Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU, กมลลักษณ์…
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator)
เป็นการช่วยหายใจแบบแรงดันบวก “positive mechanical ventilator”
มีบทบาทสำคัญในการรักษาประคับประคองผู้ป่วยที่มีภาวะระบบหายใจล้มเหลวหรือระบบไหลเวียนล้มเหลว
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจไม่เพียงพอ
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
เป้าหมายหลักของการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ลดการทำงานของการหายใจ
หรือช่วยให้การทำงาน
ของการแลกเปลี่ยนอากาศดีขึ้น
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure)
ครื่องช่วยหายใจจะช่วยให้ผู้ป่วยมีการใช้ออกซิเจนที่ลดลงจากการลดการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
ได้แก่ กระบังลม กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อช่องอกและกล้ามเนื้อคอ
และทำให้มีการกระจายออกซิเจนเข้าสู่ในระบบทางเดินหายใจที่ดีขึ้น
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure)
ผู้ป่วยที่ซึมมาก ผู้ป่วยโรคหืด ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ปริมาณการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์
มากกว่าการระบายออกของระบบทางเดินหายใจ จึงเกิดภาวะของความเป็นกรดในเลือด (respiratory acidosis) จากการที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดที่มากกว่าปกติ
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue)
ได้รับยาที่กดศูนย์หายใจ ความผิดปกติของ
ระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทส่วนปลาย
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกต
ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ในสภาวะการดังกล่าวทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นและทำให้ อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของหัวใจห้องซ้ายดีขึ้น
ในภาวะช็อกร่างกายมีความต้องการออกซิเจนปริมาณสูง
ภาวะดังกล่าวทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ลดลง
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Non-invasive
positive ventilator; NPPV)
แก้ไขภาวะกรดจากการ หายใจ ลดอัตราการหายใจแต่จะควบคุมการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่ดีเท่าเครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวก ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจที่ให้การช่วย
หายใจผู้ป่วยที่ไม่มีท่อทางเดินหายใจซึ่งสามารถช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น
เหมาะสำหรับผู้ป่วยหายใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง สำหรับใช้ที่บ้าน หรือใช้ในเวลากลางคืนและใช้ในรายที่
ถอดท่อช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Invasive
positive ventilator; IPPV)
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ (Mode of ventilator)
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
วิธีช่วยหายใจที่มีทั้งการ
หายใจเองและการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
การกระตุ้นการหายใจโดยเครื่องจะสัมพันธ์กับการหายใจของผู้ป่วย เป็นการเตรียมหย่าเครื่องช่วย
หายใจ
Spontaneous ventilation
การหายใจที่ผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มการหายใจเอง รวมถึงเป็นผู้
กำหนดระยะเวลาและปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าด้วยตนเอง
Control mandatory ventilation (CMV) หรือ Assist/control (A/C) ventilation
เมื่อผู้ป่วยมีอัตราการหายใจสูงกว่าอัตราการหายใจที่เครื่องตั้งไว้ เครื่องจะไม่มีการ
ช่วยหายใจ
เป็นวิธีช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้งถูกกำหนดด้วยเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด
Continuous positive airway pressure (CPAP)
วิธีการหายใจที่ให้แรงดันบวก (PEEP)
ต่อเนื่องในระดับเดียวกันทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก
Pressure support ventilator (PSV)
เครื่องจะช่วยจ่ายก๊าซเพื่อให้ได้ระดับความดันตามที่ตั้งไว้ และจะหยุดจ่ายอากาศเมื่อ
ผู้ป่วยไม่ต้องการแล้ว
