Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 ทารกติดเชื้อ - Coggle Diagram
บทที่ 9 ทารกติดเชื้อ
โรคเริม (Herpes)
เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex virus ทารกหลังคลอดอาจมีการติดเชื้อจากมารดา โดยจะมีไข้ อ่อนเพลีย การดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ตับ ม้ามโต ชัก หรือบางรายพบมีตุ่มน้ำพองใสเล็ก ๆ ที่ผิวหนังตามร่างกาย
แนวทางการรักษา
๑) ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคเริม จะต้องถูกแยกจากทารกคนอื่น ๆ และดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม อย่างน้อย 7-10 วัน
-
โรคเอดส์ (AIDS)
เกิดจากเชื้อไวรัส HIV การติดต่อจากมารดาไปสู่ทารกสามารถติดต่อได้โดยผ่านทางรก การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งจากมารดาขณะคลอด และหลังคลอด และการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
จึงทำให้ทารกสามารถติดเชื้อจากมารดาได้ตั้งแต่ในระยะตั้งคลอดจนถึงหลังคลอด โดยพบว่าร้อยละ 80 การติดต่อจากมารดาสู่ทารกเกิดขึ้นในระยะคลอดและหลังคลอด จึงทำให้การให้ยาต้านไวรัสและการผ่าตัดคลอดก่อนการเจ็บครรภ์สามารถป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัส HIV จากมารดาสู่ทารกได้
แนวทางการรักษา
๑) ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV ให้หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะอาหารทารกโดยไม่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผล
๒) การรักษาด้วยยา ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ จะต้องได้รับยา NVP ชนิดน้ำขนาด 6 มิลลิกรัมทันทีหรือภายใน 8 -12 ชั่วโมงหลังคลอดร่วมกับ AZT 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังจากนั้นจะให้ยา AZT ต่อทุก 2 ชั่วโมง
๓) ทารกจะต้องได้รับการตรวจหาการติดเชื้อ HIV โดยการตรวจ เพื่อหา viral load ด้วยวิธี real time PCR assay ปกติจะตรวจไม่พบเชื้อ HIV-RNA ใน 6 สัปดาห์ ถ้าพบเชื้อ HIV-RNA ใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด แสดงว่าทารกติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์ ถ้าตรวจพบใน 6 สัปดาห์ แสดงว่าติดเชื้อในระยะคลอด
- เมื่อทารกครบ 12 เดือน ควรตรวจหาภูมิต้านทานชนิด IgG และ IgM ถ้าผล IgG เป็นบวกแสดงว่าอาจติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และถ้าผล IgM เป็นบวก แสดงว่าอาจติดเชื้อขณะคลอดหรือหลังคลอดทันทีหรือจากการกินนมแม่ และควรตรวจอีกครั้งเมื่อ 18 เดือน ถ้าระดับ CD4 มากกกว่าร้อยละ 20 แพทย์จะให้ยา AZT และให้ตรวจหา CD4 ซ้ำทุก 6 เดือน
โรคตับอักเสบบี
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B virus: HBV) การถ่ายทอดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งผ่านทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก
ทารกสามารถติดเชื้อจากมารดาได้ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ คลอด จนถึงหลังคลอด มีการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg positive จะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ทารกสูงถึงร้อยละ ๙๐ และหญิงตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg negative จะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ทารกเพียงร้อยละ ๑๐ - ๒๐
แนวทางการรักษา
๑) ทารกแรกคลอดต้องดูดมูกและเลือดออกจากปากและจมูกของทารกออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด เพื่อช่วยลดปริมาณไวรัสที่จะสัมผัสทารก
๒) ทารกสามารถดูดนมมารดาได้ทันทีหลังคลอดโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทารกได้รับวัคซีนก่อน เพราะจากการศึกษาพบว่าการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกไม่แตกต่างกันระหว่างทารกที่ได้รับวัคซีนกับทารกที่ไม่ได้รับวัคซีนแต่หากมารดามีหัวนมแตกให้งดให้บุตรดูดนมเพราะอาจแพร่การกระจายเชื้อสู่ทารกได้
๓) ดูแลให้ทารกแรกเกิดได้รับ Hepatitis B immune globulin (HBIG) เข้ากล้ามเนื้อโดยเร็วที่สุด (ถ้าไม่ให้ทันทีให้พยายามหา HBIG ให้ทารกภายใน 7 วันหลังคลอด หากเกิน 7 วันไปแล้วไม่มีประโยชน์) ร่วมกับ HBV เข็มที่ 1 เข้ากล้ามเนื้อโดยเร็วที่สุด ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด
โดยฉีดคนละตำแหน่ง แล้วควรนัดให้มารับวัคซีน HBV ตามกำหนดเข็มที่ 2 ตอนอายุ 1 เดือน และให้วัคซีน DTP-HB ตอนอายุ 2, 4, 6 เดือน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทารกที่คลอดจากแม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะมีน้ำหนัก < 2,000 กรัม ก็ให้ฉีด HBV ได้ทันที แต่ให้นับเป็นเข็มพิเศษ แล้วฉีดเข็มถัดไปเมื่ออายุ 1 เดือนหรือน้ำหนักมากกว่า 2,000 กรัม
-
ข้อวินิจฉัย
มีการติดเชื้อในร่างกาย เนื่องจากมีการสัมผัสสารคัดหลั่งของมารดาจากการคลอดร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์
การพยาบาล
- ประเมินสัญญาณชีพ เพื่อประเมินความรุนแรงของการติดเชื้อ โดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ ดูแลเช็ดตัวลดไข้ให้ พร้อมทั้งแนะนำมารดาบิดาและญาติในการเช็ดตัวทารก
- ดูแลให้ได้รับนมมารดาและน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาสามารถทำได้ แต่ต้องดูแลเรื่องความสะอาด แนะนำให้ล้างมือก่อนสัมผัสทารก และป้องกันมิให้ทารกสัมผัสกับรอยโรค ยกเว้นในรายที่มารดาติดเชื้อ HIV จะต้องงดเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและให้นมผสมแทน
- สังเกตอาการผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจและให้การช่วยเหลือเมื่อทารกมีภาวะหายใจลำบาก หรือขาดออกซิเจน
- ดูแลและแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของร่างกายทารก
- แยกของใช้ของมารดากับทารกและมีการทำลายเชื้ออย่างเหมาะสม
- ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
- แจ้งอาการและแนวทางการรักษาที่ทารกได้รับแก่มารดาบิดา