Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU,…
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator)
ประคับประคองผู้ป่วยที่มีภาวะระบบหายใจล้มเหลวหรือระบบไหลเวียนล้มเหลว
การช่วยหายใจแบบแรงดันบวก “positive mechanical ventilator”
คำศัพท์สำคัญ
Tidal volume (VT)
ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดใน 1 ครั้ง หน่วยเป็นมิลลิลิตร คำนวณตามน้ำหนักตัว ค่าปกติ 6-8 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม
Respiratory rate (RR)
การตั้งอัตราการหายใจให้กับผู้ป่วย สำหรับผู้ใหญ่จะอยู่ระหว่าง 12-20 ครั้ง/นาที
Minute volume (MV)
ปริมาตรลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที มีหน่วยเป็นลิตร/นาที
Inspiratory time: Expiratory time (I:E)
อัตราส่วนระหว่างเวลาที่ใช้ในการหายใจเข้าต่อเวลาที่ใช้ในการหายใจออก ส่วน ใหญ่ตั้ง 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3 ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของปอ
Peak flow (PF)
อัตราการไหลของอากาศเข้าสู่ปอดมีหน่วยเป็นลิตร/นาที เป็นการควบคุมช่วง ระยะเวลาหายใจเข้า
Sensitivity
การตั้งค่าความไวของเครื่องที่ผู้ป่วยต้องออกแรงกระตุ้นเครื่อง เพื่อเริ่มต้นการ หายใจเข้า
Fraction of Inspired Oxygen (Fio2)
การตั้งระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศที่เครื่องปล่อยเข้าผู้ป่วย ปรับได้ ตั้งแต่ 21-100 เปอร์เซ็นต์ (ความเข้มข้นของออกซิเจน 40% หมายถึง Fio2 0.4
Positive End Expiratory Pressure (PEEP)
การทำให้ความดันในช่วงหายใจออกสุดท้ายมีแรงดันบวกค้างไว้ในปอดตลอดเวลา มีประโยชน์คือ ลดแรงในการหายใจ ป้องกันปอดแฟบ (Atelectasis) คือจะมีลม ค้างอยู่และเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure)
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure)
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue)
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasive positive ventilator; NPPV
ประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ
สามารถช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น
ภาวะกรดจากการ หายใจ
ดูแลขับเสมหะจะ ลำบากกว่า เกิดภาวะท้องอืดได้ง่าย เสี่ยงต่อการสำลัก
Continuous positive airway pressure (CPAP)
ผู้ป่วยหายใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง สำหรับใช้ที่บ้าน หรือใช้ในเวลากลางคืนและใช้ในรายที่ ถอดท่อช่วยหายใจ
Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP)
Invasive positive ventilator; NPPV
การอัดอากาศเข้าไปในปอดผ่านทาง endotracheal tube หรือ tracheostomy
ความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ (Mode of ventilator)
Control mandatory ventilation (CMV)
ช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้งถูกกำหนดด้วยเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่มี การหายใจเองเลย
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
ช่วยหายใจที่มีทั้งการ หายใจเองและการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
การกระตุ้นการหายใจโดยเครื่องจะสัมพันธ์กับการหายใจของผู้ป่วย
Spontaneous ventilation
การหายใจที่ผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มการหายใจเอง รวมถึงเป็นผู้ กำหนดระยะเวลาและปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าด้วยตนเองทั้งหมด
Continuous positive airway pressure (CPAP)
การหายใจที่ให้แรงดันบวก (PEEP) ต่อเนื่องในระดับเดียวกันทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก
ไม่มีการส่งแรงดันช่วยเพิ่มขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้า
ผู้ป่วย obstructive sleep apnea
Pressure support ventilator (PSV)
การหายใจที่เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วย สามารถหายใจได้เอง
หยุดจ่ายอากาศเมื่อ ผู้ป่วยไม่ต้องการแล้ว
tidal volume, respiratory rate และ inspiratory time PSV มักใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
(cardiac output) ลดลง
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป (Pulmonary volutrauma)
ภาวะถุงลมปอดแตก (Pulmonary barotrauma)
