Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU -…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
1.การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่งช่วยหายใจ และการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ภาวะเเทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
1.ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
การใช้เครื่องช่วยหายใจทำให้เลือดดำไหลกลับหัวใจลดลงเนื่องจากมีแรงดันในช่องอกสูงขึ้นส่งผลให้ปริมาตรเลือดแดงที่ส่งออกจากหัวใจลดลง
2.การบาดเจ็บของปอด
จากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคปอดอยู่เดิมตั้งปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป ทำให้ถุงลมทางขยายมากเกินไปเยื่อบุผิวถุงลมสูญเสียหน้าที่ เกิดปอดบวมน้ำเฉียบพลันและเกิดการทำลายในที่สุด
ป้องกัน
โดยตั้งความดันสูงสุดในถุงลมปอดไม่เกิน 35 เซนติเมตรน้ำและตั้งTidal volume ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
3.ภาวะถุงลมปอดแตกเนื่อง
จากการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดัน พบสูงในผู้ที่มีโรคปอดเดิม
ป้องกัน
โดยจำกัดความดันสูงสุดในถุงลมปอดไม่เกิน 35 เซนติเมตรน้ำ
4.การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ
การบาดเจ็บต่อกล่องเสียง และเยื่อบุหลอดลม มักเกิดในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอเป็นเวลานาน
5.ภาวะปอดแฟบ
เกิดจากการตั้งปริมาตรการหายใจต่ำ และไม่มีการตั้งถอนหายใจให้ผู้ป่วยดังนั้นควรช่วยหายใจด้วยมืออาจทำหลังดูดเสมหะ โดยค่อยๆบีบเข้าช้าๆเมื่อปอดขยายตัวเต็มที่แล้วให้บีบค้างไว้ 5 วินาทีแล้วจึงปล่อยออกทำติดต่อกัน 5 ครั้ง
6. การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
เกิดในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนานเกิน 48 ชั่วโมง การติดเชื้อที่ปอดจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ ดังนั้นป้องกันโดยการล้างมือก่อนทำและหลังทุกครั้งที่มีการดูดเสมหะ โดยยึดหลัก Aseptic technique
7. ภาวะพิษจากออกซิเจน
เกิดจากการได้รับความเข้มข้นของออกซิเจนที่มากเกินไป นานเกิน 24 ถึง 48 ชั่วโมงขึ้นไป
8.ระบบทางเดินอาหาร
การเกิดแผล ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ท้องอืดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลงเนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจน
9.ผลต่อภาวะโภชนาการ
เนื่องจากผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนาน อาการไม่คงที่จึงต้องงดน้ำงดอาหาร
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
NPPV
ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยปฏิเสธเครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วย Sleep apnea
ข้อเสีย ผู้ป่วยจะไม่ได้รับออกซิเจน 100% เช่น การได้รับออหซิเจนทาง Mask จึงทำให้มีการ loss ของออกซิเจน
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ
IPPV
ข้อดี ผู้ป้วยได้รับออกซิเจน 100% แต่ขึ้นอยู้กับปอดของผู้ป่วยว่าสามารถทำงานได้ดีมากน้อยเท่าใด
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
นิยมใช้มากในภาวะวิกฤต
มี 3 แบบ
1.CMVหรือ Assist/contral (A/C)
วิธีช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้งถูกกำหนดด้วยเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด
2.SIMV
วิธีช่วยหายใจที่เครื่องช่วยหายใจช่วยเป็นบางครั้ง เพื่อให้ผู้ป่วยได้ฝึกการหายใจ
3.Spontaneous ventilation
CPAP
วิธีการหายใจที่ให้เเรงดันบวกค้างไว้ในปอดทั้งช่วงหายใจเข้า-ออก ทำให้ผู้ป่วยใช้กำลังในการหายใจลดลง ไม่เหนื่อยมาก
PSV
วิธีการที่เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้
การหายใจของผู้ป่วยเป็นตัวกำหนด TV, RR และ PSV
มักใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ
1.การดูแลด้านจิตใจ
การจัดสิ่งเเวดล้อม ความสงบ
2.การดูแลด้านร่างกาย
