอื่นอย่างจำกัด
ดูแลให้ได้รับยารักษาอาการวิตกกังวล หรือยารักษาอาการซึมเศร้าตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งสังเกตผลและอาการข้างเคียงของยา
ถ้าจำเป็นต้องผูกมัดผู้ป่วย ควรอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา และสัมผัสผู้ป่วยเป็นระยะๆ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก ขณะเผชิญกับสิ่งที่กลัว โดยจัดสิ่งแวดล้อมขณะนั้นให้สงบและไม่คุกคามผู้ป่วย
ให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของความวิตกกังวล และการลดความวิตกกังวลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วยวิธีต่างๆ
Panic disorder
ความหมาย
:check:
เป็นโรคที่แสดงการตื่นกลัว โดยไม่มีเหตุผล เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรงในทันที และมีอาการทางกายร่วมด้วย ผู้ที่เป็นโรคแพนิคจะมีอาการตื่นกลัวอย่างสุดขีด (panic attack) เกิดขึ้นซ้ำๆเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น
การพยาบาล
:star:
ยอมรับว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะกลัวผิดธรรมดาและไม่ตำหนิพฤติกรรมของผู้ป่วย
ควรอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยขณะที่ผู้ป่วยมีความกลัว และควรให้ความมั่นใจผู้ป่วยในด้านความรู้สึกมั่นคง และปลอดภัย
ให้ผู้ป่วยเล่าประสบการณ์ชีวิตที่เจ็บปวดในอดีต
เพื่อค้นหาสาเหตุที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความกลัว
จัดให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ เพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับความจริง และสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น
สนทนากับผู้ป่วยเกี่ยวกับสิ่งที่กลัว โดยช่วยกันพิจารณาดูว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย
ฝึกให้ผู้ป่วยเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวทีละน้อยอาจเริ่มจากการจินตนาการ หรือเผชิญกับความจริง
ให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งสังเกตผลและอาการข้างเคียงของยา
Obsessive - Compulsive Disorder
:check:
ความหมาย
เป็นโรคที่แสดงอาการทั้งการคิดซ้ำ ๆ และทำซ้ำ ๆ โดยมีเหตุอย่างหนึ่งเข้ามาในใจตลอดเวลา ห้ามใจไม่ให้คิดและไม่ให้ทำไม่ได้ และไม่ได้ทำตามที่คิดจะยิ่งวิตกกังวล
:red_flag:
เกณฑ์การวินิจฉัย
การย้ำคิดย้ำทำ (Obsession) มีความคิดฝั่งแน่น จนเป็นแรงกระตุ้นให้มีการคิดซ้ำๆเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งๆอย่างควบคุมให้หยุดคิดไม่ได้ จนเป็นเหตุให้เกิดความกังวล
การย้ำทำ (Compulsion) ทำพฤติกรรมซ้ำๆ รูปแบบเดิม
อาการย้ำคิดย้ำทำ ทำให้เสียเวลา ทุกข์ทรมาน และรบกวนดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก
การพยาบาล
:star:
ยอมรับผู้ป่วย ไม่ลงโทษ หรือตำหนิพฤติกรรมของผู้ป่วย
ตระหนักอยู่เสมอว่าพฤติกรรมของผู้ป่วยเกิดจากการพยายามลดความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความวิตกกังวลและความรู้สึกเกี่ยวกับพฤติกรรม
ให้ผู้ป่วยเล่าประสบการณ์ในอดีต เพื่อร่วมกันค้นหาสาเหตุ
ร่วมกับผู้ป่วยในการจัดตารางทำกิจกรรม และกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อเบนความสนใจของผู้ป่วยไม่ให้หมกมุ่นการย้ำคิดย้ำทำ
จำกัดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำโดยเปิดโอกาสให้มีพฤติกรรมย้ำคิดหรือย้ำทำบ้าง ลดลงทีละน้อยจนกระทั่งผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรม
เสริมแรงทางบวกถ้าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้สำเร็จ และมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำลดลง
ดูแลให้ได้รับยากตามแผนการรักษาของแพทย์พร้อมทั้งสังเกตผลและอาการข้างเคียงของยา
ระมัดระวังผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ
Posttraumatic stress disorder
ความหมาย
:check:
เป็นโรคที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง เช่น การถูกข่มขืน การทรมาน การถูกเรียกค่าไถ่ ภัยธรรมชาติ (เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด)
:red_flag:
ลักษณะสำคัญของโรค
คิดถึงประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนบ่อย หรือเหตุการณ์นั้นมักผุดขึ้นในใจซ้ำ ๆ เกือบตลอดเวลา
พยายามหลีกเลี่ยงกับสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น
มีอาการตื่นตัวง่าย เช่น หวาดกลัวรุนแรง ตื่นกลัวสุดขีด ตกใจง่าย กระสับกระสาย หลังจากเผชิญเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจ
:star:
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ แนะนําตัวด้วยท่าทีที่สงบ มั่นคงให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจและปลอดภัย
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบเรียบร้อยและดูปลอดภัย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการผวาหวาดกลัว ตื่นตกใจเหมือนยังอยู่ในเหตุการณ์ที่ถูกคุกคาม
แสดงความเข้าอกเข้าใจ และยอมรับพฤติกรรมการแสดงออกของผู้ป่วย
ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่าความรู้สึกและพฤติกรรมการแสดงออกของเขาเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน
ช่วยผู้ป่วยให้ยอมรับถึงเหตุการณ์ร้ายที่เขาเผชิญกับความรู้สึกพฤติกรรมและปัญหาในปัจจุบัน
กระตุ้นให้ผู้ป่วยกล้าระบายความรู้สึกออกมาเป็นคําพูดได้ด้วยความรู้สึกที่ปลอดภัยโดยเฉพาะความรู้สึกโกรธ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยหาวิธีแก้ปัญหาขึ้นมาหลาย ๆ อย่าง เช่น การออกกายบริหาร การผ่อนคลาย
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ทบทวนความกระทบกระเทือนใจและรายละเอียดของเหตุการณ์ เพื่อช่วยให้เชื่อมโยงความรู้สึกและความจําเข้าด้วยกัน
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้สร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ กับผู้อื่นหรือกลับไปมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนที่รู้จักเดิม เพื่อที่จะได้มีแหล่งช่วยเหลือสนับสนุน
รักษาด้วยยาตามแผนการรักษาของแพทย์
แนวทางการรักษา
การรักษาด้วยยา
ยาต้านเศร้า (กลุ่ม SSRI)
ยาคลายกังวล (กลุ่ม benzodiazepine)
ยากลุ่ม Beta blockers
จิตบำบัด
พฤติกรรมบำบัด
นางสาวปิยธิดา เตราชูสงค์เลขที่ 37