Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ,…
บทที่ 9 การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ
1.การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
ความหมาย
การบาดเจ็บที่เกิดกับทารกระหว่างคลอดจากแรงที่
กระทำกับทารกโดยตรง และไม่เกี่ยวกับโรคที่มารดาเป็นระหว่างการตั้งครรภ์
พบได้บ่อย
1) การบาดเจ็บที่ศีรษะทารก (Skull injuries)
ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ (caput succedaneum)
อาการและอาการแสดง
สังเกตพบได้ด้านข้างของศีรษะ
ลักษณะการบวมของก้อนโนนี้จะมีความกว้างและมีขนาดโตประมาณไข่ห่าน
ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
แนวทางการรักษา
ไม่จำเป็นต้องรักษาแบบเฉพาะทาง
จะหายไปได้เองภายหลังคลอดประมาณ 2 -3 วันหลังคลอด
บทบาทการพยาบาล
สังเกตลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นเพื่อคลายความวิตกกังวล
บันทึกอาการและการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารก
วัตถุประสงค์
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารกลดลง
เกณฑ์การประเมิน
มารดาและบิดาบอกว่าวิตกกังวลเกี่ยวกับก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารกลดลง เช่น
บอกว่า “เข้าใจแล้วว่าลูกเป็นอะไร “หัวลูกยุบลงแล้ว” เป็นต้น
ก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารกมีขนาดเล็กลงหรือหายไป
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับบิดามารดา เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกต่ออาการของทารก
ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารกของมารดาและบิดารวมทั้งอธิบายเพิ่มเติม เปิดโอกาสให้ซักถามและตอบคำถามเป็นเข้าใจ
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล พร้อมทั้งสอนมารดาและบิดาให้สังเกตขนาดของก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารกทุกวันและสอนวิธีการดูแล การป้องกัน
ถ้าพบกว่าก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารกมีขนาดโตขึ้น ต้องรายงานแพทย์ทันที
ติดตามประเมินผลการดูแลทารกของมารดาและบิดา เพื่อให้การช่วยเหลือด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและเต็มใจ
ประเมินความวิตกกังวลซ้ำภายหลังให้การพยาบาล
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ (cephalhematoma)
อาการและอาการแสดง
จะปรากฏให้เห็นชัดเจนหลัง 24 ชม.ไปแล้ว
ลักษณะการบวมจะมีขอบเขตชัดเจนบน บริเวณกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
ในรายที่เป็นรุนแรงอาจพบอาการแสดงทันทีหลังเกิดและพบว่า
ก้อนโนเลือดมีสีผิดปกติ คือ เป็นสีดำหรือน้ำเงินคล้ำ และทารกมีภาวะซีด
แนวทางการรักษา
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก้อนโนเลือดจะค่อยๆหายไปเองได้ โดยปกติจะค่อยๆหายเองภายใน 2 เดือน
ถ้ามีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วยและมีระดับบิลลิรูบินในเลือดสูงจำเป็นต้องได้รับการส่องไฟ (phototherapy)
รายที่ก้อนเลือดขนาดใหญ่ อาจรักษาโดยการดูดเลือดออก
บทบาทพยาบาล
สังเกต ลักษณะ ขนาด และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมอง
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด เพื่อป้องกันการกดทับที่จะกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
สังเกตอาการซีด การเจาะหาค่า Hct และดูแลให้เลือดตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลเกี่ยวกับการหาค่า microbilirubin ถ้ามีภาวะตัวเหลือง ให้การพยาบาลทารกที่ได้รับการส่องไฟตามแผนการรักษาของแพทย์
อธิบายมารดาและบิดาให้เข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นของทารกเพื่อลดความวิตกกังวล และแนะนำไม่ใช้ใช้ยาทา ยานวด ประคบหรือเจาะเอาเลือดออกเอง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองเนื่องจากมีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะที่เกิดจากการคลอด
วัตถุประสงค์
ทารกแรกเกิดไม่เกิดภาวะตัวเหลือง
เกณฑ์การประเมิน
ระดับบิลลิรูบินในเลือดของทารกแรกเกิดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ไม่เกิน 12 mg%)
ทารกแรกเกิดไม่มีอาการแสดงของภาวะตัวเหลือง
ก้อนโนเลือดที่ศีรษะทารกมีขนาดเล็กลงหรือหายไป
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด เพื่อป้องกันการกดทับที่จะกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
ติดตามผลของระดับบิลลิรูบินในเลือดของทารกแรก และเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ส่องไฟเพื่อการรักษาและเตรียมความพร้อมของครอบครัวในการยอมรับการรักษา
สังเกตภาวะตัวเหลือง ถ้าพบว่าทากมีอาการตัวเหลืองมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีระดับบิลลิรูบินในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ รายงานแพทย์เพื่อการรักษาด้วยการส่องไฟ และพยาบาลจะต้องดูแลทารกในขณะส่องไฟให้เหมาะสม
ภาวะเลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ
(intracranial hemorrhage)
อาการและอาการแสดง
Reflex ลดน้อยลงหรือไม่มี โดยเฉพาะ moro reflex จะเสียไป
กำลังกล้ามเนื้อไม่ดี มีอาการอ่อนแรง
มีภาวะซีด หรือมีอาการเขียว (cyanosis)
