Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - Coggle Diagram
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ิวัฒนาการของกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
พระราชบัญญัติ
การแพทย์ พ.ศ. 2466
การบำบัดโรคทางยาและทางผ่าตัด รวมทั้งการผดุงครรภ์การช่างฟัน การสัตวแพทย์การปรุงยา การพยาบาล การนวดหรือการรักษาคนเจ็บป่วยไข้โดยประการใดๆ
พ.ศ. 2472
ตัดสาขาสัตวแพทย์ออกโดยให้การประกอบโรคศิลปะเป็นการกระทำต่อมนุษย์เท่านั้น
พ.ศ. 2480
ใช้กฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
พ.ศ. 2479
แบ่งออกเป็น 2 แผน
แผนโบราณ
หมายถึง การประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียนสืบต่อกันมา
แผนปัจจุบัน
หมายถึง การประกอบโรคศิลปะอันได้ศึกษาตามหลักทางวิทยาศาสตร์
กิจการใด ๆ อันกระทำโดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์โดยการบำบัด รวมตลอดถึงการตรวจและการป้องกัน โรคในสาขาต่างๆ ได้แก่ เวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ
พ.ศ. 2518
เพิ่มอีก 2 สาขา คือ กายภาพบำบัดและเทคนิคการแพทย์
27 – 31 ตุลาคม 2518
แพทย์แผนปัจจุบันได้แยกตัวออกจากการควบคุมของพระราชบัญญัติชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 และมีแพทย์สภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพของตนขึ้น
5 กันยายน
พ.ศ.2528
ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. 2528” และมี
ผลบังคับใช้ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2528
พ.ศ. 2534
ปรับปรุงสาระสำคัญได้แก่ ค่านิยามการพยาบาลและการผดุงครรภ์การกำหนดขอบเขตของการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จำนวนกรรมการสภาการพยาบาล การเลือกนายกสภาการพยาบาล
กรรมการสภาการพยาบาลการสอบขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทุก 5 ปี
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540
ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 75ก วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 จวบจนถึงปัจจุบัน
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนโดยทุกฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกัน
กฎหมายพาณิชย์
เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการใดๆ ที่ได้กระทำในเรื่องหุ้นส่วนบริษัท ประกันภัย ตั๋วเงิน เป็นต้น
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
บวิธีการด าเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น
นิติกรรม
การกระทำของบุคคลด้วยใจสมัครและถูกต้องตามกฎหมาย มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล
องค์ประกอบ
ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน
การกระทำโดยเจตนา
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง อาจท าโดยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร
การแสดงเจตนาโดยปริยาย เป็นการแสดงเจตนาไม่ชัดแจ้งแต่การกระท าอื่นๆ ที่ทำให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่ามีความประสงค์
การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ
ประเภท
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิิติกรรมฝ่ายเดียว เจตนาของบุคคลฝ่ายเดียว
นิติกรรมหลายฝ่าย
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
ความสามารถของบุคคล (Capacity)
สภาพที่กฎหมายกำหนดขอบเขตให้บุคคลมีสิทธิหรือใช้สิทธิ
บุคคล
บุคคลธรรมดา
มนุษย์ที่มีชีวิตรอดภายหลังการคลอดจากครรภ์มารดา และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ินิติบุคคล
กฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
จำกัดสิทธิของบุคคล ลดหย่อยตามความหนักเบา
ผู้เยาว์(Minor) หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมาย
คนไร้ความสามารถ (Incompetence)
คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi – incompetence)
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
สามีภริยา
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆะกรรม
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
โมฆียกรรม
ความสามารถของบุคคล
การแสดงเจตนาโดยวิปริต
การแสดงเจตนาโดยวิปริต
การบังคับชำระหนี
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ความรับผิดจากการละเมิด
การกระทำหรืองดเว้นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิตเสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ประกอบด้วย
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ แม้ไม่ได้ร่วมกระทำ
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด
ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทำ
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต
ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถ
อายุความ
ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในระยะเวลาที่
กฎหมายกำหนด ถ้าเกินยกฟ้องได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๑๕ สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๐ ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส
มาตรา ๒๑ ผู้เยาว์จะท านิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทน ถ้าทำจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมะียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒๒ ผู้เยาว์อาจท าการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
มาตรา ๒๓ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
มาตรา ๒๔ ผู้เยาว์อาจท าการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
มาตรา ๒๕ ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๖ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้
มาตรา ๒๗ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้
