Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator)
เครื่องช่วยหายใจ เป็นเครื่องมือที่ใช้สําหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจไม่เพียงพอ
เป็นการช่วยหายใจแบบแรงดันบวก “positive mechanical ventilator”
การรักษาประคับประคองผู้ป่วยที่มีภาวะระบบหายใจล้มเหลวหรือระบบไหลเวียนล้มเหลว
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure)
ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ ผู้ป่วยที่มีการเสียเลือดและผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure)
ผู้ป่วยที่ซึมมาก ผู้ป่วยโรคหืด ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue)
ได้รับยาที่กดศูนย์หายใจ ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทส่วนปลาย
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ
ภาวะช็อกร่างกายมีความต้องการออกซิเจนปริมาณสูงภาวะดังกล่าวทําให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ลดลง
ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว การใช้เครื่องช่วยหายใจจะทําให้เลือดกลับสู่หัวใจลดลง (decrease preload)
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Non-invasive
positive ventilator; NPPV)
ให้การช่วยหายใจผู้ป่วยที่ไม่มีท่อทางเดินหายใจซึ่งสามารถช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น
แก้ไขภาวะกรดจากการหายใจ
ไม่เหมาะสําหรับผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของปอดที่รุนแรง
Continuous positive airway pressure (CPAP)
Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP) เหมาะสําหรับผู้ป่วยหายใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจInvasive positive ventilator; NPPV
เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้มากที่สุดในภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นการอัดอากาศเข้าไปในปอดผ่านทาง endotracheal tube หรือ tracheostomy
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ (Mode of ventilator)
Control mandatory ventilation (CMV) หรือ Assist/control (A/C) ventilation
เป็นวิธีช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้งถูกกําหนดด้วยเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่มีการหายใจเองเลย
เมื่อผู้ป่วยมีอัตราการหายใจสูงกว่าอัตราการหายใจที่เครื่องตั้งไว้ เครื่องจะไม่มีการช่วยหายใจ
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
เป็นวิธีช่วยหายใจที่มีทั้งการหายใจเองและการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
โดยผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้ในระหว่างการช่วยหายใจด้วยเครื่อง
เป็นการเตรียมหย่าเครื่องช่วยหายใจ
Spontaneous ventilation
การหายใจที่ผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มการหายใจเอง รวมถึงเป็นผู้
กําหนดระยะเวลาและปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าด้วยตนเองทั้งหมด
Continuous positive airway pressure (CPAP)
เป็นวิธีการหายใจที่ให้แรงดันบวก (PEEP)ต่อเนื่องในระดับเดียวกันทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก
ไม่มีการส่งแรงดันช่วยเพิ่มขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้า
Pressure support ventilator (PSV)
เป็นวิธีการหายใจที่เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วย
สามารถหายใจได้เอง เครื่องจะช่วยจ่ายแก๊สเพื่อให้ได้ระดับความดันตามที่ตั้งไว้
และจะหยุดจ่ายอากาศเมื่อผู้ป่วยไม่ต้องการแล้ว
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป (Pulmonary volutrauma)
ภาวะถุงลมปอดแตก(Pulmonarybarotrauma)
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication)
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia; VAP)
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity)
ระบบทางเดินอาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านจิตใจ ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจขณะที่ยังรู้สึกตัว
การดูแลด้านร่างกาย
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน
การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โดยการดูดเสมหะเมื่อพบว่ามีปริมาณเสมหะมาก
การดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สําคัญ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
ความหมายของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
การลดการช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจนสามารถหายใจเองและหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจในที่สุด
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยหายใจเองทาง T piece หรือหายใจเองสลับกับเครื่องช่วยหายใจเป็นพักๆ วิธีการคือ ให้ผู้ป่วยหายใจผ่าน T piece ที่ต่อกับ collugated tube
การใช้เครื่องช่วยหายใจ mode SIMV,PSV,CPAP
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
ใช้สําหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมานานและใช้แบบ T piece ไม่ได้ผล
