Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.2 ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพย…
4.2 ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ 2550
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้“การเจ็บป่วยฉุกเฉิน”หมายความว่าการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันจําเป็นต้องดําเนินการช่วยเหลือและการดูแลรักษาทันทีและให้หมายความรวมถึงการปฐมพยาบาลการปฏิบัติและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤตโดยเริ่มตั้งแต่จุดเกิดเหตุหรือจุดแรกพบผู้ป่วยจนกระทั่งผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกวิธีจากแพทย์ “การเจ็บป่วยวิกฤต” หมายความว่าการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า“ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. ๒๕๕๐”
-
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
๓.๑ ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. ๒๕๓๐
๓.๒ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
-
ส่วนที่ ๒ การทําหัตถการ
ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งกระทําการพยาบาลโดยการทําหัตถการตามขอบเขตที่กําหนด ดังนี้
๘.๑ การทําแผลการตกแต่งบาดแผลการเย็บแผลการตัดไหมการผ่าฝีในตําแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสําคัญของร่างกายการถอดเล็บและการจี้หูดหรือจี้ตาปล
๘.๒ การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตําแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสําคัญของร่างกายออกโดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง
-
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งกระทําการพยาบาลโดยการทําหัตถการต่อไปนี้จะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลประกาศกําหนดและได้รับใบรับรองจากสภาการพยาบาล
๙.๑ การใส่และถอดห่วง (IUD)
๙.๒ การฝังและถอดยาคุมกําเนิด (Nor Plant)
๙.๓ การผ่าตัดตาปลา
๙.๔ การเลาะก้อนใต้ผิวหนังบริเวณที่ไม่เป็นอันตราย
๙.๕ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี VIA (Visual Inspection Using Acetic Acid)
๙.๖ การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น (Cryotherapy)
-
-
4.5 ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการสภาการพยาบาลจึงออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑. ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
-
ข้อ ๓. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรองและได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาลให้กระทําการพยาบาลการคัดกรองผู้ป่วยการเจ็บป่วยทางตาฉุกเฉินหรือการเจ็บป่วยวิกฤตและการฟื้นฟูสมรรถภาพการมองเห็น
ข้อ ๔. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรองและได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาให้กระทําการพยาบาลโดยการกระทําหัตถการดังนี้
๔.๑ การเขี่ยสิ่งแปลกปลอมออกจากตา (Remove conjunctival or corneal foreign body) ในกรณีที่สิ่งแปลกปลอมไม่ฝังลึกในกระจกตาจนอาจเกิดอันตรายได้
๔.๒ วัดค่าสายตาผิดปกติ (Refraction) ด้วยเครื่องมือ retinoscope หรือ autorefractor และทดลองเลนส์แว่นตา (Trial Lens set)
-
-
๔.๕ การล้างท่อน้ําตา(Lacrimal sac irrigation)ยกเว้นผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถให้ร่วมมือได้เช่นผู้ป่วยเด็กเล็กหรือผู้ทีมีสติไม่สมบูรณ์
๔.๖ การเจาะตากุ้งยิง(Incision and curette) ยกเว้นกรณีตากุ้งยิงอยู้ใกล้ท่อน้ําตาหรือผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถให้ร่วมมือได้เช้นผู้ป่วยเด็กเล็กหรือผู้ที่มีสติไม่สมบูรณ์
ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สภาการพยาบาลให้การรับรองและได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาลกระทําการรักษาโรคเบื้องต้นดังนี้