มาตรา ๒๘ บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรส บุพการ ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดที่ดูแลอยู่ ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
มาตรา ๒๙ การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมะียะ
มาตรา ๓๑ ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว ร้องขอต่อศาลก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถ
มาตรา ๓๓ ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริต แต่พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้วิกลจริตแต่จิตฟั่นเฟือย แาจพิจารณาให้ไร้ความสามารถ หรือสามารถพิสูจน์ได้ว่าวิกลจริต จิตฟั่นเฟือยอาจพิจารณาว่าไร้ความสามารถก็ได้
มาตรา ๓๔ คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
มาตรา ๓๖ ถ้าเหตุที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๖๑ ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาปสูญก็ได้
มาตรา ๖๒ บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๑
มาตรา ๖๓ พิสูจน์ได้ว่าบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ก็ดี หรือว่าตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ในมาตรา ๖๒ ก็ดี ให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
มาตรา ๖๔ คำสั่งศาลให้เป็นคนสาบสูญหรือคำสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๕ นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๖๖ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา ๘๓ สมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๑๒๒ มูลนิธิที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๑๔๙ นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันท าลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
มาตรา ๑๕๐ การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นถือเป็นโมะะ
มาตรา ๑๕๑ การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมะะ
มาตรา ๑๕๒ การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา ๑๕๓ การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา ๑๕๗ การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมะียะ
มาตรา ๑๕๙ การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
มาตรา ๑๖๔ การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
มาตรา ๑๗๒ โมฆียะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมะะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
มาตรา ๑๗๓ ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆียะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้ว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมะะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆียะได้
มาตรา ๑๘๑ โมะียะกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ท านิติกรรมอันเป็นโมฆิยะนั้น
มาตรา ๓๖๖ ข้อความใดๆ แห่งสัญญาอันคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้น หากคู่สัญญายังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกัน
มาตรา ๔๕๖๘ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมะะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
มาตรา ๑๐๑๕ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบัญญัติแห่งลักษณะนี้แล้ว ท่านจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น
มาตรา ๑๔๔๘ การสมรสจะท าได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
มาตรา ๑๔๔๙ การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
มาตรา ๑๕๔๗ เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
มาตรา ๑๕๙๙ เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
มาตรา ๑๖๐๑ ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
มาตรา ๑๗๐๓ พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ท าขึ้นนั้น เป็นโมฆียะ
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ประเภท
ความผิดต่อแผ่นดิน เป็นความผิดที่ส าคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม
ความผิดต่อส่วนตัว เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว
ลักษณะสำคัญ
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
การกระทำ
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
อายุความ
โทษทางอาญา
โทษประหารชีวิต
โทษจำคุก
โทษกักขัง
โทษปรับ
โทษริบทรัพย์สิน
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ (Malpractice / Professional negligence /
Professional misconduct)
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ (Failure to follow standard of care)
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ การแพทย์ไม่ถูกต้อง (Failure to use equipment in a
responsible manner)
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร (Failure to communication)
ความบกพร่องด้านการบันทึก (Failure to document)
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ (Failure to assess and
monitor)
6) ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย (Failure to act as patient
advocate)
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย (Confidential disclosure)
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร: การปลอมเอกสารและการท าหรือรับรองเอกสารเท็จ
การทำให้หญิงแท้งลูก (Induced abortion)
ประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒๖๔ ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๖๙ ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำการรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๑ ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท