Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒ - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒
มาตรา๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒"
มาตรา๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา๓ ในพระราชบัญญัตินี้
"เด็กปฐมวัย" หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าหกปีบริบูรณ์ และให้หมายความรวมถึง เด็กซึ่งต้องได้รับการพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา
"การพัฒนาเด็กปฐมวัย" หมายความว่า การดูแล การพัฒนา และการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
"ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย" หมายความว่า บิดา มารดา ผุ้ปกครอง หรือผู้ซึ่งเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
"สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย" หมายความว่า ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการไรือเด้กซึ่งมีความต้องการพิเศษ สถานรับเลี้ยงเด็ก และสถานสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กซึ่งมีเด็กปฐมวัยอยู่ในความคุ้มครองดูแล หรือสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น รวมทั้งโรงเรียน ศูนย์การเรียน หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐหรือเอกชน และสถาบันศาสนา ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา๔ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด๑ บททั่วไป
มาตรา๕ การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มารดาได้รับการดูแลในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อให้บุตรที่อยู่ในครรภ์เพื่อให้บุตรที่อยู่ในครรภ์มีสุขภาวะและพัฒนาการที่ดี
(๒) ให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด
(๓) ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้อย่าต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้อย่างสอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุุคคลและความต้องการจำเป็นพิเศษ
(๔) สร้างคุณลักษณะให้เด็กปฐมวัยมีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(๕) บ่มเพาะเจตคติของเด็กปฐมวัยให้เคารพคุณค่าของบุคคลอื่น มีจิตวิญาณของการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเสมอภาค และมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
(๖) ให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา๖ ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้อง มีภารกิจร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีพัฒนาการเด็กปฐมวัย และดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจัดให้เด็กปฐมวัยซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยดังกล่าว
มาตรา๗ บิดา มารดา และผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้เด็กปฐมวัยซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการพัฒนาตามแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา๘ การจัดการเรียนรู้ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องเป็นไปเพื่อเตรียมความพร้อม ของเด็กปฐมวัย แต่ต้องไม่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสอบแข่งขันระหว่างเด็กปฐมวัย
หมวด๒ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา๙ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นายกสมาคมองคืการบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนแปดคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาพิเศษ ด้านการสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ และด้านสื่อสารมวลชน ด้านละหนึ่งคน และด้านการบริหารสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยจำนวนสองคน ซึ่งมาจากสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยภาครัฐหนึ่งคนและภาคเอกชนหนึ่งคน
ให้เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้แต่งตั้งข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๕ (๓) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
(๓) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่ง ที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงาน ของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่
มาตรา๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา๑๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๕ (๓) พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๐
(๔) ขาดประชุมคณะกรรมการสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
(๕) นายกรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือ หย่อนความสามารถ
มาตรา๑๓ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง และให้ผุ้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุมินั้นเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ โดยในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา๑๔ คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ และให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา เด็กปฐมวัย เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้นำไปปฏิบัติ
(๒) อนุมัติแผนงบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปีแบบบุรณาการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเด็กปฐมวัย
(๓) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรับมนตรีในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการจัดการศึกาา ของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาให้เชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
(๔) เสนอให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่จำเป็นเพื่อดำเนินการตามนดยบายระดับชาติ ด้านการพัมนาเด็กปฐมวัยและแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) บูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนื้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้เป้นไปตามนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๖) กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๗) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเด็กปฐมวัยเข้าศึกษาในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาเพื่อมิให้มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
(๘) กำหนดสมรรถนะและตัวชี้วัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๙) ติดตามและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๑๐) ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑๑) ส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและครูบาอาจารย์สามารถดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพตามหลักการและปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑๒) ประสานงานและให้ข้อมูลแก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือเด็กปฐมวัยซึ่งขาดแคลน ทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย
(๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นหน้าที่หรืออำนาจของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา๑๕ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยปีละสี่ครั้ง
มาตรา๑๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการเพื่อกำเนินงานตามที่คณะกรรมการมอบหมายให้
(๑) จัดทำแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ
(๒) กำหนดแนวทางบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งบูรณาการ การจัดบริการในแต่ละช่วงรอยต่อของเด็กปฐมวัย
(๓) จัดทำแผนงบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปีแบบบูรณาการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๔) กำหนดแนวทางการติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) จัดทำมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๖) จัดทำสมรรถนะและตัวชี้วัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
