Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure) ร่างกายมีความต้องการการใช้ออกซิเจน หากร่างกายไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ทันก็จะเกิดความเป็นกรดในร่างกายขึ้น เครื่องช่วยหายใจจะช่วยให้ผู้ป่วยมีการใช้ออกซิเจนที่ลดลง จากการลดการทํางานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ และทําให้มีการกระจายออกซิเจนเข้าสู่ในระบบทางเดินหายใจที่ดีขึ้น
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure) ผู้ป่วยที่มีภาวะล้มเหลวของการระบายอากาศ ปริมาณการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการระบายออกของระบบทางเดินหายใจ จึงเกิดภาวะของความเป็นกรดในเลือด (respiratory acidosis) จากการที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดที่มากกว่าปกติ
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue) เช่น ได้รับยาที่กดศูนย์หายใจ ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทส่วนปลาย รวมทั้งความผิดปกติของผนังทรวงอกและภาวะอ้วน
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ ในภาวะช็อกร่างกายมีความต้องการออกซิเจนปริมาณสูง ภาวะดังกล่าวทําให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ลดลง
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasive positive ventilator; NPPV
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ สามารถช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น แก้ไขภาวะกรดจากการหายใจ ลดอัตราการหายใจแต่จะควบคุมการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่ดีเท่าเครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
มี 2 แบบ คือ Continuous positive airway pressure (CPAP) และ Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP)
เหมาะสําหรับผู้ป่วยหายใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง สําหรับใช้ที่บ้าน หรือใช้ในเวลากลางคืนและใช้ในรายที่ถอดท่อช่วยหายใจ
Invasive positive ventilator; IPPV
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้มากที่สุดในภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นการอัดอากาศเข้าไปในปอดผ่านทาง endotracheal tube หรือ tracheostomy tube โดยใช้แรงดันบวก
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ (Mode of ventilator)
Control mandatory ventilation (CMV) หรือ Assist/control (A/C) ventilation
นิยมใช้ A/C ventilation คือ ผู้ป่วยเริ่มการหายใจเองแล้วเครื่องช่วยว่า assisted breath และเรียกการหายใจที่เครื่องจ่ายอากาศโดยผู้ป่วยไม่ได้เริ่มหายใจเองว่า mandatory breath หรือ control breath
2.Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
การหายใจที่ผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มการหายใจเอง รวมถึงเป็นผู้กําหนดระยะเวลาและปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าด้วยตนเองทั้งหมด
Continuous positive airway pressure (CPAP) เป็นวิธีการหายใจที่ให้แรงดันบวก (PEEP) ต่อเนื่องในระดับเดียวกันทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก มักใช้ในผู้ป่วย obstructive sleep apnea
Pressure support ventilator (PSV) เป็นวิธีการหายใจที่เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง เครื่องจะช่วยจ่ายก๊าซเพื่อให้ได้ระดับความดันตามที่ตั้งไว้ และจะหยุดจ่ายอากาศเมื่อผู้ป่วยไม่ต้องการแล้ว มักใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด การใช้เครื่องช่วยหายใจจะทําให้เลือดดําไหลกลับหัวใจลดลงเนื่องจากการมีแรงดันในช่องอกสูงขึ้นกว่าปกติทําให้เลือดดําจากอวัยวะในส่วนล่างของร่างกายกลับสู่หัวใจได้ลดลง แรงต้านการไหลกลับของเลือดดําสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาตรเลือดแดงที่ส่งออกจากหัวใจ (cardiac output) ลดลง
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป (Pulmonary volutrauma) มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคปอดอยู่เดิม การตั้งปริมาตรการหายใจ (Tidal volume) ที่สูงเกินไป ส่งผลต่อความดันคงค้างในถุงลมปอด (Peak airway pressure) มากกว่า 35 เซนติเมตรน้ำ ป้องกันได้โดยตั้งความดันสูงสุดไม่เกิน 35 เซนติเมตรน้ำและการตั้งค่า tidal volume ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ภาวะถุงลมปอดแตก (Pulmonary barotrauma) เป็นภาวะที่มีลมรั่วจากถุงลมเนื่องจากการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวก หรือการค้างความดันในช่วงหายใจออกให้เป็นบวก (PEEP) ซึ่งลมที่รั่วออกมาจะกระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย พบได้สูงในผู้ป่วยที่มีโรคปอดเดิม ป้องกันโดยจํากัดความดันสูงสุดในถุงลมปอดไม่เกิน 35 เซนติเมตรน้ำ
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication) โดยปกติการใส่ลมในกระเปาะลม (cuff inflation) ของท่อหลอดลมคอเพื่อป้องกันการสําลักน้ําลายหรือของเหลวจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอด ควรมีการวัดและบันทึกความดันในกระเปาะลมทุกเวร ไม่ให้เกิน 20-25 มิลลิเมตรปรอท หรือไม่เกิน 30-35 เซนติเมตรน้ำ
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis) มักพบภาวะปอดแฟบได้จากการตั้งปริมาตรการหายใจต่ำและไม่มีการตั้งถอนหายใจ (sigh) ให้ผู้ป่วย ดังนั้นควรช่วยหายใจด้วยมือ (manual hyperinflation) อาจทําหลังดูดเสมหะโดยบีบค้างไว้ประมาณ 5 วินาทีแล้วจึงปล่อยออก ทําติดต่อกัน 5 ครั้ง
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia; VAP)โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนานเกิน 48 ชั่วโมง เชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (gram negative)
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity) เกิดจากการได้รับความเข้มข้นของออกซิเจนมากกว่า 0.6 นานเกิน 24-48 ชั่วโมงขึ้นไป หรือความเข้มข้น 1.0 นานเกิน 24 ชั่วโมง จะทําให้มีการทําลายของเนื้อปอด ควรเลือกใช้ออกซิเจนที่ระดับต่ําสุดและเพียงพอที่จะแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนได้
ระบบทางเดินอาหาร พบได้บ่อย ได้แก่ การเกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนท้องอืด ภาวะเครียดหรือจากการกลืนอากาศเข้าไปขณะใส่ท่อหลอดลม อาจทําให้ผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนได้
ผลต่อภาวะโภชนาการ เนื่องจากผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ มีอาการไม่คงที่ จึงต้องงดน้ํางดอาหาร ทําให้ร่างกายต้องนํากลูโคสที่สะสมที่ตับมาใช้เพื่อนําไปใช้ในการสังเคราะห์น้ำตาลทําให้ผลเสียต่อการทํางานหลายระบบ รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกัน
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
ด้านจิตใจ
ประเมินภาวะวิตกกังวลและดูแลอย่างใกล้ชิด ประคับประคองด้านจิตใจโดยอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย วิธีการรักษาอย่างมีเหตุผล แจ้งให้ทราบทุกครั้งเมื่อต้องให้การพยาบาล ให้ความมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุด รวมทั้งการดูแลด้านจิตใจของครอบครัวและญาติของผู้ป่วยด้วย
ด้านร่างกาย
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน รายงานแพทย์ทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ สัญญาณชีพ ทุก 1 ชั่วโมง ระดับความรู้สึกตัว เสียงการหายใจที่เปลี่ยนแปลง
ดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย ตําแหน่งของท่อหลอดลมคอควรอยู่เหนือ Carina ประมาณ 1 นิ้วโดยตรวจสอบจากภาพเอกซเรย์ทรวงอก (CXR) และการฟังเสียงลมเข้าปอดซึ่งการฟังเสียงปอดทั้ง 2 ข้างในระดับเดียวกันควรเท่ากัน
การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โดยการดูดเสมหะเมื่อพบว่ามีปริมาณเสมหะมาก ดูดเสมหะด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ (sterile technique) ดูแลให้ความชื้นในทางเดินหายใจเพื่อป้องกันเสมหะเหนียวข้น
ดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแล Tubing system ของเครื่องช่วยหายใจให้เป็นระบบปิด ให้ตรึงอยู่กับที่ไม่ให้ดึงรั้ง และดูแลน้ํากลั่นในกระป๋องของเครื่องช่วยหายใจให้อยู่ในระดับที่กําหนดเสมอ
ป้องกันภาวะปอดแฟบได้โดยการทํา Deep lung inflating สําหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตร จะมีปุ่มสําหรับการตั้ง Sigh ได้ทุกระยะในแต่ละชั่วโมงของการใส่เครื่องช่วยหายใจ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สําคัญ เช่น Electrolyte imbalance ค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (ABGs) เพื่อประเมินภาวะความเป็นกรดด่างของร่างกาย และภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง
การใส่ลมในกระเปาะ ควรอยู่ระหว่าง 20-25 มิลลิเมตรปรอท หมั่นทําความสะอาดปากและฟันโดยการทํา mouth care และดูดเสมหะ (suction) ตามความเหมาะสม เปลี่ยน Oropharyngeal airway ทุกครั้งหลังทําความสะอาดช่องปาก
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
โรคหรือสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหายหรือทุเลาลง
มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ ค่า PaO2>60 มม.ปรอท FiO2 ไม่เกิน 0.4
ค่า PEEP น้อยกว่า 5 เซนติเมตรน้ํา
ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทําตามคําสั่ง สามารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
สัญญาณชีพปกติ อุณหภูมิ<38 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของหัวใจ <100 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ< 30 ครั้ง/นาทีระดับความดันซิสโตลิก 90-160 มม.ปรอท
ค่า Spontaneous tidal volume เมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว มากกว่า 5 มิลลิลิตรต่อน้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม
ความสามารถในการหายใจเองของผู้ป่วย คํานวณได้จากอัตราการหายใจครั้ง/นาที หารด้วยค่า Spontaneous tidal volume หน่วยเป็นลิตร เรียกว่า Rapid shallow breathing index หรือ Rate Volume Ratio (RVR) <105 จึงจะมีโอกาสเอาเครื่องช่วยหายใจออกได้
ใช้ยาระงับประสาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการควบคุมความกระวนกระวายของผู้ป่วย
ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจหรือหลอดเลือด ถ้ามีต้องอยู่ในระดับต่ําหรือมีแนวโน้มว่าจะลดลงได้เรื่อย ๆ
ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ควรเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆ เพื่อลดความกลัว ให้ผู้ป่วยร่วมมือและให้กําลังใจผู้ป่วย
ดูดเสมหะในปากและท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
จัดท่าของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือท่านั่ง
วัดสัญญาณชีพและความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว (Oxygen saturation) ก่อน ขณะการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทุก 5-10 นาที
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจน SpO2 >90% อัตราการเต้นของหัวใจ<120ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ < 30ครั้ง/นาที SBP 90-160 mmHg EKG ไม่เปลี่ยนแปลง
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจโดย T piece 10 ลิตร/นาที ต่อไปได้ ให้ต่อท่อช่วยหายใจเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ setting ก่อนหน้าที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่และเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยหายใจเองทาง T piece หรือหายใจเองสลับกับเครื่องช่วยหายใจเป็นพักๆ โดยให้ผู้ป่วยหายใจผ่าน T piece ที่ต่อกับ collugated tube โดยเริ่มให้ออกซิเจน 10 ลิตรต่อนาที ใช้เวลาประมาณ 1⁄2-2 ชั่วโมง หากผู้ป่วยไม่มีข้อบ่งชี้ในการใช้เครื่องช่วยหายใจและไม่มีความจําเป็นในการใช้ท่อช่วยหายใจก็สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้
2.การใช้เครื่องช่วยหายใจ mode SIMV,PSV,CPAP
SIMV หย่าเครื่องช่วยหายใจโดยเครื่องค่อยๆ ลดการช่วยเหลือจากเครื่องโดยการตั้งค่าการหายใจของเครื่องให้ต่ํากว่าการหายใจของผู้ป่วย
PSV เครื่องจะปล่อยแรงดันในช่วงที่ผู้ป่วยหายใจเข้าด้วยตนเองจึงทําให้ผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงมาก ถ้าผู้ป่วยมีอาการดีเครื่องจะลดระดับความดันครั้งละ 2-4 เซนติเมตรน้ํา ลดได้ทุก 1- 2 ชั่วโมง เมื่อลดจนระดับความดันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5-7 เซนติเมตรน้ํา ได้นาน 1-2 ชั่วโมงก็พิจารณาการถอดท่อช่วยหายใจได้
CPAP เป็นการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยเครื่องช่วยหายใจปล่อยแรงดันบวกเข้าปอดตลอดเวลา
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง (arterial line)
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ ใช้ sterile technique ควรพิจารณาถอดสายออกทันที เมื่อมีอาการของการติดเชื้อ
การเกิดเนื้อตาย จากการเกิด thrombosis
Air embolization จากการแทง axillary artery cannulation
ภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ ในรายที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลง
การป้องกันการติดเชื้อ
ใช้ sterile technique ในทุกขั้นตอนของการเตรียมและการวัด
หลีกเลี่ยงการปลดสาย ข้อต่อต่างๆ ดูแลให้เป็นระบบปิด
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อได้แก่ ปวด บวม แดง ร้อน ไข้ มีหนอง หรือ discharge
ทําแผลทุก 7 วัน (transparent dressing) หรือเปลี่ยนผ้าปิดแผลทุก 2 วัน (gauze dressing)
เปลี่ยนชุดของ transducer และชุดการให้สารน้ําทุก 3 วัน
เมื่อเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย ไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศค้างในสาย
ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ ให้แน่นอย่างสม่ําเสมอ ป้องกันการหัก งอ ของสาย
ป้องกันการเลื่อนหลุด ควร immobilized arm ใช้ arm broad ที่เหมาะสม บริเวณ insert site ต้องสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลา
ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน (damped waveform) และบันทึกตําแหน่งของสายยาง หากพบควรดูดลิ่มเลือดหรือฟองอากาศออกและรายงานแพทย์
จดบันทึกค่า Arterial blood pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาที
เมื่อถอดสายยางออกแล้วควรกดตําแหน่งแผลไว้นาน อย่างน้อย 10 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุด
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน พยาบาลควรระมัดระวังสายขณะเคลื่อนย้ายและขณะทําแผล ดูแลไม่ให้เกิดการดึงรั้ง และตรวจสอบผ้าปิดแผลติดกับผิวหนังให้แน่น
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด
พิจารณาความจําเป็นในการคาสายสวนหลอดเลือดดํา และพิจารณาถอดออกให้เร็วที่สุด
ประเมินแผลบริเวณรอบ ๆที่คาสายสวนหลอดเลือดดําทุกเวรและทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าปิดแผลสังเกตอาการอักเสบบวม แดง หรือมีการรั่วของสารน้ํารอบ ๆ แผลสายสวน
ทําความสะอาดแผลด้วย 2% Chlorhexidine in 70% Alcohol
ทําแผลทุก 7 วัน (transparent dressing) หรือเปลี่ยนผ้าปิดแผลทุก 2 วัน (gauze dressing)
สวมปิดบริเวณข้อต่อด้วย needleless connector หรือจุกปิด (stopcock) เปลี่ยนเมื่อ needleless connector สกปรก บริเวณรอยต่อทําความสะอาดด้วย 2% Chlorhexidine in 70%
เปลี่ยนชุดสารน้ำ ชุดข้อต่อที่ใช้ร่วม ควรเปลี่ยนภายใน 72 ชั่วโมง ชุดให้สารอาหารทางหลอดเลือดดําชนิดที่เป็นไขมันแบบ emulsions ควรเปลี่ยนภายใน 24 ชั่วโมง
เฝ้าระวังและดูแลระบบการให้สารน้ําต้องเป็นระบบปิดตลอดเวลา
ป้องกันการอุดตันของสายสวน
ควรตรวจสอบตําแหน่งสายและทดสอบสายก่อนใช้งานทุกครั้ง ดูแลสายสวนทางหลอดเลือดดํา ไม่ให้หักพับงอ
การให้ยาหรือสารละลาย ต่างชนิดควรใช้ NSS flush คั่นก่อน ควรแยกสายสําหรับให้สารอาหารหรือตรวจสอบชนิดยาที่อาจตกตะกอนหากให้ร่วมกันในสาย ภายหลังใช้งานแล้วใช้ push โดยใช้ NSS 10 ซีซี
ป้องกันฟองอากาศเข้าสู่หลอดเลือดในขณะวัด CVP หรือเปลี่ยนชุดให้สายน้ําและก่อนฉีดยาทางสายสวน ต้องไล่ฟองอากาศทุกครั้ง
