Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติเวชและนิติจิตเวช S__6045699 - Coggle Diagram
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติเวชและนิติจิตเวช
ความหมายและความสำคัญของนิติเวชและนิติจิตเวช
จิตเวช
ความเจ็บป่วยทางจิต ความผิดปกติของอารมณ์และบุคลิกภาพ
นิติเวช
การนำหลักทางการแพทย์ประยุกต์ใช้ เพื่อคลี่คลายข้อพิพาทและพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ
นิติจิตเวช
การนำหลักจิตเวชประยุกต์เพื่อประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรมและความสงบของสังคม
การวินิจฉัย และขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช
ขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช
1) พิจารณาวัตถุประสงค์
ต้องกระจ่างในความมุ่งหมาย ให้พิจารณาจากใบส่งตัว เพื่อที่จะทราบว่าใคร (ตำรวจ ศาล เรือนจำ คุมประพฤติ) นำส่ง ขณะนี้คดีอยู่ชั้นไหน ส่งมาจากแหล่งใด ผู้ป่วยต้องคดีอะไร ต้องการทราบอะไรบ้าง เมื่อใด
2) การตรวจทางจิตเวช
ต้องรีบทำอย่างละเอียด โดยการตรวจสภาพจิต ตรวจร่างกาย ตรวจทางระบบประสาท ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทดสอบทางจิตวิทยา การเฝ้าดูพฤติกรรม โดยทีมจิตเวช ได้แก่ จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักอาชีวบำบัด และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
3) การรวบรวมข้อมูล
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อคดี โดยซักถามหรือขอข้อมูลจากผู้ใกล้ชิด พฤติกรรมขณะประกอบคดีจากพยานบุคคล ตำรวจ หรือจากพยานเอกสารอื่น ๆ จากทางราชการ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตเวช ตลอดจนการตรวจรักษาจากญาติ หรือจากเอกสารทางการแพทย์อื่น ๆ
4) วิเคราะห์ วินิจฉัย โดยการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด
การพิจารณาข้อสรุปเพื่อการวินิจฉัยดำเนินการ โดยทีมงานจิตเวชในการประชุมร่วมกันของทุกฝ่ายในที่ประชุมนิติจิตเวช เพื่อความรอบด้านและยุติธรรม
5) สรุปผลการวินิจฉัย
การวินิจฉัยทางคลินิก (clinical diagnosis) เพื่อการรักษาการพยากรณ์โรค
การวินิจฉัยทางกฎหมาย (legal diagnosis) ส่งที่ต้องพิจารณา
• ขณะตรวจ วิกลจริต และสามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่
• ขณะประกอบคดี สามารถรู้ผิดชอบ หรือบังคับตนเองได้หรือไม่
• ความเห็นหรือข้อเสนอแนะ เช่น ภาวะอันตราย
6) การเตรียมตัวให้ปากคำต่อศาล
การวินิจฉัยทางนิติจิตเวช
1) พิจารณาวัตถุประสงค์ว่าส่วนตัวผู้ป่วยมาเพื่อต้องการทราบอะไร
2) การตรวจทางจิตเวชต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ โดยได้ข้อมูลจากทีมนิติจิตเวช
3)การรวบรวมข้อมูล
3.1) ส่วนที่เกี่ยวกับคดี
3.2) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางจิต
การวิเคราะห์วินิจฉัยโดยการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากทีมนิติจิตเวชและเข้าประชุมสรุปร่วมกัน
กระบวนการเกี่ยวกับนิติจิต
บุคคลที่สงสัยว่าวิกลจริต หรือมีปัญหาสุขภาพจิตขณะประกอบคดี
ถูกจับดำเนินคดี
ปล่อยตัวถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้กระทำความคิด
มีหลักฐานว่ากระดำความผิด
งดสอบสวนหรือพิจารณาคดี
ตรวจวินิจตาม มาตรา 14
รักษาตามขั้นตอน
บทบาทของพยาบาลกับงานนิติจิตเวช
บทบาทของพยาบาลกับงานนิติจิตเวช
1) ใช้การสังเกต และการบันทึกอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด และเป็นระยะๆ
2) เก็บข้อมูลของผู้ป่วยเป็นความลับ เว้นแต่เป็นเรื่องทางกฎหมาย
3) ในกรณีที่บริษัทประกันร้องขอข้อมูลของผู้ป่วย พยาบาลต้องแจ้งให้แพทย์เจ้าของไข้ทราบ แพทย์อาจจะให้พยาบาลช่วยดำเนินการในการรวบรวมข้อมูล จากนั้นให้ผนึกซอง ตีตราลับและส่งถึง ฝ่ายแพทย์ของบริษัทประกันให้เร็วที่สุด
4) ในกรณีผู้ป่วยจิตเวช พยาบาลควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยที่อาจก่อนให้เกิดอันตราย ในอนาคต
บทบาทของพยาบาลกับการชันสูตรพลิกศพ
การตายโดยผิดธรรมชาติ
1) การฆ่าตัวตาย (committed suicide)
2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย (homicide)
3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
4) ตายโดยอุบัติเหตุ (accident)
5) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ (sudden & unexpected death)
หลักการเขียนรายงานการชันสูตรพลิกศพ
1) เขียนรายงาน ณ ที่เกิดเหตุ โดยมีการจดบันทึกเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั่วไป ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศพ ความเห็นเกี่ยวกับศพ การดำเนินการเกี่ยวกับศพ
2) รายงานการผ่าศพชันสูตร ซึ่งเป็นตรวจสอบสภาพภายนอก / ภายในของศพนั้นๆ
3) การตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อดูพยาธิสภาพ
4) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูสารในร่างกาย
5) การลงความเห็นในเรื่องเหตุ และพฤติการณ์ที่ตาย
หลักการเขียนรายงานการชันสูตรบาดแผล
1) ข้อเท็จจริง (จำนวน ชนิด ตำแหน่ง ขนาด สิ่งแปลกปลอมที่พบในแผล ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิธีการรักษาพยาบาล และความผิดปกติที่เป็นผลจากการบาดเจ็บ)
2) ความเห็นเกี่ยวกับแผล
หลักการเก็บรักษาวัตถุพยาน
1) รวบรวมวัตถุพยานหรือสิ่งที่สงสัยว่าเป็นวัตถุพยาน
2) แยกหีบห่อ การบรรจุซอง เขียนรายละเอียด
3) ป้องกันการปลอมแปลงเจือปน หรือเสื่อมสภาพ
4) ส่งมอบวัตถุพยานด้วยความระมัดระวัง รัดกุม มีบันทึกการส่งมอบและผู้รับผิดชอบ
การบันทึกอาการและอาการแสดง
1) บันทึกอย่างถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง กระชับ ชัดเจน ใช้การขีดฆ่าและเขียนชื่อกำกับแทนการลบ
2) ต้องมีการสังเกตและบันทึกอาการ อาการแสดงเป็นระยะๆ
3) ในการบันทึกต้องระมัดระวังการใช้ภาษา อย่าใช้อารมณ์ในการเขียน
4) ควรเขียนให้สื่อความหมายในแง่การรักษาและกรณีที่เป็นพยานเอกสาร
5) พึงระลึกไว้เสมอว่าบันทึกอาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นเอกสารลับ และผู้ป่วยสามารถขอดูได้ จึงไม่ควรเปิดเผยเอกสารนี้กับผู้อื่น ยกเว้นแพทย์ หรือในกรณีที่ต้องที่ต้องมีการเปิดเผยตามข้อกำหนดของศาล
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติเวช และนิติจิตเวช
กฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของบุคคลวิกลจริต
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65
“ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
แต่ถ้ากระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”
การพิจารณาความผิดทางอาญา
1) ไม่สามารถรู้ผิดชอบหมายถึงขณะประกอบคดีผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่รู้ว่าการกระทำของตนถูกหรือผิดดีหรือชั่วควรหรือไม่ควร
2) ไม่สามารถบังคับตนเองได้ หมายถึง ขณะประกอบคดี ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถห้ามจิตใจ มิให้ร่างกายทำการนั้นได้ อันเกิดจากโรคจิต จิตบกพร่อง หรือจิตฟั่นเฟือน
2.ความสามารถในการต่อสู้คดี หรือวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายมาตรา 14
ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยเป็น ผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณี
หลักการพิจารณาความสามารถในการต่อสู้คดี
รู้ถึงความหนักเบาของโทษที่จะได้รับ
ว่าตนเองต้องคดีอะไร
สามารถเล่ารายละเอียดของคดีได้
สามารถเข้าใจขั้นตอนการดำเนินคดี
สามารถให้ปากคำต่อกระบวนการยุติธรรมได้
สามารถร่วมมือกับทนายในการปกป้องสิทธิตนเองได้
วิธีการเพื่อความปลอดภัย
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48
“ถ้าศาลเห็นว่าการปล่อยตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับการลดโทษตามมาตรา 65 จะเป็นการไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 49
“ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษ หรือพิพากษามีความผิด แต่รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษบุคคลใด ถ้าศาลเห็นว่าเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ศาลจะกำหนดในคำพิพากษาว่า บุคคลนั้นจะต้องไม่เสพย์สุรายาเสพติดให้โทษอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี นับแต่วันพ้นโทษหรือวันปล่อยตัว เพราะรอ การกำหนดโทษหรือรอการลงโทษก็ได้”
วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56
1) ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบสวน
2) แนะนำ ช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพ
3) ให้ฝึกหัดหรือทางานอาชีพอันเป็นกิจลักษณะ
