Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 จรรยาบรรณพยาบาล นาย พงศกร สมพร เลขที่ 61 6001211320 Sec.B -…
บทที่ 2 จรรยาบรรณพยาบาล
นาย พงศกร สมพร เลขที่ 61 6001211320 Sec.B
ความหมายของจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณพยาบาล (Code of Ethics in Nursing)
ประมวลกฎความประพฤติที่วิชาชีพพยาบาลกำหนด
เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับวิชาชีพพยาบาล
จรรยาบรรณวิชาชีพ (Professional Code of Ethics)
ประมวลความประพฤติ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพกำหนดขึ้น
อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ โดยจรรยาบรรณไม่ใช่กฎหมาย
มีผลต่อการยอมรับทางสังคมของวิชาชีพ และบุคคลทั่วไป
ความสำคัญของจรรยาบรรณ
ช่วยควบคุมมาตรฐานและประกันคุณภาพ
และปริมาณที่ถูกต้อง
ช่วยควบคุมจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ
และผู้ผลิต ผู้ค้า
เช่น ให้มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม
ช่วยส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพและปริมาณที่ดี
มีคุณค่าและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก
ช่วยส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ผลิต
เช่น ให้มีเมตตากรุณา ปรองดอง
ช่วยลดปัญหาอาชญากรรม ลดปัญหาคดโกง
เอารัดเอาเปรียบ ความใจแคบไม่ยอมเสียสละ
ช่วยเน้นให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในภาพพจน์ที่ดีของ
ผู้มีจริยธรรม
เช่น ในการเสียสละ ในการเห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตัว
ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิทางกฎหมาย
ความสำคัญของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการพยาบาล
ต่อการปฏิบัติงาน
เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพใช้กับการทำงาน
ของตน และการทำงานร่วมกันในกลุ่ม
เป็นแนวทางในการพัฒนาตนให้เป็นผู้มีพฤติกรรมบริการที่มีคุณภาพ และคาดหวังของสังคม
เป็นแนวทางในการตรวจสอบและกำกับพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบคุณภาพมาตรฐาน
ของผู้ประกอบวิชาชีพ
เป็นหลักฐานแสดงให้สังคมได้รับรู้ว่าวิชาชีพพยาบาล ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อ ผู้ใช้บริการ สังคม
ช่วยให้พยาบาลที่ประกอบวิชาชีพมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพไปในทิศทางเดียวกัน
คุณลักษณะเฉพาะของวิชาชีพการพยาบาล
เป็นการบริการแก่สังคม ช่วยเหลือ และสนับสนุนให้มนุษย์ดำรงรักษาสุขภาพอนามัยที่ดี
อาศัยทั้งหลักศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติงาน
เป็นการปฏิบัติต่อมนุษย์โดยตรง และเป็นการปฏิบัติต่อธรรมชาติของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน
โดยพื้นฐานความเข้าใจในลักษณะของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน
เป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้ป่วย ประชาชน ชุมชน
การเข้าไปสัมผัสรับรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ประสบการณ์ชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ
เพื่อให้เข้าถึงสิ่งเหล่านี้ และมีส่วนร่วมในการทำงาน ออกความเห็นและการตัดสินใจ
มีความเป็นอิสระควบคุมนโยบาย
และกิจกรรมการปฏิบัติของตนได้
มีองค์ความรู้ของวิชาชีพตนเอง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการวิจัยอย่างเป็นระบบ
ผู้ประกอบวิชาชีพยึดถือปฏิบัติการบริการด้วยจิตวิญญาณ ด้วยความเอื้ออาทร รับผิดชอบต่อ ตนเอง
มีจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นแนวทางการพิจารณาตัดสินใจและการปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ
มีองค์กรวิชาชีพที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและการประกอบวิชาชีพ
พฤติกรรมที่เกิดจากผลรวมของความสามารถ
ด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ ความชำนาญ แรงจูงใจ
สมรรถนะวิชาชีพพยาบาล
พฤติกรรมการแสดงออกถึงความสามารถของพยาบาล วิชาชีพที่เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ตลอดจนบุคลิก
จรรยาบรรณวิชาชีพของสภาการพยาบาลนานาชาติ (International Council of Nurses: ICN)
พยาบาลและประชาชน (Nurses and People)
1.1 ความรับผิดชอบของพยาบาลที่เป็นพื้นฐาน ของวิชาชีพ
ให้การพยาบาลประชาชนที่ ต้องการการดูแลทาง
การพยาบาล
ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน ค่านิยม วัฒนธรรม และความเชื่อทางจิตวิญญาณ
