Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 พรบ.วิชาชีพ นางสาวหทัยรัตน์ ชัยชนะมงคล รหัส…
บทที่ 4 พรบ.วิชาชีพ
นางสาวหทัยรัตน์ ชัยชนะมงคล รหัส 6001210392 เลขที่ 14 Sec A
พระราชบัญญัติ
วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ ”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้“ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ” หมายความว่า วิชาชีพเกี่ยวกับการพยาบาลและการผดุงครรภ์
การพยาบาล : การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับ การดูแลและการช่วยเหลือ เมื่อเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทำ การรักษาโรค ทั้งนี้โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล
การผดุงครรภ์ : การกระทาเกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือ หญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด และทารกแรกเกิด รวมถึงการตรวจ การทาคลอด การส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน ความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทาการ รักษาโรค ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการผดุงครรภ์
การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
การสอน การแนะนา การให้คาปรึกษาและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อการแก้ปัญหา
ความเจ็บป่วย การบรรเทาอาการของโรค การลุกลามของโรค และการฟื้นฟูสภาพ
การกระทำตามวิธีที่กาหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้น และการให้ภูมิคุ้มกันโรค
ช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค
การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของหญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
การตรวจ การทำคลอด และการวางแผนครอบครัว
ช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค
หมวด ๔
การดำเนินกิจการของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๔ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจานวนกรรมการทั้งหมด
มาตรา ๒๕ สภานายกพิเศษจะเข้าฟังการประชุมชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการ หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังคณะกรรมการในเรื่องใดๆ ก็ได้
มาตรา ๒๖ มติของที่ประชุมคณะกรรมการในเรื่องต่อไปนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษก่อน จึงจะดำเนินการตามมตินั้น
(๓) การให้สมาชิกสามัญพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๒๔ วรรคสาม
(๔) การวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม (๔) และ (๕)
(๒) การกำหนดงบประมาณของสภาการพยาบาล
(๑) การออกข้อบังคับ
หมวด ๒ สมาชิก
มาตรา ๑๑ สภาการพยาบาลประกอบ
ด้วยสมาชิกสองประเภท
(๑) สมาชิกสามัญ
ได้แก่ ผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(ก) มีอายุไม่ต่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(ข) มีความรู้ในวิชาชีพการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์โดยได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร เทียบเท่าปริญญา หรือประกาศนียบัตรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่สภาการพยาบาลรับรอง
(ค) ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ง) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(จ) ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กาหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
(๒) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภาการพยาบาลเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
มาตรา ๑๒ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ
(๑) ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และขอหนังสืออนุมัติ
(๒) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาลส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกสามัญร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาล คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบโดยมิชักช้า
(๓) เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับเลือกเป็นกรรมการ
(๔) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฎิบัติตนตามพระราชบัญญัติ
มาตรา ๑๓ สมาชิกภาพของสมาชิกสามัญสิ้นสุดลง
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๑
หมวด ๑ สภาการพยาบาล
มาตรา ๖ ให้มีสภาการพยาบาล มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้สภาการพยาบาลเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๗ สภาการพยาบาลมีวัตถุประสงค์
(๒) ส่งเสริมการศึกษา การบริการ การวิจัย และความก้าวหน้าในวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๓) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
(๑) ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๔) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการพยาบาล การผดุงครรภ์ และการสาธารณสุข
(๕) ให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการพยาบาล การผดุงครรภ์และการสาธารณสุข
(๖) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทย
(๗) ผดุงความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
มาตรา ๘ สภาการพยาบาลมีอานาจหน้าที่
(๒) สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๓) ให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาที่จะทำการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย
(๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๔) รับรองหลักสูตรต่างๆ สาหรับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรของสถาบันที่จะทาการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๕) รับรองหลักสูตรต่างๆ สาหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของสถาบันการศึกษาที่จะทำการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๖) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการสอนและฝึกอบรมตาม ( ๔ ) และ ( ๕ )
