Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด (Birth Asphyxia) - Coggle Diagram
ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด (Birth Asphyxia)
ความหมาย
เกิดจากภาวะที่การแลกเปลี่ยนก๊าซของปอดหรือรกเสียไปทำให้ออกซิเจนในเลือดต่้า (hypoxemia) คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง (hypercapnia) และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด (metabolic acidosis) ทำให้อวัยวะต่างๆได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะ Birth asphyxia
ปัจจัยขณะตั้งครรภ์
อายุมากกว่า 35 ปี หรือน้อยกว่า 16 ปี
โรคเบาหวาน
เลือดออกในระยะตั้งครรภ์
ติดยาเสพติดหรือสุรา
มีประวัติการตายในระยะเดือนแรกของชีวิต (neonatal death) ในครรภ์ก่อนๆ
PIH /chronic hypertension
Oligohydramnios /Polyhydramnios
Post term gestation
ตั้งครรภ์มากกว่า 1 คน
มารดาป่วยด้วยโรคบางอย่างเช่น โรคหัวใจ ไทรอยด์ เป็นต้น
ทารกในครรภ์มีความพิการ
ปัจจัยขณะคลอด
ท่าก้นหรือส่วนน้าผิดปกติ
การติดเชื้อ
การเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
สายสะดือย้อย
มารดาได้รับ sedative หรือยาแก้ปวด
การคลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง
Meconium stain amniotic fluid
จังหวะหรืออัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
อาการขณะตั้งครรภ์ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ
ขณะคลอดพบขี้เทาในน้ำคร่ำ
ระยะแรกคลอด แรกคลอดทันทีทารกมีApgar score ต่ำกว่า 8
ทารกมีลักษณะเขียวแรกคลอด ไม่หายใจเอง ตัวนิ่ม อ่อนปวกเปียก
อาการระยะหลังคลอด จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะในระบบต่างๆ
การกู้ชีพทารกแรกเกิด
การช่วยต้องมีการประเมินทารกและให้การช่วยเหลือเป็นขั้นตอน
A = (Airway)
ให้ความอบอุ่น
จัดท่าและดูดเสมหะ ควรดูดในปากก่อนจมูกเพื่อป้องกันการสำลักเสมหะในปากขณะดูดในจมูก
เช็ดตัวให้แห้งกระตุ้นทารกทารกหายใจ
B = ( Breathing)
ช่วยการหายใจด้วยแรงดันบวก positive pressure ventilation (PPV)
โดยใช้bag และ mask เป็นเวลา 30 วินาที
C = (circulation)
ทำการนวดทรวงอกเพื่อช่วยการไหลเวียนโลหิตพร้อมกับช่วยหายใจ
แรงดันบวก (PPV) หลังจาก 30 วินาทีประเมินการเต้นของหัวใจอีกครั้ง
D = (drug)
ให้ยา epinephrine ขณะที่ช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก กดนวดทรวงอกไปด้วยถ้าอัตราการเต้นของหัวใจยังน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาทีจะต้องทำขั้นตอน C และ D ซ้ำ
จุดสำคัญในการกู้ชีพ
อัตราการเต้นของหัวใจที่น้อยกว่า 60 ครั้ง / นาที แสดงว่าจะต้องให้การช่วยเหลือในขั้นต่อไป แต่ถ้ามากกว่า 100 ครั้ง / นาที สามารถหยุดช่วยกู้ชีพได้
การใส่EET อาจจำเป็นต้องทำในหลายขั้นตอนของการกู้ชีพ
ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนไม่ควรเกิน 30 วินาที ถ้าทารกไม่ดีขึ้นควรเริ่มขั้นตอนต่อไปทันที
จุดมุ่งหมายสำคัญอันดับแรก คือ การให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดทารก (ขั้นตอน A, B)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เนื้อเยื่อร่างกายขาดออกซิเจนเนื่องจากทารกมีภาวะหายใจลำบาก
มีโอกาสชักเนื่องจากสมองถูกทำลายจากการขาดออกซิเจน
มีโอกาสหัวใจเต้นผิดปกติ ไตทำงานผิดปกติ และเนื้อเยื่อลำไส้ตามเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายไม่เพียงพอ
มีโอกาสเกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้าเนื่องจากภาวะเจ็บป่วย
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยของทารกและแผนการรักษาที่ทารกได้รับ