Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ - Coggle…
บทที่ 3
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาล
และการผดุงครรภ์
วิวัฒนาการ
สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการออกกฎหมายขึ้นภายใต้ “พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466” เพื่อควบคุมการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน
พ.ศ. 2472 มีการแก้ไขโดยการตัดสาขาสัตวแพทย์ออก ให้การประกอบโรคศิลปะเป็นการกระทำต่อมนุษย์เท่านั้น
พ.ศ. 2479 ซึ่งได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น 2 แผน ได้แก่ แผนโบราณและแผนปัจจุบัน
พ.ศ. 2518 เพิ่มกายภาพบำบัดและเทคนิคการแพทย์เข้ามา
พ.ศ. 2518 ผู้นำทางการพยาบาลได้พิจารณาเห็นประโยชน์
จากการที่แพทย์แผนปัจจุบันได้แยกตัวออกจากการควบคุมของพระราชบัญญัติชีพเวชกรรม จึงได้ร่วมประชุมและมีมติให้สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หาแนวทางการจัดตั้งสภาการพยาบาล
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2528 ได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. 2528” มีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2528
พ.ศ. 2534 คณะกรรมการสภาการพยาบาลเห็นควรว่า พยาบาลควรต้องได้รับเลือกจากกรรมการสภาการพยาบาลการสอบขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทุก 5 ปี
พ.ศ. 2540 ได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 75ก วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 จวบจนถึงปัจจุบัน
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาล
และการกระทำความผิดที่พบบ่อย
องค์ประกอบของนิติกรรม
การกระทำโดยเจตนา
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง กิริยาที่ทำให้เห็นชัดเจน
การแสดงเจตนาโดยปริยาย
การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ ผลของการทำตามกฎหมาย
ความหมาย
นิติกรรม
มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล ด้วยความเต็มใจและถูกกฎหมาย
กฎหมายพาณิชย์
ที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการที่เป็นหุ้นส่วนกัน
กฎหมายแพ่ง
กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน
ประเภทของนิติกรรม
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต เช่น สัญญาซื้อขาย
มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต เช่น พินัยกรรม
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
มีค่าตอบแทน เช่น สัญญาจ้างงาน
ไม่มีค่าตอบแทน เช่น ให้โดยเสน่หา
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจำนวนคู่กรณี
ฝ่ายเดี่ยว คือ เกิดผลโดยการแสดงเจตนาของบุคคลเพียงฝ่ายเดียว
หลายฝ่าย คือ เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
ความหมาย
ความสามารถของบุคคล
สภาพที่กฎหมายกำหนดขอบเขตให้บุคคลมีสิทธิหรือใช้สิทธิ ความสามารถของบุคคลเป็นสิ่งสำคัญต่อการพิจารณาความรับผิดทางกฎหมาย
บุคคล
บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ที่มีชีวิตรอดภายหลังการคลอดจากครรภ์มารดา
นิติบุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งกฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล
บุคคลที่ถูกจำกัดสิทธิในการทำพินัยกรรม
คนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริต
อยู่ในภาวะผัก
คู่สมรส ผู้สืบสันดาน บุพการี
คนเสมือนไร้ความสามารถ
พิการ
จิตฟั่นเฟือน
สุรุ่ยสุร่าย เสเพล
ติดสิ่งเสพติด
ผู้เยาว์ สามารถกระทำนิติกรรมบางประเภทได้
นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว
นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องกระทำเองเฉพาะตัว
นิติกรรมที่สมควรแก่ฐานะ
นิติกรรมการจำหน่ายทรัพย์สิน
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
สามีภรรยา
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆียกรรม การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทำ
ความสามารถของบุคคล
การแสดงเจตนาโดยวิปริต สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน ฉ้อกล หรือข่มขู่
การบังคับชำระหนี้
โมฆะกรรม ความเสียเปล่าของนิติกรรม
มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
เจตนาโดยสำคัญผิด
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนด้วยเงิน
ความรับผิดทางแพ่ง
ความรับผิดจากการละเมิด
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
ความรับผิดตามสัญญา
เช่น การรับจ้างเฝ้าไข้ ถือว่าเป็นนิติกรรมสัญญา
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิด
ครูบาอาจารย์นายจ้าง ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์
ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทำไป
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาล
และการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน
เป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและ
สังคมส่วนรวม
ความผิดต่อส่วนตัว
เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว
และกฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจนผู้เสียหายเท่านั้นจะฟ้องร้องต่อพนักงานสอบสวน เพื่อทำการสอบสวนความผิด
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง ขณะที่กระทำผิด ต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร ถอดความหมายของข้อความ
ในบทบัญญัติออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นด้วยคำที่ง่ายขึ้น
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ จะไม่มีผลในการเพิ่มโทษแก่บุคคล หากขณะกระทำยังไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ก็ถือว่าไม่มีความผิด
ความหมายและวัตถุประสงค์
กำหนดโทษอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย ยกเว้นความผิดที่ยอมความได้
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
การกระทำ ผู้กระทำต้องรู้สึกตัวและรู้ว่าตนกำลังทำสิ่งใดอยู่
การกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ ผู้ต้องหา
ไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา คำนึงถึงองค์ประกอบภายใน คือ จิตใจของผู้กระทำในทางอาญาถือว่าผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะกระทำผิดเสมอจึงจะลงโทษ
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
เหตุยกเว้นความรับผิด
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ
เหตุยกเว้นโทษ
กระทำด้วยความจำเป็น
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ไม่ต้องรับโทษ
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
เหตุลดหย่อนโทษ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ลดหย่อนโทษได้ แต่ยังต้องรับโทษ
