Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนการพยาบาล ผู้ป่วยหญิงไทยโรคเส้นเลือดขอด - Coggle Diagram
การวางแผนการพยาบาล
ผู้ป่วยหญิงไทยโรคเส้นเลือดขอด
ปัญหาที่1
การรวบรวมข้อมูล
Subjective data
ผู้ป่วยบอกว่า “เป็นโรคเส้นเลือดขอดที่ขา มา 5 ปี”
รักษาโดยกินยา ปัจจุบันยังไปตรวจตามแพทย์นัดตลอด”
ผู้ป่วยบอก “ปวดขา บริเวณข้อพับ ข้อเท้า
และฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ปวดมากเวลานั่งห้อยขา”
ผู้ป่วยบอกว่า “มีอาชีพเป็นพนักงานโรงงานอาหารกระป๋อง
ทำงานต้องยืนเป็นเวลานาน 10 ชั่วโมง/วัน ทำงานมานาน 36 ปี”
Objective data
ผลตรวจร่างกาย บริเวณขาทั้งสองข้าง มีเส้นเลือดดำโป่งพองมองเห็นได้ชัดเจน
แพทย์สั่งให้ยา Daflon ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น
การวินิจฉัยการพยาบาล
ปวดเนื่องจากมีการอักเสบของเส้นเลือดขอดที่ขา
เกณฑ์ประเมินผล
ผู้ป่วยบอกปวดขาบริเวณข้อพับ ข้อเท้า และฝ่าเท้าน้อยลง
สีหน้าแจ่มใสขึ้น
ไม่แสดงอาการปวดเวลาเดินหรือนั่งห้อยขา
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
แนะนำตัวและสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยให้เกิดความไว้วางใจในการพูดคุยและให้คำแนะนำ
ประเมินอาการปวดของผู้ป่วย โดยสังเกตจากสีหน้า คำพูด
และท่าทางของผู้ป่วย เพื่อจะได้ให้การพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ให้การพยาบาลโดยการประคบร้อน เพื่อให้หลอดเลือดขยายตัว ร่วมกับจัดท่านอน
ยกขาขึ้นสูง เพื่อช่วยให้เลือดเทกลับลงสู่ระบบหลอดเลือดดำใหญ่ที่ต้นขาได้ง่ายขึ้น
ใช้ผ้ายืดที่ลักษณะเหมือนถุงเท้ารัดที่ขาท่อนล่าง เพื่อลดอาการปวด ไม่รัดให้แน่นจนเกินไป ผ้าที่ใช้เป็นผ้าฝ้าย สังเกต
ความอับชื้นของผ้าที่รัดอย่างสม่ำเสมอ ให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดจนเกินไป ให้เลือดไหลได้สะดวกมากขึ้น
ให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ยืนทำงานเป็นเวลานานๆ เพราะจะทำให้เกิดการคั่งของเลือดเพิ่มมากขึ้น
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
ผู้ป่วยบอกปวดขาบริเวณข้อพับ ข้อเท้า และฝ่าเท้าน้อยลง
สีหน้าแจ่มใสขึ้น
แสดงอาการปวดเวลาเดินหรือนั่งห้อยขาน้อยลง
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยบรรเทาอาการปวดบริเวณ ข้อพับข้อเท้า และฝ่าเท้าน้อยลง
ปัญหาที่2
การรวบรวมข้อมูล
Subjective data
ผู้ป่วยบอกว่า “ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาใดๆ เนื่องจากปวดขา”
Objective data
มีเส้นเลือดขอดที่ขาบริเวณน่องทั้งสองข้าง จับน่องขาพบว่าตึง บวม และเท้าบวม
การวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนเนื่องจาก
ภาวะโรคอ้วนและขาดการออกกำลังกาย
เกณฑ์ประเมินผล
ระยะสั้น
ผู้ป่วยรับฟังด้วยความสนใจและให้ความร่วมมือในการให้คำแนะนำ
ผู้ป่วยสาธิตวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองได้ครบทุกข้อ
ผู้ป่วยรับปากว่าจะออกกำลังกาย
ระยะยาว
ผู้ป่วยไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้น
ผู้ป่วยมีการออกกำลังกาย 3-5 วันต่อสัปดาห์
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่เกิดโรคแทรกซ้อนและปฏิบัติการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
ประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ประเมินความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายของผู้ป่วย เพื่อจะได้ให้คำแนะนำที่เหมาะสม
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อให้
ผู้ป่วยปฏิบัติตนได้อย่างถูกวิธี ดังนี้
