Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลมารดาที่ได้รับการช่วยเหลือสูติศาสตร์หัตถการ,…
บทที่ 7 การพยาบาลมารดาที่ได้รับการช่วยเหลือสูติศาสตร์หัตถการ
การพยาบาลผู้คลอดที่ได้รับการทำคลอดโดยใช้คีม
ส่วนประกอบของคีม
ใบคีม (Blade) มีลักษณะเป็นแผ่นแบนเป็นส่วนที่แนบจับศีรษะทารก ตรงกลางใบคีมจะมีรู เรียกว่า Fenestrate มีความโค้งของใบคีมเป็น 2 ลักษณะคือ ความโค้งที่แนบกับศีรษะทารกเรียกว่า Cephalic curve กับความโค้งที่ขนานไปกับช่องเชิงกราน เรียกว่าPelvic curve
ก้าน (Shank) เป็นส่วนที่ต่อระหว่างใบคีมกับด้ามถือ
ล็อก (Lock) เป็นส่วนใบคีมทั้งสองข้างประกบกัน
ด้ามถือ (Handle) เป็นส่วนที่ใช้มือจับดึง จะอยู่ส่วนปลายของคีม
ประเภทของคีม
Short Curve Forcep เป็นคีมที่ใช้ในกรณีศีรษะทารกมาอยู่ต่ำบริเวณฝีเย็บแล้วผู้ทำคลอดใช้แรงดึงน้อย และเกิดอันตรายน้อย
Long Curve Axis Traction Forcep เป็นคีมที่ใช้ในกรณีศีรษะทารกอยู่ค่อนข้างสูง ซึ่งมีทั้ง Cephalic curve และ Pelvic curve ซึ่งมี lock แบบ English lock ซึ่งออกแบบให้ใส่คีมข้างซ้ายก่อน
Kielland Forceps เป็นคีมที่ใช้การหมุนของศีรษะทารกภายในอุ้งเชิงกราน ไม่มีPelviccurve แต่มี Sliding lock เพื่อช่วยแก้ปัญหา Deep transverse arrest of head
ข้อบ่งชี้ในการทำคลอดด้วยคีม
การทำเพื่อการรักษาและการป้องกัน (Prophylactic or Elective) จะทำเมื่อแรกเข้าสู่ระยะเบ่งเพื่อ
ช่วยลดความกดดันบางประการที่เกิดขึ้นกับผู้คลอดทั้งทางร่างกายและอารมณ์
ป้องกันการฉีกขาดหรือยืดขยายมากเกินไปของฝีเย็บ
จำกัดปริมาณการเสียเลือดจากการคลอด
ป้องกันสมองถูกทำลายจากภาวะพร่องออกซิเจน
ข้อบ่งชี้ด้านแม่
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี/มารดาไม่มีแรงเบ่ง
กระดูกเชิงกรานค่อนข้างแคบหรือ Rigid pelvic floor หรือ Rigid perineum
ส่วนนำของทารกค่อนข้างใหญ่ หรือ Occiput อยู่ด้านหลัง หรือ Deep transverse arrest of head
ผู้คลอดมีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
ผู้คลอดอ่อนเพลีย
ผู้คลอดมีสุขภาพไม่ดีจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ, ไทรอยด์, หลอดลมอักเสบ
มีปัญหาเลือดออกในสมอง
ไส้ติ่งอักเสบ
ข้อบ่งชี้ด้านทารก
Fetal distress
สายสะดือพลัดต่ำ
สภาวะที่เหมาะสมในการทำคลอดด้วยคีม
ปากมดลูกเปิดหมด
ส่วนนำมีสภาวะที่เหมาะสมสามารถคลอดทางช่องคลอดได้
ศีรษะทารกต้อง Deep engaged แล้ว
ไม่พบภาวะผิดสัดส่วนระหว่างส่วนนำกับช่องเชิงกราน
กระเพาะปัสสาวะและทวารหนักต้องว่าง
ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
ทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อมารดา
มีการฉีกขาดของหนทางคลอด
อันตรายต่อกระดูกเชิงกราน เช่น Symphysis pubis แยก
กระทบกระเทือนต่อกระเพาะปัสสาวะ
ช็อคจากความเจ็บปวด ผู้คลอดไม่ทำด้วยความนุ่มนวล
ใช้คีมไม่ถูกต้อง เกิดการตกเลือด
ติดเชื้อ
อันตรายจากการแพ้ยาระงับความรู้สึก
ต่อทารก
แรงกดที่ศีรษะเกิด Asphyxia
กระทบกระเทือนต่อกระโหลกศีรษะ สมองและหนังศีรษะทารกในครรภ์
คีมกด Clavical plexus จะทำให้เกิด Erb’ s Palsy
คีมกด Facial nerve จะทำให้เกิด Facial Palsy
หูหนวกกระทบกระเทือนต่อ Auditory Organ
ปอดบวมและถุงลมแฟบ
การพยาบาลในการดูแลผู้คลอดที่ได้รับการช่วยคลอดโดยใช้คีม
การซักประวัติได้แก่ ประวัติเกี่ยวกับอาการผิดปกติในการตั้งครรภ์และการคลอดครั้งก่อน เช่น การคลอดติดขัด การช่วยคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการทารกเสียชีวิตจากการคลอด การเจ็บปุวยของบุคคลในครอบครัว
การตรวจร่างกาย ได้แก่
การตรวจทางหน้าท้อง เพื่อประเมินท่า และขนาดของทารก การหดรัดตัวของมดลูก
ตรวจช่องทางคลอดเพื่อประเมินลักษณะของปากมดลูก เชิงกรานมารดาและขนาดของทารก
การตรวจร่างกายทั่วไปและสัญญาณชีพ
การประเมินสภาพทารกในครรภ์ เช่น การฟังเสียงหัวใจทารก
ภาวะจิตสังคม ได้แก่การประเมินความวิตกกังวลและหวาดกลัวของผู้คลอดต่อการช่วยคลอดด้วยคีม ซึ่งอาจจะมืผลต่อการปฏิบัติตัวและความร่วมมือในการช่วยคลอด
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำคลอดด้วยคีม
ทารกแรกเกิดมีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากการคลอดโดยใช้คีม
นางสาวรัตนาภรณ์ ใจอ่อน รหัส 602701077 ชั้นปีที่ 4 รุ่น 35