ซึม ไม่ร้อง ดูดนมไม่ดี หรือไม่ยอมดูดนม
ร้องเสียงแหลม กระหม่อมโป่งตึง ชัก
การหายใจผิดปกติ มีหายใจเร็ว ตื้น ช้า ไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดหายใจ
แนวทางการรักษา
ถ้ามีความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจได้รับการรักษาโดยเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบรรเทาอาการความดันในสมอง
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารกถ้าตัวเย็น
ดูแลให้ได้รับยาระงับการชัก และให้วิตามินเค
ดูแลให้ออกซิเจนถ้าทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำอย่างเพียงพอ
บทบาทพยาบาล
ดูแลให้ทารกหายใจสะดวกและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
จัดให้นอนราบ ศีรษะตะแคงไปด้านใดหน้าหนึ่ง อาจยกหัวเตียงสูงเล็กน้อยเพื่อลดความดันในสมองและช่วยให้ปอดขยายได้สะดวก
ดูดสิ่งคัดหลั่งจากปากและจมูกให้หมด
กรณีที่ให้ออกซิเจน ควรสำรวจปริมาณออกซิเจนที่ทารกได้รับความไม่ควรเกิน 40% หรือตามแผนการรักษา และให้ออกซิเจนที่มีความชื้นปนเพื่อช่วยละลายเสมหะหลังจากให้การพยาบาลในข้อ 1.1 -1.3 แล้วให้ประเมินสภาพทารก สังเกตการณ์หายใจ และสีผิวหนัง
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำที่เพียงพอ บางรายอาจต้องให้อาหารทางสายยางเพื่อไม่ให้ทารกต้องออกกำลัง และไม่เพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ
ให้ทารกอยู่ในตู้อบ (incubator) ที่มีการควบคุมอุณหภูมิตู้ไว้ เพื่อให้อุณหภูมิของร่างกายคงที่
เตรียมเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือทารกไว้ให้พร้อม ได้แก่ เครื่องดูดเสมหะ ลูกยางแดง ออกซิเจน laryngoscope endotracheal tube และเครื่องช่วยหายใจ
ตรวจสอบสัญญาณชีพ และบันทึกไว้ทุก 2- 4 ชั่วโมง ตามระดับความรุนแรงของอาการ
ป้องกันและไม่ให้ทารกได้รับอันตรายจากการชัก จัดวางเตียงของทารกไว้บริเวณที่พยาบาลสังเกตอาการทารกได้ง่าย
ดูแลให้ทารกได้พักผ่อน รบกวนทารกให้น้อยที่สุด พลิกตะแคงตัวทารกได้แต่ไม่บ่อยครั้ง ควรทำหลังจากให้นมไปแล้ว และต้องทำด้วยความระมัดระวัง
ดูแลฉีดวิตามินเค จำนวน 1 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อเพื่อป้องกันเลือดที่จะออกเพิ่ม
ประคับประคองจิตใจมารดาและบิดาเพื่อลดความวิตกกังวล และประคับประคองจิตใจของทารก โดยการตอบสนองความต้องการทางจิตใจ ปลอบโยนด้วยการสัมผัสที่อ่อนโยน อุ้มทารกเมื่ออาการดีขึ้น
ให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง
การให้ความรู้แก่มารดาในการดูแลทารกให้เหมาะสมกับเศรษฐานะของครอบครัว การให้ยา การดูแลเมื่อเจ็บป่วย
การพาทารกมาตรวจตามนัด และการประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก
ควรมีการส่งต่อพยาบาลชุมชนในการติดตามเยี่ยมบ้านและนัดทารกมาตรวจที่คลินิกสุขภาพเด็กดี
2)การบาดเจ็บของกระดูก (Bone injuries)
กระดูกต้นแขนหัก
อาการและอาการแสดง
ในรายที่มีกระดูกหักสมบูรณ์ (complete) อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะคลอด แขนข้างที่หักจะมีอาการบวมและทารกไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่หักเนื่องจากรู้สึกเจ็บ
แนวทางการรักษา
ถ้าอาการไม่รุนแรงเป็นเพียงกระดูกแขนเดาะ จะรักษาโดยการตรึงแขนให้แนบกับลำตัวเพื่อไม่ให้แขนเคลื่อนไหว 1-2 สัปดาห์
หากกระดูกแขนหักสมบูรณ์ จะรักษาโดยการจับแขนตรึงกับผนังทรวงอก ศอกงอ 90 องศา แขนส่วนล่างและมือทาบขวางลำตัวใช้ผ้าพันรอบแขนและลำตัวหรือใส่เฝือกอ่อนจากหัวไหล่ถึงสันหมัด
กระดูกต้นขาหัก
อาการและอาการแสดง
อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทารกคลอด
อาจไม่ทราบว่ากระดูกหักจนเวลาผ่านไปหลายวันจะพบว่าขาทารกมีอาการบวมเนื่องจากเลือดเข้าไปในกล้ามเนื้อใกล้เคียงบริเวณที่หัก
เมื่อจับทารกเคลื่อนไหวหรือถูกบริเวณที่กระดูกต้นขาหักทารกจะร้องไห้เพราะรู้สึกเจ็บ
แนวทางการรักษา
ถ้ากระดูกไม่หักแยกจากกัน (incomplete) รักษาโดยการใส่เฝือกขายาว ประมาณ 3 -4 สัปดาห์
ถ้ากระดูกหักแยกจากกัน (complete) รักษาโดยการห้อยขาทั้งสองข้างไว้กับราวที่ขวางปลายเตียง ขาเหยียดตรง ให้ก้นและสะโพกลอยจากพื้นเตียง ดึงขาไว้นาน 2-3 สัปดาห์
กระดูกไหปลาร้าหัก
อาการและอาการแสดง
ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหักน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
ทารกจะมีอาการหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อสัมผัสบริเวณที่กระดูกหัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจับใต้แขนยกตัวทารกขึ้น
อาจพบว่ามีอาการบวมห้อเลือด (ecchymosis) ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ปมประสาทใต้ไหปลาร้า (brachial plexus) ของทารกอาจได้รับอันตรายร่วมด้วย
บางรายหลังจากจำหน่ายทารกกลับบ้านไปแล้วหลายสัปดาห์ พบว่าอาจมีก้อนนูนที่ไหปลาร้าหรือคลำได้ก้อนแข็ง ซึ่งแสดงถึงการมีกระดูกเกิดขึ้นใหม่แทนที่กระดูกที่หัก
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่หายได้เองค่อนข้างเร็ว มักเกิดกระดูกงอกใหม่ภายใน 1 สัปดาห์
รักษาโดยให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกไหลปลาร้าหักอยู่นิ่ง ๆ โดยการกลัดแขนเสื้อติดกับตัวเสื้อประมาณ 10 – 14 วัน
บทบาทการพยาบาลทารกที่มีอาการบาดเจ็บของกระดูก
ดูแลไม่ให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหว และจัดให้บริเวณที่หักอยู่ในท่าที่ถูกต้องตามแผนการรักษา
จัดกิจกรรมการพยาบาลไม่ให้เคลื่อนไหวร่างกายทารกบ่อย ๆ เพื่อให้ส่วนที่เจ็บอยู่นิ่ง ส่งเสริมการหายและบรรเทาความเจ็บปวด
ดูแลให้ได้รับความสุขสบาย และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่ม
ดูแลให้ทารกได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ การที่ทารกถูกตรึงร่างกายไว้ตามแผนการรักษา
ดูแลความสุขสบายจากการขับถ่าย ป้องกันการระคายเคืองจากอุจจาระและปัสสาวะ
ดูแลให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจแก่ทารก
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
3) การบาดเจ็บของเส้นประสาท
การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า (facial nerve injury)
อาการและอาการแสดง
มีอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า
ทำให้หน้าเบี้ยวไปข้างที่ดี
รูปหน้าทั้ง 2 ด้านจะไม่เท่ากัน
ตาปิดไม่สนิท
มุมริมฝีปากล่างตก
ไม่มีรอยย่นที่หน้าผาก
แนวทางการรักษา
ปกติถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้า เพียงถูกกดอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน ถึงสัปดาห์
แต่ถ้าเส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
บทบาทการพยาบาล
ล้างตา หยอดตาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อบุตา ตาขาว และกระจกตาของทารกแห้ง
ดูแลให้ได้รับนมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและเฝ้าระวังการสาลัก เนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต
ดูแลให้ทารกได้รับการตอบสนองด้านจิตใจ
ดูแลบรรเทาความวิตกกังวลของมารดาและบิดา
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อการสูดสำลักเนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต
วัตถุประสงค์
ทารกไม่เกิดการสูดสำลักจากการที่กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต
เกณฑ์การประเมิน
ทารกดูดกลืนนมได้ตามปกติ ไม่มีอาการของการสูดสำลัก
กิจกรรมการพยาบาล
กรณีให้นมมารดา
มารดาควรอุ้มทารกให้ศีรษะสูงตลอดเวลาขณะให้นม
เมื่อทารกมีอาการสำลักให้รีบจับทารกตะแคงหน้าหนีทันทีเพื่อให้นมไหลออกจากปาก
รีบทำทางเดินหายใจให้โล่งโดยใช้ลูกสูบยางแดงดูดออก
กรณีให้นมผสม
การเลือกรูจุกนมต้องเลือกขนาดที่เหมาะสมกับทารกแรกเกิด ต้องไม่ใหญ่เกินไปที่จะทำให้ทารกไม่สามารถกลืนนมได้ทัน
ขณะให้นมทารกต้องอุ้มทารกให้ศีรษะสูง ถ้าทารกสูดสำลักต้องจับทารกตะแคงหน้าทันที และทำทางเดินหายใจให้โล่ง
เตรียมอุปกรณ์ช่วยดูดเสมหะให้พร้อมใช้เสมอ เพราะถ้าทารกเกิดอาการสำลักจะได้ช่วยเหลือได้ทัน ป้องกันการสำลักเข้าปอด
ถ้าทารกไม่สามารถดูดนมจากขวดได้เอง อาจใช้วิธีหยอดนมให้หรือใช้ syringe หยอดเข้าปากทารกบริเวณกระพุ้งแก้มข้างที่ไม่มีอาการ
สอนวิธีการให้นมทารกกับมารดาหรือผู้เลี้ยงดู รวมทั้งวิธีการช่วยเหลือเมื่อทารกมีอาการสูดสำลัก
การบาดเจ็บของเส้นประสาท Brachial
Erb-Duchenne paralysis
เป็นการบาดเจ็บที่เส้นประสาทจาก
กระดูกสันหลังระดับคอท่อนที่ 5-6 (c5-c6)
แขนข้างนั้นส่วนบนไม่ขยับ
แขนจะอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
บริเวณข้อมือยังขยับ
กำมือได้ตามปกติ
Klumpke’ s paralysis
เป็นการบาดเจ็บที่เส้นประสาทจาก
กระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 7-8 และเส้นประสาทเลี้ยงทรวงอกคู่ที่ 1(c7-c8 และ T1)
แขนข้างนั้นส่วนล่างไม่ขยับ
แขนอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
บริเวณข้อมือไม่ขยับ
กำมือไม่ได้
แนวทางการรักษา
ให้แขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว
ทำกายภาพบำบัด
ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
การพยาบาล
ดูแลให้ส่วนที่ได้รับอันตรายไม่เคลื่อนไหว โดยจัดแขนให้อยู่ในท่าตามแผนการรักษา ให้มืออยู่ในท่าหงาย ไม่อุ้มทารกลงจากเตียงบ่อย ๆ
ดูแลให้แขนที่ได้รับอันตรายได้ออกกาลังหลังจากการรักษาพยาบาลในช่วงแรกดีขึ้น และส่งกายภาพบำบัดโดยพยาบาลมีส่วนร่วม
ดูแลความสุขสบายและการผ่อนคลายให้ทารกที่ต้องตรึงแขนสำรวจมือ ปลายนิ้วเพื่อดูว่าเย็นซีดหรือไม่
ทำความสะอาดร่างกายด้วยความนุ่มนวล ถอดเสื้อจากแขนด้านดีก่อนและสวมเสื้อด้านที่เจ็บก่อน
ตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ควรเพิ่มความรักแตะต้องสัมผัสมากกว่าทารกปกติ
ช่วยให้มารดาและบิดามั่นใจในการดูแลทารก
ทารกน้ำหนักตัวผิดปกติ ความผิดปกติเกี่ยวกับอายุครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
ทารกคลอดก่อนกำหนด (Preterm baby) และน้ำหนักตัวน้อย (Low birth weight infant)
ความหมาย
ทารกที่เกิดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37
สัปดาห์เต็มหรือน้อยกว่า 259 วัน
มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม
ผลกระทบต่อทารก
ระบบทางเดินหายใจ
ปอดพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้เกิด RDS
ศูนย์ควบคุมการหายใจใน Medulla ยังเจริญไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อช่วยหายใจไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิด Periodic breathing