ช่วงเวลาของการเริ่มออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายก่อน 5 นาทีแรกของการออกกำลังกาย หลังจากการออกกำลังกายควรใช้เวลา
5-10 นาที ที่จะผ่อนการออกกำลังกายต่าง ๆเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงจนเป็นปกติและให้กล้ามเนื้อคลายการทำงาน
ในการออกกำลังกายควรเลือกประเภทการออกกำลังกายที่ไม่มีแรงกระแทกที่รุนแรง เช่นการเดิน การปั่นจักรยาน การเต้นลีลาการว่ายน้ำ
หรือการเต้นแอโรบิค เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บทางระบบข้อต่อและกล้ามเนื้อ อุปกรณ์ที่ใช้อาจจะช่วยลดแรงกระแทกได้ เช่น รองเท้า เป็นต้น
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ ท่าทางหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตนเอง ไม่น้อย หรือไม่มากจนเกินไป เช่น
การเดิน เป็นเวลา 15-30 นาทีช่วยเรื่องระบบไหลเวียนต่างๆของร่างกายและช่วยให้เลือดบริเวณขาไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
การกระดกข้อเท้า ขึ้น-ลง ติดต่อกัน 20 ครั้งเพื่อการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
การกระดกข้อเท้าขึ้นและงอเข่าเต็มที่ จากนั้นเหยียดเขาออก พร้อมกับถีบปลายเท้าลง ทำติดต่อกัน 20 ครั้ง
การแกว่งแขนเป็นเวลา 15-30 นาที ช่วยพัฒนาระบบไหลเวียนของร่างกาย
แนะนำให้ผู้ป่วยมีการประเมินตนเองเกี่ยวกับน้ำหนักของตนเอง บอกถึงสาเหตุของความอ้วนว่าเกิดมาจาก การกินอาหารเข้าไปมากกว่าพลังงานที่ได้ใช้ออกมาในแต่ละวัน ทำให้พลังงานส่วนที่เหลือถูกเก็บสะสมไว้ในรูปแบบของไขมัน เมื่อมีปริมาณมากๆก็จะกลายเป็นโรคอ้วนได้ และแนะนำวิธีการควบคุมน้ำหนักให้แก่ผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวที่ลดลงเมื่อมีน้ำหนักตัวที่ลดลงแล้วจะช่วยให้มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลงและยังส่งผลให้ให้ความดันเลือดลดลง ช่วยลดการคั่งของเลือดได้ ดังนี้
ปรับพฤติกรรมการกิน ควรเลือกกินเนื้ออกไก่ เนื้อปลา ไข่ขาว เนื้อหมูไม่ติดมัน และงดกินเนื้อที่มีไขมันแทรก กินอาหารที่พลังงานต่ำ ได้แก่ อาหารต้มๆ นึ่งๆ
ผักสดต่างๆ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำผลไม้สดก็กินในปริมาณที่พอดี งดกินของมัน ของทอด ของขบเคี้ยว ขนมหวานต่างๆ นอกจากนี้ควรงดดื่มน้ำหวานและกาแฟ
หมั่นออกกำลังกายอย่างเป็นประจำตามที่แนะนำไว้ข้างต้น เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานมากขึ้น โดยควรออกกำลังกาย
อย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป และออกอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ จึงจะมีการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
ดื่มน้ำมากๆ เพราะจะช่วยบรรเทาความหิวและสร้างความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
ให้ความรู้เกี่ยวภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคอ้วนว่าเมื่ออ้วนแล้วจะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้แก่ ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง
ปวดตามกระดูกข้อต่อ ปวดหลัง ข้อเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักที่จะออกกำลังกาย
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
ผู้ป่วยรับฟังด้วยความสนใจและให้ความร่วมมือในการให้คำแนะนำ
ผู้ป่วยสาธิตวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองได้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ทุกข้อ เช่น การเดิน เป็นเวลา 15-30 นาที
ผู้ป่วยรับปากว่าจะออกกำลังกาย
