Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้น A beautiful mind - Coggle Diagram
ภาพยนต์สั้น A beautiful mind
ประวัติทั่วไป
สัมพันธภาพในครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัวเงียบ
ผู้ป่วยมีความคิดหมกหมุ่นเกือบที่จะทำร้ายภรรยาและลูก
ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกไม่อยากทีเพศสัมพันธ์กับภรรยา
ผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมแปลกๆ
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยชื่อ นายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์(Mr.Forbes Nash,Jr.)
อายุ 24 ปี
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
มีภรรยาชื่อ อลิเซียและมีลูกด้วยกัน 1 คน
มีน้องสาว 1 คน
พัฒนาการตามช่วงวัย
ในวัยเด็ก
ชอบเก็บตัว
ไม่มีเพื่อนสนิทและมักมีปัญหาการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน
เรียนเก่ง
ไม่ชอบกิจกรรมนันทนาการแต่มีความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์และการทำทดลองด้วยตนเองตั้งแต่อายุ12 ปี
ช่วงวัยรุ่น
หันมาสนใจทางคณิคศาสตร์และมุ่งมั่นในการเรียน
เริ่มมีบุคคลิกที่แตกต่างจากผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อเริ่มทำงาน: ชาร์ลอยู่กับเขาตลอดและเป็นเพียงคนเดียวที่คุยกับเขา
เรียนปริญญาเอก
มีความโดดเด่นทางด้านการเรียนในระดับอัจริยะ
เริ่มมีความหมกมุ่นและมีพฤติกรรมแปลกเพิ่มมากขึ้น
พบว่าชาร์ลเริ่มมีบทบาทในชีวิตของเขามากขึ้น
สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม
สารสื่อประสาทในสมอง
ด้านครอบครัว
ครอบครัวตำหนิ
สภาพครอบครัวไม่เหมาะสมในการแก้ไขให้ดีขึ้น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมรอตัว
เป็นคนเก็บตัวไม่มีเพื่อนสนิท
ไม่มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ด้านจิตใจ
มีความขัดแย้งภายในใจ
เกิดความเครียด
ความสามารถในการปรับตัว
ประสบการณ์ในอดีต
โดนเพื่อนแกล้งเป็นประจำ
อาการและอาการแสดง
หวาดระแวง
คิดว่าจะมีคนทำร้าย
คิดว่ามีคนสะกดรอยตาม
ประสาทหลอน
หูแว่ว ได้ยินเสียงคนสั่งให้ทำตาม
คิดว่ามีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา
คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย
ควบคุมตนเองไม่ได้
ทำร้ายตนเอง
ทำร้ายบุคคลรอบตัว
ไม่ชอบเข้าสังคม
ไม่มีเพื่อน
ชอบอยู่คนเดียว
ด้านพฤติกรรม
เดินหลังค่อม
มองซ้าย ขวา ตลอดเวลา
กระสับกระส่ายเดินไปมา
พยายามโต้ตอบกับใครบางคน
เฉยเมย รับความรู้สึก
การรักษา
การรักษาด้วยยา
ยารับประทาน
ยาฉีด
บำบัดด้วยการใช้ไฟฟ้า
ประเด็นที่ต้องการศึกษา
ผลข้างเคียงของการรักษามีอะไรบ้าง
สอนหนังสือไม่ได้
คิดเชื่องช้า
บกพร่องกิจวัตรประจำวัน
มีภาพหลอน เหม่อลอย
ไร้สมรรถภาพทางเพศ
ยาที่ผู้ป่วยได้รับเป็นยาชนิดใด
Thorazine
กลุ่มยา
กลุ่มฟีโนไทอาซีน (ใช้รักษา ความผิดปกติของจิตใจ อารมณ์ )
ผลข้างเคียงของยา
กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า คอ และหลังชักกระตุก
มีความรู้สึกสับสน ความรู้สึกตัวลดลง
ชาตามแขนและขา
มีสัญญาณบ่งบอกว่าเกิดการติดเชื้อ เช่น ไข้ขึ้น เจ็บคอ เป็นต้น
การออกฤทธิ์
กลไกการออกฤทธิ์: ยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท Dopamine
ข้อบ่งใช้: ควบคุมอาการคุ้มคลั่งในโรคจิตเภท
ที่มา
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/QA_full.php?id=2893
Diazepam
กลุ่มยา
ยากลุ่ม Benzodiazepam
ข้อบ่งชี้
ใช้รักษาโรควิตกกังวล รวมทั้งใช้รักษาโรคที่เกิดจากความเครียด
ใช้รักษาอาการชัก
ใช้คลายกล้ามเนื้อ
ออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์โดยการเสริมฤทธิ์ของ GABA ซึ่งจะมีผลยับยั้งการทำงานของ neuron ในระบบประสาทส่วนกลาง ยากลุ่มนี้ใช้ในทางคลินิกเป็นยานอนหลับและยาคลายเครียด ยาคลายกล้ามเนื้อและ ยารักษาโรคลมชัก และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายคลึงกัน
ที่มา
https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/BZP
ผลข้างเคียงของยา
หายใจลำบาก กลืนลำบาก พูดลำบาก
สับสน มึนงง ซึมเศร้า
เคลื่อนไหวลำบาก เดินเซ เดินลากเท้า หรือกระตุก เป็นตะคริว
การเห็นภาพหลอนกับคิดหลงผิดแตกต่างกันอย่างไร
หลอน(Hallucination)
อาการ
เห็นภาพหลอน (Visual Hallucination)
ผู้ป่วยอาจเห็นภาพหรือเหตุการณ์ขึ้นมาเองโดยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง อาจเห็นเป็นวัตถุ รูปภาพ ผู้คน หรือแสง
อาการหูแว่ว (Auditory Hallucination)
ผู้ป่วยอาจได้ยินเสียงที่ดังมาจากจิตใจหรือดังมาจากภายนอก มักจะได้ยินเสียงคนกำลังพูดคุยกันหรือบอกให้ทำอะไรบางอย่าง ซึ่งในความเป็นจริงไม่มี
ประสาทหลอนทางการได้กลิ่น (Olfactory Hallucination)
ผู้ป่วยอาจจะคิดว่าสิ่งที่ตนเองกำลังได้กลิ่นเป็นกลิ่นที่มาจากบางสิ่งบางอย่างรอบ ๆ ตัว หรือเป็นกลิ่นที่มาจากตนเอง
ประสาทหลอนทางการรับรส (Gustatory Hallucination)
ผู้ป่วยอาจได้รับรสชาติของอาหารที่แปลกไปหรือเป็นรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ และมักพบในผู้ป่วยโรคลมชัก
ประสาทหลอนทางการสัมผัส (Tactile Hallucination)
ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหมือนถูกสัมผัสหรือมีบางสิ่งขยับอยู่ในร่างกาย
สาเหตุ
โรคทางสุขภาพจิต (Mental Illnesses) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อย เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) อาการเพ้อ (Delirium)
โรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม
โรคสุขภาพกายอื่น ๆ เช่น มีไข้สูง และ Charles Bonnet Syndrome
การวินิจฉัยโรค
ถามประวัติอาการและตรวจร่างกาย รวมไปถึงอาจตรวจเพิ่มเติม ได้แก่ ตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือการตรวจอีอีจี (Electroencephalogram: EEG) เพื่อหาความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในสมอง
ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอมอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging: MRI) ซึ่งช่วยให้แพทยตรวจสอบภาพของโครงสร้างภายในสมองได้
การรักษา
การรักษาด้วยยา เช่น หากอาการหลอนเกิดขึ้นจากอาการถอนสุราที่รุนแรง แพทย์อาจให้ใช้ยาเพื่อชะลอระบบประสาท
การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคแก่ผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ
คิดหลงผิด(delusion)
การมีความเชื่อ หรือความคิดไม่ตรงกับความเป็นจริง ตั้งแต่ 1 เรื่องนานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป โดยอาการหลงผิดที่พบบ่อยที่สุดคือ ระแวงว่าตนถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกปองร้าย ผูกเรื่องเชื่อมโยงไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีประสาทหลอน เช่น หูแว่ว ผู้ป่วยมักจะยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติ ยกเว้นบางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลงผิด
ประเภทของโรคจิตหลงผิด
หลงผิดว่าบุคคลอื่นมาหลงรักตัวเอง โดยบุคคลนั้นมักเป็นผู้ที่มีความสำคัญหรือมีชื่อเสียง (Erotomanic Type)
เชื่อว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น มีความหยั่งรู้พิเศษ (Grandiose Type)
หลงผิดคิดว่าคู่ครองของตนนอกใจ (Jealous Type)
ระแวงว่าตนเองถูกกลั่นแกล้ง สะกดรอย หมายเอาชีวิต (Persecutory Type)
หลงผิดเกี่ยวกับร่างกายของตนเอง เช่น บางส่วนของร่างกายผิดรูปร่าง หรือ อวัยวะไม่ทำงาน (Somatic Type)
ที่มา
https://www.rama.mahidol.ac.th/
