Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU, นางสาว…
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator)เป็นเครื่องมือที่ใช้สําหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจไม่เพียงพอ
คําศัพท์สําคัญที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจ
Peak flow (PF) อัตราการไหลของอากาศเข้าสู่ปอดมีหน่วยเป็นลิตร/นาที เป็นการควบคุมช่วงระยะเวลาหายใจเข้า
Inspiratory time:Expiratory time (I:E)อัตราส่วนระหว่างเวลาที่ใช้ในการหายใจเข้าต่อเวลาที่ใช้ในการหายใจออก ส่วน
ใหญ่ตั้ง 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3 ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของปอด
Minute volume (MV) ปริมาตรลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที มีหน่วยเป็นลิตร/นาที
Sensitivity การตั้งค่าความไวของเครื่องที่ผู้ป่วยต้องออกแรงกระตุ้นเครื่อง เพื่อเริ่มต้นการหายใจเข้า
Respiratory rate (RR) การตั้งอัตราการหายใจให้กับผู้ป่วย สําหรับผู้ใหญ่จะอยู่ระหว่าง 12-20 ครั้ง/นาที
Fraction of Inspired Oxygen (Fio2) การตั้งระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศที่เครื่องปล่อยเข้าผู้ป่วยปรับได้ตั้งแต่ 21-100 เปอร์เซ็นต์(ความเข้มข้นของออกซิเจน 40% หมายถึง Fio2 0.4
Tidal volume (VT) ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดใน 1 ครั้ง หน่วยเป็นมิลลิลิตรคํานวณตามน้ําหนักตัว ค่าปกติ 6-8 มิลลิลิตร/น้ําหนักตัว 1กิโลกรัม
Positive End Expiratory Pressure (PEEP) การทําให้ความดันในช่วงหายใจออกสุดท้ายมีแรงดันบวกค้างไว้ในปอดตลอดเวลามีประโยชน์คือ ลดแรงในการหายใจ ป้องกันปอดแฟบ (Atelectasis) คือจะมีลมค้างอยู่และเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure)
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue)
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure)
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Non-invasivepositive ventilator; NPPV)
หมายถึงเครื่องช่วยหายใจที่ให้การช่วยหายใจผู้ป่วยที่ไม่มีท่อทางเดินหายใจซึ่งสามารถช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น
ชนิดของ NPPV แบ่งเป็น 2 แบบ
Continuous positive airway pressure (CPAP)
Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP)
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Invasive positive ventilator; NPPV)
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้มากที่สุดในภาวะวิกฤต
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ (Mode of ventilator)
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
เป็นวิธีช่วยหายใจที่มีทั้งการหายใจเองและการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจโดยผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้ในระหว่างการช่วยหายใจด้วยเครื่อง
การกระตุ้นการหายใจโดยเครื่องจะสัมพันธ์กับการหายใจของผู้ป่วย เป็นการเตรียมหย่าเครื่องช่วยหายใจ
Spontaneous ventilation
การหายใจที่ผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มการหายใจเอง รวมถึงเป็นผู้กําหนดระยะเวลาและปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าด้วยตนเองทั้งหมด
Pressure support ventilator (PSV) เป็นวิธีการหายใจที่เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง เครื่องจะช่วยจ่ายแก๊สเพื่อให้ได้ระดับความดันตามที่ตั้งไว้และจะหยุดจ่ายอากาศเมื่อ
ผู้ป่วยไม่ต้องการแล้ว
Continuous positive airway pressure (CPAP) เป็นวิธีการหายใจที่ให้แรงดันบวก (PEEP)
ต่อเนื่องในระดับเดียวกันทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก โดยไม่มีการส่งแรงดันช่วยเพิ่มขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้า
Control mandatory ventilation (CMV) หรือ Assist/control (A/C) ventilation
CMV เป็นวิธีช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้งถูกกําหนดด้วยเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่มีการหายใจเองเลย
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
มักพบภาวะปอดแฟบได้จากการตั้งปริมาตรการหายใจต่ําและไม่มีการ
ตั้งถอนหายใจ (sigh) ให้ผู้ป่วย
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia; VAP)
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนานเกิน 48 ชั่วโมง เชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (gram negative) สาเหตุการติดเชื้อที่ปอดจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication)
การบาดเจ็บต่อกล่องเสียงและเยื่อบุหลอดลม มักพบในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอเป็นเวลานาน
ระบบทางเดินอาหาร
การเกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วน
ท้องอืดอาจมีสาเหตุจากการเคลื่อนไหวของลําไส้ลดลงเนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจน
ภาวะถุงลมปอดแตก (Pulmonary barotrauma)
เป็นภาวะที่มีลมรั่วจากถุงลมเนื่องจากการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวก หรือการค้างความดันในช่วงหายใจออกให้เป็นบวก (PEEP) ซึ่งลมที่รั่วออกมาจะกระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป (Pulmonary volutrauma)
มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคปอดอยู่เดิม การตั้งปริมาตรการหายใจ (Tidal volume) ที่สูงเกินไป
ส่งผลต่อความดันสูงสุดใน
ทางเดินหายใจ (Peak airway pressure)
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
การใช้เครื่องช่วยหายใจจะทําให้เลือดดําไหลกลับหัวใจลดลง
เนื่องจากการมีแรงดันในช่องอกสูงขึ้นกว่าปกติทําให้เลือดดําจากอวัยวะในส่วนล่างของร่างกายกลับสู่หัวใจได้ลดลง
ผลต่อภาวะโภชนาการ
เนื่องจากผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ มีอาการไม่คงที่ สามารเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงต้องงดน้ํางดอาหาร
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity)
เกิดจากการได้รับความเข้มข้นของออกซิเจนมากกว่า 0.6
นานเกิน 24-48 ชั่วโมงขึ้นไป หรือความเข้มข้น 1.0 นานเกิน 24 ชั่วโมง จะทําให้มีการทําลายของเนื้อปอดได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านจิตใจ
พยาบาลควรประเมินภาวะดังกล่าวและดูแลอย่าง
ใกล้ชิด ประคับประคองด้านจิตใจโดยอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย
การดูแลด้านร่างกาย
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะต้องรายงานแพทย์ทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
สัญญาณชีพ ต้องประเมินทุก 1 ชั่วโมง
ระดับความรู้สึกตัว ความรู้สึกที่ผิดปกติ
การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย ตําแหน่งของท่อหลอดลมคอควรอยู่
เหนือ Carina ประมาณ 1 นิ้วโดยตรวจสอบจากภาพเอกซเรย์ทรวงอก (CXR)
การฟังเสียงลมเข้าปอดซึ่งการฟังเสียงปอดทั้ง 2 ข้างในระดับเดียวกันควรเท่ากันการใส่ลมในกระเปาะ ควรอยู่ระหว่าง 20-25 มิลลิเมตรปรอท ถ้าใส่แรงดันสูงอาจทําให้เกิด pressure necrosis
การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โดยการดูดเสมหะเมื่อพบว่ามีปริมาณเสมหะมาก
การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจโดยการดูดเสมหะเมื่อพบว่ามีปริมาณเสมหะมาก
การดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแล Tubing system ของเครื่องช่วยหายใจให้เป็นระบบปิด ให้ตรึงอยู่กับที่ไม่ให้ดึงรั้ง
การป้องกันภาวะปอดแฟบ ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมักจะได้ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้า (Tidal volume) คงที่จนทําให้ถุงลมปอดที่อยู่ชายปอดมีโอกาสเกิดภาวะ Micro atelectasis ได้
การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สําคัญ เช่น Electrolyte imbalance ค่าก๊าซใน
หลอดเลือดแดง (ABGs) เพื่อประเมินภาวะความเป็นกรดด่างของร่างกาย
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
การลดการช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจนสามารถหายใจเองและหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจในที่สุด
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจประเมินความพร้อมของผู้ป่วยที่สามารถทําการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจในปัจจุบันมี 2 วิธี ดังนี้
ผู้ป่วยหายใจเองทาง T piece หรือหายใจเองสลับกับเครื่องช่วยหายใจเป็นพักๆ
การใช้เครื่องช่วยหายใจ mode SIMV,PSV,CPAP
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV) เป็นรูปแบบการหายใจที่