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication)
การบาดเจ็บต่อ กล่องเสียงและเยื่อบุหลอดลม
การทะลุ ต่อกันของหลอดลมและหลอดอาหาร หลอดลมตีบ
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
(Ventilator Associated Pneumonia; VAP)
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity)
การเกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
ภาวะโภชนาการ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านจิตใจ ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจขณะที่ยังรู้สึกตัว
การดูแลด้านร่างกาย
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน
Tension pneumothorax, Subcutaneous emphysema, Stress ulcer
ระดับความรู้สึกตัว อาการชา กระตุกตาม ปลายมือปลายเท้าหรือริมฝีปาก
การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
ตำแหน่งเหนือ Carina ประมาณ 1 นิ้ว
เอกซเรย์ทรวงอก (CXR)
ฟังเสียงลมเข้าปอด
mouth care และดูดเสมหะ (suction)
ป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
(sterile technique)
ดูดเสมหะ
ดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแล Tubing system
ป้องกันภาวะปอดแฟบ
Deep lung inflating โดยการใช้ Self-inflating bag (Ambu bag)
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Electrolyte imbalance ค่าก๊าซใน หลอดเลือดแดง (ABGs)
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
ขั้นตอนที่ 1
ประเมิน
โรคหรือสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหายหรือทุเลาลง
มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ ค่า PaO2>60 มม.ปรอท FiO2 ไม่เกิน 0.4
ค่า PEEP น้อยกว่า 5 เซนติเมตรน้ำ
ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทำตามคำสั่ง
สัญญาณชีพปกติ
ค่า Spontaneous tidal volume เมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว มากกว่า 5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ความสามารถในการหายใจเองของผู้ป่วย
Rapid shallow breathing index
Rate Volume Ratio (RVR) <105
ใช้ยาระงับประสาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการควบคุมความกระวนกระวายของผู้ป่วย
ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจหรือหลอดเลือด
สามารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยหายใจเองทาง T piece หรือหายใจเองสลับกับเครื่องช่วยหายใจเป็นพักๆ
ใช้เวลาประมาณ ½-2 ชั่วโมง ไม่มีความจำเป็นในการใช้ท่อช่วยหายใจก็ สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้
การใช้เครื่องช่วยหายใจ mode SIMV,PSV,CPAP
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
ลดการช่วยเหลือจากเครื่องโดยการตั้งค่าการหายใจของเครื่องให้ต่ำกว่า การหายใจของผู้ป่วย
เครื่องให้ทำงาน 8 ครั้งต่อนาที ในขณะที่ผู้ป่วยหายใจ 20 ครั้งต่อนาที
เครื่องช่วย 8 ครั้ง แล้วค่อยๆลดจำนวนครั้งที่เครื่องช่วยลงทีละน้อย ครั้งละ 2-4 ครั้ง/นาที เป็น 6 เป็น 4 ครั้ง
ถ้าผู้ป่วย อาการดีอาจทำการลดได้ถี่ขึ้น หลังจากที่ลดการช่วยได้น้อยกว่า 5 ครั้ง/นาที เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง
Pressure support ventilation (PSV)
เครื่องจะปล่อยแรงดันในช่วงที่ผู้ป่วยหายใจเข้าด้วยตนเอง จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงมาก
ผู้ป่วยเป็นผู้กำหนดอัตราการหายใจ เวลาในการหายใจเข้าและปริมาตรของ อากาศ (tidal volume) ด้วยตนเอง
ระดับที่ผู้ป่วยไม่เหนื่อยหอบร่วมกับหายใจได้ปริมาตร tidal volume 8-10 มิลลิลิตร ถ้าผู้ป่วยมีอาการดี ให้ลดระดับความดันครั้งละ 2-4 เซนติเมตรน้ำ ลดได้ทุก 12 ชั่วโมง
เท่ากับ 5-7 เซนติเมตรน้ำ ได้นาน 1-2 ชั่วโมงก็พิจารณาการ ถอดท่อช่วยหายใจได้
Continuous Positive Airway Pressure (CPAP)
เป็นการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดย เครื่องช่วยหายใจปล่อยแรงดันบวกเข้าปอดตลอดเวลา
ขั้นตอนที่ 2
การพยาบาลผู้ป่วยที่หย่าเครื่องช่วยหายใจ
หย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆ ลดความกลัว
ดูดเสมหะในปากและท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
จัดท่าของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือท่านั่ง
