Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Anxiety or Fear-Related Disorders, นาย อิบรอฮิม สิเดะ เลขที่ 88 - Coggle…
Anxiety or Fear-Related Disorders
การรักษา
การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
1) ยาต้านเศร้า (กลุ่ม Selective Selective Serotonin Reuptake inhibitor, SSRI) เช่น
sertraline paroxetion
2) ยาคลายกังวล (กลุ่ม benzodiazepine) เช่น diazepam
เพื่อลดอาการวิตกกังวลและอาการทางกาย
3) ยากลุ่ม Beta blockers เช่น propanolol เฉพาะในกรณีที่มีอาการใจสั่น มือสั่น
จิตบำบัด (psychotherapy)
จิตบำบัดชนิดหยั่งรู้สภาพตนเอง (insight psychotherapy)
จิตบำบัดชนิดประคับประคอง (supportive psychotherapy)
cognitive therapy
การสอนเทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การสะกดจิต
การทำสมาธิ
พฤติกรรมบำบัด (behavior therapy)
เริ่มจากให้ผู้ป่วยจัดลำดับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความกังวล/กลัวจากน้อยไปหามากแล้วฝึกให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเองจากนั้นลองให้ผู้ป่วยเริ่มต้นพบกับสิ่งเร้าที่ทำให้กังวล/กลัวน้อยที่สุดก่อนขณะเผชิญสิ่งเร้านั้นให้ผู้ป่วยลองใช้วิธีการผ่อนคลายเพื่อลดความเครียดด้วยตนเอง
ตัวอย่างการพยาบาลผู้ป่วยโรคเนื่องจากความวิตกกังวล
1) วิตกกังวลสุดขีด เนื่องจากเผชิญกับสิ่งที่กลัว
พยายามควบคุมพฤติกรรมยํ้าคิดยํ้าทำรู้สึกว่าชีวิตถูกคุกคาม
ข้อมูลสนับสนุน
สีหน้ากังวล กระวนกระวาย ลุกลี้ลุกลน
หายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก
ใจสั่น
ชาบริเวณแขน หรือขา
เหงื่อออกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และตามตัว
รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ
วัตถุประสงค์
ความวิตกกังวลอยู่ในระดับที่เหมาะสม ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลการพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
1)ยอมรับว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิตกกังวลสุดขีด และไม่ตำหนิพฤติกรรมของผู้ป่วย
2) ควรมีสมาธิ และมีจิตใจสงบขณะอยู่กับผู้ป่วย
3) ควรอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลสุดขีด
4) สนทนากับผู้ป่วยด้วยประโยคสั้นๆ และเข้าใจง่าย
5)ให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ มีแสงสว่างพอเหมาะ
6) ให้ผู้ป่วยไดรั้บยารักษาอาการวิตกกังวล
7) ถ้าจำเป็นต้องผูกมัดผู้ป่วย ควรอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา และสัมผัสผู้ป่วยเป็นระยะๆ
8) เมื่อผู้ป่วยมีความวิตกกังวลลดลงอธิบายว่าความวิตกกังวลและพฤติกรรมการแสดงออกของผู้ป่วยเกิดจากการปรับตัวของเขาที่พยายามรักษาสมดุลทางอารมณ์ เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป
9) เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยยระบายความรู้สึ้ก
10)ให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของความวิตกกังวลและการลดความวิตกกังวลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วยวิธีต่างๆ
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีสีหน้าวิตกกังวล
ความไม่สุขสบายทางด้านร่างกาย ที่เกิดจากความวิตกกังวลหายไป
ไม่รู้สึกว่าชีวิตถูกคุกคาม
ไม่ฝันร้ายเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตที่เจ็บปวด
2) กลัวผิดธรรมดา เนื่องจากต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือวัตถุเฉพาะ อย่างเช่น ความสูง ที่แคบ แมว งู
ข้อมูลสนับสนุน
ตกใจกลัว
หายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออกแน่นหน้าอก ใจสั่น ชาบริเวณแขนหรือขา
ไม่ยอมออกจากบ้านคนเดียว
วัตถุประสงค์
สามารถเผชิญกับสิ่งที่กลัวโดยไม่แสดงความวิตกกังวล
ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
การพยาบาล
ยอมรับว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะกลัวผิดธรรมดา และไม่ตำหนิพฤติกรรมของผู้ป่วย
ควรอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยขณะที่ผู้ป่วยมีความกลัว และควรให้ความมั่นใจผู้ป่วยในด้านความรู้สึกมั่นคง และปลอดภัย
ค้นหาปัจจัยที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความกลัว และร่วมกับผู้ป่วยในการค้นหาสาเหตุ
สนทนากับผู้ป่วยเกี่ยวกับสิ่งที่กลัว
ฝึกให้ผู้ป่วยเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวทีละน้อยอาจเริ่มจากการจินตนาการ
หรือเผชิญกับความจริง
ให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย ์
พร้อมทั้งสังเกตผลและอาการข้างเคียงของยา
เกณฑ์การประเมิน
สามารถเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัว เช่น การออกจากบ้านคนเดียว
การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น การพุดต่อหน้าฝูงชนโดยไม่แสดงความวิตกกังวล เช่น ตกใจ หายใจลำบากแน่นหน้าอก ใจสั่น เป็นต้น
3) ยํ้าคิดยํ้าทำ เนื่องจากกลัวผิดธรรมดา
ข้อมูลสนับสนุน
-คิดซํ้าๆ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่สามารถหยุดคิดได้
ทำชํ้าๆ อยู่เป็นเวลานานอย่างหักห้ามไม่ได้
วัตถุประสงค์
สามารถปรับตัวได้โดยปราศจากพฤติกรรมยํ้าคิดยํ้าทำ
ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
การพยาบาล
ยอมรับว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะยํ้าคิดยํ้าทำไม่ลงโทษ หรือตำหนิ
ตระหนักอยู่เสมอว่าพฤติกรรมของผู้ป่วยเกิดจากการพยายามลดความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความวิตกกังวลและความรู้สึกเกี่ยวกับพฤติกรรมยํ้าคิด ยํ้าทำ
ร่วมกับผู้ป่วยในการจัดตารางทำกิจกรรม
ร่วมกับผู้ป่วยในการค้นหาสาเหตุ หรือความขัดแย้งในจิตใต้สำนึก
โดยให้ผู้ป่วยเล่าประสบการณ์ในอดีต
ก่อนนำผู้ป่วยเข้ากลุ่มควรชี้แจงให้ผู้ป่วยอื่นเข้าใจพฤติกรรมของผู้ป่วย
จำกัดพฤติกรรมยํ้าคิดยํ้าทำโดยเปิดโอกาสให้มีพฤติกรรมยํ้าคิดหรือยํ้าบ้าง
ให้การเสริมแรงทางบวกถ้าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้สำเร็จ
ให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์พร้อมทั้งสังเกตผลและอาการข้างเคียงของยา
ระมัดระวังผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมยํ้าคิดยํ้าทำ เช่น ล้างมือล้างเท้าบ่อยจนเน่าเปื่อยเป็นแผลติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีพฤติกรรมคิดซํ้าๆ หรือทำซํ้าๆ อย่างหักห้ามไม่ได้
ไม่มีสีหน้าวิตกกังวล กระวนกระวาย ลุกลี้ลุกลน
สามารถแก้ไขความขัดแย้งทางจิตใช้กลไกทางจิตอย่างเหมาะสม
นาย อิบรอฮิม สิเดะ เลขที่ 88