องค์ประกอบ จำนวน คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา๑๘ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม งานวิชาการ การศึกษาข้อมูลและกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ และมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยและแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๒) วิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการเพื่อผลักดันและสนับสนุนการนำนโยบายระดับชาติ ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยและแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนพิจารณาเสนอแนะ แนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการต่อคณะกรรมการ
(๓) จัดทำและพัฒนากลไกและระบบการประสานงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ตลอดจนร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยในการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายในระดับจังหวัดและระดับอำเภอเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๖)เสนอแนะแนวทางการจัดสรรและแสวงหาทรัพยากรเพื่ิอส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อคณะกรรมการ
(๗) จัดให้มีการศึกษาวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๘) สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กปฐมวัยเพื่อจัดทำฐานข้อมูล รวมทั้งติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และเผยแพร่ข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
(๙) จัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย และแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย
หมวด๓ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา๑๙ ให้คณะกรรมการเสนอแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
มาตรา๒๐ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรา ๑๔ ต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา การใช้บังคับแผน การบริหารและพัฒนาเด็กปฐมวัย วิธีปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระยะเวลา ในการดำเนินการให้ชัดเจน และอย่างน้อยต่องมีแนวทางการดำเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) แผนงานและโครงการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการใช้งบประมาณด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๒) การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๓) การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๔) การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมในครอบครัวและชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการล่วงละเมิด ไม่ว่าในทางใด
(๕) การจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความสามารถ ศักยภาพ และคุณธรรม
(๖) การจัดทำฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย
มาตรา๒๑ เมื่อไดมีการประกาศแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนพัมนาเด้กปฐมวัย จัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยและปฏิบัติการให้เป้นไปตามแผนดังกล่าว
มาตรา๒๒ ให้คณะกรรมการติดตามให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติการตามแผนพัมนาเด็กปฐมวัย หรือภาคเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ ตามแผนพัมนาเด้กปฐมวัย ปฏิบัติหรือดำเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย ในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติ หรือไม่ดำเนินการตามแผนดังกล่าว ให้คณะกรรมการแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืภาคเอกชน แล้วแต่กรณี แก้ไขหรือระงับยับยั้งการกระทำที่ไม่เป็นไปตามแผนพัฒนาเด้กปฐมวัย ภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว หากยังไม่มีการปฏิบัติหรือดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วน ให้คณะกรรมการมีหนังสือแจ้งผู้ซึ่งมีอำนาจกำกับดุแลทราบพร้อมด้วยเหตุผล เพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
หมวด๔ การพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา๒๓ ในการผลิตครูหรือพัฒนาครูด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้สถาบันอุดมศึกษา จัดให้มีการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักการและปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา๒๔ สถานพยาบาลของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขแก่หญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มีการให้บริการสุขภาพแก่ มารดา และบุตรอย่างทั่วถึง โดยให้บริการวางแผนครอบครัว การอนามัยเจริญพันธุ์ การฝากครรภ์ การเตรียมความพร้อมการเป็นบิดามารดา ตลอดจนให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การส่งเสริมโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการ และการส่งเสริมการให้นมมารดาแก่บุตรตั้งแต่แรกเกิดอย่างน้อยหกเดือน
มาตรา๒๕ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มีการอบรมเลี้ยงดูเพิ่มพูนประสบการณ์ ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้มีการส่งเสริมพัมนาการของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมในช่วงรอยต่อตั้งแต่ก่อนระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
มาตรา๒๖ หน่วยงานของรัฐ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัยให้ได้รับสวัสดิการและบริการด้านการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง
มาตรา๒๗ นอกจากการดำเนินการตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขจัดการศึกษา และจัดสวัสดิการและให้มีบริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัยต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความรู้ ส่งเสริมทักษะ และสร้างเสริมเจตคติที่ดีแก่ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและบุคคลอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง
(๒) จัดให้มีการคัดกรองที่เป็นระบบและได้มาตรฐานเพื่อค้นหาเด็กปฐมวัยที่พิการหรือมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญา หรือเด็กปฐมวัยที่ไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส หรือเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการการพัฒนาเป็นพิเศษอย่างทันท่วงที และจัดให้เด็กปฐมวัยเหล่านี้เข้าถึงสิทธิและได้รับโอกาสในการพัฒนาที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อและบริการ รวมทั้งความช่วยเหลืออื่นใดทางการพัฒนาและการศึกษาที่สอดคล้องเหมาะสมกับความจำเป็น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา๒๘ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน อาจดำเนินการแบบบูรณาการโดยจัดให้มีบริการสาธารณสุขจัดการศึกษา หรือจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัยในหน่วยงานเดียวกันได้
มาตรา๒๙ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการตามมาตรา๔ (๑) และ (๒) และให้เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๕ (๓) ทั้งนี้ ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา๓๐ ในวาระเริ่มแรก ให้สำนักงานงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้แก่สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๓๑ ในระหว่างที่คณะกรรมการยังมิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามมาตรา๒๗ (๒) ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิและได้รับโอกาสในการพัฒนาที่มีคุณภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ และบริการ รวมทั้งความช่วยเหลืออื่นใดทางการพัฒนาและการศึกษาที่สอดคล้องเหมาะสมกับความจำเป็นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาใช้บังคับไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการ จะได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัตินี้