Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิด ที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ …
บทที่ 9 การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิด
ที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ :warning:
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
การบาดเจ็บที่ศีรษะทารก (Skull injuries)
ภาวะก้อนบวมน้ำใต้ศีรษะ
(caput succedaneum)
สาเหตุ
เกิดจากแรงดันที่กดลงบนศีรษะทารกระหว่างการคลอดท่าศีรษะ ทำให้มีของเหลวไหลซึมออกมานอกหลอดเลือดในชั้นใต้เยื่อหุ้มหนังศีรษะ
การใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด
การวินิจฉัย
จากการคลำศีรษะทารก พบก้อนบวมโน นุ่ม กดบุ๋ม ขอบเขตไม่ชัดเจนข้าม suture พบทันทีภายหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
พบได้ด้านข้างของศีรษะ การบวมของก้อนโนนี้จะมีความกว้างและมีขนาดโตประมาณไข่ห่าน ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
แนวทางการรักษา
หายไปได้เอง ประมาณ 2 -3 วันหลังคลอด
ถ้าเกิดจาก V/E จะหายได้ช้ากว่า
บทบาทการพยาบาล
สังเกตลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการ
บันทึกอาการและการพยาบาล
Cephalhematoma
สาเหตุ
ระยะเวลาการคลอดยาวนาน
ศีรษะทารกถูกกดจากช่องทางคลอด
การใช้ V/E
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะ Hyperbilirubinemia
อาจเกิดการติดเชื้อจากการดูดเลือดออกจากก้อนโน
การวินิจฉัย
ประวัติเบ่งคลอดนาน ช่วยคลอดโดยใช้ V/E
ตรวจพบศีรษะมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่งลักษณะแข็งหรือค่องข้างตึง คลำขอบเขตได้ชัดเจน กดไม่บุ๋ม
อาการและอาการแสดง
อาการจะชัดเจนหลัง 24 hr
ในรายที่รุนแรงอาจพบทันทีหลังเกิดและพบว่าก้อนโนเลือดมีสีผิดปกติ คือ เป็นสีดำ/น้ำเงินคล้ำ เนื่องจากการแข็งตัวของเลือด และอาจพบว่าทารกซีดจากการสูญเสียเลือดมาก
แนวทางการรักษา
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะค่อยๆหายไปเองภายใน 2 เดือน
ถ้ามีภาวะตัวเหลืองและมีบิลลิรูบินในเลือดสูง ต้องได้รับการส่องไฟ (phototherapy)
ในรายที่ก้อนเลือดขนาดใหญ่อาจรักษาโดยการดูดเลือดออก
บทบาทการพยาบาล
สังเกต ลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมอง
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด
สังเกตอาการซีด เจาะ Hct และให้เลือดตามแผนการรักษา
ตรวจ MB ถ้าตัวเหลืองพิจารณาส่องไฟ
อธิบายมารดาและบิดาให้เข้าใจถึงอาการของทารก
แนะนำไม่ใช้ยาทา ยานวด ประคบ/เจาะเอาเลือดออกเอง
ภาวะที่มีเลือดสะสมใต้ช่องว่างของเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างพังผืดของกะโหลกกับเยื่อหุ้มกะโหลก(Subgaleal hematoma)
สาเหตุ
มักพบในการคลอดโดยใช้ V/E
อาการและอาการแสดง
มีขอบเขตจากหน้าไปหลังเริ่มจากขอบเบ้าตา ไปยังท้ายทอยและด้านข้างจากหูไปยังหูอีกข้าง
ก้อนมีลักษณะน่วม และข้ามแนวประสานกระดูก ก้อนมีขนาดเพิ่มขึ้นช้าๆ ในหลายชั่วโมงหรือวัน หรือเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ทารกช็อกจากการเสียเลือดได้
Subgaleal hematoma อันตรายมากกว่า Cephalhematoma เนื่องจากสามารถขยายขนาดได้ตั้งแต่ขอบกระดูกเบ้าตาจนถึงชายผม ทำให้ทารกเสียเลือดมากจนเกิด hypovolemia
ภาวะเลือดออกภายในกระโหลกศีรษะ (Intracranial hemorrhage)
สาเหตุ
Preterm
ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานในขณะคลอดหรือเกิดภายหลังคลอด
การได้รับอันตรายรุนแรงจาการคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
เลือดออกกดศูนย์หายใจทำให้ทารกหายใจลำบาก
ทารกอาจเกิดปัญญาอ่อน
การวินิจฉัย
จากประวัติการคลอดเพื่อ
ค้นหาสาเหตุ
อาการและอาการแสดง
