Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.๒๕๕๑, เช่น กศน. -…
พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.๒๕๕๑
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.๒๕๕๑
มาตรา๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช่บังคับกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่งดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาที่ได้บัญญัติไว้แล้ว
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
การศึกษานอกระบบ คือ กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียน มีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้
การศึกษานอกระบบ เป็นกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้พลาดโอกาศเรียนจากระบบการศึกษาปกติ โดยเน้นเพิ่มศักยภาพของผู้เรียน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนพึงได้รับ
การศึกษาตามอัธยาศัย คือ กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคล ซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่ิอเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
การศึกษาตามอัธยาศัย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่เติมเต็มความต้องการของมนุษย์ที่แสวงหา ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆนอกเหนือโรงเรียนในระบบโรงเรียน โอกาสทางการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเกิดขึ้นได้ ในทุกเวลา ไม่จำกัดสถานที่
เช่น ปอเนาะ ศูนย์การเรียนรู้ส่งเสริมอาชีพ
สถานศึกษา คือ สถานที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
คณะกรรมการ คือ คณะกรรมการการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรา ๕ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาให้บุคคลที่ได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
โดยให้บุคลลวึ่งได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปแล้วหรือไม่ก็ตามมีสิทธิได้รับการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรา ๖ การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ยึดหลักดังนี้
การศึกษานอกระบบ (ก)ความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง (ข) การกระจายอำนาจแก่สถานศึกษาและการให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
การศึกษาตามอัธยาศัย (ก) การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย (ข) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้ความหลากหลาย (ค) การจัดกรอบหรือแนวทางการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผ้เรียน
มาตรา ๗ การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบ ให้ดำเนินการเพื่อเป้าหมายในเรื่องต่อไปนี้
๑. ให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนและสังคม ๒. ภาคีเครือข่ายเกิดแรงจูงใจและมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษา
มาตรา ๘ การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ดำเนินการเพื่อเป้าหมายในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) ให้ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (๒) ผู้เรียนได้เรียนรู้สาระที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (๓) ผู้เรียนสามารถนำความรู้ทีได้รับไปใช้ประโยชน์และเทียบโอนผลการเรียนกับการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
มาตรา ๙ ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๑.ผู้เรียน ให้อิสระตามความต้องการของตนเอง ๒. ผู้จัดการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ มีการดำเนินการที่หลากหลายตามศักยภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่าย อาจดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องต่อไปนี้
๑. สื่อและเทคโนโลยี ๒.การจัดการศึกษา ๓. สิทธิประโยชน์ตามความเหมาะสมให้แก่ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบ ๔, การสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ๕. ทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเพื่อให้บุคคลและชุมชนได้เรียนรุ้ตามความสนใจ
มาตรา ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการจัดการพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันภาคีเครือข่าย เพื่อดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้
เช่น แหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนชุมชน สื่อและเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย ได้รับโอกาสการจัดสรรทรัพยากรและเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการดำเนินงาน
มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑.กำหนดนโยบายและแผนส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๒. กำหนดแนวทางการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ๔.เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการจัดทำและการพัฒนาระบบการเทียบโอนผลการเรียนจากการเรียนรู้นอกระบบและตามอัธยาศัย ๕.ปฎิบัติงานอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฏหมายอื่นบัญญัติ
มาตรา ๑๓ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
มาตรา ๑๔ ให้มีสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงาน กศน.
มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดทุกจังหวัด
ในกรุงเทพ
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน๕ณะกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร เลขาธิการ กศน. ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขและผู้ทรงวุฒิ
ในจังหวัดอื่น
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ ปลัดจังหวัด เกษตรจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด แรงงานจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๖ คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด มีอำนาจดังนี้
(๑) ให้คำปรึกษาและความร่วมมือในการพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับภาคีเครือข่าย
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่าย
(๓) ติดตามการดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(๔) ปฎิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๗ ให้มีสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดทุกจังหวัด
ในกรุงเทพ เรียกว่า สำนักงาน กศน. กทม.
ในจังหวัดอื่น เรียกว่า สำนักงาน กศน. จังหวัด
มาตรา ๑๘ ให้สถานศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน และจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยร่วมกับภาคีเครือข่าย
มาตรา ๑๙ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งมีคณะกรรมการสถานศึกษา
มาตรา ๒๐ ให้สำนักงานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบซึ่งเป็นระบบการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยกาศึกษาแห่งชาติ
มาตรา ๒๑ ให้สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ปรับเปลี่ยนภารกิจมาเป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรา ๒๒ ให้เลขาธิการ กศน. แต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครคนหนึ่งปฎิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. กทม. จนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงาน กทม. ขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๓ ให้รัฐมนตรีจัดทำบัญชีรายชื่อสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความพร้อมในการปฎิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๔ ให้นำกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียนที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการการรักษาตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฎิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
เช่น กศน.