Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - Coggle Diagram
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาที่ถูกนำไปพัฒนาท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้ซึ่งเป็นการยกระดับองค์ความรู้และความสามารถมาสู่การพัฒนาท้องถิ่น
ความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
กำเนิดมาพร้อมกับประเทศไทยทั้งเป็นภูมิปัญญาเพื่อการประกอบอาชีพการ ดำรงชีวิตการรักษาสุขภาพการรักษาเอกราชและความเป็นปึกแผ่นของประเทศการดำรงภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้
ดำรงไวซึ่งความเป็นชาติภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยมีกระบวนการเกิดจากการสืบทอดถ่ายทอด องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป็นเรื่องของการใช้ความรู้ทักษะความเชื่อและพฤติกรรม
แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาการจัดการการปรับตัวการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคลชุมชนและสังคม
เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิตเป็นพื้นความรู้
มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา มีวัฒนธรรมเป็นฐานไม่ใช่วิทยาศาสตร์
มีการบูรณาการสูง มีความเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง
เน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุธรรม12
ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดกันมาอย่างเป็นระบบด้วย กระบวนการกลั่นกรองทางสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลักษณะเป็นพลวัตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์เมื่อสภาพ ทางสังคมสิ่งแวดล้อมและวิถีแห่งการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมวดที่ 1 ขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อและศาสนาหมายถึงแบบอย่างที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาใน ด้านการยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
หมวดที่ 2 ภาษาและวรรณกรรมหมายถึงสิ่งที่สื่อความหมายด้วยเรื่องหรือตัวอกษรที่กำหนดไว้เป็น แบบแผน
หมวดที่ 3 ศิลปกรรมและโบราณคดีหมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามที่ให้คุณค่าทาง จิตใจหรือเพื่อประโยชน์ใช้สอย
หมวดที่ 4 การละเล่นดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจหมายถึงสิ่งที่มนุษย์แสดงออกเพื่อสนองความ ต้องการทางด้านร่างกายอารมณ์และจิตใจ
หมวดที่ 5 ชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการหมายถึงกิจกรรมการดำเนินชีวิตของบุคคลหรือกลุ่มชน ประกอบกับการคิดค้นและพัฒนาวิทยาการ
กระบวนการอนุรักษ์ทุนภูมิปัญญาท้องถิ่น
การค้นคว้าวิจัยควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล
การอนุรักษ์กระทำโดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่า
การฟื้นฟูโดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังจะสูญหายหรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่า
การพัฒนาควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้านผู้ดำเนินงาน และปราชญ์ท้องถิ่นให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา
การเผยแพร่แลกเปลี่ยนการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมให้เกิดการเผยแพร่แลกเปลี่ยน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
การนำภูมปัญญาท้องถิ่นหรือการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูง
การนำการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน
รำไม้พลอง
ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญสารอาหารไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอลบางส่วนในร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน
ในผู้ป่วยเบาหวานค่าดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลของ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้ลดลง
การนำศิลปะการรำพื้นบ้าน เพื่อลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน
สมาธิบำบัดกับการบำบัด
ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญในร่างกายมีผลในการลดระดับความดันซีสโตลิค และไดแอสโตลิคโดยสารอะเซทิลโคลินซึ่งนอกจากจะช่วยในกระบวนการเรียนรู้และความจำแล้วยังสามารถ ช่วยขยายเส้นเลือดเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเส้นเลือดฝอย มีการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองส่วน frontal และ occipital และ alpha wave activity
สมาธิบำบัดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้อัตราการเผา ผลาญอาหารในร่างกายต่ำลงทำให้ตับเพิ่มกระบวนการสร้างกลัยโคเจนซึ่งเป็นสารอาหารที่สะสมในตับและลด การย่อยสลายสารอาหารนี้ที่จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจงเป็นกระบวนการเก็บซับพลังงานที่ดีช่วยเสริมสร้างการ ทำงานของอินซูลินในการเก็บรับน้ำตาลเพื่อส่งไปที่ตับ
การเดินสมาธิหรือเดินจงกรมกับการบำบัดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นการบริหารร่างกายแบบผสานกายและจิตวิธีหนึ่ง
การสวดมนต์กับการบำบัดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
การประยุกต์เพลงพื้นบ้านกับการบำบัดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
การนวดกดจุดฝ่าเท้า การนวดเท้าด้วยวัสดุพื้นบ้าน การแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรกับ การบำบัดอาการเท้าชาในผู้ป่วยโรคาหวาน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ให้ไปเลี้ยงที่ฝ่าเท้า บรรเทาหรือบำบัดอาการชาที่เท้าอย่างได้ผล
การแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรกับการบำบัดอาการชาเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยขอเข่าเสื่อม
บริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนร่วมกับการนวดแผนไทยเพื่อลดอาการ ปวดข้อเข่า
การบริหารข้อเข่าร่วมกับการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดข้อเข่า
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและทางเลือกอื่นมาใช้ในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย ด้านการทรงตัว ได้แก่ การรำไม้พลองแบบป้าบุญมี การรำวง การฟอนรำ การรำมวยไทย และทางเลือก อื่นๆ เช่น การรำมวยจีน การรำไทจี๋ การเดินตาราง 9 ช่อง รำลีลาศ เป็นต้น