ระบบประสาท
hypothermia and hyperthermia
retinopathy of prematurity
intraventricular hemorrhage
ระบบหัวใจและระบบเลือด
patent ductus arteriosus
hyperbilirubinemia
ระบบทางเดินอาหารและภาวะโภชนาการ
necrotizing enterocolitis
malnutrition
ระบบเมตาบอลิซึมและต่อมไร้ท่อ
Hypoglycemia
Hypocalcemia
congenital hypothyroidism /cretinism
ระบบภูมิต้านทาน
sepsis
บทบาทการพยาบาล
ห่อตัวทารกและให้อยู่ใต้ radiant warmer 36.5-37 องศาเซลเซียส
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง ให้นอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งหรือนอนศีรษะสูง
ดูแลให้ได้รับนมมารดาหรือนมผสมตามแผนการรักษาที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ดูแลและแนะนำมารดาบิดาในการป้องกันการติดเชื้อ ทำความสะอาดร่างกายทำความสะอาดสะดือ ป้ายตาด้วยยาปฏิชีวนะ
ดูแลให้วิตามินเค 1 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่าย
ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่าอายุครรภ์ (Large for gestational age)
ความหมาย
ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า percentile ที่ 90
น้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 4,000 กรัมในทารกคลอดครบกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
คลอดยาก
Hypoglycemia ภายหลังคลอดจากไม่ได้รับน้ำตาลผ่านทางรก
Hyperbilirubinemia จากภาวะเลือดข้น
ภาวะเลือดข้น (Polycythemia)
ภาวะแคลเซียม แมกนีเซียมในเลือดต่ำ
ความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
ผนังกั้นหัวใจห้องล่างมีรูรั่ว หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบตัน
การพยาบาล
ดูแลให้ทารกได้รับนมมารดาภายหลังคลอด
ส่งเสริมให้ทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ติดตามผลระดับน้ำตาลในเลือด
เฝ้าระวัง สังเกตอาการทางคลินิกของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างใกล้ชิด ถ้าพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์
ทารกคลอดเกินกำหนด (Postterm baby)
ความหมาย
ทารกที่เกิดเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์
ลักษณะของทารกคลอดเกินกำหนด
มีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ จาก Uteroplacental insufficiency
สะสมไขมันใต้ผิวหนังลดลง มีการหลุดลอกของไข ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น
ผมและเล็บจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ
ผิวหนังแห้งแตก เหี่ยวย่น และหลุดลอก
มีขี้เทาเคลือบติดตามตัว
รูปร่างผอม มีลักษณะขาดสารอาหาร แต่ตื่นตัว (alert)
หน้าตาดูแก่กว่าเด็กทั่วไป
บทบาทการพยาบาล
ระยะรอคลอด ให้ติดตาม EFM ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้ องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในครรภ์มารดา และติดตามผลการประเมินปริมาณน้ำคร่ำด้วย U/S เพื่อประเมินภาวะน้ำคร่ำน้อย
ระยะคลอด ป้องกันการบาดเจ็บจากการคลอด จากทารกตัวใหญ่/การคลอดติดไหล่
ระยะหลังคลอด ดูดสิ่งคัดหลั่งจากปากและจมูกให้ดีเพื่อป้องกันการสูดสาลักขี้เทาในน้ำคร่ำ
ทารกที่มี APGAR score ปกติให้ดูแลเหมือนทารกแรกเกิดทั่วไป แต่ทารกที่มี APGAR score ต่ำ ดูแลให้เหมาะสมตามระดับของภาวะพร่องออกซิเจนแรกคลอด
ทารกแรกเกิดติดเชื้อ
กลุ่มมารดาที่มีโอกาสให้กำเนิดทารกที่มีการติดเชื้อ
มารดาที่มีประวัติการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะมีอาการไข้หรือออกผื่น
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดเป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติออกจากช่องคลอดในระยะก่อนคลอด
การติดเชื้อ
ระยะคลอด
เชื้อที่พบได้บ่อย ได้แก่ หนองใน เรม เอดส์ ตับอักเสบบี
ทารกจะได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่บริเวณช่องคลอดและเลือดของมารดา ทำให้ติดเชื้อได้
ระยะหลัวคลอด
ยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis), ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Neonatal sepsis), ปอดอักเสบ (Pneumonia)
ทารกแรกเกิดติดเชื้อ Treponema pallidum
ทำให้เกิดโรคซิฟิลิส
ช่วงอายุครรภ์ก่อน 16 สัปดาห์ รกจะช่วยป้องกันการติดเชื้อในทารกได้
ติดเชื้อภายหลัง 16 สัปดาห์ ทำให้ทารกเสี่ยงต่อภาวะ congenital syphilis
อาการและอาการแสดง
น้ำหนักตัวน้อย ดั้งจมูกแบน จมูกบี้ ตาอักเสบ
ตับม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว
ซีด ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอกเป็นขุย
ถ้าติดเชื้อรุนแรงทารกจะเสียชีวิตจากภาวะ Hydrop fetalis
แนวทางการรักษา
ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคซิฟิลิส พยาบาลจะต้องสังเกตภาวะ congenital syphilis
ส่ง cord blood for VDRL ติดตามผลเลือด
แยกทารกออกจากทารกคนอื่น ๆ
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา
ดูแลให้ยา Aqueous penicillin G 50,000 ยูนิต/กก.ทางหลอดเลือดดำ และให้Procaine penicillin G 50,000 ยูนิต/กก. ทางกล้ามเนื้อ
ดูแลให้ยา Benzathine penicillin G 50,000 ยูนิต/กก.
