Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - Coggle Diagram
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
วิวัฒนาการของกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทยได้มีพัฒนาการมากกว่า100 ปีและมีกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กันหลายฉบับ
การออกกฎหมายขึ้นควบคุมการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน
พ.ศ. 2472 มีการแก้ไขโดยการตัดสาขาสัตวแพทย์ออกโดยให้การประกอบโรคศิลปะเป็นการ
กระทำต่อมนุษย์เท่านั้น
พ.ศ. 2480 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติควบคุม
การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ซึ่งได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น 2 แผน ได้แก่ แผนโบราณและแผนปัจจุบัน
พ.ศ. 2518เพิ่มอีก 2 สาขา คือ กายภาพบำบัดและเทคนิคการแพทย์ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้งเพื่อสามารถควบคุมการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
เมื่อวันที่ 27 – 31 ตุลาคม 2518 ผู้นำทางการพยาบาลได้พิจารณาเห็นประโยชน์
จากการที่แพทย์แผนปัจจุบันได้แยกตัวออกจากการควบคุมของพระราชบัญญัติชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 และมีแพทยสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพของตนขึ้น
พยาบาลจึงได้ร่วมประชุมและมีมติให้สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หาแนวทางการจัดตั้งสภาการพยาบาล
ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นกรรมการสภาการพยาบาลที่ต้องได้รับเลือกจากกรรมการสภาการพยาบาล การสอบขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทุก 5 ปี
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพ่ง
เป็นส่วนหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนโดยทุกฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกัน
กฎหมายพาณิชย์
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการใดๆ
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการดำเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่
เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น เช่น วิธีฟ้อง ศาลที่ฟ้อง
นิติกรรม
การกระทำของบุคคลด้วยใจสมัครและถูกต้องตามกฎหมายมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล เช่น สัญญาจ้างพยาบาลพิเศษ เป็นสัญญาต่างตอบแทน
องค์ประกอบของนิติกรรม
ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน
ผู้กระทำนิติกรรมต้องแสดงออกในฐานะเอกชน มิใช่เจ้าพนักงานของรัฐ
การกระทำโดยเจตนา
เป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยใจสมัคร เพื่อให้บุคคลภายนอก
รับรู้ถึงความต้องการหรือเจตนาของตนที่จะทำนิติกรรมตามกฎหมาย
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง
อาจทำโดยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษรหรือแสดงกิริยาที่ทำให้
เข้าใจอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การทำสัญญาจ้างแรงงาน การทำสัญญาซื้อขาย
การแสดงเจตนาโดยปริยาย
เป็นการแสดงเจตนาไม่ชัดแจ้งแต่การกระทำอื่นๆ ที่ทำให้ต่าง
ฝ่ายต่างเข้าใจว่า มีความประสงค์ใดในกิริยาเช่นนั้น
การขึ้นรถเมล์แล้วยื่นเงินค่าโดยสารให้กระเป๋ารถเมล์ และรับตั๋วโดยสาร ก่อให้เกิดนิติกรรมการซื้อขาย
การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำที่กฎหมายให้อำนาจบุคคลกระทำได้
โดยชัดแจ้ง หรือกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าห้ามกระทำ
นิติกรรมที่กระทำนั้นขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นการกระทำที่พ้นวิสัยที่มนุษย์จะทำได้ ให้ถือเป็นโมษะ
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ
ผลของการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คู่กรณีตามนิติกรรมนั้นๆ
ประเภทของนิติกรรม
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียว
นิติกรรมที่เกิดผลโดยการแสดงเจตนาของบุคคลเพียงฝ่ายเดียว และมีผลผูกพันทางกฎหมาย
พินัยกรรม คำมั่นจะให้รางวัล การบอกล้างโมฆียกรรม
นิติกรรมหลายฝ่าย
นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป และทุกฝ่ายตกลงยินยอมตามข้อตกลง
สัญญาใช้ทุนการศึกษา สัญญาค้ำประกัน สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจ้างดูแลผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต เช่น การให้โดยเสน่หา สัญญาการซื้อขาย สัญญาการใช้ทุนการศึกษา สัญญาค้ำประกัน
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต เช่น พินัยกรรม
3.นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่มีค่าตอบแทน อาทิ สัญญาจ้างงาน สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน
นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน อาทิ การให้โดยเสน่หา สัญญายืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ย
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
ความสามารถของบุคคล (Capacity)
สภาพที่กฎหมายกำหนดขอบเขตให้บุคคลมีสิทธิหรือใช้สิทธิ
บุคคลจะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายนั้น ต้องมี “สภาพบุคคล หรือ มีชีวิต”และบุคคลนั้นต้องมีความสามารถที่จะใช้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย
บุคคล
สื่งซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
บุคคลธรรมดา
หมายถึง มนุษย์ที่มีชีวิตรอดภายหลังการคลอดจากครรภ์มารดา ในทางกฎหมายกำหนดให้สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
การตายโดยธรรมชาติ
หมายถึง การป่วยตาย แก่ตาย หรือถูกะ่าตายของบุคคล ทำให้สภาพ
บุคคลสิ้นสุด ก่อให้เกิดผลทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา
การสาบสูญ
หมายถึง การที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่า บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี
นิติบุคคล
หมายถึง สิ่งซึ่งกฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้เยาว์(Minor)
บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมาย บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะใน 2 กรณีายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (ปพพ. มาตรา 19) หรือการสมรส (ปพพ.มาตรา 20) เมื่อหญิงและชายอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
คนไร้ความสามารถ (Incompetence)
คนวิกลจริต (Unsound mind) หรือ อยู่ในภาวะผัก (Vegetative state) บุคคลที่สมองพิการหรือจิตใจผิดปกติ โดยมีอาการหนัก ขนาดเสียสติพูดไม่เข้าใจและไม่รู้ผิดชอบชั่วดี
ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลื้อ)หรือพนักงานอัยการยื่นเรื่องต่อศาล และศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi – incompetence)
บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเอง หรือจัดกิจการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัวและศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
กายพิการ หมายถึง ร่างกายพิการไม่สมประกอบแต่กำเนิด หรือเป็นภายหลังเพราะ
เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ
จิตฟั่นเฟือน หมายถึง คนที่จิตไม่ปกติ ไม่สมประกอบ เป็นโรคจิต
ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ
ติดสุรายาเมา หมายถึง ผู้ที่เสพสุราของมึนเมาต่างๆ หรือเสพยาเสพติด
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
ลูกหนี้จึงเป็นผู้หย่อนความสามารถ ไม่สามารถกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน
สามีภริยา เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน จึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกันเป็นการทำนิติกรรมบางประเภท เช่น การซื้อขาย แลก เปลี่ยน การเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆะกรรม
หมายถึง ความเสียเปล่าของนิติกรรม ที่กระทำตั้งแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีที่กระทำนิติกรรม
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
สัญญาซื้อขายอาวุธปืนเถื่อน สัญญาซื้อขายยาเสพติด สัญญารับจ้างวางยาะฆ่าคนตาย
2.นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงถือว่านิติกรรมสมบูรณ์
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
บุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม
ทำสัญญาว่าจ้าง นาง ก. พยาบาลวิชาชีพเฝ้าไข้แต่ นาง ข. มาเฝ้าไข้แทน โดยผู้จ้างเข้าใจว่าเป็น นาง ก. สัญญานี้ถือเป็นโมะะ
โมฆียกรรม
หมายถึง การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทำแต่สามารถบอกล้างหรือ
ปฏิเสธนิติกรรมโดยผู้เสียหายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ความสามารถของบุคคล
พิติกรรมที่ผู้เยาว์ท าต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
การแสดงเจตนาโดยวิปริต
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน
นาง ก. ต้องการว่าจ้างพยาบาลวิชาชีพเฝ้าไข้สามี และเข้าใจผิดคิดว่า นาง ข. เป็นพยาบาลวิชาชีพ เมื่อทราบความจริง นาง ก. สามารถบอกเลิกจ้างได้ ส่งผลให้นิติกรรมเป็นโมะะ
การแสดงเจตนาโดยการฉ้อฉล (ปพพ. มาตรา 159)
การแสดงเจตนาโดยการข่มขู่ (ปพพ. มาตรา 164)
การบังคับชำระหนี้
เป็นการชำระเงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้ หรืองดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี ศาลจะมีค าสั่งยกฟ้องได้
เนื่องจากคดีขาดอายุควา
ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ
สัญญา
หมายถึง การกระทำของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ที่แสดงเจตนาด้วยใจสมัครถูกต้องตรงกันที่จะกระทำหรืองดเว้นการกระทำและตกลงกันทุกข้อโดยไม่มีข้อสงสัย
ความรับผิดจากการละเมิด
หมายถึง การกระทำหรืองดเว้นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การประทุษกรรม
หรือกระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายด้วยการฝ่าฝืนข้อห้าม หรือละเว้นการกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายบัญญัติให้กระทำ
การใช้สิทธิที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่นที่ไม่ยินยอมต่อการ
กระทำนั้น โดยจงใจหรือประมาท เช่น บิดามารดาไม่ดูแลบุตร บุตรตกน้ าตาย
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
การกระทำโดยจงใจ
หมายถึง การกระทำที่ตั้งใจหรือเจตนาโดยผิกกฎหมายไม่มีสิทธิหรือใช้สิทธิเกินขอบเขตทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
หมายถึง การกระทำโดยมิได้จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังในระดับวิญญูชน ซึ่งอาจเทียบได้กับความระมัดระวังของบุคคลในอาชีพเดียวกัน
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย หมายถึง การกระทำที่ทำให้บุคคลอื่นขาดประโยชน์ที่เคยได้รับ หรือได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ
ความเสียหายแก่ชีวิต หมายถึง ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เช่น การทำผ่าตัดผิดพลาด
ทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดมากและเสียชีวิต
ความเสียหายแก่ร่างกาย หมายถึง ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
ความเสียหายแก่อนามัย หมายถึง ความสุขสบายและความรู้สึกต่างๆ เช่น เศร้าใจเสียใจ
ความเสียหายแก่เสรีภาพ หมายถึง การทำให้ผู้อื่นถูกจำกัดอิสรภาพ
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปตามที่ว่าจ้าง(ปพพ. มาตรา 425)
พยาบาลวิชาชีพ ฉีดยา Potassium chloride ให้ผู้ป่วยแคลเซียมต่ำ โดยแพทย์สั่งยาแคลเซียมกลูโคเนต หลังฉีดผู้ป่วยเสียชีวิต
ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทำไปภายในของเขตอำนาจของ
ตัวแทน ซึ่งกระทำตามที่ตัวการมอบหมาย (ปพพ. มาตรา 427)
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตกระทำ
ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วครั้งคราวจะต้องร่วมรับผิดกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด
อายุความ คือ
ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในระยะเวลาที่
กฎหมายกำหนด ถ้าผู้เสียหายใช้สิทธินั้นร้องเรียนต่อศาลเกินระยะเวลาที่กำหนดศาลจะมีคำสั่งยกฟ้องได้เนื่องจากคดีขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๑๕
สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
มาตรา ๑๙
บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๐
ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘
มาตรา ๒๑
ผู้เยาว์จะท านิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ท าลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมะียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอ
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและวัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญา
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิด และกำหนดโทษอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน
เป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและ สังคมส่วนรวม เช่น การกระทำที่มีผลต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร การปลอมและการแปลงเอกสารการลักทรัพย์
ความผิดต่อส่วนตัว
เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และกฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจน เช่น ความผิดฐานฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ผู้อื่น หมิ่นประมาท ความผิดฐานบุกรุก ความผิดทางเพศ
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
ต้องมีบทบัญญัติความผิด
และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง กล่าวคือ ในขณะที่กระทำผิด ต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร
การตีความ หมายถึง การถอดความหมายของข้อความหรือศัพท์ต่างๆ ในบทบัญญัติออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
หมายถึง จะไม่มีผลในการเพิ่มโทษแก่บุคคล หากขณะกระทำยัง
ไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดแม้ต่อมาภายหลังมีกฎหมายบัญญัติว่าการการกระทำอย่างเดียวกันนั้นจะเป็นความผิดศาลหรือผู้พิพากษาจะนำกฎหมายใหม่มาใช้บังคับลงโทษผู้กระทำผิดไม่ได้อย่างไรก็ตาม ถ้ากฏหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
การกระทำ
หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึกและอยู่ภายใต้การบังคับของจิตใจ
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะปฏิบัติต่อผู้ต้องหา
หรือจำเลยเหมือนเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
การกระทำโดยเจตนา
หมายถึง การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
การกระทำโดยประมาท (Negligence)
หมายถึง การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ
การกระทำโดยไม่เจตนา
หมายถึง การกระทำที่ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจให้เกิด และไม่คาดคิดว่าจะเกิดจากการกระทำนั้น แต่ผลลัพธ์ที่เกิดมากกว่าตั้งใจ
[เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา]
เหตุยกเว้นความรับผิด
หมายถึง การกระทำที่โดยทั่วไปกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดแต่ถ้ามีเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมบังคับให้ผู้กระทำต้องกระทำ
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ
เหตุยกเว้นโทษ
หมายถึง การกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษหากมีเหตุอันควรที่กฎหมายระบบ
กระทำด้วยความจำเป็น เป็นการกระทำเพราะเหตุถูกบังคับ หรืออยู่ภายใต้อำนาจของใครหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต หมายถึง บุคคลกระทำผิดขณะที่ไม่สามารถรับผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงาน และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติในตำแหน่งราชการเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปีตามหลักกฎหมายถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี
กระท าความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
เหตุลดหย่อนโทษ
หมายถึง มีพฤติการณ์หรือเหตุการณ์ที่น่าเห็นใจ หรือมีเหตุเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ให้หย่อนโทษได้ เช่น
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
การกระทำโดยบันดาลโทสะ
เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษ
อายุความ
อายุความฟ้องคดีทั่วไป ระยะเวลาของอายุความแปรตามอัตราโทษตามความผิด เช่นอายุความ 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือ 20 ปี และ อายุความ 1 ปี
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้เช่น ความผิดฐานบุกรุกหรือหมิ่นประมาทกฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โทษทางอาญา
ทษประหารชีวิต เป็นโทษสูงสุด สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดคดีอุกฉกรรจ์
โทษจำคุก เป็นโทษจำกัดเสรีภาพของนักโทษที่ถูกควบคุมไว้ในเรือนจำ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
โทษกักขัง