นิยมมากในอดีต ใช้สําหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมานานและใช้แบบ T piece ไม่ได้ผล
Pressure support ventilation (PSV) เป็นรูปแบบการช่วยหายใจที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นวิธีลดงานในการหายใจของผู้ป่วยโดยเครื่องจะปล่อยแรงดันในช่วงที่ผู้ป่วยหายใจเข้าด้วยตนเอง
Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) เป็นการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยเครื่องช่วยหายใจปล่อยแรงดันบวกเข้าปอดตลอดเวลา
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่และเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ : ควรเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน เป็นต้น
การถอดท่อช่วยหายใจ
แพทย์พิจารณาให้ถอดท่อช่วยหายใจได้ (extubation)
สามารถหายใจผ่าน T piece 10ลิตร/นาที เกิน 2 ชั่วโมง
สามารถไอขับเสมหะออกมาได้แรงพ้นท่อช่วยหายใจ
รู้สึกตัวดีหรือ GCS>10 คะแนน
ประเมิน cuff leak test ผ่าน
วิธีในการถอดท่อช่วยหายใจ
เอาลมในกระเปาะท่อช่วยหายใจออกให้หมดโดยใช้ syringe
ให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจ ค่อยๆดึงท่อช่วยหายใจออกและให้ผู้ป่วยไอขับเสมหะออกมา ดูดเสมหะอีกครั้ง
แกะพลาสเตอร์ที่ยึดท่อช่วยหายใจ
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
ดูดเสมหะในปากและในท่อช่วยหายใจให้โล่ง
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
จัดท่าให้ผู้ป่วยเป็นท่านั่งศีรษะสูง
เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
ผู้ป่วยภาวะวิกฤตเป็นผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบการไหลเวียนโลหิตอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการ
ตรวจสอบและเฝ้าระวังเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต
การวัดความดันในหลอดเลือดแดง (intra-arterial monitoring)เป็นวิธีการสอดใส่สายยางเข้าไปในเส้นเลือดแดง (arterial line; A-line) และนํามาต่อกับเครื่องวัด(manometer) เป็นการวัดความดันของหลอดเลือดแดงโดยตรง
ค่าปกติ MAP = 70-100 mmHg.
โดยทั่วไปค่าความดันที่ได้จาก intra-arterial catheter จะมีค่ามากกว่า
การวัดความดันโดยทางอ้อม (Non-invasive blood pressure; NIBP) ประมาณ 2-8 mmHg
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดง
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก เช่น ผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด ผ่าตัดสมอง
ในรายที่จําเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas หรือส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการบ่อย ๆ
ในผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนลดลง หรือความดันโลหิตต่ํา เช่น ในภาวะช็อก ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุขั้นรุนแรงหลายระบบ
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drug
ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตยาก เช่น ผู้ป่วยถูกไฟไหม้ทั้งตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง (arterial line)
ตรวจสอบความแม่นยําของการปรับเทียบค่า (Accuracy)
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ ใช้ continuous flush system โดยใช้สารน้ํา 0.9%
NSS 500 cc ผสมกับ Heparin 2,000-2,500 ยูนิต
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การเกิดเนื้อตาย เป็นต้น
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย ไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศค้างในสาย
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดําส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP มีดังนี้
ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ําเกิน
ในกรณีที่ต้องการประเมินการทํางานของหัวใจและหลอดเลือด
ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด ภาวะ shock และกรณีอื่นที่ทําให้ปริมาณเลือดและน้ําในร่างกายลดลง
การแปลงค่า CVP
CVP ปกติ อาจอยู่ในช่วง 6-12 cm H2O (2-12 mmHg)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง (Central venous pressures;CVP)
ความแม่นยําของการเปรียบเทียบค่า
Levelling the transducer จัดตําแหน่ง transducer ให้อยู่ในตําแหน่ง phlebostatic axis
