Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์ -…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์
โรคเนื่องจากความวิตกกังวล (Anxiety or Fear-Related Disorders)
หมายถึง ความวิตกกังวลมีมาก เป็นอยู่นาน เป็นกับแทบทุกเรื่อง โดยไม่สมเหตุสมผลกับสาเหตุและความรุนแรง หรือไม่ได้มีเหตุการณ์อื่นใดมากระตุ้น และอาการเหล่านี้รบกวนชีวิตประจำวัน
การจำแนกโรควิตกกังวล
โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder, GAD) แสดงอาการวิตกกังวลกับเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันหลายเรื่องที่มากเกินกว่าเหตุ โรคนี้มีเกณฑ์วินิจฉัยดังนี้
2) ไม่สามารถควบคุมความวิตกกังวลได้
3) มีอาการทางกายอย่างน้อย 3ใน6 อาการต่อไปนี้ คือ (1) กระสับกระส่าย
(2) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย (3) ไม่ค่อยมีสมาธิ (4) หงุดหงิดง่าย
(5) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (6) มีปัญหาการอนหลับ
4) เป็นอยู่นานมากกว่า 6 เดือน
1) วิตกกังวลมากเกินกว่าเหตุหลายๆ เรื่องพร้อมกัน
โรคกลัว (Phobia / Panic disorder) โรคกลัว (phobia) แตกต่างจากความกลัวทั่วไป (fear) โรคกลัวเป็นความกลัวอย่างมากที่ไม่สมเหตุสมผล เป็นการกลัววัตถุ สถานการณ์ หรือสถานที่เฉพาะ ผู้ป่วยทราบว่าตนเองกลัวเกินกว่าเหตุแต่ห้ามความกลัวไม่ได้
โรคกลัวการอยู่ที่โล่งหรือที่ชุมชน (Agoraphobia)
โรคหวาดกลัวสังคม (Social anxiety disorder) กลัว/กังวลอย่างมาก เมื่อต้ออยู่ในสถานการณ์ที่ถูกผู้อื่นจับจ้อง กลัวอย่างมากที่ต้องแสดงออกต่อหน้าผู้อื่น
โรคกลัวแบบจำเพาะ (Specific phobia หรือ Simple phobia) เป็นความกลัวอย่างไม่สมเหตุสมผลต่อบางสิงบางอย่างที่เฉพาะเจาะจง
โรคแพนิค (Panic disorder) โรคแพนิค (หรือโรคตื่นตระหนก) เป็นโรคที่แสดงการตื่นกลัว โดยไม่มีเหตุผล เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรงในทันที และมีอาการทางกายร่วมด้วย ผู้ที่เป็นโรคแพนิคจะมีอาการตื่นกลัวอย่างสุดขีด (panic attack) เกิดขึ้นซ้ำๆเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น
โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive -Compulsive Disorder, OCD) โรคนี้จะแสดงอาการทั้งการคิดซ้ำ ๆ และทำซ้ำ ๆ โดยมีเหตุอย่างหนึ่งเข้ามาในใจตลอดเวลา อย่างห้ามใจไม่ให้คิดและไม่ให้ทำไม่ได้
โรคเครียดเฉียบพลัน (Acute stress disorder, ASD) และโรคเครียดภายหลังเผชิญภยันตราย (Posttraumatic stress disorder, PTSD) ทั้งสองโรคนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง
สาเหตุของโรควิตกกังวล
ปัจจัยทางชีวภาพ
การเปลี่ยนแปลงของชีวเคมี
ปัจจัยทางจิต
พันธุกรรม
ปัจจัยทางสังคม
อาการและอาการแสดง
วิตกกังวลในระดับปานกลาง รุนแรง หรือวิตกกังวลสุดขีดจะมีความตั้งใจเสื่อม สมาธิสั้น ลืมง่าย ตัดสินใจผิดพลาด ความคิดหยุดชะงัก การรับรู้แคบลง ความคิดสร้างสรรค์ลดลง สับสน ระแวดระวังและพินิจพิเคราะห์มากเกินไป
ความวิตกกังวลในระดับสูง มีผลกระทบต่อการประสานงานของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าซึ่งสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมอยู่นิ่งไม่ได้
ด้านอารมณ์ เครียดหงุดหงิด รู้สึกไม่สบาย ยุ่งยากใจ กระสับกระส่าย หวั่นไหวง่าย กลัวผิดธรรมดา ตื่นตกใจ ขวัญอ่อน
1) ระบบหัวใจและไหลเวียน ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น หรือลดลง เป็นลมและอัตราการเต้นของชีพจรช้าลง หน้าซีด หรือหน้าแดง
2) ระบบทางเดินหายใจ หายใจเร็ว หายใจสั้น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก และหอบ
3) ระบบประสาท รีเฟล็กซ์เพิ่มขึ้น ตื่นตกใจ ตากระตุก นอนไม่หลับ สั่น เกร็ง สีหน้าเครียด รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ บางรายมีอาการคัน
4) ระบบทางเดินอาหาร น้ำย่อยหลั่งน้อย คอขม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ไม่สบายท้อง ปวดท้องและท้องเสีย
5) ระบบขับถ่าย ปัสสาวะบ่อย เหงื่อออกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และตามตัว
การรักษา
การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
2) ยาคลายกังวล (กลุ่ม benzodiazepine) เช่น diazepam เพื่อลดอาการวิตกกังวลและอาการทางกาย แต่มีผลข้างเคียงที่พบบ่อยและพึงระวังคือ ง่วง ซึม อ่อนเพลีย
3) ยากลุ่ม Beta blockers เช่น propanolol เฉพาะในกรณีที่มีอาการใจสั่น มือสั่น (เพราะยากลุ่มนี้ไม่ได้ช่วยลดความวิตกกังวลแต่อย่างใด)
1) ยาต้านเศร้า (กลุ่ม Selective Selective Serotonin Reuptake inhibitor, SSRI) เช่น sertraline paroxetion การให้ยาต้านเศร้าในขนาดต่ำๆมีฤทธิ์ในการคลายกังวลและได้ผลดีในการลดอาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล คิดฟุ้งซ่าน
จิตบำบัด (psychotherapy) เช่น จิตบำบัดชนิดหยั่งรู้สภาพตนเอง (insight psychotherapy) จิตบำบัดชนิดประคับประคอง (supportive psychotherapy) การเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องให้กลายเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (cognitive therapy)
พฤติกรรมบำบัด (behavior therapy) เป็นการลดความรู้สึกอย่างเป็นระบบ เป็นการบำบัดโดยค่อยให้ผู้ป่วยเผชิญกับสถานการณ์หรือสิ่งที่กลัวอย่างเป็นขั้นตอนจากระดับน้อยไปหามาก เริ่มจากให้ผู้ป่วยจัดลำดับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความกังวล/กลัวจากน้อยไปหามาก
การพยาบาลผู้ป่วยโรคเนื่องจากความวิตกกังวล
วิตกกังวลสุดขีด
1) ยอมรับว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิตกกังวลสุดขีด และไม่ตำหนิพฤติกรรมของผู้ป่วย
2) ควรมีสมาธิ และมีจิตใจสงบขณะอยู่กับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเพิ่มความวิตกกังวลในผู้ป่วย
3) ควรอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลสุดขีด และควรให้ความมั่นใจผู้ป่วยในด้านความรู้สึกมั่นคง และปลอดภัย
4) สนทนากับผู้ป่วยด้วยประโยคสั้นๆ และเข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการให้กำลังใจที่ผิด
5) ให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ มีแสงสว่างพอเหมาะ ตกแต่งห้องด้วยเครื่องใช้ที่จำเป็น และเปิดโอกาสให้พบกับบุคคลอื่นอย่างจำกัด
6) ให้ผู้ป่วยได้รับยารักษาอาการวิตกกังวล หรือยารักษาอาการซึมเศร้าตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งสังเกตผลและอาการข้างเคียงของยา
7) ถ้าจำเป็นต้องผูกมัดผู้ป่วย ควรอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา และสัมผัสผู้ป่วยเป็นระยะๆ
8) เมื่อผู้ป่วยมีความวิตกกังวลลดลง อธิบายว่าความวิตกกังวลและพฤติกรรมการแสดงออกของผู้ป่วย เกิดจากการปรับตัวของเขาที่พยายามรักษาสมดุลทางอารมณ์ เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป
9) เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก ขณะเผชิญกับสิ่งที่กลัวหรือความรู้สึกที่ถูกคุกคาม หรือเล่าประสบการณ์ชีวิตที่เจ็บปวดในอดีต โดยจัดสิ่งแวดล้อมขณะนั้นให้สงบและไม่คุกคามผู้ป่วย
10) ให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของความวิตกกังวล และการลดความวิตกกังวลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วยวิธีต่างๆ เช่น เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การสะกดจิต การทำสมาธิ การออกกำลังกาย การทำงานอดิเรก การเดินเล่น เป็นต้น
โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood Disorders)
