Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตระบบหัวใจ/การไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ, นาย พิชยุตม์…
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตระบบหัวใจ/การไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ
ระบบทางเดินหายใจ
โรคหอบหืดที่มีอาการกําเริบเฉียบพลัน (Acute Severe Asthma)
เป็นโรคของระบบทางเดินหายใจที่มีการอักเสบของหลอดลมอย่างเรื้อรัง การอักเสบของหลอดลมมีผลทําให้เยื่อบุผนังหลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ (Bronchial hyper-reactivity)
อาการทางคลินิก
ผู้ป่วยมีอาการไอแน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีดหรือหอบเหนื่อยกิดขึ้นทันที่เมื่อได้รับสารก่อโรค (สารภูมิแพ้) และอาการเหล่านี้อาจหายไปได้เองหรือหายไปเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม
ปัญหาทางการพยาบาลและการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากทางเดินหายใจตีบแคบ
สังเกตอาการ Cyanosis ดูแลได้รับให้ Oxygen cannula 3-5 LPM
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะลักษณะการหายใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนที่ปลายนิ้ว (SpO2)
แนะนําให้ผู้ป่วยหายใจออกโดยเป่าลมออก
ทางปากช้าๆ คล้ายผิวปาก
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาขยายหลอดลมและยาสเตียรอยด์ ตามแผนการรักษาและประเมินผลข้างเคียง
การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการอักเสของหลอดลม
จัดให้นอนศีรษะสูงหรือฟุบบนโต๊ะเพื่อทําให้การระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนแก๊สเป็นไปได้ดีขึ้น
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะการหายใจว่ามีการหายใจเหนื่อย แน่นหน้าอก
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลม ยาสเตียรอยด์ ตามแผนการรักษาของแพทย์และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
แนะนําให้ผู้ป่วยหายใจออกโดยเป่าลมออกทางปากช้าๆ คล้ายผิวปาก
Acute exacerbation ของ COPD (AECOPD)
แนวทางการป้องกัน AECOPD
การใช้ Long acting bronchodilator สม่ําเสมอ
3.การใช้ยาที่มีฤทธิ์ Anti-inflammation เช่น Inhaled corticosteroid, roflumilast (selective, long-acting inhibitor of the enzyme PDE-4) ในผู้ป่วยที่เหมาะสม
การหยุดสูบบุหรี่ / หลีกเลี่ยง Noxious stimuli
การให้ Influenza vaccine ทุกปี
การทํา Pulmonary rehabilitation และพยายามให้ผู้ป่วย Maintain daily activities
การรักษาที่สําคัญที่สุด คือ การแก้ไขให้ผู้ป่วยมี Adequate ventilation และ tissue Oxygenation
อาการทางคลินิก
ไอ หอบ หายใจมีเสียงหวีดหวือ
การรักษา
Controlled oxygen therapy
การให้ Oxygen ในผู้ป่วย AECOPD มีจุดประสงค์สําคัญเพื่อให้ผู้ป่วยมี Adequate oxygen delivery แต่ต้องไม่ให้ผู้ป่วยได้รับ Oxygen มากเกินไปจนอาจทําให้เกิดภาวะ CO2 retention ได้
Bronchodilator
การให้ Short acting bronchodilator เป็นการรักษาหลักในผู้ป่วย AECOPD โดยสามารถเลือกใช้เป็นShort acting beta-2 agonist ร่วมกับ Short acting anticholinergic
Systemic corticosteroids
สามารถทําให้ผู้ป่วยมี Recovery time ที่สั้นลง
Antibiotics
Non-invasive mechanical ventilation
สามารถลด Treatment failure/ need for intubation ได้
Invasive mechanical ventilation
ผู้ป่วยที่มี Severe AECOPD และไม่ตอบสนองต่อการใช้ NIV หรือไม่สามารถใช้ NIV ได้ เช่น Hemodynamic instability, severe hypoxemia/ hypercarbia หลังใช้ NIV จําเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อ ช่วยการหายใจต่อไป
Pulmonary rehabilitation and AECOPD
สามารถช่วยให้ผู้ป่วย COPD มีอาการและ Quality of life ที่ดี
ขึ้น และมีโอกาสเกิด Acute exacerbation ลดลง
ปัญหาทางการพยาบาลและการพยาบาล
1 เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก เสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ
ช่วยเคาะปอดจัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนตะแคงลําตัวเอนไปด้านหลังมีหมอนหนุนแล้วตามด้วยการเคาะปอดนาน 30-60 วินาที
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงศีรษะสูง
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะลักษณะการหายใจ สังเกตอาการ Cyanosis
ดูแลให้ได้ ออกซิเจน cannula 3 Lit/min
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามากๆ วันละ 2,000-3,000 มิลลิลิตร
ดูแลให้ได้รับยา Antibiotic ตามแผนการรักษา
การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลมปอดลดลงจากพยาธิสภาพของ โรค COPD
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงเพื่อทําให้กระบังลมเคลื่อนต่ําลงไม่ไปดันปอดทําให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นการระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนแก๊สเป็นไปได้ดีขึ้น
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลม ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ ตาม
แผนการรักษาของแพทย์และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะการหายใจว่ามีการหายใจเร็วและแรงขึ้น หายใจลําบากหรือใช้กล้ามเนื้อคอและไหล่ช่วยในการหายใจหรือไม่และสังเกตอาการ Cyanosis
กลุ่มอาการหายใจลําบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS)
เป็นภาวะวิกฤติทางระบบการหายใจ เกิดจากมีการ
อักเสบและทําลายเนื้อปอดทั้งสองข้างอย่างเฉียบพลัน ทําให้เกิดความผิดปกติของการซึมผ่านของหลอดเลือดปอด (Pulmonary vascular permeability)
สาเหตุ
ARDS ที่เกิดจากปอดโดยตรง (Direct lung injury) ที่พบบ่อยตามลําดับ คือ Pneumonia, aspiration of gastric contents, lung contusion, toxic inhalation และ near drowning
2) ARDS ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกปอด (Indirect lung injury) ที่พบบ่อยตามลําดับ คือ Severe sepsis,blood transfusion, trauma, cardiopulmonary bypass และ pancreatitis
อาการทางคลินิก
ระยะแรก (Early stage)
พบอาการหายใจลําบาก (Dyspnea) ใช้แรงในการหายใจเพิ่มขึ้น หายใจเร็วลึก(Hyperventialtion) ไอ Breath sound ไม่พบการเปลี่ยนแปลง
ระยะต่อมา (Later stage)
หายใจเร็วตื้น พบ Respiratory distress เหงื่อออก ระดับความรู้สึกตัว
เปลี่ยนแปลง ฟังเสียงหายใจได้ยินเสียง Crackle, Rhonchi และ Wheezing
การพยาบาล
การรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ และ การพยาบาล
Lung protective ventilation strategies (Low tidal volume ventilation)
อาจต้องมีการผูกยึดตัว เมื่อจําเป็น พยาบาลต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติ เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
พยาบาลต้องสังเกตอาการหายใจไม่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยอาจได้รับยานอนหลับ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้สามารถหายใจได้ ตามแผนการรักษา
การใช้แรงดันบวกค้างในขณะสิ้นสุดการหายใจออก (Positive end expiratory pressure [PEEP])
มีการดูแลข้อต่อเครื่องช่วยหายใจให้แน่น ใช้การดูดเสมหะระบบปิด ใช้การพ่นยาที่อุปกรณ์ช่วยพ่นยา (Spacer) ต่อกับเครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา
ต้องเฝ้าระวังภาวะ Low cardiac output
1.3. High frequency oscillatory ventilation (HFOV)
มีการสังเกตความสั่นของตัวผู้ป่วยที่ต้องสั่นตั้งแต่ลําตัวถึง บริเวณ
กลางของหน้าขา และสั่นเท่ากันทั้งซ้ายและขวาด้วยแรงสั่นที่มากจึงต้องมีการผูกท่อช่วยหายใจอย่างดีเพื่อป้องกันท่อเลื่อนหลุด
ใช้การดูดเสมหะระบบปิดเพื่อป้องกันถุงลมปอดแฟบ (Alveolar collapse)
การทํากิจกรรมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความดันต้องทําอย่างระมัดระวัง
การรักษาด้วยการไม่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และ การพยาบาล
การใช้ยาที่ออกฤทธิ์ขัดขวางการสื่อประสาทที่ระดับ Neuromuscular junction (Neuro muscular blocking agent [NMBA])
อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงความจําเป็นในการให้ยา ลดกิจกรรมที่ไม่จําเป็น
เฝ้าระวังความดันโลหิตที่อาจต่ําลงในช่วงแรกและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการถูกจํากัดกิจกรรม
การนอนคว่ํา (Prone position)
3) Cardiovascular system อาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือความดันโลหิตต่ําแต่มักเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ หากภาวะดังกล่าวมีแนว โน้มแย่ลง แพทย์อาจพิจารณาหยุดการนอนคว่ําและกลับมานอนหงายราบ
4) Lines and tubing ต้องมีการผูกท่อช่วยหายใจและตรึงสายสวนต่างๆ อย่างดี
2) Nervous system ดูแลให้ยานอนหลับและยาแก้ปวดที่เหมาะสม พยาบาลต้องประเมินระดับความรู้สึกตัวและประเมินภาวะสมองขาดออกซิเจน โดยดูการตอบสนองต่อแสงของรูม่านตา
5) Gastrointestinal system เพื่อป้องกันการสูดสําลักต้องงดน้ํางดอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนการนอนคว่ํา และแนะนําให้จัดท่าศีรษะสูงปลายเท้าต่ํา (Reverse trendelenburg position) ขณะให้อาหาร
1) Psychosocial concerns อธิบ ายให้ ผู้ป่ วย และญ าติรับ ท ราบ ถึงความจําเป็น และภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งต้องให้ความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
6) Skin and tissue integrity มีการใช้หมอนหรือวัสดุป้องกันแผลกดทับรองบริเวณหน้าอกและกระดูกเชิงกราน
การจัดการสารน้ํา (Fluid management)
มีการบันทึกปริมาณสารน้ําอย่างเคร่งครัด และช่วยแพทย์ในการประเมิน CVP/PCWP ด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง
มีการร่วมปรึกษากับแพทย์เพื่อร่วมกําหนดแนวทางการให้สารน้ําให้เป็นไปตามแผนการรักษา
เครื่องช่วยพยุงการทํางานของหัวใจและปอด (Extracorporeal membrane oxygenation [ECMO])
การเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดแล้วต้องมีการตรวจจับความผิดปกติ
ที่เกิดจากการทํางานของอุปกรณ์ซึ่งต้องมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่นักปฏิบัติการเครื่องหัวใจและปอดเทียม(Perfusionist) เสมอ
การพยาบาลเพื่อป้องกันความคืบหน้าของการเกิด ARDS
เฝ้าระวังและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดรและรายงานแพทย์เมื่อมีสิ่งผิดปกติ
อาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้แก่ หัวใจเต้นเร็วในช่วงแรกและช้าลงในช่วงหลัง หายใจ เร็ว ความดันโลหิตต่ํา เขียวคล้ํา ปวด ศีรษะ กระสับกระส่าย ชักกระตุก หัวใจด้านขวา ล้มเหลว
อาการแสดงของภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ได้แก่ ง่วงซึม มึนศีรษะ ผิวกายร้อนวูบวาบ เหงื่อออก มือสั่น ตามัว ความดันโลหิตสูง หมดสติ
แก้ไขและลดภาวะพร่องออกซิเจน
2) ลดการใช้ออกซิเจนโดยการวางแผนให้การพยาบาลอย่างเป็นระบบ
3) จัดท่าที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนก๊าซ ได้แก่ ท่านอนหงายศีรษะสูง (Fowler’s position)
1) ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ดูดเสมหะเท่าที่จําเป็นโดยประเมินจากการฟังเสียงปอด
ประเมินและลดปัจจัยที่ทําให้เกิดความเจ็บปวดทั้งจากพยาธิสภาพ กิจกรรมการรักษาพยาบาล การถูกจํากัดกิจกรรม รวมไปถึงการลดความวิตกกังวลของทั้งผู้ป่วยและญาติ
ภาวะหายใจล้มเหลว (Respiratory Failure)
ภาวะที่ผู้ป่วยหายใจไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายแม้อยู่ในขณะพัก เนื่องจากระบบการหายใจทํางานไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถระบายอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าซให้อยู่ใน
สาเหตุ
Acute hypoxemic respiratory failure
−Diffuse pulmonary abnormalities
−Focal pulmonary abnormalities
Acute hypercapnic respiratory failure
เกิดจากภาวะ Hypoventilation หรือ Dead space เพิ่มขึ้น
ชนิดของภาวะหายใจล้มเหลว
Type II, Hypercapnic (ventilatory) respiratory failure
เกิดจากการระบายอากาศน้อยกว่าปกติ อากาศไม่สามารถกระจายไปยังทุกถุงลมอย่างสม่ําเสมอ การระบายอากาศจึงไม่เพียงพอสําหรับการแลกเปลี่ยนก๊าซ มีการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (PaCO2 มากกว่า 55 มม.ปรอท)
Type III, perioperative respiratory failure
ภาวะหายใจล้มเหลวที่พบในช่วงหลังผ่าตัด เกิดจากมีการลดลงของความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศคงเหลืออยู่ในปอดหลังจากหายใจออกตามปกติ (FRC)
Type I, Acute hypoxic respiratory failure (AHRF)
เป็นภาวะหายใจล้มเหลวที่เกิดจากความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนก๊าซ เนื่องจากความผิดปกติของเนื้อปอดและหลอดเลือดปอดชนิดที่มีภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด (PaO2 ต่ํากว่า 60 มม.ปรอท)
Type IV, Shock
ภาวะหายใจล้มเหลวจากภาวะช็อก เกิดจากร่างกายไม่สามารถนําออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอและไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้
อาการทางคลินิก
ระยะต่อมา (Intermediate indicators)
จะเริ่มสับสน อ่อนแรงมาก (Lethargy) หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความดันเลือดต่ําลงจากการขยายตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย หายใจเร็ว
ระยะสุดท้าย (Late indicators)
ผู้ป่วยเริ่มไม่รู้สึกตัว เหงื่อออก เขียว และหายใจล้มเหลว
ระยะแรก (Early indicators)
ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย ปวด/เวียนศีรษะ การคิดการตัดสินใจช้า เหนื่อย
ล้า (Fatigue) หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูงขึ้น ผิวหนังเย็นแห้ง
การรักษา
วัตถุประสงค์ของการรักษาภาวะหายใจล้มเหลว คือ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ รักษาโรคหรือภาวะซึ่งเป็นสาเหตุ ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
การจัดการกับทางเดินหายใจ (Airway management)
Oral airway หรือ Oropharyngeal airway เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปิดทางเดินหายใจส่วนบน
ท่อหลอดลมคอ ใช้ในกรณีที่มีการอุดตันของหลอดลมต่ํากว่าระดับคอหอยด้านหลังปาก (Oropharynx) ใช้เป็นทางดูดเสมหะ ระบายอากาศ และเป็นทางให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยโดยต่อผ่านท่อ T-piece ท่อหลอดลมคอ
Endotracheal tube (ET tube) เป็นท่อหลอดลมคอชนิดแรกที่เลือกใช้ในผู้ป่วยที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่เพียงพอสามารถใส่ทางปาก หรือทางจมูกผ่านกล่องเสียงเข้าไปในหลอดลม (Trachea)
Trecheostomy tube (TT tube) ทําจากซิลิโคน พลาสติก หรือโลหะที่ไม่เป็นสนิม ใช้สําหรับผู้ป่วยที่ต้องใส่หลอดลมคอเป็นเวลานาน
ปัญหาทางการพยาบาลและการพยาบาล
การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง
การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอตามความต้องการของร่างกาย
การประเมินภาวะ Hypoxemia และHypercapnia ถ้ามีอาการและอาการแสดงรุนแรงขึ้นควรรีบรายงานแพทย์
การจัดท่าที่เหมาะสมกับพยาธิสภาพที่ปอดของ
ผู้ป่วย
แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ
จัดให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ
อธิบายสั้นๆ ให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลของการที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือการหายใจที่ผิดปกติไปจากเดิม
สอนให้ผู้ป่วยหายใจโดยใช้กะบังลม (Diaphragmatic breathing) หรือการใช้เทคนิคการผ่อนคลาย (Relaxation technique)
การให้ยาสงบประสาท (Sedative)
การพยาบาลเมื่อใส่ท่อหลอดลมคอ
ดูแลให้ระดับของท่ออยู่ในตําแหน่งเดิมที่แพทย์ใส่ไว้
ตรวจสอบระดับของท่อหลอดลมคอบริเวณริมฝีปากจากตัวเลขที่ระบุ
เป็นเซนติเมตรบนท่อ
TT tube ส่วนของ Flange ควรวางราบชิดผิวหนังที่คอของผู้ป่วย และจัดให้ท่อหลอดลมอยู่ตรงกลางเพื่อป้องกันการกดทับของผิวหนังรอบๆ
ประเมิน และดูแลผิวหนังหรือเยื่อบุรอบท่อหลอดลมคอทุกเวร
ET tube ควรเปลี่ยนพลาสเตอร์หรือเชือกที่ผูกยึดท่อ และเปลี่ยนตําแหน่งการวางท่อจากมุมปากหรือมุมจมูกด้านหนึ่งมายังอีกด้านหนึ่งทุกวัน
TT tube ทุกวันควรทําความสะอาดแผลทุกวัน เปลี่ยนเชือกที่ผูกยึดท่อ จัดให้ท่ออยู่ตรงกลาง และสังเกตผิวหนังบริเวณใต้ท่อหลอดลม
ติดตามภาวะออกซิเจนในเลือดต่ํา (Hypoxemia) อย่างน้อยทุก 4 ชม. หรือบ่อยขึ้นตามสภาพของผู้ป่วย
ลดความกังวลของผู้ป่วยเกี่ยวกับการพูดไม่มีเสียงโดยให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยเป็นระยะๆ
ในผู้ป่วยที่ใส่ ET tube ส่วนใหญ่จะใส่สายยางให้อาหาร (Nasogastric tube; NG tube) ร่วมด้วย ควรป้องกันการสําลักโดยหมุนหัวเตียงสูง 45 องศาขณะให้อาหารทางสายยาง ประเมินเสียงสําไส้เป็นระยะตรวจสอบตําแหน่งของท่อหลอดลมคอให้ถูกต้องก่อนให้อาหารทางสายยาง
ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
หัวใจล้มเหลว (Heart failure)
ชนิดของหัวใจล้มเหลว
ชนิดของหัวใจล้มเหลวที่แบ่งตามการทํางานของกล้ามเนื้อหัวใจ
1) Systolic heart failure หรือ Heart failure with reduced EF (HFREF) : หัวใจล้มเหลวที่เกิดร่วมกับการบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่าง (Left ventricle) ลดลง
2) Diastolic heart failure หรือ Heart failure with preserved EF (HFPEF): หัวใจล้มเหลวที่เกิดร่วมกับการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายปกติ
ชนิดของหัวใจล้มเหลวที่แบ่งตามอาการและอาการแสดงของหัวใจที่ผิดปกติ
1) Left sided-heart failure: เป็นอาการของหัวใจล้มเหลวที่มีอาการ หรืออาการแสดงที่เกิดจากปัญหาของหัวใจห้องล่างซ้าย หรือห้องบนซ้าย
2) Right sided-heart failure: เป็นอาการของหัวใจล้มเหลวที่มีอาการ หรืออาการแสดงที่เกิดจากปัญหาของหัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle) หรือ ห้องบนขวา (Right atrium)
ชนิดของหัวใจล้มเหลวที่แบ่งตามเวลาการเกิดโรค
2) Transient: หัวใจล้มเหลวที่มีอาการชั่วขณะ เช่น เกิดขณะมีภาวะหัวใจขาดเลือด
3) Chronic: หัวใจล้มเหลวที่มีอาการเรื้อรัง โดยอาจมีอาการคงที่ (Stable) หรือ อาการมากขึ้น (Worseningหรือ Decompensation)
1) New onset: หัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นครั้งแรก โดยอาจเป็นแบบเฉียบพลัน (Acute onset) หรือเกิดขึ้นช้า (Slow onset)
ชนิดของหัวใจล้มเหลวที่แบ่งตามลักษณะของ Cardiac output
1) High-output heart failure: คือ ภาวะที่อาการและอาการแสดงของ หัวใจล้มเหลวเกิดจากการที่ร่างกายต้องการปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ (Cardiac output) มากกว่าปกติ
2) Low-output heart failure: คือ ภาวะที่หัวใจบีบเลือดออกจากหัวใจได้น้อยลง (Low cardiac output)
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute heart failure) เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการคงที่แต่กลับแย่ลงในเวลาไม่นาน
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง (Chronic heart failure) มีอาการของภาวะหัวใจ
ล้มเหลวและ/หรือมีการทํางานที่ผิดปกติไปของหัวใจคงอยู่เป็นเวลานาน
สาเหตุ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardial disease)
ความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (Valvular heart disease)
ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease)
ความผิดปกติแต่กําเนิด (Congenital heart disease)
การพยาบาล
ชั่งนํ้าหนักผู้ป่วยทุกวันในเวลาเดิมคือ ตอนเช้าหลังถ่ายปัสสาวะเพื่อประเมินภาวะน้ําเกิน
จํากัดนํ้าในแต่ละวันตามแนวทางการรักษาโดยในรายที่ไม่รุนแรงให้ จํากัดประมาณ 800-1,000 ซีซี/วัน
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาและมีการติดตามประเมินผลของยา
2) ยาโดปามีน (Dopamine) เป็นยากระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น
3) ยาไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine) ช่วยขยายหลอดเลือดดําและหลอดเลือดแดงบริเวณส่วนปลายทําให้ช่วยเพิ่มปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจได้
1) ยาดิจิทาลิส (Digitalis) ทําให้ กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวมากขึ้นจึงช่วยเพิ่มปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจ
4) ยากลุ่ม ACE inhibitor จะช่วยในการขยายหลอดเลือด
5) ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยลดปริมาตรเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจ
7.ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วยด้วยภาวะหัวใจวาย
ประเมิน V/S ทุก 1 ชั่วโมง
1) ฟังเสียงหัวใจทุก 2-4 ชั่วโมง เพื่อสังเกตเสียงที่ผิดปกติ
2) ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาเพื่อช่วยเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดช่วยแก้ไขภาวะออกซิเจนในเลือดตํ่าที่เกิดจากปริมาตรเลือดท่ีหัวใจส่งออกต่อนาทีลดลง
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการควบคุมอาการของภาวะหัวใจวายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
จัดท่านั่งศีรษะสูง 30-90 องศา (Fowler’s position) หรือนั่งฟุบบนโต๊ะข้างเตียง
1.ดูแลให้ผู้ป่วยได้ Bed rest โดยช่วยเหลือทํากิจกรรมให้ผู้ป่วยในระยะที่
ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย
อาการและอาการแสดงของหัวใจล้มเหลว