เริ่มทำการหย่าเครื่องช่วยหายใจเมื่อประเมินสภาพผู้ป่วย
วัดสัญญาณชีพและความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ประเมินการขาดออกซิเจน
้ต่อท่อช่วย หายใจเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ setting ก่อนหน้าที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 3
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่และเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วย อย่างใกล้ชิด
การถอดท่อช่วยหายใจ
แพทย์พิจารณาให้ถอดท่อช่วยหายใจได้ (extubation)
สามารถหายใจผ่าน T piece 10ลิตร/นาที เกิน 2 ชั่วโมง
สามารถไอขับเสมหะออกมาได้แรงพ้นท่อช่วยหายใจ
รู้สึกตัวดีหรือ GCS>10 คะแนน
ประเมิน cuff leak test ผ่าน
วิธีในการถอดท่อช่วยหายใจ
จัดท่าให้ผู้ป่วยเป็นท่านั่งศีรษะสูง
ดูดเสมหะในปากและในท่อช่วยหายใจให้โล่ง
แกะพลาสเตอร์ที่ยึดท่อช่วยหายใจ
เอาลมในกระเปาะท่อช่วยหายใจออกให้หมดโดยใช้ syringe
้ผู้ป่วยกลั้นหายใจ ค่อยๆดึงท่อช่วยหายใจออกและให้ผู้ป่วยไอขับเสมหะออกมา ดูดเสมหะอีกครั้ง
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
การวัดการไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤต
การวัดความดันในหลอดเลือดแดง (intra-arterial monitoring)
การวัดความดันของหลอดเลือดแดงโดยตรง
การสอดใส่สายยางเข้าไปในเส้นเลือดแดง (arterial line; A-line) และนำมาต่อกับเครื่องวัด (manometer)
(mean aortic pressure; MAP:) Systolic BP + (2 x Diastolic BP) / 3
ค่าปกติ MAP = 70-100 mmHg.
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดง
ในผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนลดลง หรือความดันโลหิตต่ำ เช่น ในภาวะช็อก ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุขั้น รุนแรงหลายระบบ
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก เช่น ผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด ผ่าตัดสมอง
ในรายที่จำเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas หรือส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการบ่อย ๆ
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drug
ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตยาก เช่น ผู้ป่วยถูกไฟไหม้ทั้งตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง (arterial line)
ตรวจสอบความแม่นยำของการปรับเทียบค่า (Accuracy)
Levelling the transducer จัดตำแหน่ง transducer ให้อยู่ในตำแหน่ง phlebostatic axis คือ บริเวณ 4th intercostal space ตัดกับ mid anterior-posterior line
Zeroing the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0) เพื่อเทียบกับเครื่อง monitor ให้การวัดความดันมีความเที่ยงตรงและแม่นยำ ควร set zero เครื่องทุก 8 ชั่วโมง
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ (infection)
การเกิดเนื้อตาย (Skin necrosis)
Air embolization
การป้องกันการติดเชื้อ (Infection) การพยาบาล
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย ไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศ ค้างในสาย
ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ ให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการหัก งอ ของสาย arterial line
การป้องกันการเลื่อนหลุด ควร immobilized arm โดยใช้ arm broad ที่เหมาะสม บริเวณ insert site ต้องสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลา
ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน (damped waveform) และบันทึกตำแหน่งของสายยาง หากพบควร ดูดลิ่มเลือดหรือฟองอากาศออกและรายงานแพทย์
จดบันทึกค่า Arterial blood pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาทื
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP มีดังนี้
ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด ภาวะ shock และกรณีอื่นที่ทำให้ปริมาณเลือด และน้ำในร่างกายลดลง
ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน
ในกรณีที่ต้องการประเมินการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
ตำแหน่งเส้นเลือดที่ใช้สำหรับ monitor CVP
สายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง (central line)
