Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๐ - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๐
หมวด๑สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา๘ต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอ ที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการ
มาตรา๙ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง ต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้าและต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับบริการก่อน
มาตรา๗ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคลผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้
มาตรา๑๐เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้นหน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ
มาตรา๖สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจําเพาะซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิตต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม
มาตรา๑๑บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
มาตรา๕บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา๑๒บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
หมวด๒คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๑๙ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งซึ่งคสช. แต่งตั้ง
มาตรา๑๘การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓ (๑๐) ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดกลุ่มขององค์กรภาคเอกชนตามลักษณะของกิจกรรมที่ดําเนินงานเกี่ยวกับสุขภาพ
(๒) จัดให้องค์กรภาคเอกชนในแต่ละจังหวัดที่ประสงค์จะมีส่วนร่วมมาขึ้นทะเบียนในกลุ่มต่างๆ
(๓) จัดให้ผู้ซึ่งมีหนังสือมอบหมายให้เป็นผู้แทนขององค์กรภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนตาม (๒) ของแต่ละจังหวัดมาเลือกกันเองในแต่ละกลุ่มให้เหลือกลุ่มละหนึ่งคน
(๔) จัดให้ผู้ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนของแต่ละกลุ่มในแต่ละจังหวัดตาม (๓) มาประชุมร่วมกันและเลือกกันเองให้เหลือผู้แทนจังหวัดละหนึ่งคน
(๕) ประกาศกําหนดพื้นที่ของประเทศออกเป็นสิบสามเขตโดยให้กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งเขตและให้ผู้แทนตาม (๔) ของแต่ละจังหวัดในแต่ละเขตยกเว้นกรุงเทพมหานครมาประชุมร่วมกันและเลือกกันเองให้เหลือเขตละหนึ่งคน
มาตรา๒๑กรรมการตามมาตรา๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีโดยกรรมการตามมาตรา๑๓ (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได
มาตรา๑๗การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓ (๙) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด
มาตรา๒๒นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการตามมาตรา๑๓ (๖) พ้นจากตําแหน่งเมื่อพ้นจากตําแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา๑๕ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี
มาตรา๑๖การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓ (๘) ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะกําหนด
มาตรา๒๓นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการตามมาตรา๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ถูกจําคุก
(๔) คสช. มีมติไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๔
มาตรา๑๕การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓
(๒) ให้นายกเทศมนตรีทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน
(๓) ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนายกเมืองพัทยาและหัวหน้าผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ
๔) ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน
มาตรา๒๔หลักเกณฑ์และวิธีการการประชุมคสช. และการปฏิบัติงานของคสช. ให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กําหนด
มาตรา๑๔กรรมการตามมาตรา๑๓ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
(๓) ไม่เป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่
(๔) ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
(๕) ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยถึงไล่ออก
(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ
๖) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
(๑) มีสัญชาติไทย
มาตรา๒๕ให้คสช. มีหน้าที่และอํานาจ
(๓) จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและสนับสนุนในการจัดให้มีสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
(๔) จัดให้มีหรือส่งเสริมสนับสนุนให้มีกระบวนการในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพเพื่อให้เกิดการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย
(๒) เสนอแนะหรือให้คําปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและติดตามผลการดําเนินงานตามที่ได้เสนอแนะ
(๕) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติและผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ
(๑) จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(๖) เสนอแนะหรือให้คําปรึกษาในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้หรือการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) กําหนดนโยบายและกํากับดูแลการดําเนินการของคณะกรรมการบริหารและสํานักงาน
(๘) แต่งตั้งคณะกรรมการคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คสช. มอบหมาย
(๙) วางระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุมที่มิใช่เบี้ยประชุมของคสช. และระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา๑๓ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “คสช.”
