Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด
การคลอดเฉียบพลัน
ความหมาย
อ การคลอดที่เกิดขึ้นเร็วผิดปกติ ใช้เวลาตั้งแต่เจ็บครรภ์จนถึงคลอด
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ชั่วโมง หรือระยะที่ 2 ของการคลอดใช้เวลาน้อยกว่า 10 นาที หรือมีการเปิดขยายของปากมดลูกในระยะปากมดลูกเปิดขยายเร็ว ๕ เซนติเมตร/ชั่วโมง ในครรภ์แรก และมากกว่า
10 เซนติเมตร/ชั่วโมงในครรภ์หลัง
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การหัดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและกล้ามเนื้อหน้าท้องแรงผิดปกติ
ผู้คลอดครรภ์หลัง
แรงต้านทานของเนื้อเยื่อช่องทางคลอดไม่ดี
ผู้คลอดที่มีเชิงกรานกว้าง
เคยมีประวัติคลอดเฉียบพลันหรือคลอดเร็ว
ผู้คลอดไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดจากการคลอดหรือไม่รู้สึกอยากเบ่งซึ่งพบได้น้อยมาก
ทารกตัวเล็ก
ผู้คลอดไวต่อการใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
อาการและอาการแสดง
อาการเจ็บครรภ์อย่างมาก
มดลูกมีการหดรัดตัวอย่างรุนแรงและถี่มากกว่า 5 ครั้ง ในเวลา
10 นาท
ตรวจภายในพบปากมดลูกเปิดขยายเร็ว
ครรภ์แรกปากมดลูกเปิดขยายมากกว่าหรือเท่ากับ
5 เซนติเมตร/ชั่วโมง
ครรภ์หลัง ปากมดลูกเปิดมากกว่าหรือเท่ากับ 10 เซนติเมตร/ชั่วโมง
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อทารก
อาจเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อแขนถูกดึงมากเกินไป
อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน
เลือดออกในสมอง
ทารกได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการกระทบกระแทกเพราะช่วยคลอดไม่ทัน
ต่อมารดา
ติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ
ตกเลือดหลังคลอด เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดในระยะ 24 ชั่วโมงแรก จากการสูญเสีย
เลือดปริมาณมาก เนื่องจากมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อช่องทางคลอด และมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
เนื้อเยื่อบริเวณช่องทางคลอดฉีกขาด มดลูกมีการเปลี่ยนแปลงจากขนาดใหญ่มาเป็นขนาด
เล็กเร็วเกินไป
อาจเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดตันในหลอดเลือด
มดลูกแตกจากการหดรัดตัวของมดลูกอย่างรุนแรง
มีการคั่งของเลือดภายใต้ชั้นผิวหนังที่ฉีกขาด
การรักษา
การให้ยา รายที่ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรหยุดให้ยาและดูแลอย่างใกล้ชิด
อาจให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
การผ่าตัด ทำในรายที่มีการคลอดเฉียบพลันแต่การขยายของปากมดลูกไม่ดี ซึ่งอาจเกิด
ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกแตก หรือน้ำคร่ำอุดกั้นในกระแสเลือด
ให้การดูแลตามอาการ ถ้าประสบกับการคลอดเฉียบพลันให้ช่วยคลอด
กระบวนการพยาบาล
การซักประวัติ
ประวัติการคลอดเฉียบพลันหรือการคลอดเร็วในครรภ์ก่อน
ความไวต่อการเร่งคลอด
ลักษณะอาการเจ็บครรภ์ หรืออาการอื่นๆร่วมกับการเจ็บครรภ์
การตรวจร่างกาย
ตรวจภายใน
การฟังเสียงหัวใจทารก และติดตาม Electronic Fetal monitoring
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ภาวะจิตสังคม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สุขสบายเจ็บครรภ์คลอด เนื่องจากมดลูกมีการหดรัดตัวถี่และรุนแรง