1.2 พยาบาลต้องมั่นใจว่าบุคคลได้รับข้อมูลที่ต้องให้การยินยอมเกี่ยวกับการดูแล
1.3 พยาบาลต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลและใช้วิจารณญาณในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้น
1.4 พยาบาลร่วมรับผิดชอบกับสังคมในการริเริ่มและสนับสนุนการสนองตอบความต้องการทางสุขภาพ
1.5 พยาบาลร่วมรับผิดชอบในการสร้างความยั่งยืนและปกป้องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
พยาบาลและการปฏิบัติ (Nurses and Practice)
2.1 พยาบาลเป็นผู้ที่มีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนตนในการปฏิบัติการพยาบาล
คงไว้ซึ่งสมรรถนะโดยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2.2 พยาบาลคงไว้ซึ่งมาตรฐานด้านสุขภาพส่วนบุคคล
ทำให้มีความสามารถในการให้
การดูแลได้
2.3 พยาบาลใช้วิจารณญาณในเรื่องสมรรถนะของปัจเจกบุคคล
เมื่อต้องยอมรับภาระหน้าที่ และกระทำภาระหน้าที่แทน
2.4 พยาบาลต้องคงไว้ซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติส่วนตัวที่สะท้อนถึงความเป็นวิชาชีพ
เพิ่ม ความน่าเชื่อถือของสาธารณะ
2.5 พยาบาลที่ให้การพยาบาลต้องมั่นใจว่าได้ใช้เทคโนโลยีและวิทยาการก้าวหน้า
่มีความ ปลอดภัย เคารพในศักดิ์ศรี และสิทธิของประชาชน
พยาบาลและวิชาชีพ (Nurses and the Profession)
3.1 พยาบาลมีข้อตกลงเกี่ยวกับบทบาทหลักในการพิจารณาและลงมือปฏิบัติที่มีมาตรฐาน
3.2 พยาบาลต้องมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาแก่นของความรู้ของวิชาชีพ
มีวิจัยเป็นฐาน
3.3 พยาบาลทำหน้าที่ตามองค์กรวิชาชีพ
มีส่วนร่วมในการสรรสร้างและคงไว้ซึ่งความ ปลอดภัย
การทำงานอย่างเท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจ
พยาบาลและผู้ร่วมงาน (Nurses and Co-workers)
4.1 พยาบาลมีการดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ในเชิงความร่วมมือกับผู้ร่วมงาน
ทั้งในการพยาบาลและกับสาขาอื่น
4.2 พยาบาลต้องมีกระทำที่เหมาะสมตลอดเวลาต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่กระทำโดยผู้ร่วมงานหรือบุคคลอื่น
จรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
เริ่มประกาศใช้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2528
โดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน
ประกอบวิชาชีพด้วยประกอบด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาค
ตามสิทธิมนุษย์ชน
โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพของบุคคล
ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ และการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ
เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้นั้น
หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่
พึงป้องกันภยันตรายอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ
พึงประกอบกิจแห่งวิชาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายอันยังประโยชน์แก่สาธารณชน
พึงรับผิดชอบร่วมกับประชาชนในการเริ่มสนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุข
พึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
พึงประกอบวิชาชีพโดยมุ่งส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ
พึงตระหนักและถือปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบตามหลักการแห่งวิชาชีพการพยาบาล
พัฒนาความรู้และวิธีปฏิบัติให้ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพ
พึงศรัทธาสนับสนุนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมแห่งวิชาชีพ
พึงสร้างและธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรม
ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
พึงเผยแพร่ชื่อเสียงและคุณค่าแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ปรากฏแก่สังคม
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพ
และผู้ประกอบการวิชาชีพอื่น
ให้เกียรติเคารพให้สิทธิและหน้าที่ของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้อื่น
เห็นคุณค่าและยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์สาขาต่างๆ
พึงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี กับผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอกวิชาชีพ
ยอมรับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และชักนำให้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ในทางที่ถูกที่ควร
พึงอำนวยความสะดวกให้ความร่วมมือแก่ผู้ร่วมงานในการปฏิบัติภารกิจอันชอบธรรม
ละเว้นการส่งเสริมหรือปกป้องผู้ประพฤติผิด
เพื่อผลประโยชน์แห่งตนหรือผู้กระทำการนั้นๆ
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง
ประพฤติตนและประกอบกิจแห่งวิชาชีพ โดยถูกต้องตามกฎหมาย
ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการประกอบกิจแห่งวิชาชีพและส่วนตัว
ใฝ่รู้พัฒนาแนวคิดให้กว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ประกอบกิจแห่งวิชาชีพด้วยความเต็มใจ และเต็มกำลังความสามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมีสติ รอบรู้ เชื่อมั่น
และมีวิจารณญาณอันรอบคอบ
จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปี พุทธศักราช 2546
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ข้อที่ 1 พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพ
พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพทั้งต่อปัจเจก บุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศ
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล
1.1 พยาบาลรับฟังปัญหาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพหรือแนะน าการปฏิบัติตัวของ ผู้รับบริการด้วยความเต็มใจ
1.2 พยาบาลให้ข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้รับบริการในการเลือกรับบริการทุกครั้ง
1.3 พยาบาลรักษาความลับเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคเป็นอย่างดี
1.4 พยาบาลเอาใจใส่และรับผิดชอบดูแลสุขภาพของผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ
1.5 พยาบาลให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยแก่ ผู้รับบริการอย่างเพียงพอต่อความเข้าใจ
1.6 พยาบาลสนับสนุนทุกวิถีทางเพื่อให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการรักษาผู้รับบริการ
1.7 พยาบาลอยู่เป็นเพื่อนและคอยป้องกันอันตรายขณะผู้รับบริการได้รับการตรวจรักษา
ข้อที่ 2 พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพ ดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดี และความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล
2.1 พยาบาลให้โอกาสผู้รับบริการระบายความคับข้องใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
2.2 พยาบาลสอบถามการตัดสินใจของผู้รับบริการก่อนทุกครั้งที่จะให้การพยาบาล
2.3 พยาบาลพูดคุยด้วยท่าทีที่นุ่มนวลและปลอบโยนให้กำลังใจอย่างสม่ำสมอ
2.4 พยาบาลให้คำตอบในข้อสงสัยแก่ผู้รับบริการด้วยข้อมูลที่เป็นความจริงอย่างครบถ้วนทุกครั้ง
2.5 พยาบาลมีความกระตือรือร้นในการให้การดูแลผู้รับบริการอย่างเต็มความสามารถ
ข้อที่ 3 พยาบาลมีปฏิสัมพันธทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ
ผู้ร่วมงาน และประชาชน ด้วยความ เคารพในศักดิ์ศรี
และสิทธิมนุษยชนของบุคคล
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล
3.1 พยาบาลแสดงการยอมรับและให้การสนับสนุนการทำกิจกรรมตามความเชื่อและ ค่านิยมส่วนตัวของผู้รับบริการ
3.2 พยาบาลสอบถามการตัดสินใจของผู้รับบริการก่อนทุกครั้งที่จะให้การพยาบาล
3.3 พยาบาลพูดคุยด้วยท่าทีที่นุ่มนวลและปลอบโยนให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ
3.4 พยาบาลมีความกลมเกลียวกันและแสดงท่าทีที่เป็นมิตรในการดูแลผู้รับบริการ
3.5 พยาบาลเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการและครอบครัวได้แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการ
รักษาพยาบาลอย่างเต็มที
ข้อที่ 4 พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์
ร่วมดำเนินการเพื่อช่วยให้ ประชาชนที่ต้องการบริการสุขภาพ ได้รับความช่วยเหลือดูแลอย่างทั่วถึง
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล
4.1 พยาบาลให้การดูแลเอาใจใส่ผู้รับบริการทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
4.2 พยาบาลอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการทุกคนอย่างทั่วถึงกัน
4.3 พยาบาลชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเจ็บป่วยให้ผู้รับบริการทราบโดยไม่ปิดบัง
4.4 พยาบาลแสดงความรับผิดชอบในการปกป้องผู้รับบริการให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม
4.5 พยาบาลช่วยให้ผู้รับบริการได้มีโอกาสพบแพทย์ผู้รักษาตามที่ต้องการ