ผู้ป่วยไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้น
ผู้ป่วยมีการออกกำลังกาย 3-5 วันต่อสัปดาห์
ปัญหาที่3
การรวบรวมข้อมูล
Objective data
มีเส้นเลือดขอดที่ขาบริเวณน่องทั้งสองข้าง
จับน่องขาพบว่าตึง บวม และเท้าบวม
Subjective data
ผู้ป่วยบอกว่า “ให้ลูกเหยียบขาและใช้ยาบีบนวด
เพื่อบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด”
การวินิจฉัยการพยาบาล
อาจปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง เนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคเส้นเลือดขอดที่ขา
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคเส้นเลือดขอดที่ขา
เกณฑ์ประเมินผล
ระยะสั้น
ผู้ป่วยรับฟังด้วยความสนใจและให้ความร่วมมือในการให้คำแนะนำ
ผู้ป่วยบอกวิธีการดูแลตนเองเมื่อเกิดเส้นเลือดขอดได้ครบทุกวิธี
ระยะยาว
น่องขาผู้ป่วยตึงและบวมลดลง เท้าผู้ป่วยไม่บวม ทั้งสองข้าง
ผู้ป่วยบอกปวดขา ข้อพับ ข้อเท้า และฝ่าเท้าลดลงทั้งสองข้าง
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติตนเมื่อป่วยเป็นโรคเส้นเลือดขอด
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลตนเอง
เมื่อเกิดโรคเส้นเลือดขอด ได้แก่
แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการยืนนานๆ ไม่นั่งไขว่ห้าง ในระหว่างการทำงานอาจหาเวลาในการนั่งพัก
หรือขณะยืนควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อขาหรือกระดกปลายเท้า เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี
แนะนำให้ผู้ป่วยยกเท้าสูง ประมาณ 12-15 เซนติเมตร หรือสูงกว่าระดับหัวใจเวลานอน
อาจใช้หมอนวางช่วยหนุนบริเวณขา เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจดีขึ้น
แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณขาดีขึ้น
แนะนำให้ผู้ป่วยลดน้ำหนักเพราะเมื่อน้ำหนักตัวลดลงก็จะทำให้ความดันเลือดลดลง ช่วยลดการคั่งของเลือดได้
แนะนำให้กินยาลดอาการเส้นเลือดขอดตามแผนการักษาของแพทย์ ได้แก่ ยา Daflon
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 เวลาหลังอาหาร เช้า-เย็น เพื่อบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
ผู้ป่วยรับฟังด้วยความสนใจและให้ความ
ร่วมมือในการให้คำแนะนำ
ผู้ป่วยบอกวิธีการดูแลตนเองเมื่อเกิด
เส้นเลือดขอดได้ครบทุกวิธี
น่องขาผู้ป่วยตึงและบวมลดลง
เท้าผู้ป่วยบวม เล็กน้อยทั้งสองข้าง
ปัญหาที่5
การรวบรวมข้อมูล
Subjective data
ผู้ป่วยบอกว่า “กินข้าววันละ 3 มื้อ มื้อละ 1 จาน
ชอบกินอาหารที่มีรสเปรี้ยว อาหารจำพวกยำต่างๆ”
การวินิจฉัยการพยาบาล
อาจเกิดโรคในระบบทางเดินอาหารเช่นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
เนื่องจากพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารเปรี้ยวๆและอาหารรสจัด
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม
เกณฑ์ประเมินผล
ระยะสั้น
ผู้ป่วยรับฟังด้วยความสนใจและให้
ความร่วมมือในการให้คำแนะนำ
ผู้ป่วยบอกวิธีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเองได้ถูกต้องครบทุกข้อ
ผู้ป่วยรับปากว่าจะรับประทานอาหารรสไม่จัด
ระยะยาว
ผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคระบบทางเดินอาหาร
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
ประเมินความรู้ทางโภชนาการของผู้ป่วยเกี่ยวการรับประทาน
อาหาร เพื่อเลือกการให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในระบบทางเดินอาหารที่อาจจะตามมาเมื่อรับประทานอาหารรสจัดวิธี เช่น
โรคแผลในกระเพาะอาหาร อาการท้องเสีย คลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง เป็นต้น
ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรุงอาหาร หรือการประกอบอาหารที่เหมาะสมไม่ปรุงรสจัดจนเกินไป เช่น
ในหนึ่งวันควรรับประทานปริมาณเกลือที่ใช้ในการประกอบอาหารไม่ควรเกิน 1 ช้อนชา
น้ำตาลไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา เป็นต้น แนะนำเมนูอาหารที่รสไม่จัดให้ผู้ป่วยเลือกรับประทาน เช่น ต้มจืดเต้าหู้หมูสับ
ผัดผัก ต้มจืดสาหร่าย เป็นต้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้เลือกรับประทานอาหารรสไม่จัดและเหมาะสมกับตนเอง
แนะนำวิธีการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและหลากหลาย โดยอาหารแต่ละมื้อต้องประกอบไปด้วย โปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว) คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน) เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (พืชผัก) วิตามิน (ผลไม้) ไขมัน (ไขมันจากพืชและสัตว์) โดยส่วนประกอบแต่ละอย่างต้องมีความหลากหลายไม่จำเจเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เช่น ควรรับประทานเนื้อสัตว์ที่มาจากหลายแหล่งเช่น เนื้อหมูในมื้อเช้า เนื้อไก่ในมื้อกลางวัน และอาหารทะเลในมื้อเย็น รับประทานผักหลากหลายชนิดไม่
จำเจ เพื่อให้ได้เกลือแร่ละวิตามินที่หลากหลาย เป็นต้น
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
ผู้ป่วยรับฟังด้วยความสนใจและให้ความร่วมมือในการให้คำแนะนำ
ผู้ป่วยรับปากว่าจะรับประทานอาหารรสไม่จัด
ผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคระบบทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยบอกวิธีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเองได้แต่ไม่สามาร
ปฏิบัติได้ทุกข้อ เช่น ภายในหนึ่งวันไม่ควรรับประทานน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา
ปัญหาที่4
การรวบรวมข้อมูล
Objective data
ในปากมีฟันผุ 1 ซี่ ผู้ป่วยไม่มีความรู้ในการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
Subjective data
ผู้ป่วยบอกว่า “กินข้าววันละ 3 มื้อ มื้อละ 1 จาน ชอบกินอาหาร
ที่มีรสเปรี้ยว อาหารจำพวกยำต่างๆ ไม่มีอาการปวดฟัน”
การวินิจฉัยการพยาบาล
อาจเกิดการปวดฟันและมีฟันผุเพิ่มเนื่องจาก ผู้ป่วยไม่มีความรู้
ในการดูแลสุขภาพช่องปากและชอบทานอาหารรสจัด
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
เกณฑ์การประเมินผล
ระยะสั้น
ผู้ป่วยรับฟังด้วยความสนใจและให้ความร่วมมือในการให้คำแนะนำ
ผู้ป่วยบอกวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากได้ถูกวิธี
ผู้ป่วยรับปากว่าจะดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
ระยะยาว
ผู้ป่วยไม่มีอาการปวดฟันหรือมีฟันผุเพิ่มขึ้นจากเดิม
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
ตรวจสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย ดูความผิดปกติต่างๆของช่องปาก เพื่อวางแผนในการให้คำแนะนำต่อไป
ประเมินความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย เพื่อจะได้ให้คำแนะนำที่เหมาะสม
ให้ผู้ป่วยพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและทำการรักษาฟันที่ผุ
ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากกับผู้ป่วย บอกวิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก ดังนี้
แนะนำให้ผู้ป่วยทานเปรี้ยวลดลง เพราะหากทานเปรี้ยวมากจนเกินไปอาจทำให้ผิวเคลือบฟันนั้นถูกกัดกร่อน ทำให้ฟันค่อย ๆ สึกทั้งด้านบนและด้านล่าง