Zero the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0)
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง
พิจารณาความจําเป็นในการคาสายสวนหลอดเลือดดํา และพิจารณาถอดออกให้เร็วที่สุด
ประเมินแผลบริเวณรอบ ๆที่คาสายสวนหลอดเลือดดําทุกเวรและทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าปิดแผล
ทําความสะอาดแผลด้วย 2% Chlorhexidine in 70% Alcoholและเปลี่ยน steriletransparent dressing ทุก 7 วันหรือทันทีที่ผ้าปิดแผลสกปรก
สวมปิดบริเวณข้อต่อด้วย needleless connector หรือจุกปิด (stopcock)
ในกรณีการเปลี่ยนชุดสารน้ําควรเปลี่ยนภายใน 72 ชั่วโมง
เฝ้าระวังและดูแลระบบการให้สารน้ําต้องเป็นระบบปิดตลอดเวลา
ป้องกันการอุดตันของสายสวน
การป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Epinephrine หรือ adrenaline
การนำไปใช้ : ใช้เป็นยาตัวแรกในการทํา CPR ทั้งในภาวะ systole/PEA และ VF/pulseless VT ใช้ในภาวะ symptomatic bradycardia ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ atropine
ขนาดยาที่ใช้ : Cardiac arrest เริ่ม 1 mg IV และให้ซ้ําทุก 3-5 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น ขนาดยาที่ใช้ทางท่อ
ช่วยหายใจ (endotracheal tube) ขนาด 2-2.5 มิลลิกรัม
กลไกการออกฤทธิ์ออกฤทธิ์กระตุ้น Alpha adrenergic receptor และ beta adrenergic receptor
ทําให้หลอดเลือดดําส่วนปลายหดตัว (vasoconstriction) เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (coronary perfusion)
การบริหารยา IV; Undilute (1:1,000) หรือ dilute ให้ได้ 1: 10,000 ยา (1 amp: สารน้ํา 10 ml) อัตราตามแผนการรักษา
ผลข้างเคียง tachycardia, arrhythmias, hypertension
การพยาบาล : ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2ครั้ง เมื่อเริ่มให้ยา
Amiodarone (Cordarone®)
กลไกการออกฤทธิ์ : เป็น class III antiarrhythmic drugs ใช้รักษาภาวะ tachyarrhythmia ได้หลายชนิด ทั้งที่เป็นsupraventricular หรือ ventricular arrhythmia
การนําไปใช้ : ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation และ Atrial flutter หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด Ventricular fibrillation (VF) และ Ventricular tachycardia (VT)
ขนาดที่ใช้ : ในกรณีทํา CPR ขนาด 300mg หรือ 5 mg/kg เจือจางใน D5W 20 ml. IV push หากยังมีหัวใจห้องล่างผิดปกติ ให้ยาเพิ่มอีก 150 mg หรือ 2.5 mg/kg
การบริหารยา : Amiodarone injection 150 mg/ 3 mL เจือจางใน D5W เท่านั้น
ผลข้างเคียง : อาจทําให้เกิด vasodilatation และ hypotension ได้ Bradycardia, hypothyroidism, hyperthyroidism, thrombophlebitis
การพยาบาล : ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor EKG ทุก 15นาที x 3 ครั้ง หลัง loading dose รายงานแพทย์เมื่อ BP < 90/60 mmHg, HR < 60 BPM
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine
ขนาดยาที่ใช้ : 0.6-1 mg ทุก 3-5 นาที (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 3 mg)
การบริหารยา : Atropine 0.6 mg/ml/ampule ให้ IV Bolus: Undiluted or dilute 1-10 ml ฉีด 15 – 30 วินาที
การนําไปใช้ : ใช้แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติและ AV block
ผลข้างเคียง ทําให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) และในกรณีที่มี acute myocardialinfarction อาจทําให้เกิดภาวะ ischemia มากขึ้น ท้องอึด การเคลื่อนไหวของลําไส้ลดลง
กลไกการออกฤทธิ์ : เป็น anticholinergic drug ทํางานโดยการไปยับยั้งการทํางานของ vagus nerve ที่หัวใจ ทําให้มี
การเพิ่มขึ้นของ heart rate
การพยาบาล : ควรระวังการให้ขนาดที่ต่ํากว่า 0.5 mg อาจเกิดการตอบสนองชนิดหัวใจเต้นช้าลงไปอีกได้( paradoxical bradycardia) ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ไม่ควรให้ถ้า HR > 60 ครั้ง/นาที รายงานแพทย์เมื่อ HR > 120 ครั้ง/นาที โดยให้ monitor HR ทุก 5 นาที
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine
กลไกการออกฤทธิ์ : เป็น purine nucleoside สามารถยับยั้งการนําไฟฟ้าผ่าน AV node เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายยาจะถูกจับ และทําลายที่เม็ดเลือดแดงและผนังหลอดเลือดอย่างรวดเร็ว มีค่าครึ่งชีวิตน้อยกว่า 10 วินาที จึงต้องทําการฉีดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มียาเหลือไปถึงที่หัวใจ