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง
หัดเยอรมันกับการตั้งครรภ์
เกิดจากเชื้อ Rubella Virus
ทารกสามารถติดต่อได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ผ่านทางรก
ส่งผลให้เกิด congenital rubella syndrome (CRS)
ความผิดปกติทางตา (ต้อกระจก ต้อหิน)
ความผิดปกติของหัวใจ เช่น PDA
ความบกพร่องทางการได้ยิน (หูหนวก)
สมองพิการและปัญญาอ่อน
ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์
เกร็ดเลือดต่ำ ซีด ตับม้ามโต
ความผิดปกติของโครโมโซม
แนวทางการรักษา
แยกจากทารกปกติ เพื่อสังเกตอาการ
และประเมินความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
เก็บเลือดทารกส่งตรวจเพื่อยืนยัน การติดเชื้อ
และตรวจร่างกายทารกอย่างละเอียด
โรคสุกใส (chickenpox)
เกิดจากเชื้อไวรัส varicella virus
ระยะติดต่อ : ตั้งแต่ 24 ชม.ก่อนผื่นขึ้นและ 6 วันหลัง ผื่นขึ้น
ถ้ามีการติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
ระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้
GA 6-12 wks. เกิดความผิดปกติของแขน ขามากที่สุด เช่น แขนขาลีบ
GA 16-20 wks. จะมีผลต่อการพัฒนาการทางสมอง และตา
ถ้าหญิงตั้งครรภ์เป็นสุกใสระยะก่อนคลอด 5 วัน หรือหลัง คลอด 2 วัน ทารกที่เกิดมาอาจเป็นสุกใสชนิดรุนแรงได้
แนวทางการรักษา
ถ้ามารดามีอาการขณะคลอด
มารดาและทารกควรได้รับการแยกกันดูแล
จนกระทั่งมารดามีการตกสะเก็ดของตุ่มสุกใสจนหมด
ทารกควรได้รับการแยกจากทารกที่คลอดจากมารดาปกติด้วย
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อสุกใสภายใน 5 วันก่อนคลอดหรือ 2 วันหลังคลอด
ควรได้รับ varicella-zoster immunoglobulin (VZIG) ทันทีหลังคลอด
มีบางรายงานแนะนำว่าควรให้ยา Acyclovir ร่วมกับ VZIG ในทารกแรกคลอด เนื่องจากได้ผลการรักษาดีกว่าการให้ VZIGเพียงตัวเดียว
ระหว่างอยู่ในครรภ์
กลุ่มเชื้อไวรัส คือ cytomegalovirus, หัดเยอรมัน
กลุ่มเชื้อปาราสิต คือ Toxoplasma gondii
กลุ่มเชื้อแบคทีเรีย คือ Group B streptococcus , Mycobacterium tuberculosis, Treponema pallidum
โรคหนองในแท้ (Gonorrhea)
เกิดจากเชื้อ Neisseria gonorrhea
ทารกจะได้รับเชื้อโดยตรงจากมีถุงน้ำคร่ำแตก หรือผ่านช่องทางคลอดที่ติดเชื้อพบในวันที่ 1-4 หลังคลอด
เชื้อจะเข้าสู่ตาทารกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ติดเชื้อบริเวณตาของทารก (gonococcal ophthalmia neonatorum) ทำให้ตาบอดได้
ป้องกันการติดเชื้อที่ตาโดยการป้ายตาหลังทารกคลอดทันที
0.5% erythromycin
1% tetracyclin oinment
หยอดตาด้วย 1% silver nitrate
แนวทางการรักษา
ดูแลให้ได้รับยา Cefixin 1 mg/kg ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อของทารกวันละ 1 ครั้งติดต่อกัน 7 วัน
ต้องเช็ดตาของทารกด้วย NSS หรือล้างตาทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าหนองจะแห้ง
โรคเริม
เกิดจากเชื้อ Herpes simplex virus
ทารกหลังคลอดอาจมีการติดเชื้อจากมารดา
อาการของทารก
ไข้ อ่อนเพลีย
การดูดนมไม่ดี
ตัวเหลือง ตับ ม้ามโต
ชัก
บางรายพบมีตุ่มน้ำพองใสเล็ก ๆ
ที่ผิวหนังตามร่างกาย
แนวทางการรักษา
แยกทารกออกจากทารกคนอื่นๆ และดูแลอย่างใกลชิด เพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม อย่างน้อย 7-10 วัน
ูแลให้ได้รับยา Acyclovir ตามแผนการรักษาในการติดเชื้อเริมจากการคลอดทางช่องคลอด
โรคเอดส์ (AIDS)
เกิดจากการติดเชื้อ HIV
การติดต่อจากมารดาไปสู่ทารก
ทางรก การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งจากมารดาขณะคลอด และหลังคลอด และการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
การให้ยาต้านไวรัสและการผ่าตัดคลอดก่อนการเจ็บครรภ์สามารถป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัส HIV จากมารดาสู่ทารกได้
แนวทางการรักษา
หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะอาหารทารกโดยไม่จำเป็น
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อจะต้องได้รับยา NVP ชนิดน้ำขนาด 6 มิลลิกรัมทันทีหรือภายใน 8 -12 ชั่วโมงหลังคลอดร่วมกับ AZT 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังจากนั้นจะให้ยา AZT ต่อทุก 2 ชั่วโมง
ตรวจหาการติดเช้ือเพื่อหา viral load ด้วยวิธี real time PCR assay ถ้าพบเชื้อ HIV-RNA ใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด แสดงว่าทารกติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์ ถ้าตรวจพบใน 6 สัปดาห์ แสดงว่าติดเชื้อในระยะคลอด