Reflex ลดน้อยลงหรือไม่มีโดยเฉพาะ moro reflex จะเสียไป
กำลังกล้ามเนื้อไม่ดี มีอาการอ่อนแรง
มีภาวะซีด หรือมีอาการเขียว
ซึม ดูดนมไม่ดี หรือไม่ยอมดูดนม
ร้องเสียงแหลม
การหายใจผิดปกติ
กระหม่อมโป่งตึง
ชัก
แนวทางการรักษา
ถ้ามีความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจได้รับการรักษาโดยเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบรรเทาอาการความดันในสมอง
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารกถ้าตัวเย็น
ดูแลให้ได้รับยาระงับการชักและให้วิตามินเค
ดูแลให้ออกซิเจนถ้าทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำอย่างเพียงพอ
บทบาทการพยาบาล
ดูแลให้ทารกหายใจสะดวกและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำอย่างเพียงพอ
ให้ทารกอยู่ในตู้อบ (incubator)
เตรียมเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือทารกไว้ให้พร้อม
ตรวจสอบสัญญาณชีพ และบันทึกไว้ทุก 2- 4 ชวั่ โมง
ป้องกันและไม่ให้ทารกได้รับอันตรายจากการชัก
ดูแลให้ทารกได้พักผ่อน รบกวนทารกให้น้อยที่สุด
ดูแลฉีดวิตามินเค จำนวน 1 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อ
ประคับประคองจิตใจมารดาและบิดา
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
ความหมาย
การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับทารกระหว่างคลอดจากแรงที่กระทำ กับทารกโดยตรง และไม่เกี่ยวกับโรคที่มารดาเป็นระหว่างการตั้งครรภ์
การบาดเจ็บของกระดูก (Bone injuries)
กระดูกต้นแขนหัก(Fracture humurus)
สาเหตุ
การคลอดท่าก้นผู้ทำคลอดดึงทารกออกมาแขนเหยียด
การคลอดท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
การตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์(moro reflex) พบว่า ทารกจะไม่
งอแขน
เมื่อจับทารกขยับทารกจะร้องไห้เนื่องจากรู้สึกเจ็บ
อาการและอาการแสดง
ในรายที่กระดูกหักสมบูรณ์ อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะคลอด
แขนข้างที่หักจะมีอาการบวมและทารกไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่หักเนื่องจากรู้สึกเจ็บ
แนวทางการรักษา
ถ้าเป็นเพียงกระดูกแขนเดาะ จะรักษาโดยการตรึงแขนให้แนบกับ
ลำตัวเพื่อไม่ให้แขนเคลื่อนไหว 1-2 สัปดาห์
แต่ถ้ากระดูกแขนหักสมบูรณ์ จะรักษาโดยการจับแขนตรึงกับ
ผนังทรวงอก ศอกงอ 90 องศา
กระดูกต้นขาหัก (Fracture femur)
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น
ผู้ทำคลอดดึงขาทารกขณะที่ติดอยู่ที่ทางเข้าเชิงกราน
การตรวจร่างกาย
ทดสอบโมโรรีเฟลกซ์ ทารกไม่ยกขาข้างที่กระดูกหัก
สังเกตว่าทารกจะไม่เคลื่อนไหวขาข้างที่หัก
อาการและอาการแสดง
อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทารกคลอด
อาจพบขาทารกบวม
เมื่อจับทารกเคลื่อนไหว/ถูกบริเวณที่กระดูกต้นขาหักทารกจะร้องไห้
แนวทางการรักษา
ถ้ากระดูกไม่หักแยกจากกัน (incomplete) รักษาโดยการใส่เฝือกขายาว ประมาณ 3 -4 สัปดาห์
ถ้ากระดูกหักแยกจากกัน (complete) รักษาโดยการห้อยขาทั้ง 2 ข้างไว้กับราวที่ขวางปลายเตียง ขาเหยียดตรง ให้ก้นและสะโพกลอยจากพื้นเตียง ดึงขาไว้นาน 2-3 สัปดาห์
กระดูกไหปลาร้าหัก (Fracture clavicle)
สาเหตุ
การคลอดทารกท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
ทารกตัวโต/คลอดท่าก้น
การตรวจร่างกาย
ทดสอบ moro reflex แขนทั้งสองข้างของทารกเคลื่อนไหวไม่เท่ากัน
กรณีที่กระดูกเดาะอาจยกแขนได้ คลำบริเวณที่หักอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ
อาการและอาการแสดง
ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหักน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
ทารกมีอาการหงุดหงิด/ร้องไห้เมื่อสัมผัสบริเวณที่กระหูกหัก
