Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind - Coggle Diagram
ภาพยนต์สั้น เรื่อง A beautiful mind
ประวัติทั่วไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยชื่อ นายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (Mr.john Forber Nash, Jr.)
อายุ 24 ปี
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
ประวัติครอบครัว
มีน้องสาว 1 คน
ภรรยาของผู้ป่วยชื่อนางอลิเซีย (Mrs.Alicia) มีลูกด้วยกัน1 คน
ความสัมพันธภาพในครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว ไม่ค่อยเล่าเรื่องส่วนตัวให้ใครฟัง
ผู้ป่วยมีความคิดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
ผู้ป่วยมีความคิดหมกหมุ่นเกือบทำร้ายร่างกายภรรยาและลูก
ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกอยากมีเพศสัมพันธกับภรรยา
สาเหตุ
ด้านครอบครัว
ครอบครัวที่มีลักษณะชอบตำหนิวิพากษ์วิจารณ์กัน ด่าทอกัน
ด้านพันธุกรรม
ยิ่งมีความใกล้ชิดทางสายเลือดกับผู้ป่วยมากยิ่งมีโอกาสสูง จากความผิดปกติของสมอง โดยสารเคมีในสมองมีความผิดปกติและจากโครงสร้าง ของสมองบางส่วนที่มีความผิดปกติเล็กน้อย
ด้านสังคม
สังคมที่ไม่เข้าใจผู้ป่วย มีท่าทีรังเกียจผู้ป่วย หรือ พูดจาด่าว่า
ด้านจิตใจ
จากความเครียดในชีวิตประจำวัน เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วย การใช้อารมณ์กับผู้ป่วย การตำหนิ มีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรหรือจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากไปก็มีผลต่อการกำเริบของโรคได้
อาการและอาการแสดง
อาการทางคลินิก
ท่าทีเฉยเมย
การเห็นภาพหลอน / ความคิดที่หลงผิด
กระสับกระส่าย เดินไปเดินมา
แยกตัว ไม่พูดคุยกับใคร
อาการวิทยา
ความผิดปกติของการรับรู้
ความผิดปกติของเนื้อหาความคิด
ความผิดปกติของสภาพอารมณ์
อาการสำคัญ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาลหวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามจะมาทำร้ายวิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวออกจากที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานจึงนำส่งโรงพยาบาลจิตเวช
ประวัติการเจ็บป่วย
2ปีก่อนมาโรงพยาบาล หลังจบปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์จากมหาลัยพรินซ์ตันและเข้าทำงานเป็นนักคณิตศาสตร์ที่วีลเลอร์แลปส์ เขาถูกเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาเรียกตัวไปช่วยถอดรหัสทางการทหารจากนั้นมีเจ้าหน้ากระทรวงกลาโหมชื่อ นายวิลเลียม แพชเชอร์ มาติดต่่อให้เป็นสายลับคอยถอดรหัสทางการทหารจากนิตยสาร เขาทำงานให้กับนายวิลเลียมอย่างลับๆ จนกระทั่งพบว่ามีคนสะกดรอยตามเขาอยู่ตลอดและพยายามทำร้ายเขา ผู้ป่วยกลัวถูกทำร้ายมากแต่พยายามเก็บเป็นความลับไม่ให้ใครรู้เนื่องจากเขาทำงานเป็นสายลับ แม้กระทั่งภรรยาก็ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน
1วันก่อนมาโรงพยาบาล เขาเห็นกลุ่มคนสะกดรอยตามเขาไปถึงที่ทำงานเขารู้สึกว่ากลัวมากจึงวิ่งหนีจนกระทั่งถูกนำส่งโรงพยาบาล
การรักษา
การรักษาด้วยยา
Thorazine 30 mg IM q 6 hrs
Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn
การรักษาด้วยไฟฟ้า
ECT 1 course (5 times per week/10weeks)
ความผิดปกติของกรณีศึกษา
โรคหลงผิด (Delusional disorder)
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริงเป็นเวลามากกว่า 1 เดือน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดูเป็นปกติและไม่มีพฤติกรรมที่แปลก มีเพียงความเข้าใจผิดในบางเรื่อง
อาการอื่นๆ
หงุดหงิด
โกรธ
เบื่อหน่าย
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ
สทองทำงานผิดปกติซึ่งอาจส่งผลต่อการควบคุมการรับรู้และความคิดของผู้ป่วย
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและจิตใจ
ผู้ที่อยู่ในสภาวะที่มีความเครียดสูงหรือผู้ที่มีความโดดเดี่ยว
ปัจจัยอื่นๆ
อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดต่างๆ
การรักษา
การรักษาด้วยยา
ยาระงับอาการทางจิต
ยากล่อมประสาท
ยาต้านเศร้า
จิตบำบัด
การบำบัดส่วนบุคคล
การบำบัดเพื่อช่วยปรับทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมและการมีปฏิสัมพันธ์
การบำบัดแนวครอบครัว ทราบถึงวิธีรับมือ
การเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยที่เคยมีอาการเดียวกันได้พูดตุยแบ่งปันประสบการณ์
ประเภท
Persecutory Delusional Disorder โรคหลงผิดว่าถูกปองร้าย
Grandiose Delusional Disorder โรคหลงผิดว่าตนมีความสามารถเกินความจริง
Somatic Delusional Disorder โรคหลงผิดเกี่ยวกับร่างกายของตนเอง เชื่อส่าร่างกายของตนเองมีความผิดปกติ
Erotomantic Delusional Disorder โรคหลงผิดว่าบุคคลอื่นมาหลงรักหรือเป็นคู่รักของตนเอง
Jealous Delusional Disorder โรคหลงผิดว่าคู่รักของตนนอกใจ
Mixed Delusional Disorder โรคหลงผิดแบบผสม ผู้ป่วยจะมีอาการหลงผิดมากกว่า 1 ประเภท
Unspecified Delusional Disorder โรคหลงผิดแบบไม่ระบุเจาะจง ไม่สามารถระบุความหลงผิดนั้นได้อย่างชัดเจน
อาการประสาทหลอน (hallucination)
อาการและอาการแสดง
เห็นภาพหลอน ผู้ป่วยอาจเห็นภาพหรือเหตุการณ์ขึ้นมาเองโดยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
อาการหูแว่ว ผู้ป่วยอาจได้ยินเสียงที่ดังมาจากจิตใจหรือดังมาจากภายนอก
ประสาทหลอนทางการได้กลิ่น ผู้ป่วยอาจจะคิดว่าสิ่งที่ตนเองกำลังได้กลิ่นเป็นกลิ่นที่มาจากบางสิ่งบางอย่างรอบ ๆ ตัว หรือเป็นกลิ่นที่มาจากตนเอง
ประสาทหลอนทางการรับรส ผู้ป่วยอาจได้รับรสชาติของอาหารที่แปลกไปหรือเป็นรสชาติที่ไม่พึงประสงค์
ประสาทหลอนทางการสัมผัส ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหมือนถูกสัมผัสหรือมีบางสิ่งขยับอยู่ในร่างกาย
สาเหตุ
โรคทางสุขภาพจิตเช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) อาการเพ้อ (Delirium)
โรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ไมเกรน โรคลมชัก และเนื้องอกในสมอง
โรคสุขภาพกายอื่น ๆ เช่น มีไข้สูง หรือ โรคที่่มีความรุนแรง เช่น เอดส์ ไตวายและตับล้มเหลว
การพักผ่อนไม่เพียงพอ การอดนอนหรือนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการหลอนได้
สารเสพติดและแอลกอฮอล์ เป็นอีกสาเหตุที่พบได้บ่อย ทำให้ผู้ป่วยเห็นภาพหลอนหรือหูแว่ว ไม่ว่าจะเป็นหลังการดื่มเครื่อมดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากหรือการใช้สารติดที่ผิดกฎหมายอย่างโคเคน
ยารักษาโรคบางชนิด อาการหลอนอาจเกิดจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด
การรักษา
การรักษาด้วยยา
หากอาการหลอนเกิดขึ้นจากอาการถอนสุราที่รุนแรง แพทย์อาจให้ใช้ยาเพื่อชะลอระบบประสาท หรือการใช้ยารักษาโรคทางจิตและหรือโรคทางสมอง
การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคแก่ผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
อาการ
กลุ่มอาการที่เพิ่มมากกว่าคนปกติ
อาการหลงเชื่อผิด เป็นความเชื่อของผู้ป่วยที่ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย
ความผิดปกติ ผู้ป่วยคิดแบบมีเหตุผลอย่างต่อเนื่องไม่ได้ ทำให้พูดคุยกับคนอื่นไม่เข้าใจ ผู้ป่วยมักพุดไม่เป็นเรื่องเป็นราว พูดไม่ต่อเนื่อง
ประสาทหลอน ผู้ป่วยคิดว่ามีบางสิ่งเกิดขึ้นทั้งที่ความเป็นจริงไม่มีสิ่วเหล่านั้นเกิดขึ้น
มีพฤติกรรมผิดปกติ โดยมักเกี่ยวข้องกับความคิดและความเชื่อที่ผิดปกติ
กลุ่มอาการที่ขาดหรือบกพร่องไปจากคนปกติทั่วไป
เก็บตัว ซึม ไม่อยากพบปะกับผู้คน แยกตัวเอง
ไม่ดูแลตนเอง ไม่สนใจเรื่องการแต่งกาย
ไม่มีความคิดริเริ่ม เฉื่อยชาลง
พูดน้อย ใช้เวลานานกว่าจะตอบ พูดจาไม่รู้เรื่อง เนื้อหามีความไม่ปะติดปะต่อกัน
สาเหตุ
เป็นโรคทางพันธุกรรมทำให้มีการพัฒนาของระบบประสาทผิดปกติ เมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมก็เกิดโรคนี้
การที่เกิดขาอออกซิเจนในระหว่างการคลอด
มารดาเป็นไข้ในตั้งครรภ์ไตรมาสที่2
มารดาเป็นไข้หวัดใหญ่ในขณะตั้งครรภ์
ความผิดปกติภายในสมองและปริมาณสารเคมีในสมองบางชนิดผิดปกติ
การใช้ยาที่มีผลต่อจิตใจหรือใช่สารเสพติดกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคโรค
การรักษา
การรักษาด้วยยา
การบำบัดเพื่อเสริมทักษะทางสังคม
การบำบัดทางจิต
การบำบัดภายในครอบครัว
การส่งเสริมสุขภาพร่างกาย
กฎหมายพรบ.ที่ควรมีในเคส
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา16ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่
ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยอื่น
เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน
มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยบอกกับจิตแพทย์ว่ามีการวางแผนฆ่าภรรยาด้วยปืนที่เก็บซ่อนไว้ เนื่องจากความคิดหวาดระแวง หลงผิด ว่าภรรยาแอบคบหากับผู้ชายอื่น ในกรณีเช่นนี้ จิตแพทย์ควรแจ้งแก่ญาติ ภรรยา หรือทีมที่ทำการรักษาเพื่อทำการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
มาตรา23 ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต คือมีภาวะอันตรายหรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตำรวจโดยเร็ว