การนําไปใช้ : ใช้เป็น first line drug ในภาวะ Stable narrow complex tachycardia (reentry SVT) หรือในภาวะ unstable narrow complex regular tachycardia แต่ต้องเตรียมพร้อมทํา cardioversion ไว้ด้วย
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา : Adenosine 6 mg/2 ml/vial ฉีดทางหลอดเลือดดําขนาด 6 mg ฉีดเร็ว ๆ ภายใน 1 – 3 วินาที ตาม
ด้วย NSS bolus 20 ml พร้อมกับยกแขนสูง (double syringe technique) สามารถให้ยาซ้ําได้อีก 12 mg
ผลข้างเคียง : อาการหน้าแดง (flushing) เหนื่อยและแน่นหน้าอก ซึ่งอาการไม่รุนแรงและมักจะหายไป
ในเวลา< 1 นาที
การพยาบาล : เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว (10 วินาที) และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องฉีดเร็วๆ บริเวณ upper extremities
และ flush NSS ตาม 20 ml ด้วยวิธี double syringe technique ถ้าฉีดยาช้าเกินไปยาจะถูกทําลายหมดก่อนถึงหัวใจ เนื่องจากยามี half-life สั้นมากเพียง 0.5-5
วินาที
Digoxin (Lanoxin ®)
กลไกการออกฤทธิ์ : มีผลเพิ่ม vagal tone ทําให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น จากการลดการ
ทํางานของระบบประสาท sympathetic ทําให้อัตราเต้นของหัวใจลดลง
การนําไปใช้ :
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ atrial fibrillation (AF), atrial flutter และ supraventricular Tachycardia (SVT)
ขนาดที่ใช้Digoxin injection 0.5 mg/ 2 mL amp (=0.25 mg/mL) ขนาดเริ่มแรก 0.25 – 0.5 mg ทางหลอดเลือดดําและให้ซ้ําได้ขนาดสูงสุด 1 mg/day
ผลข้างเคียง หัวใจเต้นช้าชนิด Sinus bradycardia, S-A arrest หัวใจเต้นผิดจังหวะ AV block, Atrial fibrillation การเป็นพิษจากยา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ปวดท้อง เบื่ออาหาร
การพยาบาล กรณียาฉีด ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา และหลังให้ยาทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2 ครั้ง ต่อไปทุก 30
นาที ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชั่วโมงจนครบ 6 ชั่วโมง monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง
การบริหารยาการให้ยาแบบ IV bolus จะต้องให้แบบช้าๆ นานกว่า 5 นาทียาฉีดที่ให้อาจไม่ต้องเจือจางแต่ถ้าเจือจางควรเจือจางด้วย sterile water for injection, NSS, D5W
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
Dopamine (Inopin®)
กลไกการออกฤทธิ์: ยาออกฤทธิ์กระตุ้นAdrenergic และ Dopaminergic receptors ตามขนาดยา
ขนาดปานกลาง (3-10 mcg/kg/min) ยาจับกับ beta 1 receptors กระตุ้นการปลดปล่อย norepinephrine ทําให้เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ
ขนาดสูง (10-20 mcg/kg/min) มีผลต่อ alpha1adrenergic receptors ทําให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดเพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ
ขนาดต่ํา (0.5-3 mcg/kg/min) กระตุ้น dopaminergic receptors ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังไต
การนําไปใช้ข้อบ่งใช้ตามขนาดยา
ขนาดต่ำใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไต (renal blood flow)และสมอง
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ เพิ่ม Cardiac out put
ขนาดสูงทําให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ shock จากการติดเชื้อในกระแสเลือด
ขนาดที่ใช้และการบริหารยา
ยา 1 Amp บรรจุ 10 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg (25 mg/ml) แผนการรักษาของแพทย์นิยมเขียนเป็น 1:1, 2:1, 4:1 (ความเข้มข้นของยา:สารละลาย)
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทําให้เนื้อเยื่อตายได้
ผลข้างเคียงเกิดจากการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็วเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ
การพยาบาล
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากพบรอยแดง บวมให้เปลี่ยนตําแหน่งใหม่ทันที
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต monitor ECG urine out put อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชม.
เลือกตําแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดําเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยาโดยใช้เครื่องควบคุมอัตราการไหลของสารน้ําอัตโนมัติ (Infusion pump)
สามารถปรับเพิ่มหรือลดยาได้ทีละ 2μd/min keep BP ≥ 90/60 และ ≤140/90 หรือตามแผนการ
รักษาของแพทย์
Dobutamine
ขนาดที่ใช้Dobutamine 2-20 mcg/kg/min ขนาดยามากกว่า 20 mcg/kg/min ทําให้หัวใจเต้นเร็วซึ่งทําให้ภาวะหัวใจขาดเลือดแย่ลงได้
การบริหารยา
ยา 1 Vial บรรจุ20 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg หรือ 12.5 mg/ml แผนการรักษาของแพทย์
นิยมเขียนเป็น 1:1, 2:1, 4:1 ใช้สารละลาย D5W หรือ NSS ให้ขนาดตามแผนการรักษา การคํานวณขนาดยาเหมือน Dopamine
การนําไปใช้เพิ่ม cardiac output ในผู้ป่วยหัวใจวาย หรือ cardiogenic shock
ผลข้างเคียง ยาอาจทําให้เกิดความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะได้ บางรายอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากยาทําให้หัวใจต้องการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นจากฤทธิ์ของยาที่ทําให้หัวใจเพิ่มแรงบีบตัวการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทําให้เนื้อเยื่อตายได้
กลไกการออกฤทธิ์ :เป็นยาในกลุ่ม Adrenergic agonist ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ Beta-1 และAlpha-1 Adrenergicreceptors ที่หัวใจ ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแรงขึ้น และหลอดเลือดส่วนปลาย ขยายตัวทําให้ช่วยลด afterload ทําให้การบีบตัวของหัวใจดีขึ้น ดังนั้นจึงเพิ่ม Cardiac out put
Norepinephrine (Levophed®) กลุ่ม Adrenergic agonist
กลไกการออกฤทธิ์ :ยาออกฤทธิ์กระตุ้น beta1 และ alpha adrenergic receptors ส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ทําให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นกล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัวและคลายตัวเพิ่มขึ้นแต่อัตราการเต้นของหัวใจไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นน้อยโดยเมื่อฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดํายาจะออกฤทธิ์ภายใน 1-2 นาที
การนําไปใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะseptic shock และ cardiogenic shock ระดับรุนแรง หรือภาวะshock หลังจากได้รับสารน้ําเพียงพอแล้ว
ขนาดยาที่ใช้เริ่มต้นที่ 0.01-3 mcg/kg/min หากขนาดยาเกิน 1 mcg/kg/min เฝ้าระวังการเกิดvasoconstriction อย่างใกล้ชิด
การบริหารยา ยา 1 Amp บรรจุ 4 ml มีความเข้มข้นของยา 4 mg (1 mg/ml) แผนการรักษาของแพทย์นิยมเขียนเป็น 4:100, 8:100 สารละลายที่ใช้เจือจางยาคือ D5W เท่านั้น ห้ามผสมใน NSS
ผลข้างเคียง : หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย หายใจลําบาก การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทําให้เนื้อเยื่อตายได้ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง
การพยาบาล
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากผสมยาความเข้มข้นเกินกว่า 4 mg/D5W 250ml ควรให้ทาง central line
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor ECG อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชั่วโมง
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
Nicardipine
กลไกการออกฤทธิ์ : เป็นยากลุ่ม Calcium channel blocker ออกฤทธิ์ยับยั้งแคลเซียมเข้าเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจและ
เซลล์กล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอด
การนําไปใช้ : ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
1) IV bolus คือ เจือจางยา Nicardipine 2 mg ด้วย NSS ให้เป็น 4 ml IV ครั้งละ 1-2 ml นาน 1-2 นาทีให้ซ้ําได้ทุก 15 นาที จน BP ลดลงระดับที่ต้องการ
2) IV drip นิยมเขียนเป็น 1: 10 (สัดส่วน 1:10 คือยา Nicardipine 10 mg : สารละลาย 100 ml)เจือจางด้วย NSS หรือ D5W การเตรียมยา Nicardipine 20 mg + NSS 80 ml
ผลข้างเคียง
การรั่วออกของยาออกนอกเส้นเลือด เพราะอาจทําให้หลอดเลือดอักเสบได้
ใจสั่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ํา
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าแดง
การพยาบาล
กรณี Emergency ให้ยาทาง IV bolus ติดตามทุก 5 นาที จน BP, HR ได้ระดับที่ต้องการ จากนั้นติดตามทุก 15 นาที
กรณีให้ IV drip ติดตามทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก จากนั้น ทุก 1 ชั่วโมงขณะให้ยา
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor ECG อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชม.