แนะนำให้ผู้ป่วยแปรงฟันโดยการใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์วันละ 2 ครั้ง หรือมีการบ้วนปากหลังจากการรับประทานอาหารทุกมื้อเพื่อไม่ให้มีเศษอาหารติดอยู่ที่ฟัน
แนะนำวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถแปรงฟันได้อย่างสะอาด
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เพื่อช่วยในการสร้างเสริมกระดูกและฟัน
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
ผู้ป่วยรับฟังด้วยความสนใจและให้ความร่วมมือในการให้คำแนะนำ
ผู้ป่วยบอกวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากได้ถูกวิธีแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ทั้งหมด เช่น การให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจฟันในทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี
ผู้ป่วยรับปากว่าจะดูแลสุขภาพช่องปาก
ผู้ป่วยไม่มีอาการปวดฟันหรือมีฟันผุเพิ่มขึ้นจากเดิม
ปัญหาที่6
การรวบรวมข้อมูล
Subjective data
ผู้ป่วยบอกว่า “มีความกังวลเรื่องอาการป่วยกลัวว่าจะไม่หายจากการป่วย กังวลว่าจะต้องรักษาโรคเส้นเลือดขอดด้วยวิธีการผ่าตัดหรือไม่”
Objective data
สีหน้าวิตกกังวล คิ้วขมวดนิดๆ
การวินิจฉัยการพยาบาล
อาจเกิดความวิตกกังวลเนื่องจากกลัวว่าจะไม่หายจากการป่วย
และกลัวว่าจะต้องรักษาโรคเส้นเลือดขอดด้วยวิธีการผ่าตัด
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาโรคเส้นเลือดขอด
เกณฑ์ประเมินผล
ระยะสั้น
ผู้ป่วยบอกวิธีการ และขั้นตอนในการรักษาโรคเส้นเลือดขอดของตนเองได้ครบทุกขั้นตอน
ผู้ป่วยบอกวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดความกังวลได้ครบทุกข้อ
ระยะยาว
ผู้ป่วยมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ผ่อนคลาย อารมณ์ดี
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
ประเมินระดับความกังวลของผู้ป่วย จากสีหน้า ท่าทาง การแสดงออก
เพื่อจะได้ให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม
พูดคุยกับผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้เล่าถึงความกังวล สาเหตุของความกังวล
เพื่อให้ผู้ป่วยได้ระบายความกังวลใจ
ให้ความรู้เกี่ยวกับระดับความรุนแรงและขั้นตอนการรักษาโรคเส้นเลือดขอดที่มี
ความแตกต่างกันออกไปตามระดับอาการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทราบวิธีการรักษา
โรคเส้นเลือดขอดที่เหมาะสมกับอาการของตนเอง
ระยะที่ 1 ยังไม่รุนแรงทำการรักษาโดยใส่ถุงน่องเฉพาะโรคเพื่อประคับประคอง
และรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด
ระยะที่ 2 ฉีดยาเพื่อทำลายหลอดเลือด
ระยะที่ 3 ทำการรักษาโดยการผ่าตัด
ให้คำแนะนำในการผ่อนคลายความกังวลของผู้ป่วย
ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
การทำ ให้อารมณ์สดชื่นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ฟังเพลง
ดูหนัง ดูละคร ร้องเพลงที่ชอบ เป็นต้น
การทำให้จิตใจสงบสุข ด้วยการทำสมาธิ
สวดมนต์ เป็นต้น
การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ให้กำลังใจ
กับตนเองในการรักษา คิดในแง่บวก
การระบายอารมณ์ พูดคุยกับบุคลที่ไว้ใจเล่า
ถึงเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียด
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมายบางส่วน
ผู้ป่วยบอกวิธีการ และขั้นตอนในการรักษา
โรคเส้นเลือดขอดของตนเองได้ครบทุกขั้นตอน
ผู้ป่วยมีสีหน้ายิ้มและมีสีหน้าแจ่มใสขึ้นเล็กน้อย
ผู้ป่วยบอกวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดความกังวลได้แต่มาสามารถ
ปฏิบัติได้ครบทุกข้อ เช่น การนั่งสมาธิ การสวดมนต์ เป็นต้น