วิธีการหายใจที่เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วย
สามารถหายใจได้เอง
เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้มากที่สุดในภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นการอัดอากาศเข้าไปในปอดผ่านทาง endotracheal tube หรือ tracheostomy tube โดยใช้แรงดันบวก
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านจิตใจ
วิธีการรักษาอย่างมีเหตุผล แจ้งให้ทราบทุก
ครั้งเมื่อต้องให้การพยาบาล
ให้ความมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุด รวมทั้งการดูแลด้านจิตใจของ
ครอบครัวและญาติของผู้ป่วยด้วย
ประคับประคองด้านจิตใจโดยอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย
พยาบาลควรประเมินภาวะดังกล่าวและดูแลอย่าง
ใกล้ชิด
การดูแลด้านร่างกาย
การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โดยการดูดเสมหะเมื่อพบว่ามีปริมาณเสมหะมาก
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน รายงานแพทย์ทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
การดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแล Tubing system ของเครื่องช่วยหายใจให้เป็นระบบปิด
การป้องกันภาวะปอดแฟบ
การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ
Electrolyte imbalance
ค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (ABGs)
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะถุงลมปอดแตก (Pulmonary barotrauma)
เป็นภาวะที่มีลมรั่วจากถุงลมเนื่องจากการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวก หรือการค้างความดันในช่วงหายใจออกให้เป็นบวก (PEEP)
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป (Pulmonary volutrauma)
ผู้ป่วยที่มีโรคปอดอยู่เดิม การตั้งปริมาตรการหายใจ (Tidal volume) ที่สูงเกินไป ส่งผลต่อความดันสูงสุดในทางเดินหายใจ (Peak airway pressure)
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
ส่งผลให้ปริมาตรเลือดแดงที่ส่งออกจากหัวใจ(cardiac output)ลดลง
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication)
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
จากการตั้งปริมาตรการหายใจต่ำและไม่มีการ
ตั้งถอนหายใจ (sigh) ให้ผู้ป่วย
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia; VAP)
การสำลักเชื้อจุลชีพจากปากหรือลำคอผ่าน หลอดลมเข้าสู่ปอดหรือการหายใจเอาละอองที่มีจุลชีพเข้าไปในปอด หรือการแพร่กระจายเชื้อจุลชีพจาก กระเพาะอาหารเกิดจากการที่เชื้อเจริญในกระเพาะอาหารอยู่ก่อน
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity)
จะทำให้มีการทำลายของเนื้อปอดได้
ผู้ป่วยจะมีอาการไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย
ระบบทางเดินอาหาร
การเกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ท้องอืด
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยที่สามารถทำการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้
ค่า PEEP น้อยกว่า 5 เซนติเมตรน้ำ
ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทำตามคำสั่ง
มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ ค่า PaO2>60 มม.ปรอท FiO2ไม่เกิน 0.4
สัญญาณชีพปกติ , ค่า Spontaneous tidal volume เมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว มากกว่า 5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว1 กิโลกรัม
โรคหรือสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหายหรือทุเลาลง
ความสามารถในการหายใจเองของผู้ป่วย
สามารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆ เพื่อลดความกลัว ให้ผู้ป่วยร่วมมือและให้กำลังใจผู้ป่วย
ดูดเสมหะเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง ส่งเสริมให้อากาศผ่านเข้าออกอย่างมีประสิทธิภาพ
เริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
จัดท่าศีรษะสูงหรือท่านั่ง
ประเมินสภาพผู้ป่วยว่าพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
วัดสัญญาณชีพและความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว (Oxygen saturation)
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15-30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมง
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
การวัดการไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤต
nvasive line monitoring เป็นการตรวจสอบสัญญาณชีพ โดยการใส่สายสวน (catheter)
ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยใส่เครื่องวัดการไหลเวียนและความดันโลหิต
การวัดความดันในหลอดเลือดแดง (intra-arterial monitoring)
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดง
ผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนลดลง หรือความดันโลหิตต่ำ
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก
ในรายที่จำเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drug
ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตยาก
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง (arterial line)
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ (infection) อาจเกิดได้จากการแทงผ่านผิวหนังที่มีการติดเชื้ออยู่เดิมและการใช้ sterile techniqueที่ไม่ดีพอหรือการติดเชื้อหลังจากใส่ไว้เป็นเวลานาน
เนื้อตาย (Skin necrosis) อาจเกิดได้ ถ้ามี thrombosis เกิดขึ้น
Air embolization จาก air ที่ใช้หลุดเข้าไปในระบบจากการ flush โดยมักเกิด cerebralembolization ได้ในการแทง axillary artery cannulation
ภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ (Hematoma)
การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลง (limb ischemia)
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ ใช้ continuous flush system
ใช้สารน้ำ 0.9%NSS 500 cc ผสมกับ Heparin 2,000-2,500 ยูนิต
ใส่ความดัน (pressure bag) ขนาด 300 มม.ปรอทเพื่อให้มีแรงดันในการ flush ที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ตรวจสอบความแม่นยำของการปรับเทียบค่า (Accuracy)
Levelling the transducer จัดตำแหน่ง transducer ให้อยู่ในตำแหน่ง phlebostatic axis
Zeroing the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0)
การป้องกันการติดเชื้อ (Infection)
หลีกเลี่ยงการปลดสาย ข้อต่อต่าง ๆ ดูแลให้เป็นระบบปิด
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อตรงตำแหน่งสายหลอดเลือดแดง
ใช้ sterile technique ในทุกขั้นตอน
ทำแผลทุก 7 วัน กรณีใช้ transparent dressing
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย
ตรวจสอบข้อต่อต่าง ๆ ให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการหัก งอ ของสายarterial line
การป้องกันการเลื่อนหลุด ควร immobilized arm โดยใช้ arm broad ที่เหมาะสม
ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน (damped waveform) และบันทึกตำแหน่งของสายยาง
จดบันทึกค่า Arterial blood pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาที
ในกรณีที่แพทย์ถอดสายยางออกแล้วควรกดตำแหน่งแผลไว้นาน อย่างน้อย 10 นาที
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
ความหมาย
เพื่อประเมินระดับของปริมาณน้ำและเลือดในร่างกาย เป็น ความดันของright atrium โดยการวัดจาก Superior Vena Cava (SVC) เพราะไม่มีลิ้นกั้น
การวัดความดันของเลือดดำส่วนกลาง หรือแรงดันเลือด ของหัวใจห้องบนขวา (right atrium pressure)
ค่า CVP เป็นผลของปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนหรือการทำหน้าที่ของหัวใจห้องล่างขวา
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP
ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด ภาวะ shock และกรณีอื่น
ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน
ในกรณีที่ต้องการประเมินการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
ตำแหน่งเส้นเลือดที่ใช้สำหรับ monitor CVP
internal jugular vein
Femoral vein
subclavian vein
Basilic vein, Brachial vein หรือ Cephalic vein
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
ความแม่นยำของการเปรียบเทียบค่า
Levelling the transducer จัดตำแหน่ง transducer ให้อยู่ในตำแหน่ง phlebostatic axis
Zero the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0)
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน
ควรระมัดระวังสายขณะเคลื่อนย้ายและขณะทำแผล
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
พิจารณาความจำเป็นในการคาสายสวนหลอดเลือดดำ
ประเมินแผลบริเวณรอบ ๆที่คาสายสวนหลอดเลือดดำทุกเวรและทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าปิดแผล
ทำความสะอาดแผลด้วย 2% Chlorhexidine in 70% Alcohol และเปลี่ยน sterile
transparent dressing ทุก 7 วัน
สวมปิดบริเวณข้อต่อด้วย needleless connector หรือจุกปิด (stopcock)
ในกรณีการเปลี่ยนชุดสารน้ำควรเปลี่ยนภายใน 72 ชั่วโมง
เฝ้าระวังและดูแลระบบการให้สารน้ำต้องเป็นระบบปิดตลอดเวลา
ป้องกันการอุดตันของสายสวน
ควรตรวจสอบตำแหน่งสายและทดสอบสายก่อนใช้งานทุกครั้ง
การป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสาย
ป้องกันฟองอากาศเข้าสู่หลอดเลือดในขณะวัด CVP
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต (common drugs used in ICU)
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Epinephrine หรือ Adrenaline 1 mg/ml/ampule (1: 1,000)
กลไกการออกฤทธิ์
beta adrenergic receptorทำให้หลอดเลือดดำส่วนปลายหดตัว (vasoconstriction)
เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (coronary perfusion)และเพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (cerebral perfusion)
ออกฤทธิ์กระตุ้น Alpha adrenergic receptor
เพิ่มความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ (positiveinotropic effect) และอัตราการเต้นของหัวใจ
การนำไปใช้
ใช้เป็นยาตัวแรกในการทำ CPR ทั้งในภาวะ systole/PEA และ VF/pulseless V
ใช้ในภาวะ symptomatic bradycardia ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ atropine
Cardiac arrest
ขนาดยาที่ใช้
Hypotension or symptomatic bradycardia อาจผสม 1 mg ใน NSS หรือ sterile water 500 ml ในขนาด 2-10 mcg/min
ขนาดยาที่ใช้ในกรณีความดันโลหิตต่ำรุนแรง (severe hypotension)
Cardiac arrest เริ่ม 1 mg IV และให้ซ้ำทุก 3-5 นาที
การบริหารยา
IV; Undilute (1:1,000) หรือ dilute ให้ได้ 1:10,000
ผลข้างเคียง
arrhythmias
hypertension
tachycardia
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
ปรับเพิ่ม/ลดขนาดยา เมื่อ BP< 90/60 หรือ >140/90 mmHg หรือ HR>120 ครั้ง/นาที หรือตามแผนการรักษา
Amiodarone (Cordarone)
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น class III antiarrhythmic drugs ใช้รักษาภาวะ tachyarrhythmia ได้หลายชนิด ทั้งที่เป็นsupraventricular หรือ ventricular arrhythmia
การนำไปใช้
ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation และ Atrial flutter
หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด Ventricular fibrillation (VF) และ Ventricular tachycardia
(VT)
ขนาดยาที่ใช้
ในกรณีทำ CPR ขนาด 300 mg หรือ 5 mg/kg เจือจางใน D5W 20 ml. IV push
หากยังมีหัวใจห้องล่างผิดปกติ ให้อีก 150 mg หรือ 2.5 mg/kg
การบริหารยา
Amiodarone injection 150 mg/ 3 mL เจือจางใน D5W เท่านั้น
ผลข้างเคียง
อาจทำให้เกิด vasodilatation และ hypotension ได้
Bradycardia, hypothyroidism, hyperthyroidism, thrombophlebitis
การพยาบาล
อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor EKG ทุก 15 นาที3 ครั้ง
หลัง loading dose รายงานแพทย์เมื่อ BP < 90/60 mmHg, HR < 60 BPM
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น anticholinergic drug ทำงานโดยการไปยับยั้งการทำงานของ valgus nerve ที่หัวใจ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ heart rate
การนำไปใช้
ใช้แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติและ AV block
ขนาดยาที่ใช้
0.6-1 mg ทุก 3-5 นาที
การบริหารยา
Atropine 0.6 mg/ml/ampule ให้ IV Bolus: Undiluted or dilute 1-10 ml ฉีด15–30 วินาที
ผลข้างเคียง
ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)
กรณีที่มี acute myocardial infarction อาจทำให้เกิดภาวะ ischemia
การพยาบาล
ควรระวังการให้ขนาดที่ต่ำกว่า 0.5 mg อาจเกิดการตอบสนองชนิดหัวใจเต้นช้าลงไปอีกได้( paradoxical bradycardia)
ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG
ไม่ควรให้ถ้า HR > 60 ครั้ง/นาที
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น purine nucleoside สามารถยับยั้งการนำไฟฟ้าผ่าน AV node เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย ยาจะถูก จับ และทำลายที่เม็ดเลือดแดงและผนังหลอดเลือดอย่างรวดเร็วต้องทำ การฉีดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มียาเหลือไปถึงที่หัวใจ
การนำไปใช้
ใช้เป็น first line drug ในภาวะ Stable narrow complex tachycardia (reentry SVT)
ในภาวะ unstable narrow complex regular tachycardia
ภาวะ regular monomorphic wide complex tachycardia
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
Adenosine 6 mg/2 ml/vial IV ขนาด 6 mg ฉีดเร็ว ๆ ภายใน 1–3 วินาที ตามด้วย NSS bolus 20 ml พร้อมกับยกแขนสูง (double syringe technique)
ผลข้างเคียง
เหนื่อยและแน่นหน้าอก
อาการหน้าแดง (flushing)
การพยาบาล
จึงต้องฉีดเร็วๆ บริเวณ upper extremitiesและ flush NSS ตาม 20 ml ด้วยวิธี double syringe technique
ถ้าฉีดยาช้า ยาจะถูกทำลายหมดก่อนถึงหัวใจ เนื่องจากยามี half-life สั้นมาก
Digoxin (Lanoxin )
การนำไปใช้
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ atrial fibrillation (AF), atrial flutter และsupraventricularTachycardia (SVT)
ขนาดยาที่ใช้
Digoxin injection 0.5 mg/ 2 mL amp (=0.25 mg/mL)
ขนาดเริ่มแรก 0.25 – 0.5mg IV และให้ซ้ำได้สูงสุด 1 mg/day
กลไกการออกฤทธิ์
มีผลเพิ่ม vagal tone ทําให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น จากการลดการทำงานของระบบประสาทsympathetic ทำให้อัตราเต้นของหัวใจลดลง
การบริหารยา
การให้ยาแบบ IV bolus จะต้องให้ช้า ๆ นานกว่า 5 นาที
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ AV block, Atrial fibrillation
การเป็นพิษจากยา อ่อนเพลีย คลื่นไส้
หัวใจเต้นช้าชนิด Sinus bradycardia, S-A arrest
การพยาบาล
กรณียาฉีด ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา และหลังให้ยทุก 15 นาที
monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง
รายงานแพทย์เมื่อ HR < 60 ครั้ง/นาทีหรือ >100 ครั้ง/นาที BP < 90/60 mmHg RR < 14 ครั้ง/นาที หรือพบArrhythmia
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
Dopamine (Inopin)
กลไกการออกฤทธิ์
ขนาดปานกลาง (3-10 mcg/kg/min) ยาจับกับ beta 1 receptors กระตุ้นการปลดปล่อยnorepinephrine
ขนาดสูง (10-20 mcg/kg/min) มีผลต่อ alpha1adrenergic receptors
ขนาดต่ำ (0.5-3 mcg/kg/min) กระตุ้น dopaminergic receptors
การนำไปใช้
ขนาดต่ำ ใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ
ขนาดสูง ทำให้หลอดเลือดหดตัว
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
ยา 1 Amp บรรจุ 10 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg (25 mg/ml) แผนการรักษาของแพทย์นิยม
เขียนเป็น 1:1, 2:1, 4:1 (ความเข้มข้นของยา:สารละลาย)
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
เกิดจากการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน
การพยาบาล
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต monitor ECG urine out put
เลือกตำแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดำเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยา
Dobutamine
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ Beta-1 และAlpha-1 Adrenergic receptors ที่หัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแรงขึ้น และหลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว
ทำให้ช่วยลด
afterload ทำให้การบีบตัวของหัวใจดีขึ้น ดังนั้นจึงเพิ่ม Cardiac out put
การนำไปใช้
เพิ่ม cardiac output ในผู้ป่วยหัวใจวาย หรือ cardiogenic shock
ขนาดยาที่ใช้
Dobutamine 2-20 mcg/kg/min ขนาดยามากกว่า 20 mcg/kg/min
การบริหารยา
แผนการรักษาของแพทย์นิยมเขียนเป็น 1:1, 2:1, 4:1
ยา 1 Vial บรรจุ20 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg หรือ 12.5 mg/ml
ผลข้างเคียง
บางรายอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้น
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะได้
