Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU -…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยใส่สายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP
ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ําเกิน
ในกรณีที่ต้องการประเมินการทํางานของหัวใจและหลอดเลือด
ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด ภาวะ shock และกรณีอื่นที่ทําให้ปริมาณเลือด และน้ําในร่างกายลดลง
การวัดความดันในหลอดเลือดแดง (intra-arterial monitoring)
เป็นวิธีการสอดใส่สายยางเข้าไปในเส้นเลือดแดง (arterial line; A-line) และนํามาต่อกับเครื่องวัด (manometer) เป็นการวัดความดันของหลอดเลือดแดงโดยตรง
วิธีนี้มีความเชื่อถือได้มากและมีค่าใกล้เคียงกับ ความดันเฉลี่ยในหลอดเลือดแดงใหญ่ (mean aortic pressure; MAP:)
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง (arterial line)
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การเกิดเนื้อตาย (Skin necrosis)
Air embolization จาก air ที่ใช้หลุดเข้าไปในระบบจากการ flush
การติดเชื้อ (infection)
ภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ (Hematoma)
การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลง (limb ischemia)
ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ ใช้ continuous flush system โดยใช้สารน้ํา 0.9% NSS 500 cc ผสมกับ Heparin 2,000-2,500 ยูนิต
ตรวจสอบความแม่นยําของการปรับเทียบค่า (Accuracy)
Levelling the transducer จัดตําแหน่ง transducer ให้อยู่ในตําแหน่ง phlebostatic axis คือ บริเวณ 4th intercostal space ตัดกับ mid anterior-posterior line
Zeroing the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0) เพื่อเทียบกับเครื่อง monitor ให้การวัดความดันมีความเที่ยงตรงและแม่นยํา ควร set zero เครอื่ งทุก 8 ชั่วโมง
เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย ไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศค้างในสาย
การป้องกันการเลื่อนหลุด ควร immobilized arm โดยใช้ arm broad ที่เหมาะสม บริเวณ insert site ต้องสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลา
ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน (damped waveform) และบันทึกตําแหน่งของสายยาง หากพบควร ดูดลิ่มเลือดหรือฟองอากาศออกและรายงานแพทย์
จดบันทึกค่า Arterial blood pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาที ตามความจําเป็น และรายงานแพทย์ เมื่อค่าที่ได้มีความผิดปกติ
ในกรณีที่แพทย์ถอดสายยางออกแล้วควรกดตําแหน่งแผลไว้นาน อย่างน้อย 10 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุด ทําความสะอาดแผลและปิดแผลด้วย plaster ที่เหนียวให้แน่น ด้วยหลักปราศจากเชื้อ
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดําส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
หมายถึง การวัดความดันของเลือดดําส่วนกลาง หรือแรงดันเลือด ของหัวใจห้องบนขวา (right atrium pressure) เพื่อประเมินระดับของปริมาณน้ําและเลือดในร่างกาย เป็น ความดันของ right atrium โดยการวัดจาก Superior Vena Cava (SVC)
ดังนั้นการวัด CVP จึงบอกถึงค่า preload ของ right ventricle (RV) หรือ right ventricular end-diastolic pressure (RVEDP)
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดง
ในรายที่จําเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas หรือส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการบ่อย
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drug
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก เช่น ผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด ผ่าตัดสมอง
ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตยาก เช่น ผู้ป่วยถูกไฟไหม้ทั้งตัว
ในผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนลดลง หรือความดันโลหิตต่ำ เช่น ในภาวะช็อก ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุขั้น รุนแรงหลายระบบ
**ตําแหน่งของเส้นเลือดที่นิยมใส่ arterial catheter ได้แก่ Redial artery
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง
ประเมินแผลบริเวณรอบ ๆ ที่คาสายสวนหลอดเลือดดําทุกเวรและทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าปิดแผล
สังเกตอาการอักเสบบวม แดง หรือมีการรั่วของสารน้ํารอบ ๆ แผลสายสวน
ทําความสะอาดแผลด้วย 2% Chlorhexidine in 70% Alcohol และเปลี่ยน sterile transparent dressing ทุก 7 วันหรือทันทีที่ผ้าปิดแผลสกปรก
พิจารณาความจําเป็นในการคาสายสวนหลอดเลือดดํา และพิจารณาถอดออกให้เร็วที่สุด
สวมปิดบริเวณข้อต่อด้วย needleless connector หรือจุกปิด (stopcock) เพื่อให้ สายสวนหลอดเลือดดําอยู่ในระบบปิด ควรเปลี่ยน needleless connector เมื่อสกปรก
ในกรณีการเปลี่ยนชุดสารน้ําควรเปลี่ยนภายใน 72 ชั่วโมง และชุดให้สารอาหารทางหลอดเลือดดําชนิดที่เป็นไขมันแบบ emulsions
เฝ้าระวังและดูแลระบบการให้สารน้ําต้องเป็นระบบปิดตลอดเวลา
การป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด ป้องกันการเลื่อนหลุดของสาย ป้องกันฟองอากาศเข้าสู่หลอดเลือดในขณะวัด CVP หรือเปลี่ยนชุดให้สายน้ําและก่อนฉีดยาทางสายสวน ต้องไล่ฟองอากาศทุกครั้ง
ป้องกันการอุดตันของสายสวน
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน พยาบาลควรระมัดระวังสายขณะเคลื่อนย้ายและขณะทําแผล ดูแลไม่ให้เกิดการดึงรั้ง และตรวจสอบผ้าปิดแผลติดกับผิวหนังให้แน่น
ความแม่นยําของการเปรียบเทียบค่า
Zero the transducer เป็นการปรับ transducer กับความดันบรรยากาศ (ให้อยู่ในระดับ 0) เพื่อเทียบกับเครื่อง monitor ให้การวัดความดันมีความเที่ยงตรงแม่นยํา
Levelling the transducer จัดตําแหน่ง transducer ให้อยู่ในตําแหน่ง phlebostatic axis คือตําแหน่ง 4th intercostal space ตัดกับ mid anterior-posterior line
ตําแหน่งเส้นเลือดที่ใช้สําหรับ monitor CVP
สายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง (central line) หมายถึง สายสวนหลอดเลือดดําส่วนกลาง (central venous catheter; CVC) รวมทั้ง Pic line
การใส่สาย สวนหลอดเลือดดําส่วนกลางเป็นการแทงสายสวนเพื่อสอดใส่ทางหลอดเลือดดําโดยให้ปลายสายอยู่ตําแหน่งของ Superior vena cava
ตําแหน่งที่แทงบ่อย มี 3 ตําแหน่ง ได้แก่ subclavian vein เป็นตําแหน่งเหมาะสมที่สุด รองลงมาคือ internal jugular vein และ ตําแหน่ง Femoral vein
สามารถ monitor CVP ทาง catheter ซึ่งตําแหน่งที่ใช้จะเป็นเส้นเลือดดําใหญ่บริเวณข้อพับ ได้แก่ Basilic vein, Brachial vein หรือ Cephalic vein โดยปลายสายจะอยู่ที่ Superior Vena Cava
การแปลงค่า CVP
ใช้ pressure transducer ซึ่งจะมีหน่วยเป็น millimeters of mercury (mmHg)
ใช้ water manometer หรือใช้ไม้บรรทัดที่มีสายยาง (extension tube) ซึ่งใช้บ่อยบนคลินิก จะมีหน่วยเป็น centimeters of water (cm H2O)
CVP ปกติ อาจอยู่ในช่วง 6-12 cm H2O (2-12 mmHg)
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
คําศัพท์สําคัญที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจ
Peak flow (PF)
อัตราการไหลของอากาศเข้าสู่ปอดมีหน่วยเป็นลิตร/นาที เป็นการควบคุมช่วง ระยะเวลาหายใจเข้า
Inspiratory time: Expiratory time (I:E)
อัตราส่วนระหว่างเวลาที่ใช้ในการหายใจเข้าต่อเวลาที่ใช้ในการหายใจออก ส่วนใหญ่ตั้ง 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3 ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของปอด
Minute volume (MV)
ปริมาตรลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที มีหน่วยเป็นลิตร/นาที
Sensitivity
การตั้งค่าความไวของเครื่องที่ผู้ป่วยต้องออกแรงกระตุ้นเครื่อง เพื่อเริ่มต้นการ หายใจเข้า
Respiratory rate(RR)
การตั้งอัตราการหายใจให้กับผู้ป่วยสําหรับผู้ใหญ่จะอยู่ระหว่าง12-20ครั้ง/นาที
Fraction of Inspired Oxygen (Fio2)
การตั้งระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศท่ีเครื่องปล่อยเข้าผู้ป่วย ปรับได้ ต้ังแต่ 21-100 เปอร์เซ็นต์
Tidal volume (VT)
ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดใน 1 ครั้ง หน่วยเป็นมิลลิลิตร คํานวณตามน้ําหนักตัว ค่าปกติ 6-8 มิลลิลิตร/น้ําหนักตัว 1กิโลกรัม
Positive End Expiratory Pressure (PEEP)
การทําให้ความดันในช่วงหายใจออกสุดท้ายมีแรงดันบวกค้างไว้ในปอดตลอดเวลา