ลดการช่วยเหลือจากเครื่องโดยการตั้งค่าการหายใจของเครื่องให้ต่ํากว่าการหายใจของผู้ป่วย
Pressure support ventilation (PSV)
โดยเครื่องจะปล่อยแรงดันในช่วงที่ผู้ป่วยหายใจเข้าด้วยตนเองจึงทําให้ผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงมาก ผู้ป่วยเป็นผู้กําหนดอัตราการหายใจ
เครื่องจะทําการดันอากาศให้ผู้ป่วยไปเรื่อย ๆในระดับความดันที่เรากําหนด
Continuous Positive Airway Pressure (CPAP)
เป็นการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยเครื่องช่วยหายใจปล่อยแรงดันบวกเข้าปอดตลอดเวลา
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่หย่าเครื่องช่วยหายใจ
ควรเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆ เพื่อลดความกลัว
ดูดเสมหะในปากและท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
จัดท่าของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือท่านั่ง
เริ่มทําการหย่าเครื่องช่วยหายใจเมื่อประเมินสภาพผู้ป่วยว่าพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมง
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ
เสี่ยง/มีโอกาสเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ/มีการรั่วของลม/มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด/มีภาวะปอดแฟบ
ขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเสมหะเหนียวและไม่สามารถไอออกเองได้
การกําซาบเนื้อเยื่อไม่มีประสิทธิภาพ (ineffective tissue perfusion) เนื่องจากถุงลมปอดเสียหน้าที่
การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง/เสี่ยง (impaired gas exchange) เนื่องจากมีการมีติดเชื้ออย่างรุนแรงของเนื้อปอด/การระบายอากาศและการกําซาบไม่สมดุล/สมองได้รับบาดเจ็บ
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
การวัดการไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤต
การวัดความดันในหลอดเลือดแดง (intra-arterial monitoring)
เป็นวิธีการสอดใส่สายยางเข้าไปในเส้นเลือดแดง (arterial line; A-line) และนํามาต่อกับเครื่องวัด(manometer) เป็นการวัดความดันของหลอดเลือดแดงโดยตรง
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดง
ในผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนลดลง หรือความดันโลหิตต่ํา เช่น ในภาวะช็อก ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุขั้นรุนแรงหลายระบบ
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก เช่น ผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด ผ่าตัดสมอง
ในรายที่จําเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas หรือส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drug
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง (arterial line)
ตรวจสอบความแม่นยําของการปรับเทียบค่า (Accuracy)
Levelling the transducer จัดตําแหน่ง transducer ให้อยู่ในตําแหน่ง phlebostatic axis คือ
บริเวณ 4th intercostal space ตัดกับ mid anterior-posterior line
Zeroing the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0)
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ ใช้ continuous flush system โดยใช้สารน้ํา 0.9%NSS 500 cc ผสมกับ Heparin 2,000-2,500 ยูนิต
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ (infection) อาจเกิดได้จากการแทงผ่านผิวหนังที่มีการติดเชื้ออยู่เดิมและการใช้sterile technique ที่ไม่ดีพอหรือการติดเชื้อหลังจากใส่ไว้เป็นเวลานาน
การเกิดเนื้อตาย (Skin necrosis)
Air embolization จาก air ที่ใช้หลุดเข้าไปในระบบจากการ flush
ภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ (Hematoma)
การป้องกันการติดเชื้อ (Infection) การพยาบาล
ใช้ sterile technique ในทุกขั้นตอนของการเตรียมและการวัด
หลีกเลี่ยงการปลดสาย ข้อต่อต่างๆ ดูแลให้เป็นระบบปิด
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อตรงตําแหน่งสายหลอดเลือดแดง
ทําแผลทุก 7 วัน กรณีใช้ transparent dressing หรือเปลี่ยนผ้าปิดแผลทุก 2 วัน
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย ไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศค้างในสาย
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดําส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
การวัดความดันของเลือดดําส่วนกลาง หรือแรงดันเลือด
ของหัวใจห้องบนขวา (right atrium pressure)
เพื่อประเมินระดับของปริมาณน้ําและเลือดในร่างกาย เป็น
ความดันของ right atrium โดยการวัดจาก Superior Vena Cava (SVC)
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP มีดังนี้
ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด ภาวะ shock และกรณีอื่นที่ทําให้ปริมาณเลือดและน้ําในร่างกายลดลง
ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ําเกิน
ในกรณีที่ต้องการประเมินการทํางานของหัวใจและหลอดเลือด
ตําแหน่งเส้นเลือดที่ใช้สําหรับ monitor CVP
สายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง (central venous catheter; CVC) รวมทั้ง Pic line
การใส่สายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลางเป็นการแทงสายสวนเพื่อสอดใส่ทางหลอดเลือดดําโดยให้ปลายสายอยู่ตําแหน่งของ Superior vena cava
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
ความแม่นยําของการเปรียบเทียบค่า
Levelling the transducer จัดตําแหน่ง transducer ให้อยู่ในตําแหน่ง phlebostatic axis คือตําแหน่ง 4th intercostal space ตัดกับ mid anterior-posterior line
Zero the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0)
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน พยาบาลควรระมัดระวังสายขณะเคลื่อนย้ายและขณะทําแผล ดูแลไม่ให้เกิดการดึงรั้ง
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง
ป้องกันการอุดตันของสายสวน การอุดตันสายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง (central vein
thrombosis) อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่นมี fibrin sheath มาเกาะสาย
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต (common drugs used in ICU)
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Epinephrine หรือ adrenaline 1 mg/ ml/ ampule (1: 1,000)
กลไกการออกฤทธิ์ออกฤทธิ์กระตุ้น
Alpha adrenergic receptor และ beta adrenergic receptor
ทําให้หลอดเลือดดําส่วนปลายหดตัว (vasoconstriction)
เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (coronary perfusion)และเพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (cerebral perfusion)
การนําไปใช้
ใช้เป็นยาตัวแรกในการทํา CPR ทั้งในภาวะ systole/PEA และ VF/pulseless VT
ใช้ในภาวะ symptomatic bradycardia ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ atropine
ผลข้างเคียง tachycardia, arrhythmias, hypertension
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2ครั้ง เมื่อเริ่มให้ยา
ปรับขนาดยา เมื่อ BP < 90/60 หรือ >140/90 mmHg หรือ HR>120 ครั้ง/นาที หรือตามแผนการ
รักษา
Amiodarone (Cordarone®)
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น class III antiarrhythmic drugs ใช้รักษาภาวะ tachyarrhythmia ได้หลายชนิด ทั้งที่เป็น supraventricular หรือ ventricular arrhythmia
การนําไปใช้
ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation และ Atrial flutter
หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด Ventricular fibrillation (VF) และ Ventricular tachycardia (VT)
ผลข้างเคียง
อาจทําให้เกิด vasodilatation และ hypotension ได้
Bradycardia, hypothyroidism, hyperthyroidism, thrombophlebitis
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor EKG ทุก 15
นาที x 3 ครั้ง หลัง loading dose รายงานแพทย์เมื่อ BP < 90/60 mmHg, HR < 60 BPM
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น anticholinergic drug ทํางานโดยการไปยับยั้งการทํางานของ vagus nerve ที่หัวใจ ทําให้มีการเพิ่มขึ้นของ heart rate
การนําไปใช้ใช้แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติและ AV block
ขนาดยาที่ใช้0.6-1 mg ทุก 3-5 นาที (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 3 mg)
ผลข้างเคียง ทําให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) และในกรณีที่มี acute myocardialinfarction อาจทําให้เกิดภาวะ ischemia มากขึ้น ท้องอึด การเคลื่อนไหวของลําไส้ลดลง
การพยาบาล
ควรระวังการให้ขนาดที่ต่ํากว่า 0.5 mg อาจเกิดการตอบสนองชนิดหัวใจเต้นช้าลงไปอีกได้( paradoxical bradycardia)
ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
ไม่ควรให้ถ้า HR > 60 ครั้ง/นาที
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น purine nucleoside สามารถยับยั้งการนําไฟฟ้าผ่าน AV node เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย ยาจะถูก
จับ และทําลายที่เม็ดเลือดแดงและผนังหลอดเลือดอย่างรวดเร็ว
การนําไปใช้
ใช้เป็น first line drug ในภาวะ Stable narrow complex tachycardia (reentry SVT) หรือในภาวะ unstable narrow complex regular tachycardia แต่ต้องเตรียมพร้อมทําcardioversion ไว้ด้วย
ภาวะ regular monomorphic wide complex tachycardia
ผลข้างเคียง อาการหน้าแดง (flushing) เหนื่อยและแน่นหน้าอก ซึ่งอาการไม่รุนแรงและมักจะหายไป
ในเวลา< 1 นาที
การพยาบาล
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว (10 วินาที) และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องฉีดเร็วๆ บริเวณ upper extremitiesและ flush NSS ตาม 20 ml ด้วยวิธี double syringe technique
ถ้าฉีดยาช้าเกินไปยาจะถูกทําลายหมดก่อนถึงหัวใจ เนื่องจากยามี half-life สั้นมากเพียง 0.5-5วินาที
Digoxin (Lanoxin ®)
กลไกการออกฤทธิ์มีผลเพิ่ม vagal tone ทําให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น จากการลดการ
ทํางานของระบบประสาท sympathetic ทําให้อัตราเต้นของหัวใจลดลง
การนําไปใช้
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ atrial fibrillation (AF), atrial flutter และ supraventricular
Tachycardia (SVT)