ทารกอาจเกิดอันตรายจากการคลอดเฉียบพลัน
ช่องทางคลอดมีโอกาสเกิดการฉีกขาดมากผิดปกติเนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
อาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดเฉียบพลันการตกเลือดหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอด
ความหมาย
การเสียเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 500 มิลลิลิตรจากการ
คลอดทางช่องคลอด หรือการเสียเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 500 มิลลิลิตรจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หรือร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัวของมารดาหลังจากคลอดระยะที่สามสิ้นสุดลง
การจำแนกการตกเลือดหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอดทันที(Early or immediatePPH)
หมายถึง การตกเลือดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เป็นสาเหตุของภาวะตกเลือดหลังคลอดที่พบได้มาก และบ่อยที่สุดประมาณ 4-6 % ของการตั้งครรภ์ทั้งหมดโดยประมาณ 80 %
การตกเลือดหลังคลอดภายหลัง (Late or delayedPPH)
หมายถึง การตกเลือดภายหลัง 24 ชั่วโมงจนถึง6 สัปดาห์หลังคลอด
อาการแสดงของภาวะตกเลือดหลังคลอด
ใจสั่น มึนงง ชีพจรเร็ว
อ่อนแรง เหงื่อออก ชีพจร
เร็ว
กระสับกระส่าย ซีด
ปัสสาวะออกน้อย
หมดสติ ขาดอากาศ ไม่มี
ปัสสาวะ
สาเหตุ
Tissue คือ สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับรก
การคลอดก่อนกำหนด
การติดเชื้อของรกและน้ำคร่ำ
การเคยผ่าตัดเนื้องอกมดลูกมาก่อน
การเคยผ่าตัดคลอดทาง หน้าท้อง และ
มารดาอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปีขึ้นไป
Trauma คือ สาเหตุเกี่ยวกับการฉีกขาดของช่องทางคลอด
การฉีกขาดของปากมดลูก ช่องคลอด แผลฝีเย็บ รวมถึงการมีเลือดออกใต้ชั้นกล้ามเนื้อ บริเวณช่องทางคลอด
Tone คือ สาเหตุเกี่ยวกับความผิดปกติของการหดรัดตัวของมดลูก
การตั้งครรภ์แฝดน้ำ
การตั้งครรภ์แฝด
กล้ามเนื้อมดลูกยืดขยายมากเกินไป
ทารกตัวโต
การตั้งครรภ์และการคลอดตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป
-การได้รับยากระตุ้นการหดรัด ตัวของมดลูกเป็นเวลานาน
การคลอดล่าช้า
Thrombin คือ สาเหตุเกี่ยวกับการแข็งตัว ของเลือดผิดปกติ
การมีเลือดออกในขณะ ตั้งครรภ์หรือมีประวัติตก
เลือดหลังคลอด
การติดเชื้อ
ทารกตายในครรภ์
ความดัน
โลหิตสูงขณะตั้งครรภ
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง
เสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือขาด
ศีรษะของทารกได้รับอันตรายจากการรับทารกไม่ทัน
แนวทางการป้องกันและรักษา
Readiness คือ การเตรียมความพร้อม หมายถึง การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Response คือ การตอบสนอง
Recognition and Prevention คือ การ รับรู้และการป้องกัน
Reporting and Learning คือ การรายงาน และการเรียนร
การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดในมารดาหลังคลอด
Breast and Lactation คือ การประเมิน ลักษณะของเต้านม หัวนม และการไหลของน้ำนม เพื่อ ประเมินความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม
Uterus คือ การประเมินระดับยอดมดลูก และการหดรัดตัวของมดลูก