มีประโยชน์คือ ลดแรงในการหายใจ ป้องกันปอดแฟบ (Atelectasis) คือจะมีลม ค้างอยู่และเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure)
ผู้ป่วยที่มีภาวะล้มเหลวของการระบาย อากาศ
เช่น ผู้ป่วยที่ซึมมาก ผู้ป่วยโรคหืด ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
ปริมาณการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่าการระบายออกของระบบทางเดินหายใจ จึงเกิดภาวะของความเป็นกรดในเลือด (respiratory acidosis) จากการที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดที่มากกว่าปกติ
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue)
เช่น ได้รับยาที่กดศูนย์หายใจ ความผิดปกติของ ระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทส่วนปลาย เช่น Guillain-Barre syndrome, myasthenia gravis
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure)
ในบางภาวะร่างกายมีความจําเป็นในการใช้ ออกซิเจนในปริมาณสูง
เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ ผู้ป่วยที่มีการเสียเลือดและผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ
ในภาวะดังกล่าวเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายมีความต้องการการใช้ออกซิเจน หากร่างกายไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ทัน ก็จะเกิดความเป็นกรดในร่างกายขึ้น
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ
ในภาวะช็อกร่างกายมีความต้องการออกซิเจนปริมาณสูง ภาวะดังกล่าวทําให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ลดลง
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator)
เครื่องช่วยหายใจ เป็นเครื่องมือที่ใช้สําหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจไม่เพียงพอ
เป็นการช่วยหายใจแบบแรงดันบวก “positive mechanical ventilator”
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasivepositiveventilator;NPPV
แก้ไขภาวะกรดจากการหายใจ ลดอัตราการหายใจแต่จะควบคุมการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่ดีเท่าเครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
ไม่เหมาะสําหรับผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของปอดที่รุนแรง
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ สามารถช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น
แบ่งเป็น 2 แบบ คือ Continuous positive airway pressure (CPAP) และ Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP)
Invasive positive ventilator; NPPV
เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้มากที่สุดในภาวะวิกฤต
เป็นการอัดอากาศเข้าไปในปอดผ่านทาง endotracheal tube หรือ tracheostomy โดยใช้แรงดัน บวก
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
เป็นวิธีช่วยหายใจที่มีทั้งการ หายใจเองและการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
โดยผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้ในระหว่างการช่วยหายใจด้วยเครื่อง การกระตุ้นการหายใจโดยเครื่องจะสัมพันธ์กับการหายใจของผู้ป่วย
Spontaneous ventilation
Continuous positive airway pressure (CPAP)
เป็นวิธีการหายใจที่ให้แรงดันบวก(PEEP) ต่อเนื่องในระดับเดียวกันทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก โดยไม่มีการส่งแรงดันช่วยเพิ่มขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้า
Pressure support ventilator(PSV)
เป็นวิธีการหายใจที่เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วย สามารถหายใจได้เอง เครื่องจะช่วยจ่ายแก๊สเพื่อให้ได้ระดับความดันตามที่ตั้งไว้ และจะหยุดจ่ายอากาศเมื่อผู้ป่วยไม่ต้องการแล้ว
การหายใจของผู้ป่วยจะเป็นตัวกําหนด tidal volume, respiratory rate และ inspiratory time PSV
Controlmandatoryventilation(CMV) หรือ Assist/control(A/C)ventilation
เป็นวิธีช่วยหายใจที่การหายใจทุกครั้งถูกกําหนดด้วยเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่มีการหายใจเองเลย
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป (Pulmonaryvolutrauma) : มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคปอดอยู่เดิม การตั้งปริมาตรการหายใจ (Tidal volume) ที่สูงเกินไป ส่งผลต่อความดันสูงสุดในทางเดินหายใจ (Peak airway pressure)