การบริหารยาการให้ยาแบบ IV bolus จะต้องให้แบบช้าๆ นานกว่า 5 นาทียาฉีดที่ให้อาจไม่ต้องเจือ
จางแต่ถ้าเจือจางควรเจือจางด้วย sterile water for injection, NSS, D5W
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นช้าชนิด Sinus bradycardia, S-A arrest
หัวใจเต้นผิดจังหวะ AV block, Atrial fibrillation
การพยาบาล
กรณียาฉีด ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา และหลังให้ยาทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2 ครั้ง ต่อไปทุก 30นาที ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชั่วโมงจนครบ 6 ชั่วโมง
monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง
รายงานแพทย์เมื่อ HR < 60 ครั้ง/นาที หรือ >100 ครั้ง/นาที BP < 90/60 mmHg RR < 14 ครั้ง/นาที หรือพบ Arrhythmia
Dopamine (Inopin®)
กลไกการออกฤทธิ์ยาออกฤทธิ์กระตุ้น Adrenergic และ Dopaminergic receptors ตามขนาดยา
การนําไปใช้ข้อบ่งใช้ตามขนาดยา
ขนาดต่ํา ใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไต (renal blood flow)และสมอง
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ เพิ่ม Cardiac out put
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทําให้เนื้อเยื่อตายได้
ผลข้างเคียงเกิดจากการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว
การพยาบาล
เลือกตําแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดําเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยาโดยใช้เครื่อง
ควบคุมอัตราการไหลของสารน้ําอัตโนมัติ (Infusion pump)
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต monitor ECG urine out put อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชม.
Norepinephrine
กลไกการออกฤทธิ์
ยาออกฤทธิ์กระตุ้น beta1 และ alpha adrenergic receptors ส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ทําให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
การนําไปใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะseptic shock และ cardiogenicshock ระดับรุนแรง
ขนาดยาที่ใช้เริ่มต้นที่ 0.01-3 mcg/kg/min หากขนาดยาเกิน 1 mcg/kg/min เฝ้าระวังการเกิด
vasoconstriction อย่างใกล้ชิด
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย หายใจลําบาก
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทําให้เนื้อเยื่อตายได้
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor ECG อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชั่วโมง
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากผสมยาความเข้มข้นเกินกว่า 4 mg/D5W 250ml ควรให้ทาง central line
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
Nicardipine
กลไกการออฤทธิ์
เป็นยากลุ่ม Calcium channel blocker ออกฤทธิ์ยับยั้งแคลเซียมเข้าเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอด
การนําไปใช้ ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา ยา 1 Amp ขนาด 2mg/2 ml หรือ 10 mg/10 ml
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าแดง
ใจสั่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ํา
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor ECG
กรณี Emergency ให้ยาทาง IV bolus ติดตามทุก 5 นาที จน BP, HR ได้ระดับที่ต้องการ
กรณีให้ IV drip ติดตามทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก จากนั้น ทุก 1 ชั่วโมงขณะให้ยา
Sodium Nitroprusside
กลไกการออกฤทธิ์
ยาขยายหลอดเลือดแดงและดํา โดย free nitroso group (NO) จะไปยับยั้ง excitation-contraction
coupling ของผนังหลอดเลือด (vascular smooth muscle)
การนําไปใช้
ใช้ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive emergency
ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ผลข้างเคียง
หากลดความดันโลหิตเร็วเกินไป อาจทําให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก
เกิดพิษจาก cyanide มักพบในผู้ป่วยที่ได้รับยาในขนาดสูง (10-15 mcg/kg/min)
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ทุก 5 นาทีหลังให้ยา และติดตามทุก 1 ชั่วโมงพิจารณาตามอาการของผู้ป่วย
ป้องกันยาในขวดน้ําเกลือทําปฏิกิริยากับแสงด้วยกระดาษ ผ้า หรือ aluminum foil ให้สังเกตว่าสีของยาจะเปลี่ยนไปหากทําปฏิกิริยากับแสง
Nitroglycerin (NTG)
กลไกการออกฤทธิ์
ยาขยายหลอดเลือดโดยการหลั่ง nitric oxide (NO) เข้าสู่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด กระตุ้น guanylate cyclase ใน cytoplasm
ทําให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดดําขยายตัวเลือดไหลกลับหัวใจ
ลดลง ลดปริมาณเลือดในห้องหัวใจ (preload )
การนําไปใช้
Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
Heart failure โดยช่วยในการลด preload
ผลข้างเคียง Hypotension, Tachycardia, Flushing, headache
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ยามีผลทําให้ความดันโลหิตต่ํา
monitor EKG ยาทําให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)