Black ground and Body condition คือ การตรวจสอบประวัติการคลอด เพื่อประเมินปัจจัย เสี่ยงในระยะคลอด
Bladder คือ การประเมินกระเพาะปัสสาวะ ค้นหา Bladder full ความรู้สึกปวดปัสสาวะและการ ขับถ่ายปัสสาวะหลังคลอด
Bleeding or Lochia คือ ประเมินลักษณะ และปริมาณของเลือดหรือน้ำคาวปลาที่ออกจากช่องคลอด
Episiotomy คือ การประเมินบริเวณ ช่องทางคลอดและแผลฝีเย็บ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดภาวะช็อกเนื่องจากมีภาวะตกเลือดหลังคลอด
ไม่สุขสบายปวดเนื่องจากมดลุกมีการหดรัดตัวถี่และรุนแรง
มารดามีภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมีการคลอดเฉียบพลัน
อ่อนเพลียเนื่องจากเสียพลังงานและสูญเสียเลือดจากการคลอด
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
ความหมาย
ภาวะที่มีน้ำคร่ำรั่วเข้าสู่
กระแสเลือดของมารดา แล้วไปอุดกั้นบริเวณหลอดเลือดดำที่ปอด
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
ทารกตายในครรภเ์ป็นเวลานานเกิดการเปื่อยยุ่ย ทำให้หลอดเลือดเกิดการฉีกขาดด้วย น้ำคร่ำจึงหลุดเข้ากระแสเลือดได้
รกรอกตัวก่อนกำหนด ทำให้มีการฉีกขาดของหลอดเลือด เกิดช่องทางติดต่อในการที่น้ำ คร่ำจะหลุดเข้ากระแสเลือดได้
ถุงน้ำคร่ำแตกทำให้เกิดช่องทางติดต่อ ในการที่น้ำคร่ำจะหลุดเข้ากระแสเลือดได้
ปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น น้ำคร่ำมีขี้เทาปน การคลอดเฉียบพลัน รกเกาะต่ำ ภาวะ rupture of vasa previa มดลูกแตก มีการบาดเจ็บในช่องท้อง
การหดรัดตัวของมดลูกที่ถี่และรุนแรง ทำให้ความ
ดันในโพรงมดลูกมากขึ้น น้ำคร่ำจึงถูกดันเข้าสู่กระแสเลือดมารดาได้
อาการและอาการแสดง
ระยะที่ 1 ภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว (hemodynamiccollapse)
เริ่มจากหายใจลำบาก
แน่นหน้าอก เขียวตามปลายมือปลายเท้า
ใบหน้า และลำตัวเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด
หัวใจและปอดหยุด
ทำงาน ตรวจพบความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเร็ว
อาจมีอาการชักเกร็ง หมดสติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่าง
ทันท่วงทีมารดามีโอกาสเสียชีวติถึง 50% และทารกในครรภ์อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน
ระยะที่ 2 ภาวะเลือดไม่แข็งตวั (coagulopathy)
อาจพบมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ดีมีการตกเลือดหลังคลอด
ตรวจพบเกร็ดเลือดต่ำ
และระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดยาวนาน เกิดภาวะ DICและเสียชีวิตในที่สุด
การรักษา
1) ป้องกันและแก้ไขภาวะขาดออกซิเจน ด้วยการให้ออกซิเจน 100%
2) ป้องกันระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจล้มเหลว ได้แก่
ป้องกัน ภาวะความดันโลหิตต่ำ และการไหลเวียนเลือดของหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว โดยการช่วยฟื้นคืนชีพ ใส่ท่อช่วยหายใจ ให้สารละลาย
ทางหลอดเลือดดำ ยาขยายหลอดลม ยาเพิ่มความดันโลหิต
3) ป้องกันและแก้ไขภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติและภาวะตกเลือด ด้วยการให้เลือดและองค์ประกอบของเลือดต่าง ๆ กรณีมีภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกหดรัดตวัไม่ดี
4) ช่วยคลอดให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะขาดออกซิเจนของทารก
การพยาบาล
ประเมินสภาพผู้คลอด หรือมารดาหลังคลอดอย่างใกลชิด (สัญญาณชีพ ระดับการรู้สึกตัว การหดรัดตัวของมดลูก อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด) หากพบ
อาการผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์
ตรวจเช็ค และเตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพใหพร้้อมใช้งานทุกครั้ง และช่วยเหลือแพทยใ์นการช่วยฟื้นคืนชีพทั้งมารดา และทารกแรกเกิดอย่างเร่งด่วน
ดูแลจัดท่าใหผู้คลอดนอนราบ ตะแคงศีรษะ ให้ออกซิเจน 100% ยา สารละลายทางหลอดเลือดดำ และเลือดทงดน้ำ งดอาหารและใส่สายยางสวนคาปัสสาวะไว้ เพื่อบันทึกปริมาณปัสสาวะที่แน่นอนตามแผนการรักษา
สื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และเตรียมช่วยคลอดอย่างเร่งด่วน
ประคับประคองด้านจิตใจของสามี ครอบครัว และญาติด้วยการให้ข้อมูล และดูแลอย่างใกล้ชิด
การบันทึกทางการพยาบาลที่ชัดเจน ระบุสภาพผู้ป่วย อาการที่เปลี่ยนแปลง การดูแลพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ และรายงานแพทย์ทุกคร้ังที่ประเมินพบอาการผิดปกติ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.ผู้คลอดมีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว
ทารกในครรภ์มีภาวะเครียด (Fetaldistress) เนื่องจากได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ขณะมารดามีภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
ผู้คลอดเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากพยาธิสภาพของภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด ได้แก่ ปอดบวมน้ำ การตกเลือดอย่างรุนแรง และภาวะช็อค
สามี ครอบครัว และญาติมีภาวะวิตกกังวลเกี่ยวกับแผนการรักษาและความปลอดภัยของมารดาและทารก
ภาวะมดลูกแตก
ความหมาย
การฉีกขาด การแยก การแตก หรือการทะลุของมดลูกขณะตั้งครรภ์
ขณะเจ็บครรภ์คลอด หรือขณะคลอด หลังจากที่ทารกโตพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้ หรือหลังจากอายุครรภ์ ๒๘ สัปดาห
สาเหตุ
มดลูกแตกจากการได้รับการกระทบกระเทือน
มดลูกแตกเอง เช่น CPD
มดลูกแตกจากรอยแผลเดิม เช่น P/S
ชนิดของมดลูกแตก
มดลูกแตกตลอดหมดหรือแตกชนิดสมบูรณ์(complete uterine ruptured) การฉีกขาดของมดลูกทั้ง ๓ ชั้นของผนังมดลูก ได้แก่ เยื่อบุมดลูก (endometrium), กล้ามเนื้อมดลูก (myometrium)และเนื้อเยื่อ
ชั้นนอกสุดของมดลูก (perimetrium หรือ serosa) และแตกทะลุชั้นเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) ทeให้เปิดต่อต่อกับช่องท้อง ทารกจึงหลุดออกไปอยู่ในช่องท้องบางส่วนหรือทั้งหมด
มดลูกแตกบางส่วน (incomplete uterine ruptured) หมายถึง การฉีกขาดของมดลูกชั้นเยื่อบุมดลูก(endometrium), กล้ามเนื้อมดลูก (myometrium) แต่ไม่ทะลุชั้นเยื่อบุช่องท้อง peritoneum ทารกยังคงอยู่ภายในโพรงมดลูก และส่วนมากมักมีชีวิตอยู่ มักเกิดกับรอยแผลเก่าบนผนังมดลูก อาจไม่พบเลือดออก แต่จะพบเมื่อทำการผ่าตัดคลอด
อาการและอาการแสดง
ก่อนมดลูกแตก
เจ็บปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง
กระสับกระส่าย PR เบาเร็ว RR ไม่สม่ำเสมอ
การคลอดไม่ก้าวหน้า
มองเห็นหน้าท้องเป็นสองลอนสูงขึ้นเกือบถึงระดับสะดือ (Bandl’s ring)