ภาวะถุงลมปอดแตก(Pulmonarybarotrauma) : เป็นภาวะที่มีลมรั่วจากถุงลมเนื่องจากการใช้ เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวก หรือการค้างความดันในช่วงหายใจออกให้เป็นบวก (PEEP)
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด : การใช้เครื่องช่วยหายใจจะทําให้เลือดดําไหลกลับหัวใจลดลง
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication) : ที่พบบ่อยได้แก่ การบาดเจ็บต่อ กล่องเสียงและเยื่อบุหลอดลม มักพบในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอเป็นเวลานาน
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis): มักพบภาวะปอดแฟบได้จากการตั้งปริมาตรการหายใจต่ำและไม่มีการตั้งถอนหายใจ (sigh) ให้ผู้ป่วย
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia; VAP) : โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนานเกิน 48 ชั่วโมง เชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (gram negative)
ภาวะพิษจากออกซิเจน(Oxygentoxicity) : เกิดจากการได้รับความเข้มข้นของออกซิเจนมากกว่า0.6 นานเกิน 24-48 ชั่วโมงขึ้นไป
ระบบทางเดินอาหาร : พบได้บ่อย ได้แก่ การเกิดแผลหรือภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนท้องอืดอาจมีสาเหตุจากการเคลื่อนไหวของลําไส้ลดลงเนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจน
ผลต่อภาวะโภชนาการเนื่องจากผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีอาการไม่คงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา จึงต้องงดน้ํางดอาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านร่างกาย
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะต้องรายงานแพทย์ทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
การฟังเสียงลมเข้าปอดซึ่ง การฟังเสียงปอดทั้ง 2 ข้างในระดับเดียวกันควรเท่ากัน
การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย ตําแหน่งของท่อหลอดลมคอควรอยู่ เหนือ Carina ประมาณ 1 นิ้วโดยตรวจสอบจากภาพเอกซเรย์ทรวงอก (CXR)
การใส่ลมในกระเปาะ ควรอยู่ระหว่าง 20-25 มิลลิเมตร ปรอท ถ้าใส่แรงดันสูงอาจทําให้เกิด pressure necrosis
การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โดยการดูดเสมหะเมื่อพบว่ามีปริมาณเสมหะมาก
การดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแล Tubing system ของเครื่องช่วยหายใจให้เป็นระบบปิด ให้ตรึงอยู่กับที่ไม่ให้ดึงรั้ง เพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุด
การป้องกันภาวะปอดแฟบ ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมักจะได้ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้า (Tidal volume) คงที่จนทําให้ถุงลมปอดที่อยู่ชายปอดมีโอกาสเกิดภาวะ Micro atelectasis ได้
การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สําคัญ เช่น Electrolyte imbalance ค่าก๊าซใน หลอดเลือดแดง (ABGs)
การดูแลด้านจิตใจ
พยาบาลควรประเมินภาวะดังกล่าวและดูแลอย่าง ใกล้ชิด ประคับประคองด้านจิตใจโดยอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย วิธีการรักษาอย่างมีเหตุผล
รวมทั้งการดูแลด้านจิตใจของ ครอบครัวและญาติของผู้ป่วยด้วย
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ(การพยาบาล)
ดูดเสมหะในปากและท่อช่วยหายใจเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง ส่งเสริมให้อากาศผ่านเข้าออกอย่างมีประสิทธิภาพ
จัดท่าของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือท่านั่งหากไม่มีข้อห้ามเพื่อส่งเสริมการขยายตัวของปอด
อธิบายวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจคร่าวๆเพื่อลดความกลัวให้ผู้ป่วยร่วมมือและให้กําลังใจผู้ป่วย
เริ่มทําการหย่าเครื่องช่วยหายใจเมื่อประเมินสภาพผู้ป่วยว่าพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยวิธี T piece หรือวิธีปรับ mode การหายใจของผู้ป่วย
ควรเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจในตอนเช้าหลังจากผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่ในเวลากลางคืน