หมายถึง อารมณ์แปรปรวน (Mood Disorders) หมายถึง ความผิดปกติทางอารมณ์ โดยอาจมีอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ ร้องไห้ อ่อนเพลีย อยากตาย หรืออาจมีอารมณ์ดีมากเกิดปกติ ครื้นเครง พูดมากซึ่งอาจเป็นเพียงด้านเดียวหรือสองด้าน ความผิดปกติทางอารมณ์ มี 3 ลักษณะ อารมณ์เศร้า (Depressive) คลุ่มคลั่ง (Mania) อาการคุ้งคลั่งสลับกับอารมณ์เศร้า (Bipolar Disorder)
กลุ่มโรคอารมณ์แปรปรวน (Mood Disorders)
โรคความผิดปกติของอารมณ์ชนิดซึมเศร้า (Depressive Disorders)
โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder)
ลักษณะที่สำคัญของโรคซึมเศร้า เป็นอาการเด่นชัดรวมกับอาการอย่างอื่น เช่น ความรู้สึกเบื่อหน่าย นอนไม่หลับมีลักษณะทางคลินิกคือ ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้าหรือหมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เป็นเวลานานติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
1) อารมณ์เศร้า
2) หมดความสนใจหรือความสุข
3) อาการเบื่ออาหาร
4) นอนไม่หลับ
5) เชื่องช้าลงหรือกระวนกระวาย
6) อ่อนเพลียง่ายและไม่มีแรง
7) ความรู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิด
8) ไม่มีสมาธิหรือมีความลังเลใจ
9) มีความคิดอยากตายหรือคิดฆ่าตัวตาย
โรคอารมณ์เศร้าเรื้อรัง (Dysthymic Disorder)
ลักษณะที่สำคัญของโรคนี้ คือ ผู้ป่วยมีอารมณ์เศร้าเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ร่วมกับอาการอื่น เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร และรู้สึกไม่มีค่า อาการต่าง ๆ คล้ายกันใน major depressive disorder แต่ความรุนแรงน้อยกว่า
การดำเนินโรค ส่วนใหญ่มักมีอาการตั้งแต่วัยเด็กตอนปลาย หรือวัยรุ่น อาการเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป และเป็นโรคที่ค่อนข้างเรื้อรัง อาการขึ้นลงเป็นช่วงๆ ระยะเวลาที่เป็นตั้งแต่ 2 – 20 ปี โดยเฉลี่ยเป็นนาน 5 ปี
โรคความผิดปกติของอารมณ์ชนิดซึมเศร้าสลับคลุ้มคลั่งหรือโรคอารมณ์ 2 ขั้ว (Bipolar Disorders)
โรคไบโพลาร์ I (Bipolar I Disorder)ลักษณะทางคลินิก ผู้ป่วยมีอาการแมเนียหรืออาการแบบผสมและมักมีอาการของโรคซึมเศร้าร่วมด้วย
การวินิจฉัยโรค
(1) ผู้ป่วยมีอาการแมเนียหรือาการแบบผสมอย่างน้อย1ครั้งและมักมีอาการของโรคซึมเศร้า 1 ครั้ง
(2) อาการไม่ได้เกิดจากโรคจิตเภทอารมณ์แปรปรวนหรือโรคจิตชนิดอื่น
(3) อาการไม่ได้เกิดจากโรคทางกาย ยารักษาโรคหรือสารเสพติด
โรคไบโพลาร์ II (Bipolar II Disorder) ลักษณะที่สำคัญของโรคนี้ คือ ผู้ป่วยเคยมีอาการของโรคซึมเศร้า 1 ครั้งหรือมากกว่าและมีอาการไฮโปแมเนีย (hypomanic episodes) อย่างน้อย 1 ครั้ง และต้องไม่เคยมีอาการแมเนียหรืออาการแบบผสม
ลักษณะที่สำคัญของโรคนี้คือผู้ป่วยมีหรือเคยมีอาการแมเนีย (Manic episodes) อาการแบบผสม (Mixed episodes) หรืออาการไฮโปแมเนีย (Hypomanic episodes) และมักมีหรือเคยมีอาการของโรคซึมเศร้า
การพยาบาลผู้ป่วยอารมณ์ซึมเศร้า
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการจัดการกิจกรรมประจำวัน เช่น อาบน้ำ สระผม ถ้าผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้าในระดับรุนแรง
กระตุ้นผู้ป่วยและจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น สบู่ ผ้าเช็ดตัว เพื่อให้ผู้ป่วยกระทำกิจกรรมด้วยตนเอง ถ้าผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้าในระดับปานกลาง
บันทึกพฤติกรรมและปริมาณ อาหารและน้ำที่ผู้ป่วยได้รับ พร้อมกับกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้รับให้เพียงพอ และควรมีการตรวจสอบน้ำหนักผู้ป่วยทุกอาทิตย์
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้มีการเคลื่อนไหว หรืออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นการเดิน หรือการทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย เพราะผู้ป่วยซึมเศร้ามักอยู่เฉยๆ ทำให้เกิดปัญหาทางร่างกาย เช่น ท้องผูก อาหารไม่ย่อย
การนอนหลับและการพักผ่อน จัดสภาพแวดล้อมให้ได้นอนถ้าจำเป็นใช้ยานอนหลับ ช่วยตามแพทย์สั่ง และในตอนกลางวันจัดให้ได้นอนในช่วงสั้นๆ
ในกรณีผู้ป่วยมีปัญหาทางกายอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ ต้องช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ด้วย
ติดตามอาการข้างเคียงจากการได้รับยารักษาอารมณ์เศร้า (Antidepressant drugs)
ป้องกันการทำอันตรายตนเอง พยาบาลจึงควรประเมินท่าทีของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอว่าผู้ป่วยกำลังมีความคิดด้านการทำร้ายตนเองอยู่หรือไม่
. โรคจิตสรีระแปรปรวน (Psychosomatic Disorders)
หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติของร่างกาย หรือโรคทางกายเกิดขึ้นโดยปัจจัยทางจิตใจมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดโรค หรือทำให้ความผิดปกตินั้น ๆ มีอาการรุนแรงขึ้น
อาการ
ระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เกิดการหลั่งกรดมากผิดปกติ ทำให้กระอาหารเป็นแผล ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน ลำไส้เกิดการหดตัวมากกว่าปกติทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายบ่อย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบลง มีไขมันมาเกาะ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง
ระบบกล้ามเนื้อ มีการหดตัว เกร็งแข็ง เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั่วตัว
ประสาทอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำงานโดยไม่สามารถบังคับหรือสั่งการได้ หล่อเลี้ยงอวัยวะภายในทั้งหมด
การวินิจฉัย มีอาการทางกายเกิดขึ้นสัมพันธ์กับความเครียด แต่ปัญหาใหญ่มักอยู่ที่ตัวเราเองไม่ค่อยยอมรับว่าเครียด มีคนไข้โรคเครียดหลายรายที่ปฏิเสธอย่างแข็งขันในตอนแรกว่าไม่เครียด แต่เมื่อได้สัมภาษณ์ลงลึกก็มักจะพบว่ามีความเครียดจำนวนมากแฝงอยู่ เช่น ทำงานวันละ12-16 ชั่วโมง
การรักษา
การรักษาทางจิตใจ การผ่อนคลายความเครียด และทำใจให้สงบ การแก้ไขปัญหาชีวิตให้สำเร็จ มีการปรับตัวกับบุคคลอื่นได้ดี
การออกกำลังกายให้แข็งแรง จิตใจเผชิญความเครียดได้ดี มีการผ่อนคลาย งานอดิเรก พักผ่อนหย่อนใจ
การรักษาโรคทางกายให้สงบตามอาการที่เกิด เช่น ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ยาลดความดันโลหิตรักษาโรคความดันโลหิตสูง
การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมสถานที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ไม่เครียด การทำงานพอเหมาะ ไม่หนักมากเกินไปมีเวลาพักผ่อน
ความผิดปกติทางกายเนื่องจากสาเหตุทางจิตใจ (Somatic Symptom and Related Disorders)
Somatic Symptom Disorder หรือ Somatization Disorder
ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีอาการผิดปกติทางกายหลายรูปแบบ และเกิดกับอวัยวะหลายระบบ จึงต้องมาพบแพทย์เป็นประจำ โดยที่แพทย์ก็ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติดังกล่าว
Conversion Disorder (Functional Neurological Symptom Disorder)
เดิมจัดอยู่ในกลุ่มโรคประสาท (Neurosis) เรียกว่า โรคฮีสทีเรีย (Hysterical neurosis) Conversion Disorder เป็นกลุ่มโรคจิตเวชที่มีความผิดปกติทางกาย
Illness Anxiety Disorder หรือ Hypochondriasis ผู้ป่วยจะหมกมุ่น และกลัวว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคร้ายแรง เนื่องจากรู้สึกว่าอวัยวะภายในร่างกายทำงานผิดปกติไปจากเดิม มักมีอาการนานหลายเดือน หรือหลายปี