4) ให้ละเว้นการคบหาสมาคม หรือการประพฤติใดอันอาจนาไปสู่การกระทำความผิดเช่นเดียวกันนั้นอีก
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 57
“เมื่อความปรากฏแก่ศาลหรือความตามคำแถลงของพนักงานอัยการหรือเจ้าหนักงานว่า ผู้กระทำความผิด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังที่ศาลกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58
“ถ้าภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้กระทำความผิด อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้นให้ศาลที่พิพากษาคดี
หลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณีแต่ถ้าในเวลาที่ศาลได้กำหนดตามมาตรา 56 ผู้นั้นมิได้กระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคแรกให้ผู้นั้นพ้นจากการที่ถูกกำหนดโทษหรือถูกลงโทษในคดีนั้น แล้วแต่กรณี”
ความรับผิดชอบในทางอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 66
“ความมึนเมาเพราะเสพย์สุรา หรือสิ่งเมาอย่างอื่น จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวตามมาตรา 65 ไม่ได้ เว้นแต่ ความมึนเมานั้นจะได้เกิดโดยผู้เสพย์ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้มึนเมา
หรือได้เสพย์โดยถูกขืนใจให้เสพย์และได้กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรับผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผู้กระทำความผิดจึงจะได้รับยกเว้นโทษสำหรับความผิดนั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 246
1) เมื่อจำเลยวิกลจริต
2) เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก
3) ถ้าจำเลยมีครรภ์แต่เจ็ดเดือนขึ้นไป
4) ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงเดือนในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้น ให้ศาลสั่งพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจจัดให้บุคคลดังกล่าวแล้วอยู่ในสถานที่อันควร”
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 248
“ถ้าบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต เกิดวิกลจริตก่อนประหารชีวิต ให้รอการประหารชีวิตไว้ก่อนจนกว่าผู้นั้นจะหาย ขณะทุเลาการประหารชีวิตอยู่นั้น ศาลมีอำนาจยกมาตรา 46 วรรค (2) แห่งกฎหมายลักษณะอาญามาบังคับ
7.ความหมายเกี่ยวกับผู้ดูแล
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 373
“ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตนั้น อาจเที่ยวตามลาพังต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท”
8.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ป.พ.พ. มาตรา 29
“บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าภริยาสามีก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูกหลาน เหลน ลื้อก็ดี
ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลแล้วศาลจะสั่งให้บุคคลผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ คำสั่งอันนี้ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา”
ป.พ.พ. มาตรา 30
“บุคคลผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ท่านว่าต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล”
ป.พ.พ. มาตรา 31
“การใด ๆ อันบุคคลผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้ทำลงไปการนั้นท่านว่าเป็นโมฆียะ”
ป.พ.พ. มาตรา 32
“การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตได้ทำลง แต่หากบุคคลนั้นศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถไซร้ ท่านว่าการนั้นจะเป็นโมฆียะ ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าได้ทำลงในเวลาซึ่งบุคคลนั้นวิกลจริตอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้ทำเป็นคนวิกลจริต”
ป.พ.พ. มาตรา 429
“บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลที่ตนละเมิดบิดา มารดา หรือผู้อนุบาลเช่นว่านี้
ย่อมต้องรับผิดชอบร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร แก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
ป.พ.พ. มาตรา 430
ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถ
ในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ระมัดระวังตามสมควร