อาการบวมในบริเวณที่เป็นระยางส่วนล่างของร่างกาย (Dependent part)
อาการเหนื่อย (Dyspnea)
อาการเหนื่อยขณะที่ออกแรง (Dyspnea on exertion)
อาการเหนื่อย หายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ (Orthopnea)
อาการหายใจไม่สะดวกขณะนอนหลับและต้องตื่นขึ้นเนื่องจากอาการหายใจไม่สะดวก (Paroxysmal nocturnal dyspnea, PND)
แน่นท้อง ท้องอืด
อ่อนเพลีย (Fatigue)
บทบาทพยาบาล
2) ผู้ป่วยไม่มีภาวะน้ําเกินหรือขาดน้ํา (Optimize volume status)
3) ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นที่เป็นสาเหตุ (Identify etiology)
1) ผู้ป่วยอาการหัวใจล้มเหลวดีขึ้น (Improve symptoms, especially congestion and low-output symptoms)
4) ผู้ป่วยได้รับการค้นหาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทําให้อาการกําเริบ (identify precipitating factors)
Shock
ภาวะที่เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ (Poor tissue perfusion) หากรักษาไม่ทันท่วงทีจะส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว (Organ failure) ตามมา
การแบ่งประเภทของช็อก (Classification of shock)
Low cardiac output shock (Hypodynamic shock)
เป็นภาวะช็อกที่ Cardiac output ต่ํา และ
เป็นภาวะช็อกที่หลอดเลือดตีบ (Vasoconstriction)
2) Cardiogenic shock
3) Obstructive shock
1) Hypovolemic shock
High cardiac output shock (Distributive shock, hyperdynamic shock)
เป็นภาว ะช็อกที่cardiac output สูง และเป็นภาวะช็อกที่หลอดเลือดขยายตัว (Vasodilatation)
3) Endocrinologic shock
4) Neurogenic shock
2) Anaphylactic shock
5) Drug and toxin
1) Septic shock
6) อื่นๆ เช่น Post-resuscitation syndrome ทีตามหลัง Return of spontaneous circulation (ROSC) จาก Cardiac arrest
Shock management
การรักษาจําเพาะ (Specific treatment) สําหรับภาวะช็อกแต่ละประเภท
การรักษาประคับประคอง (Supportive treatment)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพการหายใจลดลง
1) ดูแลส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดโดยจัดท่านอนและให้ออกซิเจน
2) Observe O2 Saturation เพื่อให้เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนและการแลกเปลี่ยนก๊าซอย่างเพียงพอ
3) ประเมินสัญญาณชีพ O2 Saturation ทุก 15 นาที
ผู้ป่วยและญาติมีสีหน้าวิตกกังวล
2) ให้คําอธิบาย ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับภาวะโรคและแผนการรักษา
1) เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ โดยให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยา Levophed อาจเกิดภาวะยาดังเฉพาะที่หรือรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดเกิดเนื้อตายได้
1) เพื่อเพิ่มความดันโลหิตและผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น โดยดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาเข้าทางหลอดเลือดดําใหญ่ตรง Antecubital vein โดยใช้ infusion pump
2) ตรวจวัดความดันโลหิตและอัตราหัวใจเต้นทุก 10 นาทีเมื่อ IV ครบ 1,000 ml ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจปกติ จึงค่อย Titrate Levophed เพิ่มทีละ 5 ml / hr. ร่วมกับให้สารน้ําจนครบ 1,500 ml
3) ประเมินผลความดันโลหิต อัตราหัวใจเต้น และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
มีไข้จากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด (Septic shock)
1) ลดไข้และให้ผู้ป่วยมีความสุขสบาย โดยดูแลเช็ดตัวลดไข้
2) ประเมินภาวะไข้
ผู้ป่วยอยู่ในภาวะปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีต่ําลงเนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะช็อค
3) ดูแลให้ยาปฏิชีวนะ Ceftriazone 2 gm Intravenous drip in 1 hr (Septic shock)
4) บันทึกจํานวนปัสสาวะที่ออกเพื่อประเมินหน้าที่การทํางานของไตผู้ป่วยปัสสาวะได้เอง
2) ดูแลให้ได้รับสารน้ํา 0.9% NSS load จนครบ
1) ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพอาการอาการแสดงของ Shock และระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยทุก 10 นาที
Hypertensive crisis
ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลันสูงกว่า 180/120 มม.ปรอท และทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะเป้าหมาย (target organ damage, TOD)
สาเหตุ
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที (Sudden withdrawal of antihypertensive medications)
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง เช่น ยาคุมกำเนิด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
อาการและอาการแสดง
กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (Acute cardiovascular syndromes)
เจ็บแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลัน/แบบไม่คงที่ (Unstable angina)
มีอาการ ปวดศรีษะ การมองเห็นผิดปกติ สับสน คลื่นไส้ อาเจียน
น้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
ภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า (Aortic dissection)
การตรวจร่างกาย
ตรวจจอประสาทตา ถ้าพบ Papilledema ช่วยประเมินภาวะ increased intracranial pressure
ตรวจ retina ถ้าพบ cotton-wool spots and hemorrhages แสดงว่า มีการแตกของ retina blood vessels และ retina nerves ถูกทำลาย
วัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตเปรียบเทียบกันจากแขนซ้ายและขวา น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว รวมถึงตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจาก TOD
Chest pain บอกอาการของ acute coronary syndrome or aortic dissection
อาการของ oliguria or azotemia (excess urea in the blood) แสดงถึงภาวะไตถูกท าลาย
การรักษา
ผู้ป่วย Hypertensive crisis ต้องให้การรักษาทันทีใน ICU และให้ยาลดความดันโลหิตชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป้าหมายเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ต้องการโดยป้องกันอวัยวะต่างๆไม่ให้ถูกทำลายและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
การพยาบาล
ในระหว่างได้รับยา ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยาโดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการลดลงของความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว
3.เก็บยาให้พ้นแสงและตลอดการให้ยาแก่ผู้ป่วยและติดตามอาการไม่พึงประสงค์
ในระยะเฉียบพลัน เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของระบบต่างๆ
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทeกิจกรรม เช่นการจัดท่านอนให้สุขสบาย การปฏิบัติกิจวัตรประจeวันต่างๆ
ให้ความรู้/ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการรักษาเพื่อควบคุมความดันโลหิต และเหตุผลที่ต้องติดอุปกรณ์ที่ใช้เฝ้าระวังต่างๆ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลายไม่เพียงพอ (Risk for ineffective peripheral tissue perfusion)
วิตกกังวล (Anxiety related to threat to biologic, psychologic, or social integrity)
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ (Risk for ineffective cerebral tissue perfusion)
พร่องความรู้ (Deficient knowledge related to lack of previous exposure to information)
Cardiac dysrhythmias
Ventricular tachycardia (VT)
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการเต้นของ
หัวใจ ในอัตราที่เร็วมากแต่สม่ำเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที อาจ
เปลี่ยนเป็น VF ได้ในทันทีและทำให้เสียชีวิต
ประเภทของ VT
Sustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30วินาทีซึ่งมีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
Monomorphic VT คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
Nonsustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30วินาที
Polymorphic VT หรือ Torsade คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
สาเหตุ พบบ่อยในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction) โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease) ถูกไฟฟ้าดูด ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ พิษจากยาดิจิทัลลิส (Digitalis toxicity) และ กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันทีผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจหยุดเต้น
