Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การออกแบบการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล โรคเบาหวาน …
การออกแบบการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล
โรคเบาหวาน
ปัญหาที่1
การรวบรวมข้อมูล ( Assessment )
subjective data
ผู้ป่วยบอกว่า “ช่วง1-2 ปีที่ผ่านมา มีอาการชาบริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าบ้างเล็กน้อย ไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร
ผู้ป่วยบอกว่า “เป็นเบาหวานมา 17 ปี ควบคุมระดับน้ำตาลได้ ไปรักษากับแพทย์ที่คลินิกโดยการกินยา”
ผู้ป่วยบอกว่ารู้ว่าการเป็นโรคเบาหวานอาจเป็นโรคแทรกซ้อนอื่น แต่ไม่ทราบว่าอาการเป็นอย่างไร และสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
objective data
ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสูง แพทย์สั่งให้ยา metformin (500 mg.) กินวันละ 1เม็ด 3 เวลาหลังอาหาร และ Glibenclamide (5 mg.) กินวันละ 1 เม็ด 2 เวลาหลังอาหารเช้า-เย็น
ปลายนิ้วมือนิ้วเท้ามีอาการชาเหมือนเป็นเหน็บหรือเจ็บจี๊ด เมื่อกดโดน แบบเป็นๆหายๆโดยไม่ทราบสาเหตุ
การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
อาจเกิดโรคแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเบาหวาน เช่นปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวานเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
การวางแผนพยาบาล (Planning)
จุดมุ่งหมายการพยาบาล (Goal)
ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทางตา ที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
และโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยทราบว่าอาการตาพร่ามัวสามารถเป็นได้จากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
เกณฑ์การประเมินผล
เกณฑ์ประเมินระยะสั้น
ผู้ป่วยรับฟังด้วยความสนใจและให้ความร่วมมือในการให้คำแนะนำ
ผู้ป่วยบอกปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้
ผู้ป่วยบอกการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ถูกต้องครบทุกข้อ
เกณฑ์ประเมินระยะยาว
ผู้ป่วยไม่มีอาการมือ เท้าชา
เลยในระยะเวลา 1 สัปดาห์
การปฎิบัติการพยาบาล (Implementation)
แนะนำตัวและสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยให้เกิดความไว้วางใจในการพูดคุยและให้คำแนะนำ
2.ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและบอกวิธีดูเกณฑ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดให้กับผู้ป่วยเพื่อตรวจป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงเกินไป
3.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ยกตัวอย่างโรคพร้อมอาการของโรคแทรกซ้อนที่สาเหตุจากโรคเบาหวานว่ามีอะไรบ้าง
ให้ความรู้ว่าสาเหตุที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนมาจากอะไรได้บ้าง โดยให้ดูคลิปวิดิโอ หรือสื่อต่าง ๆ กระตุ้นความสนใจผู้ป่วย
บอกแนวทางการดูแลและป้องกันตนเองจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานให้ผู้ป่วยทราบและปฏิบัติตาม
อธิบายสาเหตุของอาการชาที่เกิดจากโรคเบาหวานให้ผู้ป่วยฟัง พร้อมบอกวิธีป้องกันไม่ให้เมื่อเกิดอาการชา
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
บอกปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ดูเกณฑ์ระดับน้ำตาลในเลือเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้
ผู้ป่วยบอกการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ แต่ยังไม่ครบถ้วนทุกด้าน
รับฟังคำแนะนำต่างๆด้วยความสนใจและให้ความร่วมมือ
ผู้ป่วยยังมีอาการปลายมือและเท้าชา แต่ความถี่ของอาการลดลง
ปัญหาที่ 2
การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จากพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารหวาน
การรวบรวมข้อมูล ( Assessment )
subjective data
ชอบดื่มน้ำหวาน เพราะรู้สึกสดชื่นเมื่อได้ดื่มระหว่างวัน
ผู้ป่วยบอกว่า ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในเรื่องของการเลือกรับประทานอาหารได้บางส่วนแต่ยังไม่สมบูรณ์ ยังเลือกที่จะทานของหวาน ของมันที่ตนชอบ
objective data
สังเกตพบว่ามีอาการหงุดหงิด และไม่สดชื่นเมื่อไม่ได้รับประทานของหวาน ของมัน ที่ชอบ
การวางแผนพยาบาล (Planning)
จุดมุ่งหมายการพยาบาล (Goal)
ผู้ป่วยเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง-ต่ำ กว่าปกติ
ผู้ป่วยมีความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสมกับโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานอาหารดีขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
เกณฑ์ประเมินระยะสั้น
บอกวิธีการรับประทานอาหารได้ถูกต้องเหมาะสมกับโรค
เกณฑ์ประเมินระยะยาว
ผู้ป่วยลดการทานอาหารรสหวานจัดหรืออาหารที่ไม่เหมาะสมกับโรคเบาหวานได้
ผู้ป่วยไม่มีอาการหงุดหงิด สีหน้าสดชื่นดี แม้ไม่ได้รับประทานของหวาน หรือของมัน ที่ชอบ
การปฎิบัติการพยาบาล (Implementation)
1.ให้ความรู้และให้ตระหนักถึงความสำคัญของการต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าควบคุมได้ไม่ดีจะส่งผลต่อผู้ป่วย
ให้คำแนะนำการวางแผนมื้ออาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน ให้กับตัวผู้ป่วย ญาติหรือผู้ที่ดูแลด้านการกินผู้ป่วย โดยให้ใช้หลักของอาหารแลกเปลี่ยนเข้ามาช่วย
แนะนำให้เลือกอาหารโดยใช้หลัก “ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม”
ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยถึงการสังเกตอาการผิดปกติเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูง
แนะนำให้ผู้ป่วยเลือกทานอย่างอื่นแทนของหวาน หรือเครื่องดื่มที่น้ำตาลสูง เช่น ผลไม่สด หรือน้ำผลไม้คั้นสด ที่ให้ความหวาน แต่น้อยกว่าน้ำตาลสังเคราะห์
ให้ความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เพื่อปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและวางแผนโภชนาการให้เหมาะสมซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
บอกการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ทั้งหมด
มีอาการหงุดหงิดและสีหน้าไม่สดชื่น เมื่อไม่ได้ทานของที่ชอบ
ทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับโรคเบาหวาน เช่น กล้วยเชื่อมที่มีรสชาติหวานจัด และหมูที่ติดมัน ในปริมาณที่น้อยลง แต่ยังทานอยู่
ปัญหาที่ 3
การรวบรวมข้อมูล ( Assessment )
subjective data
ผู้ป่วยบอกว่า”เริ่มมีอาการสายตาพร่ามัวเล็กน้อย ไม่เคยไปตรวจ”
objective data
เมื่อมองวัตถุตามีอาการตาพร่ามัวเล็กน้อย ต้องใช้เวลาสักพักจึงสามารถปรับโฟกัสภาพให้ชัดได้ ยังไม่เคยไปตรวจความผิดปกติ มีประวัติสายตายาว 250 ใส่แว่นตาเวลาอ่านหนังหรือเขียนหนังสือ ประกอบกับ
เป็นเบาหวานมา 17 ปี
การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
ปัญหาที่ 3 อาจเกิดปัญหาสุขภาพตา เนื่องจากมีอาการตาพร่ามัว เป็นโรคเบาหวานกับโรคความดันโลหิตสูงและยังไม่เคยไปตรวจรักษา
การวางแผนพยาบาล (Planning)
จุดมุ่งหมายการพยาบาล (Goal)
ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทางตา ที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
และโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยทราบว่าอาการตาพร่ามัวสามารถเป็นได้จากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