4.6 พยาบาลแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาลที่ผู้รับบริการควรได้รับอย่างเพียงพอ
ข้อที่ 5 พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมีความเป็นเลิศ
โดยมีความรู้ในการกระทำ และสามารถอธิบายเหตุผลได้ในทุกกรณีพัฒนาความรู้ และประสบการณอย่างต่อเนื่อง
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล
5.1 พยาบาลทำให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจในบริการ
ที่ตนเองได้รับ
5.2 พยาบาลชี้แจงภาวะของโรคและอาการที่เกิดขึ้นจนผู้รับบริการเข้าใจได้ดี
5.3 พยาบาลทำให้ผู้รับบริการมั่นใจว่าได้รับบริการ ทุกอย่างที่มีประสิทธิภาพสูง
5.4 สถานพยาบาลมีความพร้อมทุกด้านในการให้การ
บริการ
5.5 พยาบาลทำการปรับปรุงนวัตกรรมการพยาบาลใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้กับผู้รับบริการ
5.6 จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ทางสุขภาพที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริการและครอบครัว
ข้อที่ 6 พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ใช้บริการ
โดยการร่วมมือประสานงาน อย่างต่อเนื่องกับผู้ร่วมงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับ
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล
6.1 ปฏิบัติการพยาบาลโดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตและความต้องการของผู้รับบริการเป็นสำคัญ
6.2 พยาบาลให้การช่วยเหลือผู้รับบริการทันทีที่
พบว่ามีปัญหา
6.3 พยาบาลคอยเฝ้าระวังเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงมิให้เกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ
6.4 พยาบาลทำการชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโรคให้ผู้รับบริการรับทราบอย่างเป็นระยะๆ
6.5 พยาบาลคอยระมัดระวังมิให้ผู้รับบริการได้รับความเจ็บปวดหรือรับอันตรายใดๆ ขณะรับการรักษา
ข้อที่ 7 พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพการพยาบาล
มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิต ประกอบวิชาชีพด้วยความมั่นคงในจรรยาบรรณ และเคารพต่อกฎหมาย
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล
7.1 พยาบาลปฏิบัติงานโดยยึดตามมาตรฐานวิชาชีพ อย่างเคร่งครัด
7.2 พยาบาลร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้า
ในสังคมอย่างมีเอกภาพ
7.3 พยาบาลร่วมมือกับผู้อื่นในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
7.4 พยาบาลให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
ข้อที่ 8 พยาบาลพึงรวมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล
ร่วมเป็นผู้นำทางการปฏิบัติการพยาบาลหรือทางการศึกษา ทางการวิจัยหรือทางการบริหาร โดยร่วมในการนำทิศทาง นโยบาย และแผนเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล
8.1 พยาบาลให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล โดยการเข้าร่วมกิจกรรมของ องค์กรวิชาชีพอย่างเข้มแข็ง
8.2 พยาบาลนำผลงานวิจัยหรือหลักฐานทางวิชาการมาใช้ปรับปรุงการปฏิบัติการพยาบาล
8.3 พยาบาลกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
8.4 พยาบาลพัฒนาตนเองในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมโดยการศึกษาต่อเนื่องและฝึกอบรม
8.5 พยาบาลรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้และศาสตร์ทางการพยาบาล
8.6 พยาบาลมีความพยายามในการสร้างองค์ความรู้ทางการพยาบาลและเผยแพร่สู่เพื่อนร่วม
วิชาชีพ
8.7 พยาบาลส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพสู่ประชาชน
ข้อที่ 9 พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น
เคารพตนเอง รักษาความ สมดุลมั่นคงของบุคลิกภาพ เคารพในคุณค่าของงาน และทำงานด้วยมาตรฐานสูง
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล
9.1 พยาบาลยึดกฎระเบียบอย่างเหมาะสมในการให้การบริการพยาบาลแก่ผู้รับบริการทุกคน
9.2 พยาบาลมีความชำนาญและแคล่วคล่องว่องไวในการปฏิบัติงาน
9.3 พยาบาลมีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือไว้วางใจจนผู้รับบริการสามารถเปิดเผยความลับได้
9.4 พยาบาลทำการประสานงานกับทีมสุขภาพเป็นอย่างดีเพื่อผลการรักษาของผู้รับบริการ
9.5 พยาบาลแสดงให้เห็นว่าได้ทำหน้าที่ในการดูแลผู้รับบริการอย่างเต็มความรู้ความสามารถ
9.6 พยาบาลทำให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าได้รับบริการที่ดีตรงตามความคาดหวังทุกประการ