รายงานแพทย์ทันทีถ้า BP < 90/60 mmHg หรือ HR< 60 ครั้ง/นาทีหรือ HR > 120 ครั้ง/นาที
Nitroglycerin (NTG)
กลไกการออกฤทธิ์ :ยาขยายหลอดเลือดโดยการหลั่ง nitric oxide (NO) เข้าสู่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด กระตุ้นguanylate cyclase ใน cytoplasmทําให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดดําขยายตัวเลือดไหลกลับหัวใจลดลง ลดปริมาณเลือดในห้องหัวใจ (preload ) แรงในการบีบตัวของหัวใจลดลงช่วยลดความต้องการออกซิเจนของร่างกาย
การนําไปใช้ : Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris) Heart failure โดยช่วยในการลด preload
ขนาดที่ใช้ : เริ่มขนาด 5-10 mcg/min เพิ่มทีละ 5-10 mcg/min ทุก 5-10 นาที ขนาดยา 30-40 mcg/min ทําให้เกิด Vasodilatation ขนาดยาที่มากกว่า 150 mcg/min ทําให้เกิด arteriolar dilation
การบริหารยา NTG 1 vial มี 10 ml บรรจุยา 50 mg เจือจางใน 5%D/W หรือ 0.9%NSS โดยผสมNitroglycerin 500-1000 มก. ใน D5W หรือ NSS 250 ml
ผลข้างเคียง Hypotension, Tachycardia, Flushing, headache
การพยาบาล ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ยามีผลทําให้ความดันโลหิตต่ํา monitor EKG ยาทําให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
Sodium Nitroprusside
กลไกการออกฤทธิ์ : ยาขยายหลอดเลือดแดงและดํา โดย free nitroso group (NO) จะไปยับยั้ง excitation-contraction
coupling ของผนังหลอดเลือด (vascular smooth muscle)
การนําไปใช้ : ใช้ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive emergency ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ขนาดที่ใช้และการบริหารยา : การเตรียมยาผสม 50 mg ใน D5W 250 ml เริ่มให้ 0.1 mcg/kg/min
ปรับยาขึ้นครั้งละ 10 mcg/min ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาโดยไม่ทําให้เกิดความดันโลหิตลดลง
ผลข้างเคียง : หากลดความดันโลหิตเร็วเกินไป อาจทําให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก เกิดพิษจาก cyanide มักพบในผู้ป่วยที่ได้รับยาในขนาดสูง (10-15 mcg/kg/min) นานมากกว่า 1
ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะมีความรู้สึกตัวลดลงและมีภาวะความเป็นกรดในเลือดสูงขึ้น
การพยาบาล : ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ทุก 5 นาทีหลังให้ยา และติดตามทุก 1 ชั่วโมง
พิจารณาตามอาการของผู้ป่วย ป้องกันยาในขวดน้ําเกลือทําปฏิกิริยากับแสงด้วยกระดาษ ผ้า หรือ aluminum foil ให้สังเกตว่าสี
ของยาจะเปลี่ยนไปหากทําปฏิกิริยากับแสง
นางสาว ภัทชราภรณ์ ป๊กคำ 6001210668 เลขที่ 31 sec B