การกระทำโดยบันดาลโทสะ
เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษ เช่น โง่เขลาเบาปัญญา
อายุความ
อายุความฟ้องคดีทั่วไป
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้
โทษทางอาญา
โทษกักขัง เป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง
โทษปรับ คือ การชำระเงินต่อศาลตามจำนวนที่ศาลกำหนดไว้
โทษจำคุก เป็นโทษจำกัดเสรีภาพของนักโทษที่ถูกควบคุมไว้ในเรือนจำ
โทษริบทรัพย์สิน ศาลมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน
โทษประหารชีวิต เป็นโทษสูงสุด
ลหุโทษ หมายถึง ความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำงานเพื่อบริการสังคม
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ ไม่ระมัดระวัง
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ
ความบกพร่องด้านการบันทึก
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย
ความประมาทในการรักษา
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
แท้งลูก
จิตพิการอย่างเต็มตัว
ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
ทุพพลภาพเกินกว่า 20 วัน
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่
เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย
เปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
รู้ความลับผู้อื่นมาเนื่องจากการประกอบอาชีพ
ข้อยกเว้น
เป็นข้อผูกพันหรือหน้าที่
โรคติดต่อร้ายแรงเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจรับผิดชอบหรือตัดสินใจด้วยตนเอง
คำสั่งศาล
ผู้ป่วยรับรู้และยินยอมให้เปิดเผย
การรายงานการทุบตีทำร้ายร่างกายในครอบครัว
รายงานบาดแผลที่ผู้ป่วยมารักษาจากก่อคดีอาชญากรรม
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน
หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
ปลอมเอกสาร
ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน
เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไข
นำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้ในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
ความผิดฐานปลอมเอกสาร รวมถึงผู้ที่กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอม
รับรองเอกสารเท็จ
เป็นผู้ทำคำรับรองเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นผู้ใช้
หรืออ้างคำรับรองนั้นโดยทุจริต
ใช้เอกสารเท็จนั้นในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูก ต้องได้รับโทษ
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม
การพยายามทำให้หญิงแท้งลูก
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม
การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมาย
ยกเว้น
จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืนกระทำชำเรา
การทำให้ตนเองแท้งลูก
ตัวอย่างประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒๓ ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน
มาตรา ๒๘ ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
มาตรา ๑๙ ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิตให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยา
มาตรา ๓๒ ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
มาตรา ๓๓ ศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
มาตรา ๒๙ ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษาผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สิน
มาตรา ๓๗ ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ศากำหนด
ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่น
ยึดทรัพย์สิน
ผู้นั้นจะส่งทรัพย์สินที่สั่งให้ส่งได้ แต่ไม่ส่งหรือชำระราคาทรัพย์สินนั้นได้ แต่ไม่ชำระให้ศาลมีอำนาจกักขังผู้นั้นไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ไม่เกินหนึ่งปี
มาตรา ๓๐ ให้ถืออัตราห้าร้อยบาทต่อหนึ่งวัน และไม่ว่าในกรณี
ความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้ามกักขังเกินกำหนดหนึ่งปี
มาตรา ๓๐/๓ คำสั่งศาลตามมาตรา ๓๐/๑
และมาตรา ๓๐/๒ ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๓๔ บรรดาทรัพย์สิน
ซึ่งได้ให้ตามความในมาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๔ มาตรา ๑๔๙ มาตรา ๑๕๐ มาตรา ๑๖๗ มาตรา ๒๐๑ หรือมาตรา ๒๐๒
ได้ให้เพื่อจูงใจบุคคลให้กระทำความผิด หรือเพื่อเป็นรางวัลในการที่บุคคลได้กระทำความผิด
มาตรา ๑๘ โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิด
ประหารชีวิต
จำคุก
กักขัง
ปรับ
ริบทรัพย์สิน
มาตรา ๓๐/๑ ผู้ต้องโทษปรับซึ่งมิใช่นิติบุคคลและไม่มีเงินชำระค่าปรับอาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทน
มาตรา ๒ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด กำหนดโทษไว้
มาตรา ๓๐/๒ ศาลจะเพิกถอนคำสั่งอนุญาตดังกล่าวและปรับ
หรือกักขังแทนค่าปรับ
มาตรา ๔๖ ความปรากฏแก่ศาลตามข้อเสนอของพนักงานอัยการว่าผู้ใดจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
มาตรา ๔๗ กระทำผิดทัณฑ์บนให้ศาลมีอำนาจสั่งให้
ผู้นั้นชำระเงินไม่เกินจำนวนที่ได้กำหนดไว้ในทัณฑ์บน
ตัวอย่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒๕ ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๖ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้
มาตรา ๒๔ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
มาตรา ๒๗ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่นได้
มาตรา ๒๓ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
มาตรา ๒๘ บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการหรือผู้สืบสันดาน ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
มาตรา ๒๒ ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
มาตรา ๓๑ ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้วร้องขอต่อศาลก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถ
มาตรา ๒๑ ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
มาตรา ๒๙ การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลงการนั้นเป็นโมะฆียะ
มาตรา ๒๐ ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส
มาตรา ๓๒ บุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมาร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้
มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
มาตรา ๑๕ สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
มาตรา ๓๓ ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริต ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นไม่วิกลจริต แต่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