เมื่อทารกครบ 12 เดือน ควรตรวจหาภูมิต้านทานชนิด IgG และ IgM และควรตรวจอีกครั้งเมื่อ 18 เดือน
โรคตับอักเสบบี
เกิดจาก hepatitis B virus
เมื่อแรกคลอดดูดมูกและเลือดออกจากปากและจมูกของทารกออกมาให้มากที่สุด และทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ทารกดูดนมมารดาได้ทันทีหลังคลอดโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทารกได้รับวัคซีนก่อน แต่หากมารดามีหัวนมแตกให้งดให้บุตรดูดนมเพราะอาจแพร่การกระจายเชื้อสู่ทารกได้
ดูแลให้ทารกแรกเกิดได้รับ HBIG เข้ากล้ามเนื้อโดยเร็วที่สุดร่วมกับHBV เข็มที่ 1 เข้ากล้ามเนื้อโดยเร็วที่สุดภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด โดยฉีดคนละตำแหน่ง แล้วควรนัดให้มารับวัคซีน HBV ตามกำหนดเข็มที่ 2 ตอนอายุ 1 เดือน และให้วัคซีน DTP-HB ตอนอายุ 2, 4, 6 เดือน
แนะนำให้มารดาพาทารกมาตรวจเลือดตามนัดเมื่ออายุ 9-12 เดือน เพื่อตรวจหา HBsAg และ Anti-HBs
ถ้า HBsAg negative และ Anti-HBs positive ทารกไม่ติดเชื้อและมีภูมิคุ้มกัน
ถ้า HBsAg negative และ Anti-HBs negative ทารกไม่ติดเชื้อและไม่มีภูมิคุ้มกัน
แนะนำให้ฉีดวัคซีน HBV ซ้ำอีก 1 เข็ม และตรวจหา AntiHBs ซ้ำหลังได้รับวัคซีน 1-2 เดือน หากผลยังเจอระดับต่ำ ให้วัคซีน HBV ต่ออีก 2 เข็ม หลังได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม หากผล Anti-HBs ยังเป็น negative อีกให้นับว่าทารกดังกล่าวไม่ตอบสนองต่อวัคซีน
ถ้า HBsAg positive แสดงวา่ ทารกติดเชื้อ
ควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญดูแลรักษาดิดตามดูการทำงานของตับเป็นระยะ หากเริ่มมีภาวะตับอักเสบจึงเริ่มรักษาด้วยยาเพื่อลดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับในอนาคต
บทบาทการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อ
ประเมินสัญญาณชีพ เพื่อประเมินความรุนแรงของการติดเชื้อโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ ดูแลเช็ดตัวลดไข้ให้ พร้อมทั้งแนะนำมารดาบิดาและญาติในการเช็ดตัวทารก
ดูแลให้ได้ร้บนมมารดาและนน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อป้ องกันภาวะขาดน้ำ การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาสามารถทำได้ แต่ต้องดูแลเรื่องความสะอาด แนะนำให้ล้างมือก่อนสัมผัสทารก และป้องกันมิให้ทารกสัมผัสกับรอยโรค ยกเว้นในรายที่มารดาติดเชื้อ HIV จะต้องงดเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและให้นมผสมแทน
สังเกตอาการผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจและให้การช่วยเหลือเมื่อทารกมีภาวะหายใจลำบาก หรือขาดออกซิเจน
ดูแลและแนะนาเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของร่างกายทารก
แยกของใช้ของมารดากับทารกและมีการทำลายเชื้ออย่างเหมาะสม
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
แจ้งอาการและแนวทางการรักษาที่ทารกได้รับแก่มารดาบิดา
การพยาบาลทารกแรกเกิดผิดปกติ
ทารกที่มารดาติดยาเสพติด
ผลกระทบของสารเสพติดต่อทารก
ทารกเจริญเติบโตช้า
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์ หรือติดเชื้อตั้งแต่กำเนิด(congenital infection)
ทารกพิการแต่กำเนิด (congenital anomaly)
น้ำหนักแรกคลอดต่ำ (low birth weight)
ทารกแรกคลอดมีอาการของการขาดยา (neonatal
abstinence syndrome, NAS)
โอกาสเกิด sudden infant death syndrome (SIDS) สูง
ผลกระทบของเฮโรอีนต่อทารก
ทารกในครรภ์ขาดสารอาหารทุกชนิด
ทารกได้รับสารเสพติดติดต่อกันตลอดระยะของการตั้งครรภ์ เกิดการติดสารเสพติดขึ้น
ทารกแรกเกิดจึงมีอาการที่แสดงถึงการขาดสารเสพติดหรือที่เรียกว่า อาการถอนยา (withdrawal symptom)
ทารกมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ เนื่องจากเฮโรอีนยับยั้งการนำ O2 เข้าสู่เซลล์ร่วมกับหลอดเลือดสายสะดือมีการหดรัดตัว ทำให้คลอดออกมามีภาวะ RDS
ทารกคลอดก่อนกำหนด
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตล่าช้า
ผลกระทบของสุราต่อทารก
Fetal Alcohol Syndrome :FAS
มารดาที่ดื่มสุรา 6 แก้วต่อวันในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หรือ 3 ออนซ์ต่อวันตลอดการตั้งครรภ์
การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานไม่ดี
การกลืนมีปัญญา หลังดูดนมจะอาเจียน
ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ
มีลักษณะผิดรูปของใบหน้าชัดเจน ศีรษะเล็ก
spina bifida
แขนขาผิดปกติ อวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ
ริมฝีปากบางคล้ายปากปลา ขากรรไกรเล็กกว่าปกติ
เส้นลายมือมีเพียงเส้นเดียว ไม่สามารถกำมือแน่นๆได้ มีอาการสั่นในช่วง 1 เดือนแรกหลังคลอด
The Fetal alcohol Study Group
การเจริญเติบโตช้า ก่อนและหรือหลังคลอด
ความผิดปกติบริเวณใบหน้า เช่น ตาเล็ก ดั้งจมูกแบน จมูกสั้น ริมฝี ปากบนบาง หูต่ำ หรือระดับหูไม่เท่ากัน
ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ หัวเล็ก ปัญญาอ่อน neurobehavioral development ผิดปกติ เช่น hyperactivity
ต้องมีความผิดปกติอย่างน้อย 1 อย่าง ของแต่ละกลุ่ม ใน 3 กลุ่ม
ผลกระทบของการสูบบุหรี่ต่อทารก
เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนเรื้อรัง จากหลอดเลือดหดรัดตัวร่วมกับมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากขึ้น
การเจริญเติบโตช้า มีน้ำหนักน้อย
คลอดก่อนกำหนด และเกิดภาวะหายใจลำบาก
มีสติปัญญาต่ำ
ผลกระทบของ Nicotine
หลั่ง catecholamine มากขึ้น
ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง
uteroplacental blood flow ลดลง
หัวใจทารกเต้นผิดปกติ
ทารกได้รับสารอาหารน้อย
ทารกได้รับออกซิเจนน้อย
ผลกระทบของแอมเฟตามีน
น้ำหนักแรกเกิดน้อย
มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด
ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะสมองตาย ทำให้มีการทำลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็กซึ่งมีผลต่อสมาธิ ความจำ
เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาว
neonatal abstinence syndrome
(NAS)
อาการของ NAS
ทารกจะร้องเสียงแหลม
ไม่ยอมดูดนม
หายใจผิดปกติ sucking
swallowing เสียไป
การรักษา NAS
Phenobarbital 2 – 4 mg/kg ทุก 8 ชั่วโมง เป็นยาที่แนะนำให้ใช้
Methadone 1 – 2 mg วันละ 2 ครั้ง
Paregoric 0.1 – 0.5 mg/kg ทุก 4 ชั่วโมง
diazepam 1 – 2 mg วันละ 2 ครั้ง
แนวทางการรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง
ระวังภาวะขาดน้ำและอาหาร
จึงอาจพิจารณาให้นมผสมได้
การรักษาแบบจำเพาะ
การบรรเทาอาการขาดยา
ใช้ร่วมกับยาที่ทำให้ทารกสงบ
Phenobarbital,Chlorpromazine, Diazepam
บทบาทการพยาบาล
ประเมินอาการถอนยาของทารกแรกเกิด
จัดทารกให้อยู่ในที่สงบและห่อตัวทารกไว้หรืออุ้มทารก
ดูแลให้ทารกได้รับนมผสมตามความต้องการของร่างกาย /เปิดโอกาสให้มารดาที่สามารถเลิกสารเสพติดได้เลี้ยงบุตรด้วยตนเอง
รายงานอาการของทารกให้มารดาและบิดาทราบเป็นระยะ
ติดตามผลการรักษาในระยะยาวร่วมกับสหวิชาชีพ
ทารกขาดออกซิเจน (Birth Asphyxia)
การประเมินสภาพและการวินิจฉัยภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด
1.การซักประวัติ
1.1 การตั้งครรภ์ที่ทำให้เกิดการลดลงเรื้อรังของการแลกเปลี่ยนออกซิเจนระหว่างทารกและรก ได้แก่ Postterm, IUGR
1.2 การลดลงของออกซิเจนในมารดา ได้แก่ โรคหัวใจ โรคปอด ภาวะความผิดปกติของการหายใจ ภาวะพร่องออกซิเจนในมารดา
1.3 การลดลงของการไหลเวียนเลือดของมารดาหรือรก ได้แก่ PIH, ภาวะความดันโลหิตต่ำ , Tetanic contraction
1.4 การพร่องของการแลกเปลี่ยนเลือดและออกซิเจนระหว่างทารกและรกทันที เช่น รกลอกตัวก่อนกำหนดสายสะดือย้อย สายสะดือพันคอ
1.5 ประวัติการได้รับยาระงับความเจ็บปวดระหว่างคลอด เช่น pethidine
การตรวจร่างกาย ประเมิน APGAR score ได้คะแนนต่ำ ตรวจพบอาการแลาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
3.1 ค่า arterial blood gas จะพบว่าค่า PaCO2 สูง, ค่าPaO2 ต่ำ , ค่า pH และ HCO3 ต่ำ
3.2 ค่าระดับของน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
3.3 ค่าระดับ calcium ในเลือดต่ำกว่า 8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
3.4 ค่าระดับ potassium ในเลือดสูง
อาการและอาการแสดง
ทารกจะมีลักษณะเขียวแรกคลอด ไม่หายใจ
ตัวนิ่มอ่อนปวกเปียก reflex ลดลง หัวใจเต้นช้า
การประเมิน APGAR score พบว่ามีคะแนน < 8 คะแนนที่นาทีที่ 1 แบ่งความรุนแรง 3 ระดับ
APGAR score 5 – 7 (mild Asphyxia)
APGAR score 3 - 4 (moderate Asphyxia)
APGAR score 0 - 2 (severe Asphyxia)
แนวทางการช่วยเหลือทารก
No asphyxia
(APGAR score 8-10)
เช็ดตัวทารกให้แห้ง ห่อผ้าให้ความอบอุ่น หรือวางทารกใต้radiant warmer ที่อุ่น
clear airway โดยดูดสิ่งคัดหลั่งในปากและจมูก
Mild asphyxia (APGAR score 5-7)
เช็ดตัวทารกให้แห้ง
clear airway
กระตุ้นการหายใจด้วย ลูบหน้าอกหรือหลัง
ออกซิเจนที่ผ่านความชื้นและอุ่นผ่าน mask 5 LPM
Moderate asphyxia (APGAR score 3-4)
clear airway