(๗) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของสถาบันต่าง ๆ
(๘) ออกหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๙) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล
มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษแห่งสภาการพยาบาลและมีอานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๓ คณะกรรมการ
มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการสภาการพยาบาล ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข 5 คน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 3 คน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย 1 คนแทนทบวงมหาวิทยาลัย 4 คน ผู้แทนกรุงเทพมหานครหนึ่งคน ผู้แทนสภากาชาดไทย 1 คน นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมาชิกสามัญสภาการพยาบาลอีก 16 คนซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาบเป็นกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๕ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งสมาชิกกิตติมศักดิ์หรือสมาชิกสามัญเป็นกรรมการที่ปรึกษาได้ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการที่ปรึกษาต้องไม่เกินหนึ่งในสี่คน
มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเพื่อดารงตาแหน่งนายกสภาการพยาบาล อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่ง และอุปนายกสภาการพยาบาลคนที่สอง ตาแหน่งละหนึ่งคน
มาตรา ๑๗ การเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ การแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๕และการเลือกกรรมการเพื่อดำรงตาแหน่งต่างๆ ตามมาตรา ๑๖ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๑๘ กรรมการนอกจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกรรมการที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
มาตรา ๑๙ ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งหรือรับเลือกตั้งใหม่ได้แต่จะดารงตาแหน่งเกินสองคราวติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่ง
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘
ลาออก
สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๓
มาตรา ๒๑ ในกรณีตาแหน่งกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการดังกล่าวทั้งหมดก่อนครบวาระให้คณะกรรมการเลือกสมาชิกสามัญผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘ เป็นกรรมการแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารกิจการสภาการพยาบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดตามมาตรา ๗
(๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรม คณะอนุกรรมการสอบสวนและคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องต่างๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล
(๓) ออกข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วย
(ก) การเป็นสมาชิก
(ข) การกำหนดโรคตามมาตรา ๑๑ (๑) (จ)
(ค) การกำหนดค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบารุง และค่าธรรมเนียมอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้
(ง) การเลือกและการเลือกตั้งกรรมการ และการแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๗
(จ) หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาต แบบ และประเภทใบอนุญาต
(ฉ) หลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชานาญเฉพาะทาง และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ช) ข้อจากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ซ) การรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฌ) การประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
(ญ) หลักเกณฑ์การรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฎ) หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสอบความรู้ตามอำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาล
(ฏ) หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสืบสวนหรือสอบสวนในกรณีมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษว่ามีผู้ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ฐ) เรื่องอื่นๆ ที่อยู่ภายในวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาลหรืออยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาลตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๓ นายกสภาการพยาบาล อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่ง อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่สอง เลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ และเหรัญญิก มีอานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) นายกสภาการพยาบาลมีอำนาจหน้าที่
(ข) เป็นผู้แทนสภาการพยาบาลในกิจการต่างๆ
(ค) เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ
(ก) ดาเนินกิจการของสภาการพยาบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามมติของคณะกรรมการ
(๒) อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่งเป็นผู้ช่วยนายกสภาการพยาบาลในกิจการอันอยู่ในอานาจหน้าที่ของนายกสภาการพยาบาลตามที่นายกสภาการพยาบาลมอบหมายและเป็นผู้กระทาการแทนนายกสภาการพยาบาล เมื่อนายกสภาการพยาบาลไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
(๓) อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่สองเป็นผู้ช่วยนายกสภาการพยาบาลในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกสภาการพยาบาลตามที่นายกสภาการพยาบาลมอบหมายและเป็นผู้ทาการแทนนายกสภาการพยาบาล