ตรวจสอบความแม่นยําของการปรับเทียบค่า
Levelling the transducer จัดตําแหน่ง transducer ให้อยู่ในตําแหน่ง phlebostatic axis
Zeroing the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0) ควร set zeroเครื่องทุก 8 ชั่วโมง
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Epinephrine หรือ adrenaline 1 mg/ ml/ ampule (1: 1,000) ประเมิน BP และ HR ทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2 ครั้ง เมื่อเริ่มให้ยา
ปรับขนาดยาตามแผนการรักษา
Amiodarone (Cordarone®) ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะ BP HR และ monitor EKG ทุก 15 นาที x 3 ครั้ง หลัง loading dose รายงานแพทย์เมื่อ BP < 90/60 mmHg, HR < 60 BPM
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine ระวังการให้ขนาดที่ต่ำกว่า 0.5 mg ยาขนาดต่ำมีผลกระตุ้น central หรือ peripheral parasympathetic ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG HR และฺ BP ไม่ควรให้ถ้า HR > 60 ครั้ง/นาที
รายงานแพทย์เมื่อ HR > 120 ครั้ง/นาที โดยให้ monitor HR ทุก 5 นาที
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine ยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว (10 วินาที) และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องฉีดเร็วๆ บริเวณ upper extremities และ flush NSS ตาม 20 ml ด้วยวิธี double syringe technique ถ้าฉีดยาช้าเกินไปยาจะถูกทําลายหมดก่อนถึงหัวใจ
Digoxin (Lanoxin ®) ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา และหลังให้ยาทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2 ครั้ง ต่อไปทุก 30 นาที ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชั่วโมงจนครบ 6 ชั่วโมง monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง หรือในผู้ป่วยที่มีลักษณะการเต้นของหัวใจผิดปกติ รายงานแพทย์เมื่อ HR < 60 ครั้ง/นาที หรือ >100 ครั้ง/นาที BP < 90/60 mmHg RR < 14 ครั้ง/นาที หรือพบ Arrhythmia
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
Dopamine (Inopin®) และ Dobutamine ตําแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดําเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการไหลของยาโดยใช้ Infusion pump ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากพบรอยแดง บวมให้เปลี่ยนตําแหน่งใหม่ทันที ประเมิน HR และ BP monitor ECG urine out put อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชม.
Norepinephrine (Levophed®) กลุ่ม Adrenergic agonist ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะ BP HR และ monitor ECG อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชั่วโมง ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากผสมยาความเข้มข้นเกินกว่า 4 mg/D5W 250ml ควรให้ทาง central line
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
Nicardipine ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะ BP HR และ monitor ECG อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชั่วโมง Emergency ให้ยาทาง IV bolus ติดตามทุก 5 นาที จน BP, HR ได้ระดับที่ต้องการ จากนั้นติดตามทุก 15 นาที กรณีให้ IV drip ติดตามทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก จากนั้น ทุก 1 ชั่วโมงขณะให้ยา รายงานแพทย์ทันทีถ้า BP < 90/60 mmHg หรือ HR< 60 ครั้ง/นาทีหรือ HR > 120 ครั้ง/นาที
Sodium Nitroprusside ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะ BP ทุก 5 นาทีหลังให้ยา และติดตามทุก 1 ชั่วโมง เพื่อพิจารณาตามอาการของผู้ป่วย ป้องกันยาในขวดน้ําเกลือทําปฏิกิริยากับแสงด้วยกระดาษ ผ้า หรือ aluminum foil ให้สังเกตว่าสีของยาจะเปลี่ยนไปหากทําปฏิกิริยากับแสง
Nitroglycerin (NTG) ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ยามีผลทําให้ความดันโลหิตต่ํา monitor EKG ยาทําให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)