ใช้ bag และ mask ให้ออกซิเจนร้อยละ 100 และความดันที่เพียงพอ
หลังช่วยเหลือ 30 วินาที HRไม่เพมิ่ หรือเต้นช้ากว่า 60 /min ควรใส่ท่อ endotracheal tube และนวดหัวใจ
Severe asphyxia (APGAR score 0-2)
clear airway
ช่วยหายใจทันทีที่คลอด โดยการใส่ endotracheal tube และช่วยหายใจด้วยbag ใช้ออกซิเจนร้อยละ 100 พร้อมกับนวดหัวใจในอัตราการนวดหัวใจ : การช่วยหายใจ 3 : 1
หลังช่วย 1 นาที ถ้า ไม่มี HR หรือหลังช่วย 2 นาที HR < 100 /min ควรได้รับการใส่ umbilical venous catheter เพื่อให้ยาช่วยฟื้นคืนชีพและสารน้ำ
ในรายที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง อาจทำให้ทารกมีภาวะชักได้ โดยภาวะชักนั้นจะปรากฎภายใน 24 ชม.แรกของชีวิต
ทารกที่เกิดภาวะชักจะต้องให้ยาระงับชักและสัง เกตการณ์กลับเป็นซ้ำ เนื่องจากทารกอาจชักต่อเนื่องจนถึงหลังคลอดประมาณ 8-10 วัน
การช่วยการหายใจ (Artificial Ventilation)
ข้อบ่งชี้การช่วยหายใจด้วยความดันบวก (positive pressure ventilation: PPV) ทันที
ทารกที่มี APGAR score เท่ากับหรือน้อยกว่า 4
เมื่อกระตุ้นการหายใจด้วย tactile stimuli ไม่ช่วยให้เกิดการหายใจเองได้
การหายใจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้การเต้นของหัวใจคงอยู่ในอัตราที่มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
การนวดหัวใจ (External Cardiac massage)
ข้อบ่งชี้
ทารกที่คลอดออกมาแล้วหัวใจไม่เต้นโดยที่ไม่ได้คาดหมายมาก่อน
ทารกที่อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที
ภายหลังจากการช่วยหายใจด้วย bag และ mask 30 วินาที แล้ว HR ไม่เพิ่มขึ้น
ทารกในกลุ่ม Severe asphyxia
การให้ยา epinephrine
ข้อบ่งชี้
ไม่มี HR หรือ HR < 60 /min ทำ PPV ด้วยออกซิเจน100 %
ร่วมกับการทำ chest compression แล้วเป็นเวลา 30 วินาที
ขนาดการให้
ให้ epinephrine (1:1,000) ผสมเป็น 1:10,000
โดยให้ 0.01-0.03 mg/kg (0.1-0.3 ml/kg) ทางumbilical venous catheter
หรือ 0.05-0.1 mg/kg (0.5-1 ml/kg) ทาง ET tube ทุก 3-5 นาที ถ้า HR < 60/min ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดีและออกฤทธิ์รวดเร็วมาก
ภาวะสูดสำลักขี้เทา
(Meconium Aspiration syndrome)
อาการและอาการแสดง
ขี้เทาจะไปอุดตามหลอดลมและถุงลมในปอดของทารก ทำให้ทารกหายใจเร็วกว่าปกติเล็กน้อย เป็นเวลา 2- 3 วันหลังคลอด หรือบางรายอาจหายใจเร็วมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที
ปลายมือปลายเท้าและรอบปากเขียว
หน้าอกโป่ง เวลาหายใจเข้าออกหน้าอกจะบุ๋ม
ฟังปอดพบเสียง rales และ rhonchi เสียงลมหายใจเข้าเบาลงเสี่ยงหัวใจค่อยลง เนื่องจากมีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax)
ภาพรังสีของปอดพบปอดทึบพบสารน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
สายสะดือมีสีเหลือง (yellowish staining)
ในรายที่อาการไม่รุนแรงอาการจะดีขึ้นภายใน 24-72 ชม.
ในรายที่รุนแรง อาจใช้เวลาถึง 1-2 สัปดาห์
ในรายที่สุดสำลักขี้เทาเข้าไปมากอาจเสียชีวิตทันทีหลังคลอดหรือภายใน 24 ชม.
แนวทางการรักษา
ดูดขี้เทาและน้ำคร่ำออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุดก่อนทารกหายใจ
หากมีขี้เทาในน้ำคร่ำ ประกอบกับทารกหายใจช้า ความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่ดี และ HR < 100 ครั้งต่อนาที พิจารณาใส่ ETT เพื่อดูดขี้เทาออก
ภายหลังการดูดขี้เทาในหลอดลม ควรใส่สายยางดูดขี้เทาจากกระเพาะอาหารด้วย
ในรายที่มี asphyxia โดยทeการดูดขี้เทาก่อนช่วยด้วยแรงดันบวก และดูดออกให้มากที่สุด
งดอาหารและน้ำทางปาก ดูแลให้ 10% Dextros in water ทางหลอดเลือดดำ
ตรวจ arterial blood gas เพื่อประเมินภาวะความเป็นกรดของเลือด
ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกาจัดเชื้อที่ปนเข้าไปกับขี้เทา
บทบาทการพยาบาล
จัดให้ทารกนอนตะแคงศีรษะต่ำเล็กน้อย หรือตะแคงหน้าไปด้านใด ด้านหนึ่ง
ให้ลูกสูบยางแดงหรือสาย suction ขนาดเล็ก ดูดขี้เทาและน้ำคร่ำจนกว่าจะหมด
กระตุ้นให้ร้องและดูแลให้ออกซิเจน
รักษาร่างกายทารกให้อบอุ่น โดยจัดให้นอนใน radiant warmer ที่อุณหภูมิ 36.5-37 องศาเซลเซียส
สังเกตอาการผิดปกติโดยเฉพาะการหายใจ มากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ให้รายงานแพทย์
บอกถึงอาการและความก้าวหน้าของการรักษาพยาบาลทารกให้มารดาและบิดาทราบ
นางสาววรรณภา ฤทธิ์ประเสริฐ
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 35
เลขที่ 81รหัสนักศึกษา 602701082