(๔) เลขาธิการมีอานาจหน้าที่
(จ) เป็นเลขานุการคณะกรรมการ
(ง) ควบคุม ดูแล ทรัพย์สินของสภาการพยาบาล
(ค) รับผิดชอบในการดูแลรักษาทะเบียนสมาชิก ทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และทะเบียนอื่นๆ
(ข) ควบคุมรับผิดชอบในงานธุรการทั่วไปของสภาการพยาบาล
(ก) ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่สภาการพยาบาลทุกระดับ
(๕) รองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยเลขาธิการในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการตามที่เลขาธิการมอบหมาย และเป็นผู้กระทาการแทนเลขาธิการ เมื่อเลขาธิการไม่อยู่หรือไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่
(๖) ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ แนะนำ เผยแพร่กิจการของสภาการพยาบาลและให้การศึกษาแก่ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการพยาบาล การผดุงครรภ์ และการสาธารณสุข
(๗) เหรัญญิกมีอำนาจหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการบัญชี การเงินและการงบประมาณของสภาการพยาบาล
หมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพ
การพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลเว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง
(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของรัฐ
(๑) การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทาต่อตนเอง
(๔) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) (๑)ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ตามข้อจากัดและเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพนั้น
(๖) (๒)การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ หรือผู้สอนในสถาบันการศึกษา ซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
(๗) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในกรณีที่มีสาธารณภัยหรือเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง
(๘) บุคคลซึ่งช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามระเบียบซึ่งรัฐมนตรีกาหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๘ การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชานาญเฉพาะทาง และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๒๙ การขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แบ่งเป็นสามประเภท คือ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ผู้ประกอบวิชาชีพในแต่ละประเภทตามวรรคหนึ่ง
ให้แบ่งเป็นสองชั้น คือ ชั้นหนึ่ง และชั้นสอง
อนุญาตทุกประเภทให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
มาตรา ๓๐ ผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๒๙ ต้องมีความรู้ดังนี้ คือ
(๑) ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ต้อง
ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่คณะกรรมการรับรองและสอบความรู้แล้ว
ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาการพยาบาล การผดุง-ครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้ป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ตนได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตร
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง
ได้รับประกาศนียบัตรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ระดับต้น จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่คณะกรรมการรับรองและสอบความรู้แล้ว
ได้รับประกาศนียบัตรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ตนได้รับประกาศนียบัตร
มาตรา ๓๑ ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญแห่งสภาการพยาบาลและมีคุณสมบัติอื่นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๓๒ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามที่ได้กาหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๓๓ บุคคลผู้ซึ่งได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีสิทธิกล่าวหาผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
มาตรา ๓๔ เมื่อสภาการพยาบาลได้รับเรื่องการกล่าวหา หรือการกล่าวโทษตามมาตรา ๓๓ หรือในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่ามีพฤติการณ์อันสมควรให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
มาตรา ๓๕ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมจากสมาชิกสามัญประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจานวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคนมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่ได้รับตามมาตรา ๓๔ แล้วทารายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
มาตรา ๓๖ เมื่อคณะกรรมการได้รับรายงานและความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมแล้วให้คณะกรรมการพิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าว แล้วมีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
ในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหา หรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล
ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทาการสอบสวน
ในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นมีมูล
ให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมแสวงหาข้อเท็จจริง
เพิ่มเติมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
มาตรา ๔๐ เมื่อคณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการโดยไม่ชักช้าเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
หมวด ๕ ทวิ (๑)
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๔๕ ทวิ
สถานที่ที่ทาการสอนหรือเชื่อว่าทาการสอนวิชาการพยาบาล การผดุงครรภ์
สถานที่ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่ามีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
สถานที่ประกอบการที่มีผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
มาตรา ๔๕ ตรี ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจาตัวพนักงานเจ้าหน้าที่แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๕ จัตวา ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๔๕ เบญจ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ผู้รับผิดชอบหรือปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ตามมาตรา ๔๕ ทวิ อานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๔๘ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ ตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่งตาม
มาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๘ ทวิ(๑) ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในมาตรา ๔๕ เบญจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล*
มาตรา ๕๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกระเบียบหรือข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้นากฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๕๑ ในระยะเริ่มแรกที่ยังมิได้เลือกตั้งสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาลเป็นกรรมการให้คณะกรรมการประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นนายกสภาการพยาบาล และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งมาตรา ๑๔ เป็นกรรมการ การแต่งตั้งดังกล่าวจะต้องกระทาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๕๐ ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน ในสาขาการพยาบาล สาขาการผดุงครรภ์ หรือสาขาการพยาบาลและผดุงครรภ์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และใบอนุญาตนั้นยังคงใช้ได้ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ถือว่าผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเภทและชั้นแล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๙ ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในสาขาการพยาบาล สาขาการผดุงครรภ์ หรือสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม การประกอบโรคศิลปะอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาลตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อบังคับสภาการพยาบาล
ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ
การพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
“การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายความว่า การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือและการดูแลรักษาทันที และให้หมายความรวมถึงการปฐมพยาบาล การปฏิบัติและ
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต โดยเริ่มตั้งแต่จุดเกิดเหตุ หรือจุดแรกพบผู้ป่วย จนกระทั่งผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกวิธีจากแพทย์
การเจ็บป่วยวิกฤต” หมายความว่า การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรง
ถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
หมวด ๒
การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ส่วนที่ ๑
การพยาบาล
ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสองจะให้ยาผู้ป่วยได้เฉพาะที่แพทย์ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาพยาบาล หรือ
เมื่อเป็นการปฐมพยาบาล
ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสอง ให้กระทำการพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนตามแผนการพยาบาล
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง จะให้ยาผู้ป่วยได้เฉพาะที่แพทย์ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาพยาบาล หรือ เมื่อเป็นการปฐมพยาบาล
๗.๑ ห้ามมิให้ยา หรือสารละลายทางช่องรอบเยื่อบุไขสันหลัง หรือช่องไขสันหลัง
๗.๒ ห้ามมิให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดำ เฉพาะที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
ส่วนที่ ๒
การทำหัตถการ
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยการทำหัตถการตามขอบเขตที่กำหนด
๘.๒ การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายออก โดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง
๘.๓ การล้างตา
๘.๑ การทำแผล การตกแต่งบาดแผล การเย็บแผล การตัดไหม การผ่าฝีในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย การถอดเล็บ และการจี้หูดหรือจี้ตาปลา
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยการทำหัตถการต่อไปนี้ จะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนดและได้รับใบรับรอง
จากสภาการพยาบาล
๙.๒ การฝังและถอดยาคุมกำเนิด (Nor Plant)
๙.๓ การผ่าตัดตาปลา
๙.๑ การใส่และถอดห่วง (IUD)
๙.๔ การเลาะก้อนใต้ผิวหนัง บริเวณที่ไม่เป็นอันตราย
๙.๕ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี VIA
๙.๖ การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น (Cryotherapy)
ส่วนที่ ๓
การรักษาโรคเบื้องต้น
ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ตามข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ ต้องกระทำการรักษาโรคเบื้องต้นตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคของสภาการพยาบาลโดยเคร่งครัด จะต้องทำการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคโดย
ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ตามข้อ ๑๒ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาให้ใช้ยาได้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาลกำหนด
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สาขาเวชปฏิบัติชุมชน กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้น
ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ตามข้อ ๑๒ จะให้ภูมิคุ้มกันโรค ต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ให้กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้น และการให้ภูมิคุ้มกันโรคได้จะต้องได้รับการศึกษา/อบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกำหนด และต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ตามประกาศของสภาการพยาบาล
ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ตามข้อ ๑๒ จะต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ อาการ และการเจ็บป่วยโรค การให้การรักษาโรค หรือการให้การบริการตามความเป็นจริง ตามแบบของ
สภาการพยาบาล และต้องเก็บบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน
หมวด ๓
การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง จะให้ยาผู้ป่วยได้เฉพาะที่แพทย์ ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาพยาบาล หรือเมื่อเป็นการปฐมพยาบาล
ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง จะทำการผดุงครรภ์ได้แต่เฉพาะรายที่มีครรภ์ปกติ และคลอดอย่างปกติตลอดจนการพยาบาลมารดาและทารก
ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จะให้ยาผู้ป่วยได้เฉพาะที่แพทย์ ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาพยาบาล หรือเมื่อเป็นการปฐมพยาบาล
ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จะทำการผดุงครรภ์ได้แต่เฉพาะรายที่มีครรภ์ปกติ และคลอดอย่างปกติตลอดจนการพยาบาลมารดาและทารก
ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง จะต้องใช้ยาทำลายและป้องกันการติดเชื้อสำหรับหยอดตา หรือป้ายตาทารกเมื่อคลอดแล้วทันที
ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง จะต้องบันทึกการรับฝากครรภ์และการทำคลอดทุกรายในสมุดบันทึกการผดุงครรภ์ตามแบบของสภาการพยาบาล และต้องรักษาสมุดนั้นไว้เป็นหลักฐาน
ข้อบังคับสภาการพยาบาล
ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๓. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรองและได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาล ให้กระทำการพยาบาล การคัดกรองผู้ป่วยการเจ็บป่วยทางตาฉุกเฉิน หรือการเจ็บป่วยวิกฤต และการฟื้นฟูสมรรถภาพการมองเห็น
ข้อ ๔. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรองและได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ให้กระทำการพยาบาลโดยการกระทำหัตถการ
ข้อ ๒. ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรองและได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาล กระทำการรักษาโรคเบื้องต้น
ข้อ ๖ ส่งต่อผู้ป่วยไปรับการบำบัดรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เมื่อปรากฏ ตรวจพบ หรือเห็นว่าอาการไม่บรรเทา มีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน หรือมีเหตุอันควรอื่นๆเกี่ยวกับการบำบัดรักษา เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์บำบัดรักษา เวชภัณฑ์
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ให้ใช้ยาได้ตามที่สภาการพยาบาลกำหนด
ข้อ ๑. ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๘ เขียนบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ อาการและการเจ็บป่วย โรคและการให้การรักษาโรค หรือการให้บริการตามความเป็นจริง และต้องเก็บบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน
ข้อบังคับสภาการพยาบาล
ว่าด้วยข้อจากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒”
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก
วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ข้อ ๔ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือดต้องเป็นแนวปฏิบัติทางการพยาบาล (Clinical Nursing PracticeGuideline (CNPG)) หรือเป็นแนวปฏิบัติทางเวชกรรม (Clinical Practice Guideline (CPG)) และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลไม่เป็นผู้ตรวจวิเคราะห์หรือวินิจฉัย
ข้อ ๕ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือด ต้องเป็นการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดฝอยปลายนิ้วหรือจากหลอดเลือดดาส่วนปลาย
ข้อ ๖ การเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดาส่วนกลาง ตามแผนการรักษาให้จัดเก็บจากสายสวนหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดาส่วนกลาง ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้เปิดไว้
ข้อบังคับสภาการพยาบาล
ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาล
และการผดุงครรภ์พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัด
จากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้“ผู้ประกอบวิชาชีพ” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ข้อ ๔ ผู้ประกอบวิชาชีพ ย่อมดำรงตนให้สมควรในสังคมโดยธรรม และเคารพต่อกฎหมายของบ้านเมือง
ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ย่อมประกอบวิชาชีพด้วยเจตนาดี โดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติสัญชาติ ศาสนา สังคม หรือลัทธิการเมือง
ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพ ย่อมไม่ประพฤติหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
หมวด ๒การประกอบวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์
ส่วนที่ ๑
การปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ประกอบการในทางสาธารณะ หรือสถานที่สาธารณะเว้นแต่ในเหตุฉุกเฉินในการปฐมพยาบาล
ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วยเมื่อได้รับคำขอร้องและตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้
ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย หรือผู้ใช้บริการ ซึ่งตนทราบมาเนื่องจากการประกอบวิชาชีพเว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ หรือเมื่อต้องปฏิบัติ
ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นเท็จโดยเจตนา หรือให้ความเห็นโดยไม่สุจริตในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับวิชาชีพของตน
ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่สั่งใช้หรือสนับสนุนการใช้ยาตำราลับ รวมทั้งใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์อันไม่เปิดเผยส่วนประกอบ
ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และความสิ้นเปลืองของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ ให้หลงเข้าใจผิดเพื่อประโยชน์ของตน
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการโดยสุภาพและปราศจากการบังคับขู่เข็ญ
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่เรียกร้องขอรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับหรือส่งผู้ป่วย หรือผู้ใช้บริการเพื่อรับบริการทางการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่จูงใจ หรือชักชวนผู้ใดให้มาใช้บริการการพยาบาล หรือการผดุงครรภ์เพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของวิชาชีพตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนดโดยไม่เรียกร้อง สินจ้างรางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ
ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์หรือการสาธารณสุขหรือการประกอบโรคศิลปะโดยผิดกฎหมาย
ส่วนที่ ๓
การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน
ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ทับถมให้ร้าย หรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมงาน
ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบวิชาชีพ พึงส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบวิชาชีพของผู้ร่วมงาน
ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบวิชาชีพ พึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน
ส่วนที่ ๒
การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ
ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ทับถมให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งกัน
ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่ชักจูงผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการผู้อื่นมาเป็นของตน
ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบวิชาชีพ พึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน
หมวด ๓
การโฆษณาการประกอบวิชาชีพ
การพยาบาลและการผดุงครรภ์
ข้อ ๓๐ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ความรู้ ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพของตนหรือของผู้อื่น
ข้อ ๓๑ การโฆษณาตามข้อ ๓๐ อาจกระทำได้ในกรณี
(๓) การแสดงผลงานหรือความก้าวหน้าทางวิชาการเพื่อการศึกษาของมวลชน
(๒) การแสดงผลงานในหน้าที่หรือในการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ
(๑) การแสดงผลงานในวารสารทางวิชาการหรือในการประชุมวิชาการ
(๔) การประกาศเกียรติคุณเป็นทางการโดยสถาบันวิชาการ สมาคมหรือมูลนิธิ
ข้อ ๓๒ ผู้ประกอบวิชาชีพ อาจแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของตนที่สถานที่ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือสำนักงานได้เพียงข้อความเฉพาะเรื่อง
(๓) สาขาของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๔) เวลาทำการ
(๒) ชื่อปริญญา วุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือแสดงคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้รับมาโดยวิธีการถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของสภาการพยาบาลหรือสถาบันนั้น ๆ
(๑) ชื่อ ชื่อสกุล และอาจมีคำประกอบชื่อได้เพียงคำอภิไธย ตำแหน่งทางวิชาการ ฐานันดรศักดิ์ยศ และบรรดาศักดิ์เท่านั้น
ข้อ ๓๓ ผู้ประกอบวิชาชีพ อาจแจ้งความการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
เฉพาะการแสดงที่อยู่ ที่ตั้งสำนักงาน หมายเลขโทรศัพท์ และหรือข้อความที่อนุญาตในข้อ ๓๒
ข้อ ๓๔ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ทำการเผยแพร่หรือตอบปัญหาทางสื่อมวลชน ถ้าแสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่แจ้งสถานที่ทำการประกอบวิชาชีพส่วนตัวเป็นทำนองการโฆษณาและต้องไม่มีการแจ้งความตามข้อ ๓๓ ในที่เดียวกันหรือขณะเดียวกันนั้นด้วย
ข้อ ๓๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมีมิให้การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของตนแพร่ออกไปในสื่อมวลชนเป็นทำนองโฆษณาความรู้ ความสามารถ
ส่วนที่ ๔
การศึกษาวิจัยและการทดลองต่อมนุษย์
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ทำการทดลองต่อมนุษย์ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกทดลองและต้องพร้อมที่จะป้องกันผู้ถูกทดลองจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลองนั้น ๆ
ข้อ ๒๖ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องปฏิบัติต่อผู้ถูกทดลองเช่นเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามส่วนที่ ๑ โดยอนุโลม
ข้อ ๒๗ ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องรับผิดชอบต่ออันตรายหรือผลเสียหายเนื่องจากการทดลองที่บังเกิดต่อผู้ถูกทดลอง อันมิใช่ความผิดของผู้ถูกทดลอง
ข้อ ๒๘ ผู้ประกอบวิชาชีพ สามารถทำการวิจัยได้เฉพาะเมื่อโครงการศึกษาวิจัยหรือการทดลองดังกล่าว ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องแล้วเท่านั้น
ข้อ ๒๙ ผู้ประกอบวิชาชีพ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรมของการศึกษาวิจัย และการทดลองในมนุษย์ และจรรยาบรรณของนักวิจัย