Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, น.ส.ชัญญานุช…
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ความหมาย
ความรู้ของคนในท้องถิ่นซึ่งได้มาจากประสบการณ์และความริเริ่มของคนในท้องถิ่นเป็นทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นระหว่างการสืบทอดมีการปรับประยุกต์และเปลี่ยนแปลงพัฒนา ซึ่งมีการสูญสลายหายไปบ้างและความรู้ความสามารถเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและเป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคแต่ละสมัยเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพ
การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน
รำไม้พลอง
ประภัสสร เค้าสัมพันธ์ วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ และสมศักดิ์ โทจำปา (2561) ผลของโปรแกรมการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายรำไม้พลองค่าดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
สุชาดา คงหาญ (2553) ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การรำพื้นบ้าน หรือเพลงพื้นบ้าน
นิพพาภัทร์ สินทรัพย และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ (2559) ศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการออกกำลังกายแบบรำตังหวายต่อระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
ความดัน Systolic และความดัน Diastolic ของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการออกกำลังกายแบบรำตังหวาย ลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ
อมรรัตน์ เนียมสวรรค์ นงนุช โอบะ และสมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล (2555) ศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคโดยใช้ดนตรีโปงลางต่อสมรรถภาพทางกาย และระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง
กลุ่มทดลองมีระดับความดันโลหิตซีสโตลิกและไดแอสโตลิก ก่อนเริ่มทดลอง หลังเริ่มทดลองในสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 12 แตกต่างกันจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน
สมาธิบำบัด
ประภาส จิบสมานบุญ และอุบล สุทธิเนียม (2556) ศึกษาสมาธิบำบัด SKT 2 ต่อระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ค่าเฉลี่ยความดันซีสโตลิคและไดแอสโตลิคของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน
อรอุมา ปัญญโชติกุล สุธินา เศษคงและสุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ (2560) ศึกษาผลของสมาธิบำบัด SKT 1-2ในการลดระดับความดันโลหิต ของผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง
ความดันโลหิตหลังการทำสมาธิบำบัดมีระดับความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนการทำสมาธิ บำบัด
อัจฉราแสนไชยลินจงโปธิบาลและภารดีนานาศิลป์ (2554) ศึกษาผลของการปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKTท่าที่ 7หรือการเคลื่อนไหวไทย ชี่กงต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซี
ฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT ท่าที่ 7 ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT ท่าที่ 7
การเดินสมาธิหรือเดินจงกรม
อติกานต์ เกนี่ (2556) ศึกษาผลของการเดินสมาธิต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการตอบสนองของหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สอง
โชติกาสัตนาโค และจุฬาภรณ์โสตะ (2560)ได้นำการเดินจงกรมร่วมกับการออกกำลังกายมาใช้เป็นกิจกรรมหลักในการศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การสวดมนต์
จันทร์จิรา วสุนธราวัฒน์ อรระววี คงสมบัติ วชิราวดี มาลากุล และชุลีกร ด่านยุทธศิลป์ (2558) ศึกษาผลของการสวดมนต์และแผ่เมตตาต่อการสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ
สุภาพอิ่มอ้วน ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน และพะนอ เตชะอธิก (2558) ศึกษาผลการสวดมนต์ต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวิกฤตที่มารับการรักษาในคลินิกความดันโลหิตสูงวิกฤตโรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่
การประยุกต์เพลงพื้นบ้าน
สุภาพ อิ่มอ้วน แพรว โคตรรุฉิน พนอ เตชะอธิกและฐปนวงศ์มิตรสูงเนิน(2558) ศึกษาผลของดนตรีพื้นบ้านต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
การนวดกดจุดฝ่าเท้า การนวดเท้าด้วยวัสดุพื้นบ้าน การแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพร
สิริมาศิลปะ (2558) ศึกษาผลของการนวดเท้าด้วยตนเองต่ออาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ อำเภอเวียงสระจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สุนิสา บริสุทธิ์ วิภาวี คงอินทร์ และขนิษฐา นาคะ (2552) ได้นำวิธีการนวดเท้าโดยการเหยียบกะลามะพร้าวมาศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการดูแลเท้ากับโปรแกรมการดูแลเท้าที่ผสมผสานการนวดเท้าด้วยการเหยียบกะลาต่ออาการชาที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ทักษิณาร์ ไกรราช, กานต์รวี โบราณมูล, จีระวรรณ จันทร์ไชย, ดิษฐพล ใจซื้อ และศุภกฤต สุริโย (2554) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องผลของการเหยียบแผงไข่มะกรูดเพื่อลดอาการชาปลายเท้าผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายประสาทจากโรคเบาหวาน
การแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพร
สุภาดา วิมาเณย์ (2558) ศึกษาผลของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรเพื่อลดอาการมึนชาในผู้ป่วยบาหวาน ตำบลโพนงามอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
การดูแลผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
การบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนร่วมกับการนวดแผนไทย
ปิยะพล พูลสุข มณฑา เก่งการพานิช ธราดร เก่งการพานิช และศรัณญา เบญจกุล (2559) ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริหารข้อเข่าด้วยท่าฤาษีดัดตนเพื่อบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
ความปวดลดลงกว่าการทดลองแตกต่างกัน
กิติศักดิ์รุจิกาญจนรัตน์ (2661) ประสิทธิผลของการนวดไทยร่วมกับการทำท่าบริหารฤาษีดัดตนเพื่อบรรเทาอาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุตำบลนาวุ้งอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี
กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของความเจ็บปวดลดลงกว่ากลุ่มควบคุม
จันจิรา บิลหลี (2561)ศึกษาผลของโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม
ระดับความปวดก่อนการทดลองหลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 5 วันมีความแตกต่าง
สุดารัตน์สวัสดิ์วงศ์และวิไลลักษณ์ สุกใส (2561) ศึกษาผลของการประคบสมุนไพรร่วมกับการพอกเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมกลุ่มผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนทองอำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานีกลุ่มตัวอย่างคือผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนทองอำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พบว่าอาการข้อฝืดข้อยึดและความสามารถในการใช้งานข้อเข่าของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน
การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
ลักษณะสำคัญ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดกันมาอย่างเป็นระบบ
ด้วยกระบวนการกลั่นกรองทางสังคมเรียนรู้ได้จากประสบพบเจอเหตุการณ์นั้นด้วยตนเองการฟังจากคำบอกเล่าและการอ่านจากการบันทึกความรู้ที่เกิดขึ้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์มนุษย์กับธรรมชาติและมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติคนในท้องถิ่นสามารถสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์จริงและดำรงชีวิตได้อย่างสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลักษณะเป็นพลวัต
มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์เมื่อสภาพทางสังคมสิ่งแวดล้อมและวิถีแห่งการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปการสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาเพื่อปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นจึงเป็นความรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง
ความเป็นมา
กำเนิดมาพร้อมกับประเทศไทยทั้งเป็นภูมิปัญญาเพื่อการประกอบอาชีพการดำรงชีวิตการรักษาสุขภาพการรักษาเอกราชและความเป็นปึกแผ่นของประเทศการดำรงภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ สืบทอดถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆแล้วพัฒนาเลือกสรรและปรับปรุงองค์ความรู้เหล่านั้นจนเกิดทักษะและความชำนาญที่สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ประเภท
หมวดที่ 1 ขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อและศาสนา
แบบอย่างที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาในด้านการยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือข้อเสนออย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นความจริงซึ่งเกิดจากสติปัญญาที่มีความเป็นเหตุเป็นผลหรือเกิดจากความเชื่อความศรัทธาแบ่งเป็นประเภทต่างๆ
หมวดที่ 2 ภาษาและวรรณกรรม
สิ่งที่สื่อความหมายด้วยเรื่องหรือตัวอักษรที่กำหนดไว้เป็นแบบแผนเพื่อใช้เป็นสื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันแบ่งเป็นประเภทต่างๆ
หมวดที่ 3 ศิลปกรรมและโบราณคดี
สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามที่ให้คุณค่าทางจิตใจหรือเพื่อประโยชน์ใช้สอยรวมทั้งสิ่งต่างๆที่สร้างขึ้นเพื่อสื่อสารทางความเชื่อของกลุ่มชน
หมวดที่ 4 การละเล่นดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจ
สิ่งที่มนุษย์แสดงออกเพื่อสนองความต้องการทางด้านร่างกายอารมณ์และจิตใจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ
หมวดที่ 5 ชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการ
กิจกรรมการดำเนินชีวิตของบุคคลหรือกลุ่มชนประกอบกับการคิดค้นและพัฒนาวิทยาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นโดยอาศัยบุคคลในท้องถิ่นหรือการรับวัฒนธรรมต่างถิ่นมาปรับปรุงการพัฒนาการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมยิ่งขึ้นแบ่งเป็นประเภทต่างๆ
กระบวนการอนุรักษ์ทุน
1) การค้นคว้าวิจัยควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆในระดับท้องถิ่นจังหวัดภูมิภาคและประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาของท้องถิ่นควรมุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีตและสภาพการณ์ในปัจจุบัน
2) การอนุรักษ์กระทำโดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ
3) การฟื้นฟูโดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังจะสูญหายหรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นโดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรมคุณธรรมและค่านิยม
4) การพัฒนาควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
5) การถ่ายทอดโดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านการเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุผลอย่างรอบคอบและรอบด้านแล้วไปถ่ายทอดให้แก่คนในสังคมได้รับรู้เกิดความเข้าใจตระหนักในคุณค่าคุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
6) การส่งเสริมกิจกรรมโดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆเพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
7) การเสริมสร้างเอตทัคคะควรส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้านผู้ดำเนินงานและปราชญ์ท้องถิ่นให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญาและพัฒนาความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่จัดให้มีการยกย่องและประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ
8) การเผยแพร่แลกเปลี่ยนการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมให้เกิดการเผยแพร่แลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางโดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ
น.ส.ชัญญานุช จังพินิจกุล เลขที่ 14 602201014