อาจพบ Ecchymosis
อาจพบ Brachial plexus
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่หายเองได้ค่อนข้างเร็ว มักเกิดกระดูกงอกใหม่ภายใน 1 สัปดาห์
รักษาโดยให้เเขนและไหล่ด้านที่กระดูกไหปลาร้าหักอยู่นิ่งๆ
บทบาทการพยาบาล
ดูแลไม่ให้กระดูกที่หักเคลื่อนไหว
จัดกิจกรรมการพยาบาลไม่ให้เคลื่อนไหวร่างกายทารกบ่อย
ดูแลให้ความสุขสบาย ป้องกันอันตรายเพิ่ม
ดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำเพียงพอ
ดูแลการขับถ่าย ป้องกันการระคายเคือง
ดูแลให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจแก่ทารก
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
การบาดเจ็บของเส้นประสาท
การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า (facial nerve injury)
สาเหตุ
การคลอดยาก
การใช้คีมช่วยคลอดทำให้กดเยื่อประสาทสมองคู่ที่ 7
การตรวจร่างกาย
จากสังเกตสีหน้าของทารกเวลานอน เวลาร้องไห้/แสดงสีหน้าท่าทาง
อาการและอาการแสดง
มีอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า
กล้ามเนื้อด้านที่เป็นอัมพาตจะไม่เคลื่อนไหว ทำให้หน้าเบี้ยวไปข้างที่ดี
รูปหน้าทั้ง 2 ด้านจะไม่เท่ากัน เวลาร้องไห้
ทารกจะลืมตาได้เพียงครึ่งเดียว ตาปิดไม่สนิท
ปากข้างที่เป็นจะถูกดึงลงมาทำให้มุมริมฝีปากล่างตก
ไม่มีรอยย่นที่หน้าผาก
แนวทางการรักษา
ปกติถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้าเพียงถูกกดอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วันถึงสัปดาห์
แต่ถ้าเส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
บทบาทการพยาบาล
ล้างตา หยอดตา เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อบุตาขาว และกระจกตาของทารกแห้ง
ดูแลให้ได้รับนมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เฝ้าระวังการสำลัก
ดูแลให้ทารกได้รับการตอบสนองด้านจิตใจ
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
การบาดเจ็บของเส้นประสาท Brachial
สาเหตุ
เกิดจากข่ายประสาท Brachial ถูกดึงหรือกด
พบในทารกที่คลอดโดยมีส่วนนำเป็นก้น/คลอดยากบริเวณแขน/ไหล่จากการที่ดึงไหล่ออกไปจากศีรษะในระหว่างการคลอด
อาการและอาการแสดง
Erb-Duchenne paralysis
เป็นการบาดเจ็บที่เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังระดับคอท่อนที่ 5-6
แขนข้างนั้นส่วนบนไม่ขยับ
แขนจะอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
บริเวณข้อมือยังขยับ
กำมือได้ตามปกติ
Klumpke’ s paralysis
เป็นการบาดเจ็บที่เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังต้นคอท่อนที่ 7-8 และเส้นประสาทเลี้ยงทรวงอกคู่ที่ 1
แขนข้างนั้นส่วนล่างไม่ขยับ
แขนอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
บริเวณข้อมือไม่ขยับ
กำมือไม่ได้
การตรวจร่างกาย
Erb Duchen Paralysis
ทดสอบ moro reflex พบว่า แขนข้างที่เป็นยกขึ้นไม่ได้/ยกได้น้อย
การเคลื่อนไหวและการงอแขนลดลง
การตอบสนองต่อการกำมือปกติ
Klumpke’ s paralysis
ทดสอบ moro reflex ไหล่และแขนส่วนบนเหยียดกางออกเป็นปกติ แต่ข้อมือ นิ้วมือตกไม่มีแรง
การตอบสนองต่อการกำมือผิดปกติ
แนวทางการรักษา
ให้แขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว
ทำกายภาพบำบัด
ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
การพยาบาล
ดูแลให้ส่วนที่ได้รับอันตรายไม่เคลื่อนไหว
ดูแลให้แขนที่ได้รับอันตรายได้ออกกำลัง/ส่งกายภาพบำบัด
ดูแลความสุขสบายและการผ่อนคลายให้ทารกที่ต้องตรึงแขน สำรวจมือ ปลายนิ้วเพื่อดูว่าเย็นซีดหรือไม่
ทำความสะอาดร่างกายด้วยความนุ่มนวล
ตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ช่วยให้มารดาและบิดามั่นใจในการดูแลทารก