การรักษา
เน้นที่สัมพันธภาพในการรักษา ความสัมพันธ์ที่ดีสามารถช่วยผู้ป่วยได้ โดยรับฟังด้วยความเข้าใจ ไม่โต้แย้งคัดค้านอาการหลงผิดว่าไม่จริง ในขณะเดียวกันก็ไม่สนับสนุนความเชื่อของผู้ป่วย
การรักษาด้วยยา ด้วยยารักษาโรคจิตโดยอยู่ในความดูแลของแพทย์
รับตัวรักษาในโรงพยาบาล หากอาการรุนแรง เช่น มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่น
พระราชบัญญัติสุขภาพจิตและจิตเวช พ.ศ.2551
มาตรา 18
การรักษาจิตเวชด้วยไฟฟ้า การกระทำต่อสมองหรือระบบประสาทหรือการบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่นใด ที่อาจเป็นผลให้ร่างกายไม่อาจคืนสภาพเดิมอย่างถาวรให้กระทำได้ดังกรณีต่อไปนี้
กรณีผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อบำบัดรักษานั้น โดยผู้ป่วยได้รับทราบเหตุผลความจำเป็น ความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรืออาจเป็นผลทำให้ไม่สามารถแก้ไขให้ร่างกายกลับคืนสภาพเดิมและประโยชน์ของการบำบัดรักษา
กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยหากมิได้บำบัดรักษาจะเป็นอันตรายถึงแกชีวิตของผู้ป่วย
มาตรา 23
ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติกรรมอันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต คือ ภาวะอันตรายหรือความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานหน้าที่หรือตำรวจโดยเร็ว
มาตรา 25
ผู้รับผิดชอบดูแลสถานคุมขัง สถานสงเคราะห์ พนักงานคุมประพฤติถ้าพบบุคคลที่อยู่ในความดูแลมีพฤตอการร์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต คือ ภาวะอันตรายหรือความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานหน้าที่หรือตำรวจโดยเร็ว
ที่มา
http://sp.mahidol.ac.th/pdf/law/mental-health-51.pdf
การรักษา
การทำ ECT เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้สารสื่อนำประสาทภายในสมองที่หลั่งผิดปกติได้กลับมาทำงานโดยสม่ำเสมอ เมื่อสารสื่อนำประสาทหลั่งอย่างต่อเนื่องดีแล้วกระบวนการทำงานทางจิต รวมถึงสภาวะทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ ก็จะกลับสู่ภาวะปกติข้อดีของการรักษาด้วยไฟฟ้า จะช่วยให้อาการทางจิตของผู้ป่วยทุเลาอย่างรวดเร็ว สามารถคงสภาพไม่ให้อาการกำเริบซ้ำ การรักษาด้วยไฟฟ้าจึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตรุนแรงมีความจำเป็นต้องรับการรักษาเร่งด่วนเพื่อควบคุมอาการของผู้ป่วยให้สงบลง เช่น ผู้ป่วยก้าวร้าวรุนแรง มีอาการคลุ้มคลั่ง หรือผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้ารุนแรงที่มีความคิดฆ่าตัวตายตลอดเวลาหรือมีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย นอกจากผู้ป่วยจิตเวชที่จำเป็นต้องให้การรักษาแบบเร่งด่วนแล้ว การรักษาด้วยไฟฟ้าสามารถรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่ตอบสนองต่อยาหรือมีความเสี่ยงต่อการใช้ยาเช่น ผู้ป่วยจิตเวชที่กำลังตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ หรือผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่สามารถทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้
การพยาบาล
ปวดศีรษะ ให้ประคบเย็นแล้วนอนพัก 30 นาที - 2ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นสามารถทานยาบรรเทาปวดได้
หากปวดเมื่อยจากการเกร็งกล้ามเนื้อ ให้ประคบร้อนหรือประคบเย็น หรือนวดเบาๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
หากมีภาวะหลงลืม ให้ญาติช่วยกระตุ้นความจำของผู้ป่วย ความทรงจำจะค่อยๆ ฟื้นตัวภายในระยะเวลา 2สัปดาห์ – 6 เดือน
ที่มา:
http://www.jvkk.go.th:8080/web_jvkk_th/index.php/viewnew/form/detail_id/1920
นางสาวนนทิยา แหลมภู่ เลขที่ 39 รหัส 613601040 ห้อง 2A