Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A Beautiful mind - Coggle Diagram
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A Beautiful mind
ประวัติทั่วไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วย ชื่อนายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (Mr. John Forbes Nash, Jr.)
อายุ 24 ปี เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
ประวัติครอบครัว
ภรรยาชื่อ อลิเซีย และมีลูกด้วยกัน 1 คน
มีน้องสาว1คน
ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ผู้ป่วยเก็บตัว ไม่ค่อยเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟัง
ผู้ป่วยมีความคิดหมกมุ่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขอย่างมากจนเกือบทำร้ายภรรยาและลูก
ผู้ป่วยมีความคิดหมกหมุ่นและมีพฤติกรรมที-แปลกๆ
สาเหตุ
พันธุกรรม
สารเคมีในสมองมีความผิดปกติและจากโครงสร้าง ของสมองบางส่วนที่มีความผิดปกติเล็กน้อย
ด้านครอบครัว
ครอบครัวมีลักษณะชอบตำหนิวิพากษ์วิจารณ์กัน ด่าทอกัน
ด้านสังคม
สังคมที่ไม่เข้าใจผู้ป่วย มีท่าทีรังเกียจผู้ป่วย หรือ พูดจาด่าว่า
ด้านจิตใจ
ความเครียดในชีวิตประจำวัน เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วย
การใช้อารมณ์กับผู้ป่วย
การตำหนิ มีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรหรือจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากไปก็มีผลต่อการกำเริบของโรคได้
ประสบการณ์ในอดีต โดนเพื่อนแกล้งเป็นประจำ
อาการและอาการแสดง
หวาดระแวง คิดว่าจะมีคนมาทำร้ายสะกดรอยตาม
ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหลอน มีความคิดหลงผิด
ควบคุมตนเองไม่ได้ ทำร้ายตนเองและคนรอบข้าง
แยกตัวไม่คุยกับใคร
กระสับกระส่ายเดินไปเดินมา
มองซ้ายมองขวาตลอดเวลา พยายามโต้ตอบกับใครบางคน
ประวัติการเจ็บป่วย
2 ปีก่อนมาโรงพยาบาล หลังจบปริญญาเอกทางด้านคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) และเข้าทํางานเป็นนักคณิตศาสตร์ที่วีลเลอร์แลปส์(Wheeler Labs) เขาถูกเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาเรียกตัวไปช่วยถอดรหัสทางการทหาร จากนั้นมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมชื่อ นายวิลเลียม แพชเชอร์ (Mr. Willium Pacher) มาติดต่อให้เขาทํางานเป็นสายลับคอยถอดรหัสทางการทหารจากนิตยสาร เขาทํางานให้นายวิลเลียมอย่างลับๆ จนกระทั่งพบว่ามีคนสะกดรอยตามเขาอยู่ตลอดและพยายามจะทําร้ายเขา ผู้ป่วยกลัวถูกทําร้ายมาก แต่พยายามเก็บเป้นความลับไม่ให้ใครรู้เนื่องจากเขาทํางานเป็นสายลับ แม้กระทั่งภรรยาก็ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล เขาเห็นกลุ่มคนสะกดรอยตามเขาไปถึงที่ทํางาน เขารู้สึกกลัวมากจึงวิ่งหนีจนกระทั่งถูกนําส่งโรงพยาบาล
ผู้ป่วยปฏิเสธการเจ็บป่วยในอดีต ปฏิเสธการแพ้ยา/อาหาร และการใช้สารเสพติด
การรักษา
รักษาด้วยยา
Thorazine 30 mg IM q 6 hrs
Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn
รักษาด้วยการใช้ไฟฟ้า
ECT 1 course (5 times per week/10weeks)
ความผิดปกติของกรณีศึกษา
โรคหลงผิด (Delusional disorder)
อาการ
การมีความเชื่อ หรือความคิดไม่ตรงกับความเป็นจริงตั้งแต่ 1 เรื่องนานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
ะแวงว่าตนถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกปองร้าย
ไม่พบว่ามีประสาทหลอน เช่น หูแว่ว ผู้ป่วยมักจะยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติ ยกเว้นบางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลงผิด เช่น ถ้าหลงผิดว่าเพื่อนร่วมงานกลั่นแกล้งก็อาจจะขอลาออกจากที่ทำงาน ทั้ง ๆ ที่ยังทำงานด้านนั้นได้ตามปกติ
สาเหตุ
อาจเกิดจากการเลี้ยงดู ที่ไม่ได้รับความอบอุ่น ทำให้ไม่เชื่อใจใคร และมีความรู้สึกไวต่อท่าทีของผู้อื่น
กิดจากสังคมที่มีความเครียด กดดัน การแข่งขันสูง การเอารัดเอาเปรียบ ทำให้รู้สึกว่าถูกผู้อื่นคุกคาม หรือรู้สึกว่าได้รับการกระทำที่ไม่ดีจากผู้อื่น จึงมีความระแวงได้มากขึ้น
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบว่าสัมพันธ์กับสมองส่วนที่ควบคุมความเป็นเหตุผลและอารมณ์ความรู้สึก
การรักษา
เน้นที่สัมพันธภาพในการรักษา ความสัมพันธ์ที่ดีสามารถช่วยผู้ป่วยได้ โดยรับฟังด้วยความเข้าใจ ไม่โต้แย้งคัดค้านอาการหลงผิดว่าไม่จริง ในขณะเดียวกันก็ไม่สนับสนุนความเชื่อของผู้ป่วย
การรักษาด้วยยา ด้วยยารักษาโรคจิตโดยอยู่ในความดูแลของแพทย์
รับตัวรักษาในโรงพยาบาล หากอาการรุนแรง เช่น มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่น
อาการประสาทหลอน (hallucination)
อาการ
อาการทางประสาทที่ทำให้เห็นภาพ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น รับรู้รสชาติ หรือเกิดความรู้สึก ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
สาเหตุ
เกิดขึ้นได้จากความเจ็บป่วยทางกายและจิตใจ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต
โรคทางสุขภาพจิต (Mental Illnesses) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อย เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) อาการเพ้อ (Delirium)
โรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ไมเกรน โรคลมชัก และเนื้องอกในสมอง
โรคสุขภาพกายอื่น ๆ เช่น มีไข้สูง และ Charles Bonnet Syndrome หรือโรคที่่มีความรุนแรง เช่น เอดส์ ไตวายและตับล้มเหลว
การพักผ่อนไม่เพียงพอ การอดนอนหรือนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการหลอนได้ โดยเฉพาะไม่ได้นอนหลับติดต่อกันหลายวันหรือนอนหลับไม่เพียงพอในช่วงระยะเวลาหนึ่งติดต่อกัน
สารเสพติดและแอลกอฮอล์ เป็นอีกสาเหตุที่พบได้บ่อย ทำให้ผู้ป่วยเห็นภาพหลอนหรือหูแว่ว
ยารักษาโรคบางชนิด อาการหลอนอาจเกิดจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการ
การรักษา
การรักษาด้วยยา เช่น หากอาการหลอนเกิดขึ้นจากอาการถอนสุราที่รุนแรง แพทย์อาจให้ใช้ยาเพื่อชะลอระบบประสาท หรือการใช้ยารักษาโรคทางจิตและหรือโรคทางสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ รวมไปถึงให้ใช้ยาต้านชัก (Antiseizure) เพื่อรักษาโรคลมชัก และใช้ยาทริปแทน (Triptans) หรือยาเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker) สำหรับผู้ที่เป็นไมเกรน
ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น จอตาเสื่อม ต้อกระจก หรือต้อหิน ควรได้รับการรักษาโดยแพทย์ หรือผู้ป่วยที่มีเนื้องอกอาจได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือผ่าตัด
การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคแก่ผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไป
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
อาการ
กลุ่มอาการด้านบวก (Positive Symptoms)
อาการหลงผิดและอาการประสาทหลอน
disorganized behavior และ disorganized speech
อาการด้านลบ
Alogia พูดน้อย
Affective flattening การแสดงออกทางด้านอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย ไมค่อยสบตา
Avolition ขาดความกระตือรือร้น เฉอื่ยชาลง ไม่สนใจเรื่องการแต่งกาย นั่งเฉยๆทั้งวันไม่ทำอะไรเลย
สาเหตุ
เป็นโรคทางพันธุกรรม
ระบบสารชีวเคมีในสมอง
cerebral blood flow และ glucose metabolism ลดลงในบริเวณ
frontal lobe
การเลี้ยงดูในรูปแบบต่างๆ
การรักษา
รักษาด้วยยา
การบำบัดทางจิต
การรักษาด้วยไฟฟ้า
คิดว่าผู้ป่วยรายนี้เป็น โรคจิตเภท (Schizophrenia)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติสุขภาพจิตพ.ศ. 2562