Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU -…
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator)
เป็นเครื่องมือที่ใช้สําหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจไม่เพียงพอ
บทบาทสําคัญในการรักษาประคับประคองผู้ป่วยที่มีภาวะระบบหายใจล้มเหลวหรือระบบไหลเวียนล้มเหลว
ข้อบ่งชี้การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะพร่องออกซิเจน (oxygenation failure)
กล้ามเนื้อกะบังลมไม่มีแรง (diaphragm fatigue)
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ (ventilation failure)
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ ในภาวะช็อกร่างกายมีความต้องการออกซิเจนปริมาณสูง
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasive positive ventilator; NPPV
ไม่เหมาะสําหรับผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของปอดที่รุนแรง
Invasive positive ventilator; IPPV
เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้มากที่สุดในภาวะวิกฤต
Control mandatory ventilation (CMV) หรือ Assist/control (A/C) ventilation
ตั้งอัตราการหายใจไว้ 14 ครั้งหากผู้ป่วยหายใจ 22 ครั้ง 8 ครั้งที่ผู้ป่วยหายใจเองเครื่องจะไม่มีการช่วย
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
เป็นวิธีช่วยหายใจที่มีทั้งการหายใจเองและการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ
Spontaneous ventilation
การหายใจที่ผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มการหายใจเอง
Continuous positive airway pressure (CPAP)
เป็นวิธีการหายใจที่ให้แรงดันบวก (PEEP)ต่อเนื่องในระดับเดียวกันทั้งในช่วงหายใจเข้าและออก
Pressure support ventilator (PSV)
เป็นวิธีการหายใจที่เครื่องช่วยผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วย
สามารถหายใจได้เอง
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia; VAP)
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ (Artificial airway complication)
ภาวะพิษจากออกซิเจน (Oxygen toxicity)
ภาวะถุงลมปอดแตก (Pulmonary barotrauma)
ระบบทางเดินอาหาร
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงเกินไป (Pulmonary volutrauma)
ผลต่อภาวะโภชนาการ
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านจิตใจ
พยาบาลควรประเมินภาวะดังกล่าวและดูแลอย่าง
ใกล้ชิด
ประคับประคองด้านจิตใจโดยอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย วิธีการรักษาอย่างมีเหตุผล แจ้งให้ทราบทุกครั้งเมื่อต้องให้การพยาบาล
ให้ความมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุด
การดูแลด้านร่างกาย
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน
การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
การดูแลให้เครื่องช่วยหายใจทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแล Tubing system
การป้องกันภาวะปอดแฟบ
การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สําคัญ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Weaning)
ขั้นตอนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยที่สามารถทําการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้
วิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ในกรณีที่ไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ให้ผู้ป่วยได้พัก 24 ชั่วโมงและเริ่มทําการหย่าอีกครั้งในวันถัดมา
การใช้เครื่องช่วยหายใจ mode SIMV,PSV,CPAP
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV)
วิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยได้ปรับตัวและลดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน SIMV
Pressure support ventilation (PSV)
เป็นวิธีลดงานในการหายใจของผู้ป่วย โดยเครื่องจะปล่อยแรงดันในช่วงที่ผู้ป่วยหายใจเข้าด้วยตนเองจึงทําให้ผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงมาก
Continuous Positive Airway Pressure (CPAP)
เครื่องช่วยหายใจปล่อยแรงดันบวกเข้าปอดตลอดเวลาเพื่อลดการออกแรงในการหายใจ
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
วัดสัญญาณชีพและความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว (Oxygen saturation) ก่อน ขณะการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทุก 5-10 นาที
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15-30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่และเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
การถอดท่อช่วยหายใจ
สามารถหายใจผ่าน T piece 10ลิตร/นาที เกิน 2 ชั่วโมง
สามารถไอขับเสมหะออกมาได้แรงพ้นท่อช่วยหายใจ
แพทย์พิจารณาให้ถอดท่อช่วยหายใจได้ (extubation)
รู้สึกตัวดีหรือ GCS>10 คะแนน
ประเมิน cuff leak test ผ่าน
วิธีในการถอดท่อช่วยหายใจ
แกะพลาสเตอร์ที่ยึดท่อช่วยหายใจ
เอาลมในกระเปาะท่อช่วยหายใจออกให้หมดโดยใช้ syringe
ดูดเสมหะในปากและในท่อช่วยหายใจให้โล่ง
ให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจ ค่อยๆดึงท่อช่วยหายใจออกและให้ผู้ป่วยไอขับเสมหะออกมา ดูดเสมหะอีกครั้ง
จัดท่านั่งศีรษะสูง
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที ทุก 30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
การวัดการไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤต
การวัดความดันในหลอดเลือดแดง (intra-arterial monitoring)
เป็นวิธีการสอดใส่สายยางเข้าไปในเส้นเลือดแดง (arterial line; A-line) และนํามาต่อกับเครื่องวัด(manometer) เป็นการวัดความดันของหลอดเลือดแดงโดยตรง
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดง
ตําแหน่งของเส้นเลือดที่นิยมใส่ arterial catheter ได้แก่ Redial artery
การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดําส่วนกลาง (Central venous pressures; CVP)
การวัดความดันของเลือดดําส่วนกลาง หรือแรงดันเลือดของหัวใจห้องบนขวา (right atrium pressure) เพื่อประเมินระดับของปริมาณน้ําและเลือดในร่างกาย
แสดงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของค่า CVP
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต (common drugs used in ICU)
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
1.1 Epinephrine หรือ Adrenaline 1 mg/ml/ampule (1: 1,000)
1.2 Amiodarone (Cordarone®)
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
2.1 Atropine
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
3.2 Digoxin (Lanoxin ®)
3.1 Adenosine
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
4.1 Dopamine (Inopin®)
4.2 Dobutamine
4.3 Norepinephrine (Levophed®) กลุ่ม Adrenergic agonist
5.ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
5.2 Sodium Nitroprusside
5.3 Nitroglycerin (NTG)
5.1 Nicardipine