การแปลงค่า CVP
CVP ปกติ อาจอยู่ในช่วง 6-12 cm H2O (2-12 mmHg)
ค่า CVP สูง
Elevated vascular volume
Increased cardiac output
(hyperdynamic cardiac function)
Depressed cardiac function (RV infarct, RV failure)
Cardiac tamponade
Constrictive pericarditis
Pulmonary hypertension
ค่า CVP ต่ำ
Decreased mean systemic pressure (e.g., as in late shock state)
Venodilation (drug induced)
การพยาบาล
ความแม่นยำของการเปรียบเทียบค่า
Levelling the transducer จัดตำแหน่ง transducer ให้อยู่ในตำแหน่ง phlebostatic axis คือ ตำแหน่ง 4th intercostal space ตัดกับ mid anterior-posterior line
Zero the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0) เพื่อเทียบกับเครื่อง monitor ให้การวัดความดันมีความเที่ยงตรงแม่นยำ
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน พยาบาลควรระมัดระวังสายขณะเคลื่อนย้ายและขณะทำแผล ดูแล ไม่ให้เกิดการดึงรั้ง และตรวจสอบผ้าปิดแผลติดกับผิวหนังให้แน่น
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
ป้องกันการอุดตันของสายสวน การอุดตันสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
การป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด ป้องกันการเลื่อนหลุดของสาย ป้องกัน ฟองอากาศเข้าสู่หลอดเลือดในขณะวัด CVP
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต (common drugs used in ICU)
Epinephrine หรือ adrenaline 1 mg/ ml/ ampule (1: 1,000)
ใช้เป็นยาตัวแรกในการทำ CPR ทั้งในภาวะ systole/PEA และ VF/pulseless VT
ใช้ในภาวะ symptomatic bradycardia ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ atropine
Cardiac arrest
ขนาดยาที่ใช้
Cardiac arrest เริ่ม 1 mg IV และให้ซ้ำทุก 3-5 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น ขนาดยาที่ใช้ทางท่อ ช่วยหายใจ (endotracheal tube) ขนาด 2-2.5 มิลลิกรัม
Hypotension or symptomatic bradycardia อาจผสม 1 mg ใน NSS หรือ sterile water 500 ml ในขนาด 2-10 mcg/min
ขนาดยาที่ใช้ในกรณีความดันโลหิตต่ำรุนแรง (severe hypotension) ขนาด 0. 05- 1 . 0 mcg/kg/min
การบริหารยา
IV; Undilute (1:1,000) หรือ dilute ให้ได้ 1: 10,000 ยา (1 amp: สารน้ำ 10 ml) อัตราตามแผนการรักษา
ผลข้างเคียง
tachycardia, arrhythmias, hypertension
Amiodarone (Cordarone)
ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation และ Atrial flutter
หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด Ventricular fibrillation (VF) และ Ventricular tachycardia (VT)
ขนาดที่ใช้
กรณีทำ CPR ขนาด 300mg หรือ 5 mg/kg เจือจางใน D5W 20 ml. IV push หากยังมีหัวใจห้องล่าง ผิดปกติ ให้ยาเพิ่มอีก 150 mg หรือ 2.5 mg/kg หลังจากนั้นให้ maintenance dose 10-20 mg/kg/day
การบริหารยา
Amiodarone injection 150 mg/ 3 mL เจือจางใน D5W เท่านั้น
ผลข้างเคียง
vasodilatation และ hypotension
Bradycardia, hypothyroidism, hyperthyroidism, thrombophlebitis
Atropine
ใช้แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติและ AV block
ขนาดยาที่ใช้
0.6-1 mg ทุก 3-5 นาที (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 3 mg)
การบริหารยา
Atropine 0.6 mg/ml/ampule ให้ IV Bolus: Undiluted or dilute 1-10 ml ฉีด 15 – 30 วินาที
ผลข้างเคียง
tachycardia
Adenosine
ใช้เป็น first line drug ในภาวะ Stable narrow complex tachycardia (reentry SVT) หรือใน ภาวะ unstable narrow complex regular tachycardia แต่ต้องเตรียมพร้อมทำ cardioversion ไว้ด้วย
ภาวะ regular monomorphic wide complex tachycardia
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
Adenosine 6 mg/2 ml/vial ฉีดทางหลอดเลือดดำขนาด 6 mg ฉีดเร็ว ๆ ภายใน 1 – 3 วินาที ตาม ด้วย NSS bolus 20 ml พร้อมกับยกแขนสูง (double syringe technique) สามารถให้ยาซำ้ได้อีก 12 mg
ผลข้างเคียง
อาการหน้าแดง (flushing) เหนื่อยและแน่นหน้าอก ซึ่งอาการไม่รุนแรงและมักจะหายไป ในเวลา< 1 นาที
Digoxin (Lanoxin ®)
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ atrial fibrillation (AF), atrial flutter และ supraventricular Tachycardia (SVT)
