Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU, นางสาวจิรนันท์…
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
คำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจ
Tidal volume
ค่าปกติ 6-8 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม
ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดใน 1 ครั้ง
Respiratory rate
การตั้งอัตราการหายใจให้กับผู้ป่วย สำหรับผู้ใหญ่จะอยู่ระหว่าง 12-20 ครั้ง/นาที
Minute volume
ปริมาตรลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที
Peak flow
อัตราการไหลของอากาศเข้าสู่ปอดมีหน่วยเป็นลิตร/นาที
Inspiratory time : Expiratory time (I:E)
อัตราส่วนระหว่างเวลาที่ใช้ในการหายใจเข้าต่อเวลาที่ใช้ในการหายใจออก ส่วนใหญ่ตั้ง 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3 ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของปอด
Sensitivity
การตั้งค่าความไวของเครื่องที่ผู้ป่วยต้องออกแรงกระตุ้นเครื่อง เพื่อเริ่มต้นการหายใจเข้า
Fraction of Inspired Oxygen
การตั้งระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศที่เครื่องปล่อยเข้าผู้ป่วย ปรับได้ตั้งแต่ 21-100 เปอร์เซ็นต์
Positive End Expiratory Pressure
การทำให้ความดันในช่วงหายใจออกสุดท้ายมีแรงดันบวกค้างไว้ในปอดตลอดเวลา
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure)
เครื่องช่วยหายใจจะช่วยให้ผู้ป่วยมีการใช้ออกซิเจนที่ลดลงจากการลดการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure)
ปริมาณการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการระบายออกของระบบทางเดินหายใจ จึงเกิดภาวะของความเป็นกรดในเลือด (respiratory acidosis) จากการที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดที่มากกว่าปกติ
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue)
ได้รับยาที่กดศูนย์หายใจ ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทส่วนปลาย
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ
ภาวะช็อกร่างกายมีความต้องการออกซิเจนปริมาณสูง ภาวะดังกล่าวทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ลดลง นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasive positive ventilator : NPPV
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจที่ให้การช่วยหายใจผู้ป่วยที่ไม่มีท่อทางเดินหายใจซึ่งสามารถช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น แก้ไขภาวะกรดจากการหายใจ ลดอัตราการหายใจแต่จะควบคุมการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่ดีเท่าเครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
Continuous positive airway pressure (CPAP)
Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP)
Invasive positive ventilator : NPPV
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
ใช้มากที่สุดในภาวะวิกฤต
อัดอากาศเข้าไปในปอดผ่านทาง endotracheal tube หรือ tracheostomy โดยใช้แรงดันบวก
(Mode of ventilator)
Control mandatory ventilation (CMV) , Assist/control (A/C) ventilation
เป็นวิธีช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้งถูกกำหนดด้วยเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่มีการหายใจเองเลย
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
ช่วยหายใจที่มีทั้งการหายใจเองและการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
Spontaneous ventilation
การหายใจที่ผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มการหายใจเอง รวมถึงเป็นผู้กำหนดระยะเวลาและปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าด้วยตนเองทั้งหมด
Continuous positive airway pressure (CPAP)
Pressure support ventilator (PSV)
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
ส่งผลให้ปริมาตรเลือดแดงที่ส่งออกจากหัวใจ (cardiac output) ลดลง
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป
ถุงลมถ่างขยายมากเกินไป เยื่อบุผิวถุงลมและหลอดเลือดฝอยสูญเสียหน้าที่ทำให้เกิดปอดบวมน้ำเฉียบพลัน และเกิดการทำลายถุงลมในที่สุด
