Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A Beautiful mind, นางสาววรระวี รักษากุล เลขที่ 69 ห้อง A รหัส 613601074 -…
A Beautiful mind
การรักษา
ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการหวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามจะมาทำร้าย อย่าพยายามอธิบายว่าไม่จริง จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่เข้าใจผู้ป่วย ควรรับฟังในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดโดยไม่เสริมในอาการหลงผิดของผู้ป่วยและแสดงความเห็นอกเห็นใจในความกลัวของผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยสงบลงได้
-
ถ้าพยาบาลพบผู้ป่วยที่กำลังแสดงอาการประสาทหลอน พยาบาลควรบอกสิ่งที่เป็นจริง
(Present reality)กับผู้ป่วยในขณะนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้ความจริงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
จัดหากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำโดยเฉพาะในเวลากลางวัน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยคิดมาก ฟุ้งซ่าน แต่ก็ไม่ต้องถึงกับบังคับ
มากเกินไป
พยาบาลต้องประเมินอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยว่าเกี่ยวขอ้งกับระบบรับสัมผัสใด ผู้ป่วยแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อการรับรู้นั้น ๆ และอาการประสาทหลอนเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเพื่อให้การพยาบาลที่ถูกต้อง
การทำจิตบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและปัญหาของตนเองมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะแยกแยะสิ่งที่เป็น
และไม่ใช่ความจริง
การรักษาด้วยไฟฟ้า หรือ Electroconvulsive Therapy หรือเรียกสั้นๆ ว่า ECT เป็นวิธีการรักษาโดยใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความเข้มข้นต่ำผ่านสมองเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดอาการชัก ซึ่งจะส่งผลให้อาการทางจิตดีขึ้น เปรียบเทียบง่ายๆ คือ การทำ ECT เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้สารสื่อนำประสาทภายในสมองที่หลั่งผิดปกติได้กลับมาทำงานโดยสม่ำเสมอ เมื่อสารสื่อนำประสาทหลั่งอย่างต่อเนื่องดีแล้วกระบวนการทำงานทางจิต รวมถึงสภาวะทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ ก็จะกลับสู่ภาวะปกติ
-
-
คาดการณ์โรคที่สนใจ
-
หลอน (Hallucination)
เป็นอาการทางประสาทที่ทำให้เห็นภาพ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น รับรู้รสชาติ หรือเกิดความรู้สึก ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
อาการ
ประสาทหลอนทางการได้กลิ่น (Olfactory Hallucination) ผู้ป่วยอาจจะคิดว่าสิ่งที่ตนเองกำลังได้กลิ่นเป็นกลิ่นที่มาจากบางสิ่งบางอย่างรอบ ๆ ตัว หรือเป็นกลิ่นที่มาจากตนเอง
ประสาทหลอนทางการรับรส (Gustatory Hallucination) ผู้ป่วยอาจได้รับรสชาติของอาหารที่แปลกไปหรือเป็นรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ และมักพบในผู้ป่วยโรคลมชัก
อาการหูแว่ว (Auditory Hallucination) ผู้ป่วยอาจได้ยินเสียงที่ดังมาจากจิตใจหรือดังมาจากภายนอก มักจะได้ยินเสียงคนกำลังพูดคุยกันหรือบอกให้ทำอะไรบางอย่าง ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีใครพูดอยู่ หรืออาจได้ยินเสียงอื่น ๆ
ประสาทหลอนทางการสัมผัส (Tactile Hallucination) ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหมือนถูกสัมผัสหรือมีบางสิ่งขยับอยู่ในร่างกาย
เห็นภาพหลอน (Visual Hallucination) ผู้ป่วยอาจเห็นภาพหรือเหตุการณ์ขึ้นมาเองโดยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง อาจเห็นเป็นวัตถุ รูปภาพ ผู้คน หรือแสง
สาเหตุ
โรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ไมเกรน โรคลมชัก และเนื้องอกในสมอง
การพักผ่อนไม่เพียงพอ การอดนอนหรือนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการหลอนได้ โดยเฉพาะไม่ได้นอนหลับติดต่อกันหลายวัน
โรคทางสุขภาพจิต (Mental Illnesses) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อย เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) อาการเพ้อ (Delirium)
-
ยารักษาโรคบางชนิด อาการหลอนอาจเกิดจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการ
การรักษา
ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น จอตาเสื่อม ต้อกระจก หรือต้อหิน ควรได้รับการรักษาโดยแพทย์ หรือผู้ป่วยที่มีเนื้องอกอาจได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือผ่าตัด
การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคแก่ผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไป ขึ้นกับตัวผู้ป่วยและลักษณะของโรค
การรักษาด้วยยา เช่น หากอาการหลอนเกิดขึ้นจากอาการถอนสุราที่รุนแรง แพทย์อาจให้ใช้ยาเพื่อชะลอระบบประสาท
โรคหลงผิด (Delusions)
คืออาการที่ผู้ป่วยมีความเชื่อหรือความคิดอย่างแรงกล้าว่าสิ่งๆ หนึ่งนั้นเป็นจริง และไม่สามารถลบความเชื่อนั้นออกไปจากความทรงจำ แม้จะพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริงก็ตาม
สาเหตุ
-
สภาพแวดล้อมและสภาพจิตใจ จากหลักฐานต่างๆ พบว่า ความเครียดอาจเหนี่ยวนำให้เกิดโรคหลงผิดได้ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติดก็น่าจะเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่นกัน นอกจากนี้ คนที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวแปลกแยก หรือคนที่มีความผิดปกติในการมองเห็นและการได้ยินก็มีแนวโน้มจะเกิดโรคหลงผิดได้สูงกว่าคนอื่นๆ
พันธุกรรม จากข้อเท็จจริงพบว่าโรคหลงผิดมักพบบ่อยกว่าในคนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ หรือเป็นโรคทางจิตเภทอยู่แล้ว
-
การรักษา
การใช้ยา
ส่วนใหญ่แพทย์มักใช้ยารักษาโรคจิตเภท (Antipsychotics) ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งโดพามีน (Dopamine) และ/หรือยับยั้งเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอาการ
การบำบัดทางจิต
มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถตระหนักถึงความเป็นจริงและกลับมามีความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมที่ถูกต้องได้ ซึ่งการเยียวยาต้องทำร่วมกันทั้งโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ครอบครัว และคนรอบข้างของผู้ป่วย
ประวัติผู้ป่วย
ประวัติการเจ็บป่วย
-
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล เขาเห็นกลุ่มคนสะกดรอยตามเขาไปถึงที่ทํางาน เขารู้สึกกลัวมากจึงวิ่งหนีจนกระทั่งถูกนําส่งโรงพยาบาล
พัฒนาการตามช่วงวัย
วัยรุ่น
หันมาสนใจทางด้านคณิตศาสตร์ ยังคงเป็นคนเก็บตัวและไม่มีเพื่อนสนิท เริ่มมีความคิดหมกมุ่นและมีพฤติกรรมแปลกๆเพิ่มมากขึ้นก็ตาม
วัยเด็ก
เป็นเด็กเรียนเก่ง ชอบทำอะไรด้วยตนเอง แต่เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิทและมักมีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน
-
กฏหมาย พรบ.ที่ควรมี
มาตรา ๑๘ : สาระสำคัญ
การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy, ECT) ให้กระทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องรับทราบถึงเหตุผลความจำเป็น ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน ประโยชน์ของการบำบัด แต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้าต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา ส่วนการให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต หรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
-