เกณฑ์การประเมินผล
เกณฑ์ประเมินผลระยะสั้น
สามารถบอกวิธีป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวานกับโรคความดันโลหิตสูง
เกณฑ์ประเมินผลระยะยาว
ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาโดยแพทย์
ผู้ป่วยไม่เกิดโรคตา ที่มีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
การปฎิบัติการพยาบาล (Implementation)
ตรวจประเมินดวงตาของผู้ป่วยเบื้องต้น เช่น การมองเห็น เยื่อบุตา ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ เพื่อแนะนำผู้ป่วยต่อไป
ให้คำแนะนำกับผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและติดตามดูค่าระดับน้ำตาลทุกครั้งที่แพทย์สั่งตรวจ เพื่อสังเกตอาการของตนเองและนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แนะนำให้ผู้ป่วยไปตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจหาโรคแทรกซ้อน และสามารถรักษาโรคทางตาได้ตั้งแต่เริ่มต้น
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติทางตา เช่น มีอาการตาพร่ามัวลงเรื่อย อาจเกิดจากการเป็นต้อ หรือจอประสาทตาเสื่อม และ ต้อกระจกจากเบาหวาน พร้อมอธิบายสาเหตุการเกิด
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
ผู้ป่วยบอกวิธีป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ แต่ไม่ครบถ้วนทุกด้าน
ผู้ป่วยไม่เกิดโรคตา ที่มีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยยอมเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาโดยจักษุแพทย์
ปัญหาที่ 5
การรวบรวมข้อมูล
( Assessment )
subjective data
ผู้ป่วยไม่ออกกำลังกาย ให้เหตุผลว่า ร่างกายค่อนข้างแก่ อายุมาก ไม่สามารถออกกำลังกายแบบจริงจังในรูปแบบการวิ่ง หรือการยกน้ำหนักได้ เนื่องจากตนเองเหนื่อยง่ายจากการเป็นโรคเบาหวาน การเคลื่อนไหวร่างกายจากการทำงานเพียงอย่างเดียวก็น่าจะเพียงพอแล้ว
objective data
บริเวณแขน ขา หน้าท้องมีไขมันมากกว่า กล้ามเนื้อน้อย เนื้อเหลว ไม่กระชับ
ไม่เคยออกกำลังกาย นอกเหนือจากการทำงาน
ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน (แต่ยังไม่อ้วน)
การวินิจฉัยการพยาบาล
(Nursing Diagnosis)
อาจเกิดปัญหาสุขภาพด้านอื่น เช่นโรคอ้วน เกิดโรคแทรกซ้อน เจ็บป่วยง่าย เนื่องจากไม่ออกกำลังกาย ภูมิต้านทานโรคน้อย
การวางแผนพยาบาล (Planning)
จุดมุ่งหมายการพยาบาล (Goal)
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายและมีการออกกำลังกายได้เหมาะสมกับโรคที่เป็น
เกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์ประเมินระยะสั้น
ผู้ป่วยสามารถบอกความสำคัญของการออกกำลังกายได้
สาธิตวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายและโรคที่เป็นได้
เกณฑ์ประเมินระยะยาว
ผู้ป่วยมีการออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 20-45 นาที
ผู้ป่วยไม่เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่มาจากการไม่ออกกำลังกาย เช่น โรคอ้วน
การปฎิบัติการพยาบาล (Implementation)
บอกถึงข้อดีของการออกกำลังกายกับผู้ป่วย จะส่งผลดีต่อสุขภาพคือ
แนะนำท่าออกกำลังกายที่ง่าย เหมาะกับวัย และโรคที่ผู้ป่วยเป็น
ให้ผู้ป่วยลองออกกำลังกายและสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังออกกำลังกาย
ซักถามถึงเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย
วิเคราะห์ว่าผู้ป่วยได้มีการออกกำลังกายหรือไม่การทำงานของผู้ป่วยเป็นอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำแนะนำ
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
ผู้ป่วยบอกความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกายได้
ผู้ป่วยมีการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 1-2ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 20นาที
ผู้ป่วยไม่เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่มาจากการไม่ออกกำลังกาย เช่น โรคอ้วน
ให้ความสนใจและปฎิบัติตามกับท่ากำลังกายที่แนะนำได้บางท่า
ปัญหาที่4
การรวบรวมข้อมูล
( Assessment )
subjective data
ดื่มสุราเมื่อมีงานสังสรรค์ เป็นเวลากว่า 20 ปี ปัจจุบันยังคงดื่มอยู่
ผู้ป่วยบอกว่ารับประทานอาหารไม่ตรงเวลา บางครั้งไม่ครบ 3 มื้อ และชอบทานอาหารรสชาติเปรี้ยวและเผ็ด
objective data
ทานอาหารได้น้อยถ้ามื้ออาหารนั้นไม่มีอาหารที่รสเปรี้ยวและเผ็ด
ช่วงเวลาการรับประทานอาหารแต่ละมื้อไม่ตรงกันในแต่ละวัน
การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
อาจเกิดโรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ชอบอาหารรสชาติเปรี้ยวและเผ็ด และดื่มสุรา
การวางแผนพยาบาล (Planning)
จุดมุ่งหมายการพยาบาล (Goal)
ผู้ป่วยมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารเพียงพอและรสชาติที่เหมาะสมต่อร่างกาย
ผู้ป่วยเห็นความสำคัญและโทษของการรับประทานไม่ตรงเวลา
เห็นโทษของสุราและทราบแนวทางปฎิบัติตนเพื่อการเลิกดื่มสุรา
เกณฑ์การประเมินผล
เกณฑ์ประเมินระยะสั้น
ผู้ป่วยบอกโทษ และประโยชน์ของการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาได้
บอกความสำคัญของการทานอาหารให้ครบ3มื้อได้
ผู้ป่วยบอกว่าจะดื่มสุราให้น้อยลง
เกณฑ์ประเมินระยะยาว
ผู้ป่วยรับประทานอาหารครบ 3 มื้อและตรงเวลาได้ใน ระยะเวลา 1 อาทิตย์
ผู้ป่วยลดการทานอาหารที่มีรสชาติ(เปรี้ยวและเผ็ด) ลง
ผู้ป่วยงดการดื่มสุราเมื่อมีงานสังสรรค์ได้
การปฎิบัติการพยาบาล (Implementation)
พูดคุยเพื่อหาสาเหตุที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
อธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของอาหารแต่ละมื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการทานอาหารให้ครบ 3 มื้อหลัก
แนะนำและให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและความเจ็บป่วยที่จะเกิดถ้าทานรสเปรี้ยวหรือเผ็ดมากเกินไป
อธิบายให้ทราบถึงผลเสียของการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาและบอกข้อดีถ้ารับประทานอาหารตรงเวลา
ให้ญาติมีส่วนร่วมในการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้เป็นเวลา เช่น มีการรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว
แนะนำให้ทราบถึงโทษของการดื่มสุราที่มีผลต่อสุขภาพ
แนะนำวิธีการเลิกสุราที่ทำได้ง่ายและได้ผลดี อาทิเช่น ให้ผู้ป่วยพยายามทำกิจกรรมที่ให้ความสุขใจ
ให้ญาติทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างแรงจูงใจในการเลือกดื่มสุรา
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
ผู้ป่วยบอกโทษ และประโยชน์ของการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาได้
บอกความสำคัญของการทานอาหารให้ครบ3มื้อ และทราบช่วงเวลาที่เหมาะในการทานอาหารแต่ละมื้อ
ผู้ป่วยรับประทานครบ3 มื้อ ใน 1 อาทิตย์ แต่ยังไม่ตรงเวลามากนัก
ผู้ป่วยทานอาหารที่มีรสชาติ(เปรี้ยวและเผ็ด) น้อยลง
ผู้ป่วยรับปากว่าจะเลิกดื่มสุรา
ผู้ป่วยปฎิเสธดื่มการสุราเมื่อมีงานสังสรรค์
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มที่ 4
นางสาวนพวรรณ ดวงจันทร์ รหัสนักศึกษา 622001035
นางสาวพรเพ็ญ พะโยธร รหัสนักศึกษา 622001054
นางสาวเพชรรัตน์ ผลจันทร์ รหัสนักศึกษา 622001063
นางสาวสุชาดา เปลี่ยนแก้ว รหัสนักศึกษา 622001092
นางสาวอารยา ชูระเชตุ รหัสนักศึกษา 622001110
Mind map (กลุ่ม) การออกแบบดูแลผู้ป่วยรายบุคคล