Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 ปรัชญาการศึกษากลุ่มเสรีนิยม, นางสาวพิชญวดี พรมดี รหัส 62723713217 …
บทที่ 6 ปรัชญาการศึกษากลุ่มเสรีนิยม
ปรัชญาพิพัฒนนิยม
จุดมุ่งหมาย
ปรัชญาสาขานี้เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง แต่พิพัฒนนิยมมองกว้างไปกว่านั้น โดยมองว่าการศึกษานั้นจะต้องศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพและสติปัญญาควบคู่กันไป
องค์ประกอบของการศึกษา
หลักสูตร
เน้นประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ประสบการณ์นั้นควรเป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม และเด็กได้มีส่วนโดยตรงในประสบการณ์นั้น หลักสูตรในแนวนี้จึงเรียกว่า หลักสูตร Child-centered Curriculum
ครูผู้สอน
หน้าที่ของครูในปรัชญาสาขานี้คือ การเตรียม การแนะนำ และการให้คำปรึกษาเป็นหลักสำคัญ ครูอาจจะเป็นผู้รู้ แต่ไม่ควรไปกำหนดหรือกะเกณฑ์ ให้เด็กทำตาม ครูควรเป็นผู้กระตุ้น หนุน และหนี
ผู้เรียน
ถือว่าการเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นได้ดี ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง
กระบวนการจัดการเรียนการสอน
การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำ มากกว่ารู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับหรืออยู่เฉย ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
การบริหาร
การร่วมมือกัน โรงเรียนจะมีคณะกรรมการในโรงเรียนซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมกันปรึกษาวางแผนนโยบายและตัดสินปัญหาต่างๆของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงหรือตามมติของคณะกรรมการ
ปรัชญาปฏิรูปนิยม
จุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายในส่วนที่เกี่ยวกับสังคมข้อหนึ่ง คือ การศึกษามีความสัมพันธ์กับสังคม แต่ปรัชญาปฏิรูปนิยมนี้ไปไกลกว่านั้น คือ เห็นว่าการศึกษาควรจะช่วยปรับปรุง พัฒนาหรือกล่าวรวมๆ ว่าปฏิรูปสังคมนั้นเอง
องค์ประกอบของการศึกษา
หลักสูตร
หลักสูตรตามปรัชญาสาขานี้เป็นหลักสูตรที่เน้นสังคมเป็นหลัก ผู้เรียนจะต้องรู้จักและเข้าใจสภาพของสังคมอย่างดีพอ มองเห็นปัญหาต่างๆ ในสังคมและแนวทางในการแก้ไข
ผู้เรียน
เด็กจะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองน้อยลง แต่จะเห็นประโยชน์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม นักเรียนจะได้รับการฝึกฝนให้รู้จักเทคนิคและวิธีการต่างๆ
ครูผู้สอน
ครูจะต้องเป็นนักบุกเบิก เป็นนักแก้ปัญหา สนใจและใฝ่รู้ในเรื่องของสังคมและปัญหาสังคมอย่างกว้างขวางและเอาจริงเอาจัง ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องสนใจในวิชาการควบคู่กันไป ครูจะต้องมีทักษะในการรวบรวม สรุป และวิเคราะห์ปัญหา
กระบวนการเรียนการสอน
ให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ลงมือทำเอง มองเป็นปัญหาและเข้าใจเรื่องราวต่างๆด้วยตนเอง สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ทฤษฎีและปฏิบัติจะควบคู่กันไปในกรณีที่การปฏิบัติจริง
การบริหาร
ยึดหลักของการบริหารแบบประชาธิปไตยเป็นหลักการบริหารการศึกษา จะต้องกระจายอำนาจไปอย่างแท้จริง
นางสาวพิชญวดี พรมดี รหัส 62723713217