2.1 การประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะเเทรกซ้อน
2.2การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
2.3การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
2.4การดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแล Tubing system ของเครื่องช่วยหายใจให้เป็นระบบปิด
2.5การป้องกันภาวะปอดแฟบ ป้องกันได้ด้วยการทำ Deep lung inflating
2.6การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ เช่น Elyte, ABGs เพื่อประเมินความเป็นกรดด่างในร่างกาย และภาวะพร่องออกซิิเจนในเลือด ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง เพื่อทำการปรับตั้งเครื่องช่วยหายใจให้เหมาะสม
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ความหมาย
การลดการช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจนสามารถหายใจเองและหยุดเครื่องช่วยหายใจในที่สุด
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่หย่าเครื่องช่วยหายใจ
2.อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆ เพื่อลดความกังวล ให้ผู้ป่วยร่วมมือและให้กำลังใจผู้ป่วย
3.ดูุดเสมหะในปากและท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
เริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
4.จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าศีรษะสูง
5.เริ่มทำการหย่าเครื่องช่วยหายใจเมื่อผู้ป่วยพร้อม
6.วัดสัญญาณชีพและความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว ก่อน ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทุก 5-10 นาที
7.เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจน
8.กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ ให้ต่อท่อช่วยหายใจเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ settting ก่อนหน้าที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
1.จัดท่าผู้ป่วยนั่งศีรษะสูง
2.ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที นาน 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannular 3-6 ลิตร/นาที
3.วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาที และทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าจะคงที่เเละเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ประเมินความหร้อมของผู้ป่วย
1.มีการเเลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ PaO2>60 มม.ปรอท Fio2ไม่เกิน 0.4
2.ค่า PEEP น้อยว่า 5 เซนติเมตรน้ำ
3.ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทำตามคำสั่ง
4.สัญญาณชีพปกติ
5.ค่า Spontaneous tidal volume เมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว มากกว่า 5 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
6.ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจเเละหลอดเลือด
7.สามารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
1.ให้ผู้ป่วยหายใจเองทาง T-piece หรือหายใจสลับกับเครื่องช่วยหายใจเป็นพักๆ
2.การใช้เครื่องช่วยหายใจทาง mode SIMV, PSV, CPAP
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
2.ความล้มเหลวของการระบายอากาศ
ผู้ป่วยโรคหืด
ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
ผู้ป่วยที่ซึมมาก
3.กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีเเรง
ผู้ป่วยที่ได้รับยากดศูนย์หายใจ
Guillain-Barre syndrome
Myasthenia gravis
ภาวะอ้วน
1.ภาวะพร่องออกซิเจน
ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ
ผู้ป่วยที่มีการเสียเลือด
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ
4.ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ
ในภาวะ Shock
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ
เสี่ยงเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
การกำซาบเนื้อเยื่อไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากถุงลมปอดเสียหน้าที่
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อของปอด เนื่องจากการใส่ท่อหายใจ
ขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเสมหะเหนียวและไม่สามารถไอออกเองได้
ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวล เนื่องจากอยูในภาวะวิกฤตคุกคามชีวิต
เครื่องช่วยหายใจ
ความหมาย
เครื่องมือที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้เอง/หายใจไม่เพียงพอ
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจ
Peak flow(PF)
: อัตราการไหลของอากาศเข้าสู่ปอดใน 1 นาที
Inspiratory time:Expiratory time(I:E)
: อัตราส่วนระยะเวลาการหายใจเข้าต่อหายใจออก ปกติ เข้าสั้น ออกยาว = 1:2/1:3
Mitnute volume(MV)
: ปริมาตรลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที หาจาก RR*VT หน่วยเป็นลิตร/นาที
Sensitivity
: การตั้งค่าความไว้ของเครื่องต่อการออกเเรงกระตุ้นของผู้ป่วย
Respiratotr rate(RR)
: การตั้งอัตราการหายใจให้ผู้ป่วย ระหว่าง 12-20 ครั้ง/นาที
Fraction of Inspired Oxygen(Fio2)
: การตั้งค่าระดับความเข้มข้นของออกซิเจน(ความเข้มข้นของออกซิเจน 40% หมายถึง Fio20.4) ไม่มีการ loss ของออกซิเจน
Tidal volume(VT)
:ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดใน 1 ครั้ง ปกติ 6-8 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
PEEP
: ตวามดันบวกเมื่อสิ้นสุดการหายใจออก อากาศจะยังค้างอยู่ ใช้ในกรณีที่ปอดผู้ป่วยเสียหน้าที่ หรือเสี่ยงการเกิดปอดแฟบ และช่วยลดแแรงในการใช้หายเข้าของผู้ป่วย
2.การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด(central line monitor)
1.การวัดความดันในหลออดเลือดแดง
การสอดใส่สายยางเข้าไปในหลอดเลือดเเดง เเละนำมาต่อกับเครื่องวัด วิธีนี้มีความเชื่อถือได้มากและมีค่าใกล้เคียงกับความดันเฉลี่ยในหลอดเลือดแดงใหญ่(MAP) โดยค่า AMP ปกติ= 70-100 mmHg.
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันในหลออดเลือดแดง
1.ในผู้ป่วยมีการไหลเวียนลดลง
2.ผู้ป่วที่ได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก
3.ในรายที่ต้องการตรวจ arterial blood gas
ตำเเหน่ง
ของเส้นเลือดเเดงที่นิยมใส่ arterial catheter ได้แก่ Redial artery, Brachial artery, Femoral artery และ Dorsalis pedis
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง
1.ตรวจสอบความแม่นยำของการปรับเทียบค่า
1.1 Levelling the transducer จัดตำแหน่ง transducer ให้อยู่ในตำเเหน่ง phlebostatic axis
1.2 Zeroingthe transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ(ให้อยู่ในระดับ 0)
2.ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้สารน้ำ 0.9% NSS 500 cc ผสมกับ Heparin 2,000-2,500 ยูนิต
3.ป้องกันการเกิดภาวะเเทรกซ้อน
3.1ใช้ Sterile technique ในทุกข้นตอนของการเตรียมและการวัด
3.2หลีกเลี่ยงการปลดสาย ข้อต่อต่างๆ ดูแลให้เป็นระบบปิด
3.3ประเมินอาการและอาการเเสดงของการติเชื้อ เช่น บวม แดง ร้อน มีไข้ มีหนอง
3.4 ทำแผลทุก 7 วัน
3.5 เปลียนชุด transducer และชุดการให้สารน้ำทุก 3 วัน
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สายไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศค้างในสาย
5.ตรวจสอบข้อต่อต่างๆให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการหักงอของสาย arterial line
การป้องกันการเลื่อนหลุด ควร immobilized arm โดยใช้ arm borad ที่เหมาะสม
7.ตรวจดูคลื่นที่เเสดงการอุดตัน และบันทึกตำเเหน่งของสาย
จดบันทึกค่า Aterial pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาที
ในกรณีที่แพทย์ถอดสายออกให้กดตำเเหน่งแผลไว้นาน อย่างน้อย 10 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุด ทำความสะอาดแผลและปิดแผลด้วย plaster ด้วยหลักปราศจากเชื้อ
2.การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP
1.ในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัด
2.ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน
3.ในกรณีที่ต้องทำการประเมินการทำงานของหัวใจเเละหลอดเลือด
ตำเเหน่งเส้นเลือดที่ใช้สำหรับ monitor CPV
สายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง(central line)
การแปลค่า CPV ค่าปกติอยู่ในช่วง 6-12 H20 (2-12 mmHg.)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
1.ความแม่นยำของการเปรียบเทียบค่า
1.1 Levelling the transducer จัดตำแหน่ง transducer ให้อยู่ในตำเเหน่ง phlebostatic axis
1.2 Zeroingthe transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ(ให้อยู่ในระดับ 0)
2.ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน ดูแลไม่ให้เกิดการดึงรั้ง
ป้องกันการติดเชื้อในกระเเสเลือด
3.1พิจารณาความจำเป็นในการคาสายสวนหลอดเลือดดำ และพิจารณาถอดให้เร็วที่สุด
3.2ประเมินแผลบริเวณรอบๆที่คาสายสวนหลอดเลือดดำทุกเวรทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าปิดแผล
3.3ทำความสะอาดแผลด้วย 2% Chlorhexidine in 70 Alcohol และเปลี่ยน Sterile transparent ทุก 7 วัน
3.4สวมปิดบริเวณข้อต่อด้วย needle connector
3.5 ในกรณีการเปลียนชุดสารน้ำควรเปลี่ยนภายใน 72 ชั่วโมง
4.ป้องกันการอุดตันของสายสวน
5.การป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด
3.ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤติ(common drug used in ICU)
3.ยาที่ใช้ในภาวะ Thchyatthythmia
3.1Adenosine
ขนาดยาที่ใช้
Adenocine 6 mg/2ml/vial ฉีดทางหลอดเลือดดำขนาด 6 mg ฉีดเร็วๆ ภายใน 1-3 วินาที ตามด้วย NSS bolus 20 ml พร้อมยกแขนสูง (double syring technique) สามารถให้ยาซ้ำได้อีก 12 mg
ผลข้างเคียง
หน้าแดง เหนื่อยและเเน่นหน้าอก อาการมักหายในเวลา< 1นาที
การนำไปใช้
ใช้เป็นยาตัวเเรกในภาวะ Stable narrow complex tachycardia แต่ต้องเตรียมพร้อมทำ cardioversion ไว้ด้วย
ภาวะ regular monomorphic wide complex tachycardia
การพยาบาล
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว และหมดฤทธิ์เรัว จึงต้องฉีดเร็วๆ
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น purinr nucleoside สามารถยับยั้งการนำไฟฟ้าผ่าน AV node เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย ยาจะถูกจับ และทำลายที่เม็ดเลือดเเดงและผนังของหลอดเลือดอย่างรวดเร็ว มีค่าครึ่งชีวิตน้อยกว่า 10 วินาที จึงต้องทำการฉีดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มียาเหลือไปถึงหัวใจ
3.2Digoxin
ขนาดยาที่ใช้
Digoxin injection 0.5 mg/2ml amp (=0.25 mg/ml)
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ AV block, Atrial fibrillation
การเป็นพิษจากยา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร
หัวใจเต้นช้าชนิด Sinus bradycardia, S-A Aarrest
การนำไปใช้
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ AF, atrial flutter และ SVT
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา และหลังให้ยาทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2 ครั้ง ต่อไปทุก 30 นาที ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชั่วโมง จนครบ 6 ชั่วโมง
monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง
รายงานเเพทย์เมื่อ HR<60 ครั้ง/นาที หรือ >100 ครั้ง/นาที BP<90/60 mmHg RR< 14 ครั้ง/นาที
กลไกการออกฤทธิ์
มีผลเพิ่ม vagal tone ทำให้มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น จากการลดการทำงานของระบบประสาท sympathetic ทำให้อัตราเต้นหัวใจลดลง
4. ยากระตุ้นความดันโลหิต(Vasopressor)
4.1 Dopamine
ขนาดยาที่ใช้
ยา 1 Amp บรรจุ 1 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg สารละลายที่ใช้เจือจางยาคือ NSS หรือ D5W
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื้อตายได้
คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ปวดศีรษะ
การนำไปใช้
ขนาดต่ำ ใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไต
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ เพิ่ม Cardiac out put
ขนาดสูง ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันเเละอัตราการเต้นของหัวใจใช้รักษาผู้ป่วยที่มมีภาวะ shock จากการติดเชื้อในกระเเสเลือด
การพยาบาล
เลือกตำแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดำเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยาโดยใช้ Infusion pump
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่ว
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต monitor EKG urine out put อาการข้างเคียงอาจเกิดขึ้นทุก 0.5-1 ชั่วโมง
กลไกการออกฤทธิ์
ยาออกฤทธิ์กระตุ้น Adrenergic และ Dopaminergic receptor ตามขนาดยา
ขนาดต่ำ(0.5-3 mcg/kg/min) กระตุ้น Dopamine receptor ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังไต
ขนาดยาปานกลาง(3-10 mcg/kg/min) ยาจับกับ beta 1 receptor กระตุ้นการปลดปล่อย norepinephrine ทำให้เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ
ขนาดสูง(10-20 mcg/kg/min) มีผลต่อ alpha 1 adrenergic receptor ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดเพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ
4.2Norepinephrine(Levophed)
ขนาดยาที่ใช้
เริ่มต้นที่ 0.01-3 mcg/kg/min หากขนาดยาเกิน 1 mcg/kg/min เฝ้าระวังการเกิด vasoconstriction อย่างใกล้ชิด
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง หายใจลำบาก
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื้อตายได้รวดเร็ว
การนำไปใช้
รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ septic shock
ผู้ป่วย cardioginic shock ระดับรุนแรง
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ และ monitor ECG อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5-1 ชั่วโมง
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่ว หากผสมยาความเข้มข้นเกินกว่า 4 mg/D5W 250 ml ควรให้ทาง central line
กลไกการออกฤทธิ์
ยาออกฤทธิ์กระตุ้น beta 1 และ alpha adenergic receptor ส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัวเเละคลายตัวเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเต้นของหัวใจไม่เพิ่มขึ้น เมื่อฉีดยาเข้าเส้นทางหลอดเลือดดำยาจะออกฤทธิ์ภายใน 1-2 นาที
2.ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
2.1Atropine
ขนาดยาที่ใช้
0.6-1 mg ทุก 3-5 นาที(ขนาดสูงสุดไม่เกิน 3mg)
ผลข้างเคียง
เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว
ในกรณีที่มี Acute MI อาจทำให้เกิดภาวะ ischemic มากขึ้น
ท้องอืด การเคลื่อนไหวลำไส้ลดลง
การนำไปใช้
แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ และ AV block
การพยาบาล
ควรระวังการให้ในขนาดที่ต่ำกว่า 0.5 mg อาจทำให้เกิดการตอบสนองช้า
ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
ไม่ควรให้ถ้า HR >60 ครั้ง/นาที
รายงานแพทย์เมื่อ HR>120 ครั้ง/นาที โดยให้ monitor ทุก 5 นาที
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น anticholinergic drug ทำงานโดยการไปยับยั้งการทำงานของ vagus nerve ที่หัวใจ ทำให้มีการเพิ่มของ HR
5.ยาขยายหลอดเลือด(Vasodilators)
5.2Sodiun Nitroprusside
ขนาดยาที่ใช้
การเตรียมผสมยา 50mg ใน D5W 250ml เริ่มให้ 0.1 mcg/kg/min ปรับยาขึ้นครั้งละ 10 mcg/kg/min ค่อยๆเพิ่มขนาดยาโดยไม่ทำให้เกิดคสามดันโลหิตลดลง
ผลข้างเคียง
หากลดความดันโลหิตเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก
เกิดพิษขาก cyanide มักพบในผู้ป่วยที่ได้รับยาในขนาดสูง(10-15 mcg/kg/min) นานมากกว่า 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวลดลงและมีภาวะความเป็นกรดในเลือดสูง
การนำไปใช้
ใช้ลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertension emergency
ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ทุก 5 นาที หลังให้ยา เเละติดตามทุก 1 ชั่วโมง
ป้องกันยาในขวดน้ำเกลือทำปฏิกิริยากับเเสงด้วยกระดาษ ผ้า หรือ aluminium foil ให้สังเกตว่าสีของยาจะเปลี่ยนไปหากทำปฏิกิริยากับแสง
กลไกการออกฤทธิ์
ยาขยายหลอดเลือดเเดงและดำ โดย free nitroso group(NO) จะไปยับยั้ง excitation-contraction couping ของผนังหลอดเลือด(vascular smooth muscle)
5.3Nitroglycerine(NTG)
ขนาดยาที่ใช้
เริ่มให้ 0.5-10 mcg/min เพิ่มทีละ 5-10 mcg/mim ทุก 5-10 นาที ขนาดยา 30-40 mcg/min ทำให้เกิด Vasodilatation ขนาดยาที่เพิ่มมากกว่า 150 mcg/min ทำให้เกิด arteriolar dilation
ผลข้างเคียง
Hypertension, Tachycardia, Flushing, Headache
การนำไปใช้
Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
Heart failure โดยช่วยในการลด preload
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ยาที่มีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำ
monitor EKG ยาทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
กลไกการออกฤทธิ์
ยาขยายหลอดเลือดโดยการหลั่ง nitric oxide (NO) เข้าสู่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด กระตุ้น guanylate cyclase ใน cytoplasm ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดดำขยายตัวเลือดไหลกลับหัวใจลดลง ลดปริมาตรเลือดในห้องหัวใจ(preload) เเรงในกรบีบตัวของหัวใจลดลง ช่วยลดความต้องการออกซิเจนในร่างกาย
5.1
Nicardipine
ขนาดยาที่ใช้
ยา 1 Amp ขนาด 2mg/2ml หรือ 10mg/10 ml
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าแดง
ใจสั่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ
การรั่วออกของยานอกเส้นเลือด อาจทำให้หลอดเลือดอักเสบได้
การนำไปใช้
ผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ และ monitor ECG อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5-1 ชั่วโมง
กรณี Emergency ให้ยาทาง IV bolus ติดตามทุก 5 นาที จน BP,HR ได้ระดับที่ต้องการ จากนั้นติดตามทุก 15 นาที
กรณีให้ IV drip ติดตามทุก 15 นาที ในชั่วโมงเเรก จากนั้นทุก 1 ชั่วโมงขณะให้ยา
รายงานเเพทย์ทันทีถ้า BP>90/60 หรือ HR<60 ครั้ง/นาที หรือ HR>120 ครั้ง/นาที
กลไกการออกฤทธิ์
เป็นกลุ่มยา Calcium channel blocker ออกฤทธิ์ยับยั้งเเคลเซียมเข้าเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบของผนังเลือด
1.ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
1.1Epinephrine หรือ adrenaline 1 mg/ml/ampule(1:1,000)
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้น Alpha adrenaline receptor และ Bata adrenaline receptor ทำให้หลอดเลือดดำส่วนปลายหดตัว เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง เพิ่มความสามาถบีบตัวของหัวใจ และอัตราการเต้นของหัวใจ
การนำไปใช้
เป็นยาตัวเเรกในการทำ CPR
Cardiac arrest
ขนาดยาที่ใช้
Cardiac arrest เริ่ม 1 mg IV และให้ซ้ำทุก 3-5 นาทีจนกว่าอาการจะดีขึ้น
ผลข้างเคียง
Tachycardia
Arrhythmias
Hypertension
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ทุก 15 นาที ติดต่อกัน 2 ครั้ง เมื่อเริ่มให้ยา
ปรับขนาดยา เมื่อ BP<90/60หรือ>140/90 mmHg. หรือ HR>120ครั้ง/นาที
1.2 Amiodarone
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น class III antiarrhythmic drug ใช้รักษาภาวะ tachyarrhythmias ได้หลายชนิด ทั้งที่เป็น supraventricular หรือ ventricular arrhythmia
การนำไปใช้
ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation และ Atrial flutter
หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด VF,VT
ขนาดยาที่ใช้
ในกรณีทำ CPR ขนาด 300mg หรือ 5 mg/kg เจือจางใน D5W 20 ml.IV push
ผลข้างเคียง
อาจทำให้เกิด vasodilatation และ HT ได้
Bradycardia, hypothyroidism, hyperthyroidism, thrombophlebitis
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor EKG ทุก 15 นาที 3 ครั้ง