Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
Hypertensive crisis
สาเหตุ
การหยุดยาลดความดันโลหิตทันที
Acute or chronic renal disease
Exacerbation of chronic hypertension
การใช้ยาบางชนิด ยาคุมกำเนิด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
ความหมาย
Hypertensive crisis ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลัน สูงกว่า 180/120 มม.ปรอท ทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะ
Hypertensive urgency ภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง แต่ไม่มีอาการของอวัยวะเป้าหมายถูกทำลาย
Target organ damage ความผิดปกติที่เกิดอวัยวะในร่างกายจากความดันโลหิตสูง ได้แก่ การแข็งตัวของหลอดเลือดแดง หัวใจห้องล่างซ้ายโต
ความดันโลหิตสูง ที่วัดจากสถานพยาบาลที่มีค่าความดันโลหิตซิสโตลิก ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิตไดแอสโตลิกตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอท
Cardiovascular disease โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการตรวจหลอดเลือดแล้วพบ Atheromatous plague และ Atrial fibrillation
Hypertensive emergency ภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/120 มม.ปรอท ร่วมกับมีการทำลายของอวัยวะเป้าหมาย อาจมีอาการของ Acute MI, Stroke, Kidney failure
อาการและอาการแสดง
ปวดศรีษะ การมองเห็นผิดปกติ สับสน คลื่นไส้ อาเจียน
กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
เจ็บแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลัน/แบบไม่คงที่
น้ำท่วมปอด
ภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า
การซักประวัติ
โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ระดับความรู้สึกตัว ระบบหัวใจและหลอดเลือด ไตวายเฉียบพลัน
การตรวจร่างกาย
วัดสัญญาณชีพ นำ้หนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจาก TOD ตรวจจอประสาทตา ตรวจ retina Chest pain
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจ CBC ประเมินภาวะ microangiopathic hemolytic anemia
ตรวจการทำงานของไตจากค่า Creatinine และ Glomerular filtration rate (eGFR) และค่าอัลบูมินในปัสสาวะ
การรักษา
รักษาทันทีใน ICU และให้ยาลดความดันโลหิตชนิดหยดเข้าหลอดเลือดดำ เมื่อควบคุมได้จะเป็นการรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิด Hypertensive crisis
การเลือกใช้ยาขึ้นอยู่กับอาการและยาที่มีในโรงพยาบาล เช่น sodium nitroprusside ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของ ตับและไตบกพร่อง nitroglycerin
การพยาบาล
ระยะเฉียบพลัน ติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของระบบต่างๆ
ในระหว่างได้รับยา ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยาโดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
การรักษาด้วย short-acting intravenous antihypertensive agents ได้แก่ sodium nitroprusside
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรม
ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการรักษาและเหตุผลที่ต้องติดอุปกรณ์ที่ใช้เฝ้าระวังต่างๆ
Cardiac dysrhythmias
Atrial fibrillation
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว จากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้าส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอ ทำให้ atrium บีบตัวแบบสั่นพริ้วและคลื่นไฟฟ้าไม่สามารถผ่านไปยัง ventricle ได้
การพยาบาล
ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน สมอง ปอด แขนและขา
ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เช่น digoxin, beta-blocker, calcium channel blockers, amiodarone
ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษา
เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทำ Cardioversion เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง ในผู้ป่วยที่เป็น AF และไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
อาการและอาการแสดง
ใจสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยเวลาออกแรง คลำชีพจรที่ข้อมือได้เบา
สาเหตุ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ
ประเภทของ AF
Paroxysmal AF หายได้เองภายใน7วันโดยไม่ต้องใช้ยาหรือการช็อคไฟฟ้า
Persistent AF ไม่หายได้เองภายใน7 วันหรือหายได้ดัวยการรักษาด้วยยาหรือการช็อคไฟฟ้า
Permanent AF เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปีโดยไม่เคยรักษาหรือเคยรักษาแต่ไม่หาย
Recurrent AF เกิดซ้ำมากกว่า1ครั้ง
Lone AF เป็นในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ไม่มีความผิดปกติของหัวใจ HT
Ventricular tachycardia
ประเภทของ VT
Nonsustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30 วินาที
Sustained VT คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30 วินาที ซึ่งมีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
Monomorphic VT คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
Polymorphic VT หรือ Torsade คือ VT ที่ลักษณะของQRScomplexเป็นรูปแบบเดียว
สาเหตุ
ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง โรคหัวใจรูห์มาติก ถูกไฟฟ้าดูด ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ พิษจากยาดิจิทัลลิส และกล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจหยุดเต้น
การพยาบาล
นำเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันทีและเปิดหลอดเลือดดำเพื่อให้ยาและสารน้ำ
คลำชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก ภาวะเขียว จำนวนปัสสาวะ
ดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง ให้เตรียมผู้ป่วยในการทำ synchronized cardioversion
ในผู้ป่วยที่เกิด VT และคลำชีพจรไม่ได้ (Pulseless VT) ให้เตรียมเครื่อง Defibrillator เพื่อให้แพทย์ทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ
ทำ CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
Ventricular fibrillation
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการเต้นของหัวใจตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ
สาเหตุ
Hypovolemia
Hypoxia
Hydrogen ion (acidosis)
Hypokalemia
Hyperkalemia
Hypothermia
Tension pneumothorax
Cardiac tamponade
Toxins
Pulmonary thrombosis
Coronary thrombosis
อาการและอาการแสดง
หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยายเนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมาได้และเสียชีวิต
การพยาบาล
เตรียมเครื่งมืออุปกรณ์และยาให้พร้อมและทำCPR ทันที เนื่องจากการรักษา VF และ Pulseless VT สิ่งที่สำคัญคือ การช็อกไฟฟ้าหัวใจทันทีและการกดหน้าอก
หัวใจล้มเหลว
ชนิด
แบ่งตามเวลาการเกิดโรค
1) New onset หัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นครั้งแรก โดยอาจเป็นแบบเฉียบพลัน (Acute onset) หรือเกิดขึ้นช้า (Slow onset)
2) Transient หัวใจล้มเหลวที่มีอาการชั่วขณะ เช่น เกิดขณะมีภาวะหัวใจขาดเลือด
3) Chronic หัวใจล้มเหลวที่มีอาการเรื้อรัง โดยอาจมีอาการคงที่ (Stable) หรืออาการมากขึ้น (Worsening หรือ Decompensation)
่แบ่งตามการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
1) Systolic heart failure หรือ Heart failure with reduced EF หัวใจล้มเหลวที่เกิดร่วมกับการบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างลดลง โดยทั่วไปใช้ค่า Left ventricular ejection fraction ต่ำกว่าร้อยละ 40
2) Diastolic heart failure หรือ Heart failure with preserved EF หัวใจล้มเหลวที่เกิดร่วมกับการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายปกติ โดยทั่วไปใช้ค่า LVEF มากกว่าร้อยละ 40-50
แบ่งตามอาการและอาการแสดงของหัวใจที่ผิดปกติ
1) Left sided-heart failure เป็นอาการของหัวใจล้มเหลวที่มีอาการหรืออาการแสดงที่เกิดจากปัญหาของหัวใจห้องล่างซ้ายหรือห้องบนซ้าย เช่น Orthopnea หรือ Paroxysmal nocturnal dyspnea (PND) เกิดจากความดันในหัวใจห้องบนซ้ายหรือห้องล่างซ้ายสูงขึ้น
2) Right sided-heart failure เป็นอาการของหัวใจล้มเหลวที่มีอาการ หรืออาการแสดงที่เกิดจากปัญหาของหัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle) หรือห้องบนขวา (Right atrium) เช่น อาการบวม ตับโต
แบ่งตามลักษณะของ Cardiac output
1) High-output heart failure ภาวะที่หัวใจล้มเหลวเกิดจากการที่ร่างกายต้องการปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจมากกว่าปกติ
2) Low-output heart failure ภาวะที่หัวใจบีบเลือดออกจากหัวใจได้น้อยลง จนเกิดภาวะหัวใจล้มภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน อาการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการคงที่แต่กลับแย่ลงในเวลาไม่นาน
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง วินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหรือไม่ก็ได้แต่ในขณะที่ทำการวินิจฉัยผู้ป่วยมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว
สาเหตุ
ความผิดปกติแต่กำเนิด
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ
ความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ
ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการเหนื่อยขณะที่ออกแรง อาการเหนื่อยหายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง
อาการบวม เช่น เท้า ขา เป็นลักษณะบวมกดบุ๋ม
อ่อนเพลีย (Fatigue) เนื่องจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลงทำให้สมรรถภาพของร่างกายลดลง
แน่นท้อง ท้องอืด เนื่องจากตับโตจากเลือดคั่งในตับ (Hepatic-congestion)มีน้ำในช่องท้อง
หัวใจโต เสียงหัวใจผิดปกติ เสียงปอดผิดปกติ
การวินิจฉัย
Chest X-ray, CXR
electrocardiography
การตรวจเลือด
Echocardiography
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้ Bed rest โดยช่วยเหลือทำกิจกรรมให้ผู้ป่วยในระยะที่ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย
จัดท่านั่งศีรษะสูง 30-90 องศา (Fowler’s position) หรือนั่งฟุบบนโต๊ะข้างเตียง
ประเมิน V/S ทุก 1 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
1) ยาดิจิทาลิส (Digitalis)
2) ยาโดปามีน (Dopamine)
3) ยาไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine)
4) ยากลุ่ม ACE inhibitor
5) ยาขับปัสสาวะ
ชั่งนํ้าหนักผู้ป่วยทุกวันในเวลาเดิมคือ ตอนเช้าหลังถ่ายปัสสาวะเพื่อประเมินภาวะน้ำเกิน
จํากัดนํ้าในแต่ละวันตามแนวทางการรักษา
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วยด้วยภาวะหัวใจวาย
1) กระตุ้นให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
2) สอนและแนะนําเทคนิคการผ่อนคลาย
3) ควรกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัว ญาติ หรือบุคคลใกล้ชิดมีส่วนร่วมในการดูแล
4) มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้นไปในทางที่ดี
Shock
หมายถึง ภาวะที่เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ (Poor tissue perfusion) หากรักษาไม่ทันท่วงทีจะส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว (Organ failure) ตามมา
การแปลผลความดันโลหิต
Systolic blood pressure ความดันของหลอดเลือดขณะหัวใจบีบตัว ถ้าค่า SBP สูง แสดงว่า Systolic function ดีถ้าค่า SBP ต่ำ แสดงว่า Systolic function ไม่ดี
Diastolic blood pressure ความดันของหลอดเลือดขณะหัวใจคลายตัว ถ้าค่า DBP สูง แสดงว่า Afterload สูง ถ้าค่า DBP ต่ำ แสดงว่า Afterload ต่ำ
ประเภท
Low cardiac output shock
High cardiac output shock
Shock management
การรักษาจำเพาะ (Specific treatment)
การรักษาประคับประคอง (Supportive treatment)
Airway: กรณีที่มี Upper airway obstruction ควรทำการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
Breathing: ในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อกควรให้ออกซิเจนร่วมด้วย เพื่อเพิ่ม Oxygen delivery
Circulation: พิจารณาการให้สารน้ำหรือ Vasopressors / inotropes
การให้สารน้ำ
Crystalloids
Normal saline
ข้อพึงระวัง
Volume overload
Hypernatremia
Hyperchlorermic metabolic acidosis
Ringer's lactate solution
ข้อพึงระวัง
Volume overload
Lactic-acidosis
Hyperkalemia
Hypercalcemia
colloids
ผลข้างเคียง
Anaphylactic / anaphylactoid reaction อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้
Renal toxicity อาจทำให้เกิด Acute kidney-injury
Coagulopathy/platelet dysfunction อาจจะทำให้เลือดออก
Vasoactive drug
เป็นยาที่ใช้ในการเพิ่มการทำงานของหัวใจ และเพิ่มความต้านทานของหลอดเลือด โดยมีกลไกการออกฤทธิ์หลัก 3 ประการคือ
Positive inotropic effect เป็นฤทธิ์ที่ทำให้การบีบตัวของหัวใจ (Cardiac-contractility)ดีขึ้น
Positive chronotropic effect เป็นฤทธิ์ที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart-rate)เพิ่มขึ้น
Vasopressor effect เป็นฤทธิ์ที่ทำให้ความต้นทานของหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้น ทำให้Afterloadเพิ่มขึ้น