วัดสัญญาณชีพและวัด O2sat ก่อน ขณะการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทุก 5-10 นาที
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจน
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจโดย T piece 10 ลิตร/นาที ต่อไปได้ ให้ต่อท่อช่วย หายใจเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ setting ก่อนหน้าที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่และเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ (ประเมินความพร้อมของผู้ป่วย)
ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทําตามคําสั่ง
V/S stable T < 38 องศา PR <100 TPM RR < 30 TPM BP Systolic 90-160 mmHg.
ค่า PEEP น้อยกว่า5เซนติเมตรน้ํา
ค่า Spontaneoustidalvolume เมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว > 5 ml./น้ําหนักตัว 1 kg.
มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ ค่าPaO2>60มม.ปรอท FiO2ไม่เกิน0.4
ความสามารถในการหายใจเองของผู้ป่วย RVR < 105 จึงจะมีโอกาสเอาเครื่องช่วยหายใจออกได้
คํานวณได้จาก RR ครั้ง/นาทีหารด้วยค่า Spontaneous tidal volume
โรคหรือสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หายหรือทุเลาลง
ใช้ยาระงับประสาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการควบคุมความกระวนกระวายของผู้ป่วย
ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจหรือหลอดเลือด ถ้ามียาดังกล่าวต้องอยู่ในระดับต่ำหรือมีแนวโน้มว่าจะลดลงได้เรื่อย ๆ
สามารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
หมายถึง การลดการช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจนสามารถหายใจเองและหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจในที่สุด
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต
(common drugs used in ICU)
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine
ใช้เป็น first line drug ในภาวะ Stable narrow complex tachycardia (reentry SVT) หรือใน ภาวะ unstable narrow complex regular tachycardia แต่ต้องเตรียมพร้อมทํา cardioversion ไว้ด้วย
ภาวะ regular monomorphic wide complex tachycardia
Digoxin (Lanoxin ®)
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ AF, atrial flutter และ SVT
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
Dopamine (Inopin®)
ขนาดต่ำ ใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไต (renal blood flow) และสมอง
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ เพิ่ม Cardiac out put
ขนาดสูง ทําให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ shock จากการติดเชื้อในกระแสเลือด
Dobutamine
เพิ่ม cardiac output ในผู้ป่วยหัวใจวาย หรือ cardiogenic shock
Norepinephrine (Levophed®) กลุ่ม Adrenergic agonist
รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะseptic shock และ cardiogenic shock ระดับรุนแรง
ภาวะ shock หลังจากได้รับสารน้ําเพียงพอแล้ว
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine
ใช้แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติและ AV block
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
Nicardipine
ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
Sodium Nitroprusside
ใช้ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive emergency
ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
Nitroglycerin (NTG)
Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
Heart failure โดยช่วยในการลด preload
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Amiodarone (Cordarone®)
ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrialfibrillation และ Atrialflutter
หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด VF และ VT
Epinephrine หรือ adrenaline 1 mg/ ml/ ampule (1: 1,000)
ใช้ในภาวะ symptomaticbradycardia ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ atropine
Cardiac arrest
ใช้เป็นยาตัวแรกในการทําCPRทั้งในภาวะsystole/PEAและVF/pulselessVT