การพยาบาล
เลือกตำแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดำเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยา
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด
Norepinephrine (Levophed®) กลุ่ม Adrenergic agonist
กลไกการออกฤทธิ์
ส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
กล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัวและคลายตัวเพิ่มขึ้นแต่อัตราการเต้นของหัวใจไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำยาจะออกฤทธิ์ภายใน 1-2 นาที
ยาออกฤทธิ์กระตุ้น beta1 และ alpha adrenergic receptors
การนำไปใช้
รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ septic shock และ cardiogenic shock ระดับรุนแรง
ภาวะshock หลังจากได้รับสารน้ำเพียงพอแล้ว
ขนาดยาที่ใช้
เริ่มต้นที่ 0.01-3 mcg/kg/min
การบริหารยา
ยา 1 Amp บรรจุ 4 ml มีความเข้มข้นของยา 4 mg (1 mg/ml)
แผนการรักษานิยมเขียนเป็น 4:100, 8:100
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย หายใจลำบาก
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
Nicardipine
การนำไปใช้
ผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
ยา 1 Amp ขนาด 2mg/2 ml หรือ 10 mg/10 ml
IV bolus คือ เจือจางยา Nicardipine 2 mg ด้วย NSS ให้เป็น 4 ml IV ครั้งละ 1-2 ml
V drip นิยมเขียนเป็น 1: 10 (สัดส่วน 1:10 คือยา Nicardipine 10 mg : สารละลาย 100 ml)เจือจางด้วย NSS หรือ D5W
กลไกการออกฤทธิ์
เป็นยากลุ่ม Calcium channel blocker
ออกฤทธิ์ยับยั้งแคลเซียมเข้าเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอด
ผลข้างเคียง
ใจสั่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ
การรั่วออกของยาออกนอกเสนเลือด เพราะอาจทําใหหลอดเลือดอักเสบ
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าแดง
การพยาบาล
กรณี Emergency ให้ยาทาง IV bolus ติดตามทุก 5 นาที จน BP, HR ได้ระดับที่ต้องการ
กรณีให้ IV drip ติดตามทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก
ประเมินสัญญาณชีพ
Sodium Nitroprusside
กลไกการออกฤทธิ์
ยาขยายหลอดเลือดแดงและดำ
โดย free nitroso group (NO) จะไปยับยั้ง excitation-contraction
coupling ของผนังหลอดเลือด (vascular smooth muscle)
การนำไปใช้
ใช้ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive emergency
ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
การเตรียมยาผสม 50 mg ใน D5W 250 ml เริ่มให้ 0.1mcg/kg/min ปรับยาขึ้นครั้งละ 10 mcg/min
ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาโดยไม่ทำให้เกิดความดันโลหิตลดลง เพิ่มทุก 3-15 นาที ขนาดโดยเฉลี่ย 3 mcg/kg/min
ผลข้างเคียง
หากลดความดันโลหิตเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
เกิดพิษจาก cyanide โดยผู้ป่วยจะมีความรู้สึกตัวลดลงและมีภาวะความเป็นกรดในเลือดสูงขึ้น
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
ป้องกันยาในขวดน้ำเกลือทำปฏิกิริยากับแสงด้วยกระดาษ ผ้า หรือ aluminum foil
Nitroglycerin (NTG)
กลไกการออกฤทธิ์
กระตุ้น guanylate cyclase ใน cytoplasm
ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดดำขยายตัวเลือดไหลกลับหัวใจลดลง ลดปริมาณเลือดในห้องหัวใจ (preload ) แรงในการบีบตัวของหัวใจลดลง ช่วยลดความต้องการออกซิเจนของร่างกาย
ยาขยายหลอดเลือดโดยการหลั่ง nitric oxide (NO) เข้าสู่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด
การนำไปใช้
Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
Heart failure โดยช่วยในการลด preload
ขนาดยาที่ใช้
เริ่มขนาด 5-10 mcg/min เพิ่มทีละ 5-10 mcg/min ทุก 5-10 นาที
ขนาดยา 30-40 mcg/min ทำให้เกิด Vasodilatation
ขนาดยาที่มากกว่า 150 mcg/min ทำให้เกิด arteriolar dilation
การบริหารยา
NTG 1 vial มี 10 ml บรรจุยา 50 mg เจือจางใน 5%D/W หรือ 0.9%NSS โดยผสม Nitroglycerin 500-1000 มก. ใน D5W หรือ NSS 250 ml
ผลข้างเคียง
Tachycardia
Flushing
Hypotension
headache
การพยาบาล
monitor EKG ยาทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
ประเมินสัญญาณชีพ
กมลลักษณ์ จันทร์ศิริ 6001210163 เลขที่ 7 Sec A