โทษปรับ
โทษริบทรัพย์สิน
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ (Malpractice / Professional negligence /
Professional misconduct) หมายถึง การกระทำหรือการพยาบาลโดยขาดความระมัดระวัง จนเกิดความเสียหายอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตแก่ผู้ใช้บริการ
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ (Failure to follow standard of care)
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ การแพทย์ไม่ถูกต้อง (Failure to use equipment in a
responsible manner)ัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยใช้ในการแพทย์มากขึ้น พยาบาลวิชาชีพต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือนั้นๆ อย่างดี
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร (Failure to communication) เช่น ไม่รายงานแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือรายงานแพทย์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม
ความบกพร่องด้านการบันทึก (Failure to document) เช่น ไม่บันทึกความก้าวหน้า
หรือการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยไว้ในเวชระเบียน รายละเอียดของบาดแผล ประวัติการแพ้ยา
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ (Failure to assess and
monitor) เช่น ประเมินอาการในแต่ละเวรไม่ครบถ้วน
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย (Failure to act as patient
advocate) เช่น ไม่ทักท้วงเมื่อแพทย์มีคำสั่งให้จำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพกับการปฏิเสธการรักษา
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธ
เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย
ความผิดฐานนี้เกี่ยวกับผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือสัญญาที่ต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้ เพราะอายุ ความเจ็บป่วย กายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งบุคคลที่ตนเองับผิดชอบตามหน้าที่หรือตามสัญญา เป็นเหตุให้อันตรายแก่ชีวิต
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย (Confidential disclosure)
ทั้งนี้ความผิดฐานเปิดเผยความลับมีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์
เป็นข้อผูกพันหรือหน้าที่ เช่น การออกใบรับรองแพทย์ หรือการนำรายละเอียดข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผู้ป่วยเข้าสู่ที่ประชุมทางการแพทย์ เพื่อขอความเห็น
โรคติดต่อร้ายแรงเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจรับผิดชอบหรือตัดสินใจด้วยตนเอง จำเป็นที่แพทย์ต้องเปิดเผยหรือแจ้งเรื่องราวให้แก่ญาติหรือผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ป่วยทราบ
คำสั่งศาล เช่น ปฏิบัติตามหมายศาลหรือการให้การต่อศาลในฐานะพยาน
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต
การไม่ช่วยเหลือหรือปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ทั้งๆ ที่ตนอาจช่วย
ได้ (ปอ. มาตรา 374) ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร: การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
ความผิดฐานปลอมเอกสาร
ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วย
ประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง
นำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้ในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
เป็นผู้ทำคำรับรองเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นผู้ใช้หรืออ้างคำรับรองนั้นโดยทุจริต
ใช้เอกสารเท็จนั้นในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน
การทำให้หญิงแท้งลูก (Induced abortion)
การทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ไม่ว่าจะกระทำให้แท้งโดยวิธีใด เช่น การกินยาขับเลือด กระโดดโลดเต้นย่อมมีความผิดและได้รับ
โทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม การทำแท้งตามมาตรานี้เป็นการกระทำ
ที่หญิงตั้งครรภ์ไม่สมัครใจ จึงมีบทลงโทษหนักขึ้น ตามลักษณะการกระทำ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปีหรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
มาตรา ๑๘ โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้
ประหารชีวิต
จำคุก
กักขัง
ปรับ
ริบทรัพย์สิน
มาตรา ๑๙ ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย
มาตรา ๒๓ ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน
มาตรา ๓๐
ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตราห้าร้อยบาทต่อหนึ่งวัน
ความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้ามกักขังเกินก าหนดหนึ่งปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษา
ปรับสองแสนบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีก็ได้
มาตรา ๓๐/๒ ถ้าภายหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตตามมาตรา ๓๐/๑ แล้ว ความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่าผู้ต้องโทษปรับมีเงินพอชำระค่าปรับได้ในเวลาทีื่นคำร้องตามมาตรา
มาตรา ๓๒ ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม
มาตรา ๓๓ ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย
มาตรา ๓๗ ถ้าผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ศาลกำหนด ให้ศาลมีอำนาจสั่ง
ดังต่อไปนี
ให้ยึดทรัพย์สินนั้น
ให้ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็ม
มาตรา ๒๔๗ คดีที่จำเลยต้องประหารชีวิต ห้ามมิให้บังคับตามคำพิพากษา จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอภัยโทษแล้ว