มีการหดรัดตัวถี่และรุนแรงของมดลูก (tetanic contraction)
ทารกในครรภ์เกิด fetal distress อาจพบ FHS ไม่สม่ าเสมอ
อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
เมื่อมดลูกแตกแล้ว
ถ้ามดลูกแตกขณะเจ็บครรภ์ อาการเจ็บครรภ์จะหายไปทันที
อาจพบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดจำนวนเล็กน้อย
คลำพบส่วนของทารกชัดเจนขึ้น
ท้องโป่งตึงและปวดท้องอย่างรุนแรงจากเลือด น้ำคร่ำ และบางส่วนของทารกระคายเยื่อบุช่องท้อง
เจ็บปวดบริเวณมดลูกส่วนล่างอย่างรุนแรงและมารดารู้สึกว่ามีการฉีกขาดของอวัยวะภายใน
FHS เปลี่ยนแปลงโดยอาจช้าหรือเร็ว หรือหายไป
PV พบส่วนนำลอยอยู่สูงขึ้นจากเดิม
มีภาวะ Hypovolemic shock
ผู้คลอดจะเจ็บบริเวณหน้าอก ร้าวไปถึงไหปลาร้าโดยเฉพาะเมื่อหายใจเข้า
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกจะมีการขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง หรือได้รับบาดเจ็บจากการคลอดฉุกเฉินทั้งจากการผ่าตัดคลอดหรือ ใช้หัตถการช่วยคลอด และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าการช่วยเหลือไม่เป็นไปอย่างรีบด่วน
ผลกระทบต่อผู้คลอด
ผู้คลอดอาจมีอาการแสดงของการเสียเลือดจนช็อก หรือเจ็บบริเวณท้องมาก อาจเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ รวมทั้งผู้คลอดจะมีความวิตกกังวลมาก เนื่องจากห่วงทารกในครรภ์และอาการของตนเอง
พยาบาล
ก่อนมดลูกแตก
กดเจ็บบริเวณหน้าท้อง
PV พบปากมดลูกอยู่สูงขั้นจากการถูกดึงรั้งขึ้นไป ปากมดลูกบวม หัวทารกเป็น caputsuccedaneum
ผู้คลอดมีท่าทางกระสับกระส่าย วัด V/S พบว่า PR เบาเร็ว RRไม่สม่ำเสมอ
FHS ไม่สม่ำเสมอ
ตรวจมดลูก พบ tetanic contraction หรือพบ Bandl’s ring ปวดท้องรุนแรง สัมผัสหน้าท้องไม่ได
อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดหรือบางครั้งอาจไม่พบ
หลังมดลูกแตกแล้ว
ผู้คลอดปวดท้องอย่างรุนแรง รู้สึกอึดอัดจากเลือด น้ำคร่ำและตัวเด็กระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องท้อง ถ้ามดลูกแตกขณะเจ็บครรภ์ อาการเจ็บครรภ์จะหายไป
คลำพบส่วนทารกชัดเจน
ผู้คลอดบอกรู้สึกมีอะไรแยก
บางรายมีเลือดออกทางช่องคลอดมาก ปัสสาวะเป็นเลือด
FHS เปลี่ยนแปลงหรือหายไป
PV พบส่วนนำลอยอยู่สูงกว่าเดิม
มีภาวะ Hypovolemic shock
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ระยะคลอด
๑. หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตก เนื่องจากเคยผ่าตัดคลอดทารกออกทางหน้าท้อง
๒. เตรียมมารดาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เนื่องจากมารดาและทารกเสี่ยงต่อการได้อันตรายจาก
ภาวะมดลูกแตก
๓. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกเนื่องจากเสียเลือดมากจากภาวะมดลูกแตก
๔. ทารกมีโอกาสเกิดอันตรายจากการขาดออกซิเจนเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวถี่และรุนแรง
ระยะหลังคลอด
๑. ผู้คลอดและครอบครัวมีความกลัว วิตกกังวลต่อการคลอดเนื่องจากการผ่าตัดมดลูก
๓. มีโอกาสเกิดการติดเชื้อเนื่องจากมดลูกปริ/แตก
๒. มารดาหลังคลอดและครอบครัวมีโอกาสโศกเศร้าจากการสูญเสียบุตรเนื่องจากมดลูกแตก
ระยะตั้งครรภ์
๑. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตัวหญิงตั้งครรภ์ที่เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง