Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ,…
บทที่ 9 การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ
2. ทารกน้ำหนักตัวผิดปกติ ความผิดปกติเกี่ยวกับอายุครรภ์ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
2.1 ทารกคลอดก่อนกำหนด (Preterm baby) และน้ำหนักตัวน้อย (Low birth weight
infant)
ความหมาย ทารกที่เกิดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์เต็มหรือน้อยกว่า 259 วัน และมี
น้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม
ลักษณะของทารกคลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักตัวน้อย
รูปร่างรวมทั้งแขนขามีขนาดเล็ก
ศีรษะจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว กะโหลกศีรษะนุ่ม รอยต่อกะโหลกศีรษะและขม่อมกว้าง
เปลือกตาบวมและนูนออกมา ตามักปิดตลอดเวลา
ผิวหนังบางสีแดงและเหี่ยวย่น มองเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังได้ชัดเจน มักบวมตามมือและเท้า
ผลกระทบของภาวะคลอดก่อนกำหนดต่อทารก
ระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากศูนย์ควบคุมการหายใจใน Medulla ยังเจริญไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อ
ช่วยการหายใจไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ (Periodic breathing)
ระบบประสาท ที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำหรือสูงเกินไป (hypothermia and
hyperthermia)
ระบบหัวใจและระบบเลือด ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดหลอดเลือดที่เชื่อม
ระหว่างหลอดเลือดดำเข้าสู่ปอดและหลอดเลือดแดงออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ระบบทางเดินอาหารและภาวะโภชนาการที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะลำไส้ขาดเลือดมาเลี้ยง
(necrotizing enterocolitis; NEC) และภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition)
2.2 ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่าอายุครรภ์ (Large for gestational age)
สาเหตุมักพบในมารดาที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่มีระดับสูงจากภาวะเบาหวาน โดยกลูโคสจะผ่า
นรกมาสู่ทารกในครรภ์ ทำให้ทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ผลกระทบต่อทารก
ทารกพวกนี้มักจะคลอดยาก เนื่องจากตัวใหญ่ ทำให้เกิดอัมพาตของแขน (Brachialparalysis) กระดูกกะโหลกศีรษะแตกจากแรงกด อัมพาตของกล้ามเนื้อหน้า สมองได้รับบาดเจ็บจากการขาดออกซิเจน กระดูกหัก เช่นกระดูกไหปลาร้าหัก กระดูกต้นขาหัก
น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ภายหลังคลอด
ภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง (Hyperbilirubinemia) อาจเป็นผลจากมีการเพิ่มการแตกทำลายของ Heme จากภาวะเลือดข้น
2.3 ทารกคลอดเกินกำหนด (Postterm baby)
ลักษณะของทารกคลอดเกินกำหนด
มีการสะสมไขมันใต้ผิวหนังลดลง มีการหลุดลอกของไข ทำให้ผิวหนังทารกสัมผัสกับน้ำคร่ำทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น
ผมและเล็บจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ
ผิวหนังแห้งแตก เหี่ยวย่น และหลุดลอก เนื่องจากสูญเสียไขมันใต้ผิวหนัง
3. ทารกแรกเกิดติดเชื้อ
กลุ่มมารดาที่มีโอกาสให้กำเนิดทารกที่มีการติดเชื้อ ได้แก่
มารดาที่มีประวัติการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะมีอาการไข้หรือออกผื่น
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดเป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติออกจากช่องคลอดในระยะก่อนคลอด
โรคซิฟิลิส (Syphilis)
เกิดจากเชื้อ Treponema pallidum
แนวทางการรักษา
๑) ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคซิฟิลิส พยาบาลจะต้องสังเกตภาวะ congenitalsyphilis และส่ง cord blood for VDRL ติดตามผลเลือด
๒) แยกทารกออกจากทารกคนอื่น ๆ
๓) ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา
ให้ยา Aqueous penicillin G 50,000 ยูนิต/กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๑๒ ชม.
ในทารกที่อายุน้อยกว่า ๗ วัน และทุก ๘ ชม. ในทารกที่อายุมากกว่า ๗ วัน เป็นเวลา ๑๐ วัน และให้
Procaine penicillin G 50,000 ยูนิต/กก. เข้ากล้ามเนื้อวันละครั้งนาน ๑๐ วัน
ให้ยา Benzathine penicillin G 50,000 ยูนิต/กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ๑ ครั้ง ใน
ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อที่ไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ครบถ้วนก่อนคลอด แต่ทารกไม่มี
อาการแสดงและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ
โรคหัดเยอรมัน (Rubella)
เกิดจากเชื้อ rubella virus การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกสามารถ
ติดต่อได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ผ่านทางรก การติดเชื้อในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ
ภาวะทารกพิการแต่กำเนิดจากการติดเชื้อหัดเยอรมัน (congenital rubella syndrome:CRS) พบในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อหัดเยอรมันโดยเฉพาะในช่วง ๓ เดือนแรกของการตั้งครรภ์ทำให้มีอาการที่รุนแรง อาการแสดง ได้แก่ ความผิดปกติทางตา (ต้อกระจก ต้อหิน) ความผิดปกติของหัวใจ
แนวทางการรักษา
๑) ทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะตั้งครรภ์ แม้ไม่มีอาการแสดงใด ๆ ควรได้รับการแยกจากทารกปกติ เพื่อสังเกตอาการและประเมินความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
ภายหลัง
๒) เก็บเลือดทารกส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายทารกอย่าง
ละเอียด
โรคสุกใส (Chickenpox)
การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกเกิดขึ้นโดยผ่านทางรก ความรุนแรงของความผิดปกติในทารกขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่เกิดการติดเชื้อ
แนวทางการรักษา
๑) ทารกแรกเกิดจากมารดาเป็นโรคสุกใสและมีอาการขณะคลอด มารดาและทารกควรได้รับการแยกกันดูแลจนกระทั่งมารดามีการตกสะเก็ดของตุ่มสุกใสจนหมด และทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อควรได้รับการแยกจากทารกที่คลอดจากมารดาปกติด้วย
๒) ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อสุกใสภายใน 5 วันก่อนคลอดหรือ 2 วันหลังคลอดมีโอกาสติดเชื้อได้ร้อยละ 10 - 25 จึงควรได้รับ varicella-zoster immunoglobulin (VZIG) ทันทีที่คลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากมารดา หากมารดาติดเชื้อนานกว่า 5 วันไม่จำเป็นต้องให้VZIG แก่ทารก
โรคหนองในแท้ (Gonorrhea)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhea ทารกจะ
ได้รับเชื้อโดยตรงหลังจากมีถุงน้ำคร่ำแตก หรือผ่านช่องทางคลอดที่ติดเชื้อ
แนวทางการรักษา
๑) การติดเชื้อหนองในที่ตา นอกจากการป้ายตาด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น 0.5% erythromycin หรือ 1% tetracyclin ointment หลังจากนั้นทารกต้องได้รับยา Cefixin 1 mg/kg ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อของทารกวันละ 1 ครั้งติดต่อกัน 7 วัน
๒) ต้องเช็ดตาของทารกด้วย NSS หรือล้างตาทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าหนองจะแห้ง
โรคเริม (Herpes)
เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex virus ทารกหลังคลอดอาจมีการติดเชื้อจากมารดา โดยจะมีไข้อ่อนเพลีย การดูดนมไม่ดีตัวเหลือง ตับ ม้ามโต ชัก
แนวทางการรักษา
๑) ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคเริม จะต้องถูกแยกจากทารกคนอื่น ๆ และดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม อย่างน้อย 7-10 วัน
๒)การติดเชื้อเริมจากการคลอดทางช่องคลอด ดูแลให้ได้รับยา Acyclovir ตามแผนการรักษา
โรคเอดส์(AIDS)
เกิดจากเชื้อไวรัส HIV การติดต่อจากมารดาไปสู่ทารกสามารถติดต่อได้โดยผ่านทางรก การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งจากมารดาขณะคลอด และหลังคลอด
แนวทางการรักษา
๑) ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV ให้หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารใน
กระเพาะ
๒) การรักษาด้วยยา ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ จะต้องได้รับยา NVP ชนิดน้ำขนาด6 มิลลิกรัมทันทีหรือภายใน 8 -12 ชั่วโมงหลังคลอดร่วมกับ AZT 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
๓) ทารกจะต้องได้รับการตรวจหาการติดเชื้อ HIV โดยการตรวจ เพื่อหา viral load ด้วย
วิธี real time PCR assay ปกติจะตรวจไม่พบเชื้อ HIV-RNA ใน 6 สัปดาห
โรคตับอักเสบบี
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B virus: HBV) การถ่ายทอดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งผ่านทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก
แนวทางการรักษา
๑) ทารกแรกคลอดต้องดูดมูกและเลือดออกจากปากและจมูกของทารกออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด เพื่อช่วยลดปริมาณไวรัสที่จะสัมผัสทารก
๒) ทารกสามารถดูดนมมารดาได้ทันทีหลังคลอดโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทารกได้รับวัคซีนก่อน
๓) ดูแลให้ทารกแรกเกิดได้รับ Hepatitis B immune globulin (HBIG) เข้ากล้ามเนื้อ
โดยเร็วที่สุด
๔) แนะนำให้มารดาพาทารกมาตรวจเลือดตามนัดเมื่ออายุ ๙ – ๑๒ เดือน เพื่อตรวจหา
HBsAg และ Anti-HBs
นางสาวรัตนาภรณ์ ใจอ่อน รหัส 602701077 ชั้นปีที่ 4 รุ่น 35