ภาวะถุงลมปอดแตก
ภาวะที่มีลมรั่วจากถุงลมเนื่องจากการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวก หรือการค้างความดันในช่วงหายใจออกให้เป็นบวก
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ
การบาดเจ็บต่อกล่องเสียงและเยื่อบุหลอดลม มักพบในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอเป็นเวลานาน
ภาวะปอดแฟบ
เกิดภาวะปอดแฟบได้จากการตั้งปริมาตรการหายใจต่ำและไม่มีการตั้งถอนหายใจ (sigh) ให้ผู้ป่วย
เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
การสำลักเชื้อจุลชีพจากปากหรือลำคอผ่านหลอดลมเข้าสู่ปอดหรือการหายใจเอาละอองที่มีจุลชีพเข้าไปในปอด
การแพร่กระจายเชื้อจุลชีพจากกระเพาะอาหารเกิดจากการที่เชื้อเจริญในกระเพาะอาหารอยู่ก่อน
ภาวะพิษจากออกซิเจน
เกิดจากการได้รับความเข้มข้นของออกซิเจนมากกว่า 0.6 นานเกิน 24-48 ชั่วโมงขึ้นไป หรือความเข้มข้น 1.0 นานเกิน 24 ชั่วโมง
ระบบทางเดินอาหาร
การเกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
ผลต่อภาวะโภชนาการ
ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ มีอาการไม่คงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงต้องงดน้ำงดอาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
ด้านจิตใจ
แจ้งให้ทราบทุกครั้งเมื่อต้องให้การพยาบาล
ประคับประคองด้านจิตใจ
ดูแลด้านจิตใจของครอบครัว ของผู้ป่วยด้วย
ด้านร่างกาย
ประเมินสภาพผู้ป่วย และภาวะแทรกซ้อน
V/S q 1 ชั่วโมง
ดูแลช่องหลอดลม และความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
ตำแหน่งของท่อหลอดลมคอควรอยู่เหนือ Carina ประมาณ 1 นิ้ว
ตรวจสอบจากภาพเอกซเรย์ทรวงอก (CXR)
ใส่ลมในกระเปาะ ควรอยู่ระหว่าง 20-25 มิลลิเมตรปรอท
หมั่นทำความสะอาดปากและฟันโดยการทำ mouth care และดูดเสมหะ (suction)
ป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
ดูดเสมหะเมื่อพบว่ามีปริมาณเสมหะมาก
ดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแล Tubing system ของเครื่องช่วยหายใจให้เป็นระบบปิด
ป้องกันภาวะปอดแฟบ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
โรคหรือสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหายหรือทุเลาลง
การแลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ
ค่า PEEP น้อยกว่า 5 เซนติเมตรน้ำ
ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทำตามคำสั่ง
สัญญาณชีพปกติ
ค่า Spontaneous tidal volume
Rate Volume Ratio (RVR) <105
สามารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจแบบ T piece
ถอดท่อช่วยหายใจได้
เริ่มให้ออกซิเจน 10 ลิตรต่อนาที ใช้เวลาประมาณ ½-2 ชั่วโมง
ไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้
ให้ผู้ป่วยได้พัก 24 ชั่วโมงและเริ่มทำการหย่าอีกครั้งในวันถัดมา
การใช้เครื่องช่วยหายใจ mode SIMV,PSV,CPAP
(SIMV)
ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมานานและใช้แบบ T piece ไม่ได้ผล
ลดการช่วยเหลือจากเครื่อง
โดยการตั้งค่าการหายใจของเครื่องให้ต่ำกว่าการหายใจของผู้ป่วย
(PSV)
ให้ลดระดับความดันครั้งละ 2-4 เซนติเมตรน้ำ
ลดได้ทุก 1-2 ชั่วโมง
พิจารณาการถอดท่อช่วยหายใจได้
(CPAP)
เครื่องช่วยหายใจปล่อยแรงดันบวกเข้าปอดตลอดเวลา
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
ดูดเสมหะในปากและท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยวิธี T piece หรือวิธีปรับ mode
กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจโดย T piece 10 ลิตร/นาที ต่อไปได้ ให้ต่อท่อช่วยหายใจเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ setting ก่อนหน้าที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
การถอดท่อช่วยหายใจ
สามารถหายใจผ่าน T piece 10ลิตร/นาที เกิน 2 ชั่วโมง
สามารถไอขับเสมหะออกมาได้แรงพ้นท่อช่วยหายใจ
รู้สึกตัวดีหรือ GCS>10 คะแนน
ประเมิน cuff leak test ผ่าน
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
การวัดการไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤต
(intra-arterial monitoring)
ค่าปกติ MAP = 70-100 mmHg.