การพยาบาล
ร่วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง ให้เตรียมผู้ป่วยในการทำ synchronized cardioversion
คลำชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก ภาวะเขียว จำนวนปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสำคัญลดลง
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรไม่ได้(Pulseless VT) ให้เตรียมเครื่อง Defibrillator เพื่อให้แพทย์ทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ ในระหว่างเตรียมเครื่องให้ทำการกดหน้าอกจนกว่าเครื่องจะพร้อมปล่อยกระแสไฟฟ้า
นำเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันทีและเปิดหลอดเลือดดำเพื่อให้ยาและสารน้ำ
ทำ CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
Ventricular fibrillation (VF)
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการเต้นของ
หัวใจตำแหน่งเดียวหรือหลายต าแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ
สาเหตุ
Hypokalemia
Hyperkalemia
Hydrogen ion (acidosis)
Hypothermia
Hypoxia
Tension pneumothorax
Cardiac tamponade
Hypovolemia
Toxins
Pulmonary thrombosis
Coronary thrombosis
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันทีคือ หมดสติไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้และเสียชีวิต
การพยาบาล
ติดตามและบันทึกอาการแสดงของภาวะอวัยวะและเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยง (Tissue perfusion) ลดลง
ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของ สัญญาณชีพ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยเฉพาะ ST segment
ติดตามผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยว่ามียาชนิดใดที่มีผลต่อ อัตรา และจังหวะการเต้นของหัวใจหรือไม่ ถ้าพบให้รายงานแพทย์ทันที
ให้ยา antidysrhythmia ตามแผนการรักษา
ติดตามค่าเกลือแร่ในเลือด เพื่อหาสาเหตุนำของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ทำ CPR ร่วมกับทีมรักษาผู้ป่วย ในกรณีเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง (lethal dysrhythmias)
ป้องกันภาวะ tissue hypoxia โดยให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
Atrial fibrillation (AF)
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว เกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า (ectopic
focus) ใน atrium ส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ าเสมอและไม่ประสานกัน ท าให้atrium บีบตัวแบบสั่นพริ้วและคลื่นไฟฟ้าไม่สามารถผ่านไปยัง ventricle ได้ทั้งหมด
ประเภทของ AF
Permanent AF หมายถึง AF ที่เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปีโดยไม่เคยรักษาหรือเคยรักษาแต่ไม่หาย
Recurrent AF หมายถึง AF ที่เกิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
Persistent AF หมายถึง AF ที่ไม่หายได้เองภายใน 7 วัน หรือหายได้ดัวยการรักษาด้วยยา หรือการช็อคไฟฟ้า
Lone AF หมายถึง AFที่เป็นในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่ไม่มีความผิดปกติของหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
Paroxysmal AF หมายถึง AF ที่หายได้เองภายใน 7 วันโดยไม่ต้องใช้ยา หรือการช็อคไฟฟ้า (Electrical Cardioversion)
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ (open heart surgery), hyperthyrodism
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยเวลาออกแรง คล าชีพจรที่ข้อมือได้เบา
การพยาบาล
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน สมอง ปอด แขนและขา
ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เช่น digoxin, beta-blocker, calcium channel blockers,amiodarone
ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษาในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีลิ่มเลือดเกิดขึ้น
เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทำ Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง (Radiofrequency Ablation) ในผู้ป่วยที่เป็น AF และไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
นาย พิชยุตม์ อยู่ประเสริฐ 6001210637 sec B เลขที่ 29