Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การลำเลียงสารเข้าและออกเชลล์ - Coggle Diagram
การลำเลียงสารเข้าและออกเชลล์
การลําเลียงสาร โดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
การลําเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยใช้พลังงานจากเซลล์ (Active transport)
การเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรืออิออนของสารจากบริเวณที่มีความหนาแน่นน้อยไปสู่บริเวณที่มีความหนาแน่นมากกว่าโดยอาศัยพลังงานในรูป ATP จากเซลล์และมีการใช้โปรตีนตัวพา กระบวนการนี้นับได้ว่ามีความสําคัญมากอย่างหนึ่งที่ ทําให้เซลล์สามารถรักษาสภาวะสมดุลอยู่ได้
การลําเลียงโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์และไม่ใช้พลังงานจากเซลล์ (Passive transport)
การแพร่ (Diffusion) คือ การเคลื่อนที่ของโมเลกุล หรืออิออนของสารโดยอาศัยพลังงานจลน์ใน โมเลกุลหรืออิออนของสารเอง ทิศทางการแพร่จะเกิดจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นตํ่าเสมอ
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่
1.สถานะของสาร โดยแก็สมีพลังงานจลน์สูงสุดจึงมีอัตราการแพร่สูงสุด
2.สถานะของตัวกลางที่สารจะแพร่ผ่าน โดยตัวกลางที่เป็นแก็สจะมีแรงต้านน้อยที่สุดจึงทำให้มีอัตราการแพร่สูงที่สุด
3.ขนาดอนุภาคของสาร โดยอนุภาคยิ่งเล็กยิ่งมีอัตราการแพร่สูง
4.ระยะทางที่สารจะแพร่ในหนึ่งหน่วยเวลา
5.อุณหภูมิ โดยจะมีผลต่อการเพิ่มพลังงานจลน์ให้กับสารทำให้มีอัตราการแพร่เพิ่มสูงขึ้น
6.ความดัน เมื่อความดันเพิ่มสูงขึ้นจะเพิ่มความหนาแน่นให้กับสาร ส่งผลให้มีอัตราการแพร่เพิ่มสูงขึ้น
7.ความแตกต่างของความเข้มข้นสารระหว่าง 2 บริเวณ
การออสโมซิส (Osmosis) คือ การเคลื่อนที่ของสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำ(น้ำมาก)ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูง(น้ำน้อย)
การออสโมซิสจะมีผลทำให้รูปร่างของเซลล์เปลี่ยนแปลง ดังนี้
Isotonic solution คือ ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์และภายนอกเซลล์เท่ากัน ทำให้เซลล์มีรูปร่างปกติ
Hypertonic solution คือความเข้มข้นของสารละลายภายนอกสูงกว่าภายในเซลล์ น้ำในเซลล์จึงออสโมซิสออกจากเซลล์ เซลล์จะมีสภาพเหี่ยว เรียกกระบวนการแพร่ของนํ้าออกมาจากไซโทพลาสซึมและมีผลทำให้เซลล์มีปริมาณเล็กลงนี้ว่า เอกโซสโมซิส (Exosmosis) หรือพลาสโมไลซิส (Plasmolysis)
Hypotonic solution คือความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์สูงกว่าภายนอกเซลล์ น้ำจึงออสโมซิสเข้ามาในเซลล์ทำให้เซลล์แตกหรือเซลล์เต่งในเซลล์พืช เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เอนโดสโมซิส (Endosmosis) หรือพลาสมอบไทซิส (Plasmoptysis)
การลําเลียงสารแบบไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์
การนําสารเข้าสู่ภายในเซลล์ (Endocytosis)
ฟาโกไซโตซิส(Phagocytosis หรือ Cell Eating)
พิโนไซโทซิส (Pinocytosis หรือ Cell Drinking)
การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ (Receptor-Mediated Endocytosis)
การเคลื่อนที่แบบเอกโซไซโทซิส (Exocytosis)
เป็นการเคลื่อนที่ของสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ออกจากเซลล์ โดยสารเหล่านั้นจะบรรจุอยู่ในเวสิเคิล
(Vesicle) จากนั้นเวสิเคิลจะค่อยๆ เคลื่อนเข้ามาเชื่อมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์ทำให้สารที่บรรจุอยู่ในเวสิเคิลถูกปล่อยออกสู่นอกเซลล์
เช่น การหลั่งเอนไซม์และฮอร์โมนต่างๆ