Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์และ การบริโภคทางสุขภาพ - Coggle Diagram
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์และ
การบริโภคทางสุขภาพ
เศรษฐศาสตร์ (Economics)
เป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆเพื่อสนองตอบความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่ไม่จำกัด
ความต้องการมีไม่จำกัด
(Unlimited wants)
ทรัพยากรมีจำกัด
(Scarcity resources)
ปัญหา
จัดการปัญหา
ปัญหา
จัดสรรทรัพยากร
การเลือก (Choice)
กำหนดเงินที่จะจ่ายโครงการมาให้ หรือกำหนดต้นทุนมาให้แล้ว(ภายใต้เงือนไขเงินแต่ละโครงการเท่ากันหมด)
วัดผลตอบแทนหรือผลลัพธ์(Outcome)สูงที่สุด
รู้ว่าผลลัพธ์แน่นอนว่าต้องการที่บรรลุผลลัพธ์อะไร(ภายใต้เงือนไขผลลัพธ์แต่ละโครงการเท่ากันหมด)
วัดการใช้เงินหรือต้นทุน(Cost)ต่ำที่สุด
ทำให้เกิดความ
ขาดแคลน คน ที่ดิน เวลา
บิดาแห่งวิชาเศรษฐ์ศาสตร์ (Father of Economics)
อดัม สมิธ (Adam Smith) ชาวอังกฤษได้รับสมญา
“บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์”
พระยาสุริยานุวัตร ได้รับสมญา “บิดาแห่งวิชา
เศรษฐศาสตร์ไทย”
แนวคิดทางการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์
ผู้ผลิต (Supply)
อุปทาน
ผู้บริโภค (Demand)
อุปสงค์
แก่น (Core) ของเศรษฐศาสตร์
• ประสิทธิภาพ (Efficiency) การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทางเลือก (Choice) การเปรียบเทียบทางเลือกหลายๆ ทาง(Options) ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้
ผลิตอะไร What? จึงจะใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Allocative efficiency)
• ผลิตอย่างไร How? จึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ (Technical efficiency)
ผลิตเพื่อใคร For whom? ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ และเสมอภาค (Equity)
ความแตกต่างระหว่างเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ป่าทั้งป่า
การศึกษาเศรษฐกิจของทั้งระบบ
ตัวอย่างเช่น : การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ,เงินเฟ้อ,รายได้ของรัฐบาล, การว่างงานของประเทศ
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) ต้นไม้แต่ละต้น
• เป็นการศึกษาเศรษฐกิจของหน่วยย่อย
ตัวอย่างเช่น : การตัดสินใจของผู้บริโภค,การจ้างงานในอุตสาหกรรมรถยนต์, ราคาข้าว,นโยบายราคาของบริษัท
ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค
ผู้บริโภคจะเลือกบริโภคที่จะทำให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด
ภายในงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด
การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค
เส้นความพอใจเท่ากัน
ทฤษฎีอรรถประโยชน์
การตัดสินใจของผู้บริโภคมีลักษณะดังนี้
เลือกบริโภคสินค้าเพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุด
อรรถประโยชน์สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ สามารถจัดลำดับ และเปรียบเทียบกันได้
อรรถประโยชน์รวม (Total Utility : TU) วัดจากความพึงพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าทั้งหมด
อรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย (Marginal Utility : MU) เป็นอรรถประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้นทีละหน่วย
การตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
“อรรถประโยชน์ของสินค้าที่เราจะได้รับจากการเป็นเจ้าของ”
“อรรถประโยชน์ของเงินที่มีมูลค่าเท่ากับราคาสินค้าที่เราต้องจ่าย”
เลือกบริโภคเพื่อให้ตนเกิดความพอใจสูงสุดจากเงินที่มีอยู่อย่างจำกัด
ความหมายของ TU & MU
TU หมายถึง อรรถประโยชน์รวมที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการในแต่ละหน่วย
MU หมายถึง อรรถประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับเพิ่มขึ้นจากการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 1 หน่วย
ความหมายของอรรถประโยชน์ (Utility)
ความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือบริการในขณะหนึ่งๆ
อรรถประโยชน์แตกต่างจากคุณประโยชน์ เช่น บุหรี่ สุรา เป็นสินค้าที่ไม่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่สามารถก่อให้เกิดอรรถประโยชน์แก่ผู้บริโภคบางคนได้
สินค้าชนิดเดียวกันอาจให้อรรถประโยชน์ต่อผู้บริโภคไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับรสนิยมผู้บริโภค
สินค้าชนิดเดียวกันและผู้บริโภคคนเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องได้รับ
อรรถประโยชน์เท่าเดิมตลอดเวลา เช่น ข้าว 1 จาน ในขณะที่หิวมากๆย่อมให้อรรถประโยชน์มากกว่าตอนที่อิ่มแล้ว
สินค้าสาธารณะ (Public goods)
สินค้าที่สมาชิกในสังคมนั้นๆ เป็น
เจ้าของร่วมกัน
สินค้านั้นไม่สามารถถูกกีดกันจากการบริโภคได้
(Nonexcludability)
สินค้าที่ทุกคนจะได้รับการบริโภคในจำนวนเท่าๆกัน (Non-rivalry)
การบริโภคของบุคคลหนึ่งไม่ทำให้ผู้บริโภคอื่น
ได้บริโภคสินค้าชนิดนั้นน้อยลง
ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดรู้จักใช้ รู้จักออม
เจ้าของปัจจัยการผลิต ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่ต้นทุนต่ำแต่เกิดกำไรสูงสุด
เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้
ใช้ความรู้ในการจัดสรรทรัพยากร กำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และรักษาผลประโยชน์ในการลงทุน การค้ากับต่างประเทศได้