-
-
(๑)ภาวะฉุกเฉินทางตา
(๒)ต้อลมต้อเนื้อต้อกระจกต้อหิน
(๓)ตาแดงจากไวรัสแบคทีเรียภูมิแพ้
(๔)ตากุ้งยิง
(๕)สายตาผิดปกติสายตาสั้นยาวเอียงภาวะตาขี้เกียจตาเขสายตาเลือนราง
(๖)ท่อนำ้ตาอุดตันตาแฉะตามีหนอง
(๗)อื่นๆ
๕.๓การตรวจประเมินสภาพตาและสายตาการบันทึกผลการตรวจและการแปลผล
(๑)การวัดVA (Visual Acuity)
(๒)การวัดความดันลูกตาด้วย Schiotz Tonometer (๓)การตรวจดูretina ด้วยDirect Ophthalmoscope (๔)การวัดความโค้งของกระจกตาและวัดกําลังเลนส์แก้วตาเทียม(Intraocular Lens)
(๕)การใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจสภาพตาส่วนหน้าด้วยSlit lamp biomicroscope การวัดแว่นด้วยRetinoscope , Auto Refractor การวัดกําลังแว่นสายตาด้วย Lensometer การวัดลานสายตาด้วย Goldman VF, Computerized Visual Fieldการวัดมุมตาเขวัดการมองเห็นภาพซ้อนวัดการมองเห็นภาพ ๓ มิติการตรวจตาบอดสีและการถ่ายภาพจอตา
(๖)การบันทึกผลการตรวจประเมินสภาพผู้ป่วยและการประเมินสภาพตาและสายตา
(๗)แปลผลการประเมินสภาพตาและสายตาเพื่อประกอบการรักษาโรคเบื้องต้น
๕.๔ การตรวจประเมินภาวะฉุกเฉินทางตาที่ต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและส่งต่อ
(๑)บาดเจ็บทางตาจากอุบัติเหตุหรือถูกทําร้าย
(๒)กรดด่างสารเคมีเข้าตา (Chemical burn)
(๓)ตาแดงบริเวณรอบกระจกตา (Perilimbal หรือ ciliary injection)
(๔)แมลงหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
(๕)ตามองเห็นไม่ชัดหรือมืดมัวอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
(๖)มีอาการปวดตาอย่างรุนแรง
(๗)เลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว ( Subconjunctival hemorrhage)ที่มีระดับการมองเห็น( Visual acuity ) ลดลง
๘)เยื่อบุตาฉีกขาด ( Conjunctival tear)
(๙)กระจกตาอักเสบจากแสงยูวี (U.V.keratitis) (๑๐)กระจกตาทะลุ (Perforated cornea)
(๑๑)เห็นหยากไย่จุดดําลอยไปมาในลูกตาและ/หรือเห็นแสงฟ้าแลบ
๕.๕ การตรวจวินิจฉัยแยกโรคและให้การรักษาโรคเบื้องต้น
(๑)เคืองตา
(๒)ตาแดง
(๓)ตามัว
(๔)อุบัติเหตุต่อดวงตาที่ไม่รุนแรง
ข้อ ๖ ส่งต่อผู้ป่วยไปรับการบําบัดรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่นเมื่อปรากฏตรวจพบหรือเห็นว่าอาการไม่บรรเทามีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นมีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนหรือมีเหตุอันควรอื่นๆเกี่ยวกับการบําบัดรักษาเช่นเครื่องมืออุปกรณ์บําบัดรักษาเวชภัณฑ์เป็นต้น
-
ข้อ ๘ เขียนบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอาการและการเจ็บป่วยโรคและการให้การรักษาโรคหรือการให้บริการตามความเป้นจริงและต้องเก็บบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน
4.4 ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
-
ข้อ ๔ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือดต้องเป็นแนวปฏิบัติทางการพยาบาล(Clinical Nursing Practice Guideline (CNPG)) หรือเป็นแนวปฏิบัติทางเวชกรรม(Clinical Practice Guideline (CPG)) และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลไม่เป็นผู้ตรวจวิเคราะห์หรือวินิจฉัย เว้นแต่กรณี การให้บริการแก่ผู้รับบริการรายที่ตนเองเป็นผู้ดูแลในลักษณะการตรวจ ณ จุดดูแลผู้รับบริการ (Point of care testing) ได้แก่ การตรวจระดับนํ้าตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
ข้อ ๕ การเจาะเก็บตัวอย่างเลือด ต้องเป็นการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดฝอยปลายนิ้วหรือจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย
ข้อ ๖ การเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดด ำส่วนกลาง ตามแผนการรักษา ให้จัดเก็บจากสายสวนหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำส่วนกลาง ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้เปิดไว้แล้ว
-