การสอดใส่สายยางเข้าไปในเส้นเลือดแดงและนำมาต่อกับเครื่องวัด
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนลดลง หรือความดันโลหิตต่ำ
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก
รายที่จำเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drug
ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตยาก
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง
ตรวจสอบความแม่นยำของการปรับเทียบค่า
Levelling the transducer
Zeroing the transducer
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ
ใช้ continuous flush system โดยใช้สารน้ำ 0.9% NSS 500 cc ผสมกับ Heparin 2,000-2,500 ยูนิต
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ (infection)
การเกิดเนื้อตาย (Skin necrosis)
Air embolization
ภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ
การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลง
การป้องกันการติดเชื้อ (Infection)
ใช้ sterile technique
หลีกเลี่ยงการปลดสาย ข้อต่อต่างๆ ดูแลให้เป็นระบบปิด
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
ทำแผลทุก 7 วัน
เปลี่ยนชุดของ transducer และชุดการให้สารน้ำทุก 3 วัน
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย
ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ ให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ
ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน (damped waveform)
(Central venous pressures; CVP)
การวัดความดันของเลือดดำส่วนกลาง หรือแรงดันเลือดของหัวใจห้องบนขวา
ประเมินระดับของปริมาณน้ำและเลือดในร่างกาย เป็นความดันของ right atrium
วัดจาก Superior Vena Cava (SVC)
ค่า CVP เป็นผลของปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนหรือการทำหน้าที่ของหัวใจห้องล่างขวา
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP
ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด
ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน
กรณีที่ต้องการประเมินการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
ตำแหน่งเส้นเลือดที่ใช้สำหรับ monitor CVP
subclavian vein เป็นตำแหน่งเหมาะสมที่สุด
การแปลงค่า CVP
CVP ปกติ อาจอยู่ในช่วง 6-12 cm H2O (2-12 mmHg)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
ความแม่นยำของการเปรียบเทียบค่า เหมือนกับ(intra-arterial monitoring)
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน พยาบาลควรระมัดระวังสายขณะเคลื่อนย้ายและขณะทำแผล
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
ป้องกันการอุดตันของสายสวน
การป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต (common drugs used in ICU)
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Epinephrine หรือ adrenaline
การนำไปใช้
เป็นยาตัวแรกในการทำ CPR ทั้งในภาวะ systole/PEA และ VF/pulseless VT
Cardiac arrest
ผลข้างเคียง
tachycardia, arrhythmias, hypertension
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
ปรับขนาดยา เมื่อ BP < 90/60 หรือ >140/90 mmHg
Amiodarone
การนำไปใช้
ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation และ Atrial flutter
หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด VF และ VT
ผลข้างเคียง
อาจทำให้เกิด vasodilatation และ hypotension
Bradycardia, hypothyroidism, hyperthyroidism, thrombophlebitis
การพยาบาล
monitor EKG ทุก 15 นาที x 3 ครั้ง
หลัง loading dose รายงานแพทย์เมื่อ BP < 90/60 mmHg, HR < 60 BPM
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine
การนำไปใช้
แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติและ AV block
ผลข้างเคียง
เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)
กรณีที่มี acute myocardial infarction อาจทำให้เกิดภาวะ ischemia มากขึ้น
ท้องอืด การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง
การพยาบาล
รระวังการให้ขนาดที่ต่ำกว่า 0.5 mg
ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG
ไม่ควรให้ถ้า HR > 60 ครั้ง/นาที
รายงานแพทย์เมื่อ HR > 120 ครั้ง/นาที โดยให้ monitor HR ทุก 5 นาที
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine
การนำไปใช้
ใช้เป็น first line drug ในภาวะ(reentry SVT)
ภาวะ regular monomorphic wide complex tachycardia
ผลข้างเคียง
อาการหน้าแดง (flushing) เหนื่อยและแน่นหน้าอก
การพยาบาล
ยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว (10 วินาที) และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องฉีดเร็วๆ บริเวณ upper extremities และ flush NSS ตาม 20 ml ด้วยวิธี double syringe technique
ถ้าฉีดยาช้าเกินไปยาจะถูกทำลายหมดก่อนถึงหัวใจ
Digoxin
การนำไปใช้
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ AF, atrial flutter ,STV
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นช้าชนิด Sinus bradycardia, S-A arrest
หัวใจเต้นผิดจังหวะ AV block, Atrial fibrillation
การพยาบาล
กรณียาฉีด ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา
monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
Dopamine
การนำไปใช้
ขนาดต่ำ ใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ
ขนาดสูง ทำให้หลอดเลือดหดตัว
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
ผลข้างเคียงเกิดจากการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic
Dobutamine
การนำไปใช้
เพิ่ม cardiac output ในผู้ป่วยหัวใจวาย
cardiogenic shock
ผลข้างเคียง
ยาอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะได้
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
Norepinephrine
การนำไปใช้
รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะseptic shock และ cardiogenic shock ระดับรุนแรง
ภาวะ shock หลังจากได้รับสารน้ำเพียงพอแล้ว
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย หายใจลำบาก
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
Nicardipine
การนำไปใช้
ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าแดง
ใจสั่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ
Sodium Nitroprusside
การนำไปใช้
ลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive emergency
ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ผลข้างเคียง
ลดความดันโลหิตเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
เกิดพิษจาก cyanide
Nitroglycerin (NTG)
การนำไปใช้
Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
Heart failure โดยช่วยในการลด preload
ผลข้างเคียง
Hypotension, Tachycardia, Flushing, headache
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ยามีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำ
monitor EKG ยาทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
นางสาวจิรนันท์ ใฝ่จิตร 6001210767 Sec.B เลขที่ 32