ขนาดที่ใช้
Digoxin injection 0.5 mg/ 2 mL amp (=0.25 mg/mL) ขนาดเริ่มแรก 0.25 – 0.5 mg ทางหลอดเลือดดำและให้ซ้ำได้ขนาดสูงสุด 1 mg/day
การบริหารยา
การให้ยาแบบ IV bolus จะต้องให้แบบช้าๆ นานกว่า 5 นาที ยาฉีดที่ให้อาจไม่ต้องเจือ จางแต่ถ้าเจือจางควรเจือจางด้วย sterile water for injection, NSS, D5W โดยใช้สารละลายมากกว่า 4 เท่า เพื่อป้องกันการตกตะกอนและควรใช้ทันทีที่ผสม
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นช้าชนิด Sinus bradycardia, S-A arrest
หัวใจเต้นผิดจังหวะ AV block, Atrial fibrillation
การเป็นพิษจากยา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร
Dopamine (Inopin®)
ขนาดต่ำ ใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไต (renal blood flow) และสมอง
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ เพิ่ม Cardiac out put
ขนาดสูง ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจใช้รักษาผู้ป่วยที่ มีภาวะ shock จากการติดเชื้อในกระแสเลือด
ขนาดที่ใช้และการบริหารยา
ยา 1 Amp บรรจุ 10 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg (25 mg/ml) แผนการรักษาของแพทย์นิยม เขียนเป็น 1:1, 2:1, 4:1
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ
Dobutamine
เพิ่ม cardiac output ในผู้ป่วยหัวใจวาย หรือ cardiogenic shock
ขนาดที่ใช
Dobutamine 2-20 mcg/kg/min ขนาดยามากกว่า 20 mcg/kg/min ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ซง่ึทำให้ภาวะหัวใจขาดเลือดแย่ลงได้
การบริหารยา
ยา 1 Vial บรรจุ 20 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg หรือ 12.5 mg/ml แผนการรักษาของแพทย์ นิยมเขียนเป็น 1:1, 2:1, 4:1 ใช้สารละลาย D5W หรือ NSS ให้ขนาดตามแผนการรักษา การคำนวณขนาดยา เหมือน Dopamine
ผลข้างเคียง
ความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะ
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
Norepinephrine (Levophed®) กลุ่ม Adrenergic agonist
รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะseptic shock และ cardiogenic shock ระดับรุนแรง หรือภาวะ shock หลังจากได้รับสารน้ำเพียงพอแล้ว
ขนาดยาที่ใช้
ริ่มต้นที่ 0.01-3 mcg/kg/min หากขนาดยาเกิน 1 mcg/kg/min เฝ้าระวังการเกิด vasoconstriction อย่างใกล้ชิด
การบริหารยา
ยา 1 Amp บรรจุ 4 ml มีความเข้มข้นของยา 4 mg (1 mg/ml) แผนการรักษาของแพทย์นิยมเขียน เป็น 4:100, 8:100 สารละลายที่ใช้เจือจางยาคือ D5W เท่านั้น ห้ามผสมใน NSS
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย หายใจลำบาก
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
Nicardipine
ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
ขนาดยา
ยา 1 Amp ขนาด 2mg/2 ml หรือ 10 mg/10 ml
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าแดง
ใจสั่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ
Sodium Nitroprusside
ใช้ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive emergency
ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ขนาด
การเตรียมยาผสม 50 mg ใน D5W 250 ml เริ่มให้ 0.1 mcg/kg/min ปรับยาขึ้นครั้งละ 10 mcg/min ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาโดยไม่ทำให้เกิดความดันโลหิตลดลง เพิ่มทุก 3-15 นาที ขนาดโดยเฉลี่ย 3 mcg/kg/min ขนาดสูงสุด 5-10 mcg/kg/min การลดยาควรทำช้า ๆ เพื่อป้องกันหลอด เลือดหดเกร็งกลับมาอีก
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก
พิษจาก cyanide
Nitroglycerin (NTG)
Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
Heart failure โดยช่วยในการลด preload
ขนาด
เริ่มขนาด 5-10 mcg/min เพิ่มทีละ 5-10 mcg/min ทุก 5-10 นาที ขนาดยา 30-40 mcg/min ทำ ให้เกิด Vasodilatation ขนาดยาที่มากกว่า 150 mcg/min ทำให้เกิด arteriolar dilation
การบริหารยา
NTG 1 vial มี 10 ml บรรจุยา 50 mg เจือจางใน 5%D/W หรือ 0.9%NSS โดยผสม Nitroglycerin 500-1000 มก. ใน D5W หรือ NSS 250 ml
ผลข้างเคียง
Hypotension, Tachycardia, Flushing, headache
นางสาวสลิลทิพย์ สุวรรณประสิทธิ์ 6001211054 เลขที่ 45 Sec B