หมวด๓สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๓๒ให้เลขาธิการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา๓๓นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระแล้วเลขาธิการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ถูกจําคุก
(๔) ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ผ่านการประเมิน
มาตรา๓๑ให้มีเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสํานักงานขึ้นตรงต่อคสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไป
มาตรา๓๔เลขาธิการมีหน้าที่และอํานาจ
(๑) บริหารกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมายนโยบายมติข้อบังคับระเบียบหรือประกาศของคสช. และคณะกรรมการบริหาร
(๒) จัดทําแผนงานหลักแผนการดําเนินงานแผนการเงินและงบประมาณประจําปี
(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลการเงินการงบประมาณและการบริหารด้านอื่นของสํานักงานตามระเบียบ
(๔) วางระเบียบเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายนโยบายมติข้อบังคับระเบียบหรือประกาศของคสช. และคณะกรรมการบริหาร
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีคสช. และคณะกรรมการบริหารมอบหมาย
มาตรา๓๐การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด
มาตรา๓๕เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้คณะกรรมการบริหารกําหนดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา๒๙บรรดารายได้ต้องนําส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมาย
มาตรา๓๖ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสํานักงานในกิจการของสํานักงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกแต่เลขาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติงานในเรื่องใดแทนตามระเบียบ
มาตรา๒๘รายได้ของสํานักงาน
(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๓) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ตกเป็นของสํานักงาน
(๑) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี
(๔) รายได้จากการดําเนินกิจการของสํานักงาน
(๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)
มาตรา๓๗ให้คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร
(๑) ประธานกรรมการบริหาร
(๒) กรรมการบริหาร
(๓) กรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่เกินห้าคน
๔) เลขาธิการเป็นกรรมการบริหารและเลขานุการ
มาตรา๒๗ให้สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจ
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชน
(๓) สํารวจศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆรวมทั้งสถานการณ์ของระบบสุขภาพ
(๔) ดําเนินการเพื่อให้การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและการสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นบรรลุผลตามมติของคสช.
(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคสช. และคณะกรรมการบริหาร
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นหรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคสช. มอบหมาย
มาตรา๓๘การดํารงตําแหน่งการพ้นจากตําแหน่งการประชุมและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กําหนด
มาตรา๒๖ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
มาตรา๓๙คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และอํานาจ
(๑) กําหนดนโยบายและกํากับดูแลการดําเนินงานของสํานักงาน
(๒) กําหนดคุณสมบัติของเลขาธิการและรองเลขาธิการและดําเนินการคัดเลือกเลขาธิการตามระเบียบที่คสช. กําหนด
(๓) อนุมัติแผนงานหลัก
(๔) ออกข้อบังคับระเบียบหรือประกาศตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๕) จัดให้มีการประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานและรายงานต่อคสช. อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๖) จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย
(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คสช. มอบหมาย
หมวด๔สมัชชาสุขภาพ
มาตรา๔๒ในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่งมีจํานวนตามที่คสช. กําหนด
มาตรา๔๓ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๔๑ให้คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา๔๔ผู้ใดประสงค์จะเข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งใดให้สมัครลงทะเบียนสําหรับการประชุมครั้งนั้นต่อเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดตามแบบและหลักเกณฑ์
มาตรา๔๐การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นหรือสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจัดสมัชชาสุขภาพ
าตรา๔๕ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติหรือนําไปพิจารณาประกอบในการกําหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
หมวด๖บทกําหนดโทษ
มาตรา๕๒ให้ถือว่าข้าราชการที่โอนมาตามมาตรา๕๐ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการแล้วแต่กรณี
มาตรา๕๓ให้นําความในมาตรา๕๒มาใช้บังคับกับการออกจากราชการหรือออกจากงานของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่สํานักงานรับเข้าทํางานด้วยโดยอนุโลม
มาตรา๕๑ให้นําบรรดาข้อบังคับระเบียบประกาศหรือคําสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติมาใช้บังคับกับการปฏิบัติงานของสํานักงาน
มาตรา๕๔ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๕๐ให้โอนบรรดากิจการทรัพย์สินสิทธิหนี้สินและเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติไปเป็นของสํานักงานตามพระราชบัญญัติ
มาตรา๕๕ในวาระเริ่มแรกให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาตามมาตรา๑๙ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา๔๙ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๗หรือมาตรา๙ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
หมวด๕ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๔๗ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา๔๘ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติและนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา๒๕ (๒) ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามอํานาจหน้าที่ของตน
มาตรา๔๖ให้คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบาย