Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยแยกโรค ระบบทางเดินหายใจ (case study) :silhouette: -…
การวินิจฉัยแยกโรค ระบบทางเดินหายใจ (case study) :silhouette:
ข้อมูลเบื้องต้น
ประวัติส่วนตัว
เพศชาย
อายุ 20 ปี
เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย
ศาสนา คริสต์
อาชีพ นักศึกษา
อาศัยอยู่จังหวัง ราชบุรี
ประวัติการเจ็บป่วย
CC:
หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
PI:
:!:7 ปีที่แล้ว มีอาการหายใจไม่ออก หอบ ทุกครั้งที่อาการหนาว จะมารับยาที่โรงพยาบาลตลอด
:!:3 เดือนที่แล้ว มีอาการหอบเหนื่อย แพทย์จึงให้ admit 1 คืนและได้รับยารับประทาน คือยาลดอาการไอ และยาแก้ภูมิแพ้ และยาพ่น
:!:2 เดือนที่แล้วมีอาการไอกลางคืนไอเเห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่ไม่เหนื่อยหอบ
:!:2-3 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ต่ำๆไอไม่มีเสมหะเวลากลางคืน รู้สึกแน่นหน้าอกเวลาไอ
:!:2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปตั้งแคมป์ในป่ากับเพื่อนๆ และผู้ป่วย ไม่ได้หยิบยาพ่นออกไปด้วย พอถึงที่แคมป์สักพักผู้ป่วยสูดดมควันไฟ และมีอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก เหงื่อออก จากนั้นเพื่อนๆจึงพาผู้ป่วยมาส่งที่โรงพยาบาล
PH:
:!:แพ้ฝุ่น ควัน และอากาศเย็น
ไม่มีประวัติการผ่าตัด
ไม่มีประวัติการแพ้ยา
ไม่มีประวัติการเกิดอุบัติเหตุ
ประวัติตามระบบ
เคยน้ำหนักลดลง ในช่วง1-2 เดือนที่ผ่านมา ในช่วงนั้นเล่นกีฬาบาสเกตบอล และเคย มีไข้ต่ำๆ ไอเวลากลางคืน ไม่เคยเหงื่อออกตอนกลางคืน
เคยมีช่วงที่หายใจหอบเหนื่อย แล้วผิวหนังจะมีเหงื่อชุ่มตามร่างกาย
เคยมีอาการไอบ่อยเมื่อเวลาเจอควัน เวลาที่อากาศหนาว
เคยไอกลางคืนแต่ไม่เหนื่อยหอบ เคยไอแห้งๆแต่ไม่มีเสมหะ ไม่เคยไอเป็นเลือด
เคยใจเต้นเร็วเวลาเหนื่อยหอบ จะเหนื่อยมากเวลาเล่นกีฬา ชนิดกีฬาที่เล่นคือ บาสเกตบอล
เคยมีอาการบวมที่ข้อเท้าจากการที่ซ้อมกีฬาหนักเพื่อเตรียมลงแข่ง มีการกระโดดทำให้เกิดขาบวม แต่อาการบวมยุบไปเอง
ภูมิหลัง
ชายไทยอายุ 20ปี ผู้ป่วยอาศัยอยู่บ้านกับมารดาซึ่งเป็นผู้ที่ดูแลในทุกๆเรื่องของผู้ป่วยและเป็นผู้พาไป โรงพยาบาลเพื่อ พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
ผู้ป่วยมักจะมีอาการหอบ เมื่อออกกำลังกายหนักๆหรือทำงานที่หนัก โดยหากผู้ป่วยมีอาการก็จะหยุดพักทันทีเพื่อบรรเทาอาการหอบ
จะมีอาการหากได้รับควัน ฝุ่น และเมื่อ ร่างกายสัมผัสกับอากาศที่เย็น ซึ่งผู้ป่วยจะแก้ปัญหาเมื่อเจออากาศที่เย็นโดยใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่น และระมัดระวัง ตัวเอง
ตัวเอง และทุกครั้งเมื่อผู้ป่วยมีอาการหอบ ก็จะใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากมีอาการที่หนัก มารดาจะเป็น ผู้ที่พาไปพบแพทย์
ผู้ป่วยเป็นนักกีฬาชอบเล่นกีฬาบาส รักบี้ ตั้งแต่สมัยมัธยมตอนต้น เมื่อเล่นกีฬาทำให้รู้สึก ว่าอาการหอบเหนื่อยห่างมากขึ้นกว่าก่อนหน้าที่ไม่ได้เล่นกีฬา
ในการที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวทำให้เกิดความ เขินอายเพื่อนที่จะต้องพกยาพ่นเพื่อบรรเทาอาการอยู่ตลอด บางครั้งผู้ป่วยจึงไม่อยากที่จะพกยาไว้ติดตัว
PE:
Skin : :warning: mild cyanosis
Nose : :warning: nasal flaring
Chest
Inspection : :warning:suprasternal retraction
Auscultation: :warning: mild crepitation at lower lobe of both lung and wheezing at upper lobe of both lung
Peripheral Vascular: :warning: mild cyanosis ,capillary refill 5 sec
Plan for Treatment
Ventolin
ให้เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบ ซึ่งยาจะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมที่หดเกร็ง ทำให้อาการเหนื่อยหอบของผู้ป่วยดีขึ้น
-Ventolin solution 1 ml. + 0.9% NSS up to 4 ml. NB stat (0.15mg/kg/dose) (Ventolin 1 ml. = 5 mg.)
หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือ อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า100ครั้ง/นาที ดูแลให้ได้รับยา
-Berodual 0.5 mg + 0.9% NSS up to 3 ml. NB stat (น้ำหนักมากกว่า 20 kg.ควรได้รับ 500 mcg./dose)
ยาพ่นสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน
-Ventolin Evohaler (100 mcg.) 1-2 puff actuation prn. (ไม่เกิน 4 ครั้ง/วัน)
Terbutaline กลุ่ม(β-agonists)
เพื่อใช้รักษาภาวะหลอดลมหดตัวจากโรคหืด อาการหายใจไม่สะดวก และแน่นหน้าอก ซึ่งสอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก โดยยาจะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจ
Brown mixture
เพื่อรักษาอาการไอ บรรเทาอาการไอแห้ง (ไอไม่มีเสมหะ อาจเกิดจากการแพ้ฝุ่น ควัน อากาศ เป็นหวัด) ซึ่งสอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยที่มีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ
-brown mixture 5 ml. oral tid.ac
Paracetamol
ให้เพราะผู้ป่วยมีไข้ต่ำๆ ซึ่งยาตัวนี้มีฤทธิ์ใช้เพื่อช่วยลดไข้
-Paracetamol (500 mg.) 1 tab oral prn q 4-6 hr. (10mg/kg/dose)
รายการปัญหา (Problem list)
แน่นหน้าอก
หายใจลำบาก
ไข้ หายใจลำบาก
การวางแผนเบื้องต้น (Initial plan)
หายใจลำบาก
:star:Vital sign : R = 28-30 /min O2sat 95%
:star:การตรวจร่างกาย
Chest: suprasternal retraction,mild crepitation at lower lobe of both lung and wheezing at upper lobe of both lung
Nose: nasa flaring
:star:O = มีอาการหายใจลำบาก
:star:S = ผู้ป่วยบอกว่า “ได้เดินทางออกจากบ้านเพื่อไปตั้งแคมป์ในป่ากับเพื่อนๆ และไม่ได้หยิบยาพ่นออกไปด้วย พอถึงที่แคมป์ได้มีการสูดดมควันไฟ และมีอาการหายใจไม่ออก จากนั้นเพื่อนๆจึงพามาส่งที่โรงพยาบาล ต้องนั่งรถเข็นมา เนื่องจากเดินไม่ไหว
โรคที่เกี่ยวข้อง
Asthma :checkered_flag:
เนื่องจาก ผู้ป่วยมีอาการไอ ไอแห้งๆไอมากในเวลากลางคืน มีอาการ แน่นหน้าอกเวลาไอ หายใจลำบากหายใจปีกจมูกบาน และมีอาการหอบเหนื่อย
เมื่อออกกำลังกายหรือทำงานหนัก ได้รับควันไฟ ควันบุหรี่ และเมื่อสัมผัสกับอากาศที่เย็น และประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวมีตาและยายมีโรคประจำตัวคือโรคหอบหืด
มี suprasternal retraction ฟังปอดพบเสียง crepitation ทั้งสองข้างเล็กน้อยที่ตำแหน่ง lower lobe และพบเสียง wheezing ทั้งสองข้างชัดเจน บริเวณ upper lobe
COPD :checkered_flag:
เนื่องจาก ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง ไอแห้งๆ
อาการหายใจหอบเวลาเจอควันและอากาศหนาว
แน่นหน้าอก
:star:O = เหงื่อออก
:star:Vital sign: Heart rate = 110-120 /min
:star:การตรวจร่างกาย
Heart : normal heart sound , no murmur
Heart : normal heart sound , no murmur
Peripheral Vascular: mild cyanosis ,capillary refill 5 sec
:star:S = “ได้เดินทางออกจากบ้านเพื่อไปตั้งแคมป์ในป่ากับเพื่อนๆ และไม่ได้หยิบยาพ่นออกไปด้วย พอถึงที่แคมป์ได้มีการสูดดมควันไฟ และมีอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก จากนั้นเพื่อนๆจึงพามาส่งที่โรงพยาบาล ต้องนั่งรถเข็นมา เนื่องจากเดินไม่ไหวเพราะอาการเหนื่อย”
โรคที่เกี่ยวข้อง
Ischemic heart disease:checkered_flag:
เนื่องจากมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย เมื่อออกกำลังกาย ไอ หายใจลำบากช่วงกลางคืน มีเหงื่อชุ่มตามร่างกาย
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ การตรวจร่างกายของผู้ป่วยรายนี้คือพบว่ามีชีพจร 110-120 ครั้งต่อนาที บริเวณปลายนิ้วเริ่มเขียว capilary refill 5 sec
ไข้ หายใจลำบาก
:star:O = เหงื่อออก
:star:Vital sign T= 37.7 ๐C R = 28-30 /min O2sat = 95%
:star:การตรวจร่างกาย
Nose : nasal flaring
Chest: suprasternal retraction,mild crepitation at lower lobe of both lung and wheezing at upper lobe of both lung
:star:S = ผู้ป่วยบอกว่า “ได้เดินทางออกจากบ้านเพื่อไปตั้งแคมป์ในป่ากับเพื่อนๆ และไม่ได้หยิบยาพ่นออก ไปด้วย พอถึงที่แคมป์ได้มีการสูดดมควันไฟ และมีอาการหายใจไม่ออก จากนั้นเพื่อนๆจึงพามาส่งที่ โรงพยาบาลต้องนั่งรถเข็นมา เนื่องจากเดินไม่ไหวเพราะมีอาการเหนื่อย”
โรคที่เกี่ยวข้อง :
Pneumonia :checkered_flag:
เนื่องจากกรณีศึกษามีการหายใจเอาสารที่ก่อ ให้เกิดความระคายเคืองเข้าไป ได้แก่ ควันไฟ
นอกจากนั้นอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย คือ มีไข้ต่ำ 37.7 องศาเซลเซียส ไอแห้งๆ หายใจปีกจมูกบาน หายใจเร็ว R = 28-30 /min หายใจลำบาก
ตลอดจนการตรวจ ร่างกายของ Pneumonia จะพบว่า การดู nasal flaring ,มี suprasternal retraction ฟังได้ยินเสียง crepitation เล็กน้อยที่ lower lobe ที่ปอดทั้งสองข้าง
Pulmonary tuberculosis :checkered_flag:
เนื่องจากกรณีศึกษา มีอาการ ไอเรื้อรัง ไอแห้ง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ไอมากตอนกลางคืน น้ำหนักลด มีไข้ 37.7 องศาเซลเซียส
ตลอดการตรวจร่างกายพบว่ามี หายใจลำบาก ไอแห้งๆ ไอเรื้อรัง ฟังปอดได้ยินเสียงcrepitation
Lung cancer :checkered_flag:
ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อย และมีอาการ ไอ ไม่มีเสมหะ มีไข้ต่ำ 37.7 องศาเซลเซียส น้ำหนักลดลง 2 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ตลอดจนการ ตรวจร่างกายฟังเสียงปอดได้เสียง Wheezing บริเวณ upper lobe
Plan for diagnosis
(CBC) : เชื้อ การอักเสบ
-หากพบค่า : WBC สูงระหว่าง 12,000 - 15,000 ลบ.ซม. บ่งชี้ถึง Ischemic heart disease
-หากพบค่า Eosinophil มีค่าสูงกว่าปกติ แสดงให้เห็นว่าร่างกายอาจกำลังเผชิญกับสภาวะภูมิแพ้ บ่งชี้ถึงโรค asthma
-หากพบร่วมกับมีค่า neutrophil สูงมากและมี toxic granules ช่วยสนับสนุนว่าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย บ่งชี้ถึงโรค pneumonia
Arterial blood gas : หากพบ ค่า PaO2 ปกติ ต่อมามีค่า PaO2 ต่ำเล็กน้อย (อยู่ระหว่าง 65 – 75 มิลลิเมตรปรอท) และค่า PaCO2 มักจะปกติ แต่ในระยะหลังโรคมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น ค่า PaCO2 จะสูงขึ้น ทำให้นึกถึงโรค COPD
Sputum gram stain :หากพบเชื้อแกรมลบนั้นในเสมหะอย่างน้อย 2 ครั้งติดต่อกัน เชื้อที่พบจะต้องเป็นชนิดเดียวกันและมีความไวต่อยาปฏิชีวนะเหมือนกัน จึงทำให้นึกถึงโรค Pneumonia
Tuberculin skin test : หากพบจุดที่ฉีดเริ่มแดง นูน และเป็นตุ่มหลังจากผ่านมาไม่กี่วันจะบ่งบอกว่าติดเชื้อ ทำให้นึกถึงโรค Pulmonary tuberculosis
AFB stain : การย้อมเสมหะ กรด หากตรวจพบ AFB positive จะบ่งชี้ถึงเชื้อวัณโรค หรือ non tuberculous mycobacteria
การวัดการอุดกั้นของทางเดินหายใจด้วยเครื่อง Spirometry
เป็นการวัดปริมาตรของลมที่เราเป่าออกมาให้เร็วและแรงที่สุด คนปกติเป่าลมออกได้ 80 %ของปริมาตรทั้งหมด แต่ผู้ป่วยหอบหืดอาจจะเป่าได้ 50-60%ของปริมาตรลมทั้งหมด
เครื่อง peak flow meter เพื่อวัด PEF (peak expiratory flow) :ถ้ามีความผันผวนของค่าสูงสุดและต่ำสุดมากกว่าร้อยละ20 ถือว่าเป็นหอบหืด
CT scan : เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
-หากพบว่ามี atherosclerotic plaque การที่มีพรากเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้ขัดขวางการไหลของเลือดโดยเฉพาะเมื่ออุดตันหลอดเลือดโคโรนารี่ ที่ไปเลี้ยงหัวใจทำให้ ขัดขวางการไหลของเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด บ่งชี้ได้ว่าเป็นโรค Ischemic heart disease
-หากพบว่ามีตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติ จะบ่งชี้ถึงโรค Lung cancer
Chest x- ray : ภาพรังสีทรวงอก
-หากพบกระบังลมแบนราบ และ หัวใจมีขนาดเล็ก บ่งชี้ถึงโรค COPD
-หากพบว่ามี infiltration แสดงว่า ปอดด้านล่างทั้งสองมีของเหลวคั่งค้างอยู่ในถุงลมปอด ซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบ บ่งชี้ถึงโรคผู้ป่วยโรค pneumonia
-หากพบเป็นจุดเล็ก ๆ ในปอด กระจายอย่างกว้างขวางและสม่ำเสมอทั่ว บ่งชี้ถึงโรค Pulmonary tuberculosis
MRI: การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อหาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอด
-หากพบว่ามีก้อนเนื้องอก หรือเซลล์ที่ ผิดปกติภายในปอด จะบ่งชี้ถึงโรค Lung cancer และ
-หากพบการถูกจำกัดการไหลเวียนเลือดเพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ จะบ่งชี้ถึงโรค Ischemic heart disease
K - MB (CK - isoenzyme) เป็นการตรวจเพื่อหาตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากผลเลือด หากพบ MB isoenzyme of creatine kinase (CK)
-หากตรวจพบค่า CK-MB มากก็จะยิ่งบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้
Final diagnosis
คิดว่า ผู้ป่วยรายนี้เป็นโรค Asthma
เนื่องจากการซักประวัติพบว่าผู้ป่วยมีอาการไอแห้งๆไม่มีเสมหะ ไอมากในเวลากลางคืน มีอาการแน่นหน้าอกเวลาไอ หายใจลำบาก หายใจมีอาการหอบเหนื่อย เมื่อออกกำลังกายเล่นกีฬาหนัก จากการได้รับควันไฟควันบุหรี่ และเมื่อสัมผัสกับอากาศที่เย็น และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหอบหืด
การตรวจร่างกายของผู้ป่วยรายนี้คือพบ มี suprasternal retraction ฟังปอดพบ เสียง wheezing ทั้งสองข้างชัดเจน บริเวณ upper lobe จากผล x- ray
พบ infiltration at lower lobe of both lung และ ผลตรวจจากทางห้องของผู้ป่วยรายนี้พบว่า eosinophil =5% ( ค่าปกติ 1-4% )
โรคที่คิดว่าน่าจะมีโอกาสจะเป็น
COPD
(Chronic obstructive pulmonary disease)
Pneumonia
Pulmonary tuberculosis
Lung cancer
สาเหตุที่ตัดโรคต่างๆที่ไม่ใช่Asthma ทิ้ง
COPD จากการซักประวัติพบว่าผู้ป่วยรายนี้อยู่ในช่วงวัยรุ่น ไม่ได้สูบบุหรี่ ตรวจร่างกายผู้ป่วยไม่พบอกลักษณะถังเบียร์ และไม่ได้ตรวจpulmonary function test , Chest x- rayและArterial blood gas จึงตัดโรค COPD ออกไป
Ischemic heart disease ผู้ป่วยไม่มีอาการเจ็บหน้าอกร้าวไปที่แขนข้างซ้าย ไม่มีอาการบวม และจากการส่งตรวจพิเศษของผู้ป่วยไม่พบการส่งตรวจที่เกี่ยวข้องกับ Cardiac marker และ CK - MB ซึ่งเป็นการส่งตรวจที่บ่งบอกที่การมีภาวะหัวใจขาดเลือดจึงตัดโรค Ischemic heart disease ออกไป
Pneumonia จากการซักประวัติ ร่วมกับการตรวจร่างกายของผู้ป่วยไม่พบอาการไข้สูง หรือหนาวสั่น แต่ไม่มีส่งตรวจSputum gram stainและ Hemocultureจึงตัดโรค Pneumonia ออกไป
Pulmonary tuberculosis เนื่องจากการซักประวัติของผู้ป่วยไม่พบอาการไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น และไม่มีส่งตรวจ Tuberculin skin test และไม่ได้ส่งตรวจ AFB stain จึงตัดโรค Pulmonary tuberculosis ออกไป
Lung cancer ผู้ป่วยยังไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดอย่างชัดเจนและอาการที่ผู้ป่วยแสดงยังไม่มีอาการเบื่ออาหารกลืนลำบากที่แสดงให้เห็นว่าเป็นมะเร็งปอดและไม่มีผล x-ray ที่พบว่ามีก้อนเนื้องอกหรือเซลล์ที่ผิดปกติภายในปอดไม่ได้ทำการตรวจ PET scanที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอด จึงตัดโรค Lung cancer ออกไป
Plan for Nursing Care and Health Education (สถานการณ์ ห้องฉุกเฉิน)
1.ให้ออกซิเจน mask with bag เพื่อรักษาระดับของ SaO2 > 95%
2.ฟังปอดเพื่อดูว่าการหายใจของผู้ป่วย และในผู้ป่วยโรคหอบจะได้ยินเสียง Wheeze หรือ Rhonchi จากปอดทั้งสองข้าง
3.ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจ หากต่ำกว่า 100ครั้ง/นาที ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลม Ventolin solution 1 ml. + 0.9% NSS up to 4 ml. NB stat (0.15mg/kg/dose) (Ventolin 1 ml. = 5 mg.) หากอาการไม่ดีขึ้นหรืออัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ดูแลให้ได้รับยา Berodual 0.5 mg + 0.9% NSS up to 3 ml. NB stat สังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ปวดศีรษะมาก ใจสั่น ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว หมดสติ ถ้าพบอาการดังกล่าวให้การช่วยเหลือตามขอบเขตแห่งวิชาชีพและรายงานแพทย์ทราบ
4.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา brown mixture 5 ml. oral tid.ac. ) เพื่อรักษาอาการไอ บรรเทาอาการไอแห้ง ไอไม่มีเสมหะ อาจเกิดจากการแพ้ฝุ่น ควัน อากาศ เป็นหวัดตามแผนการรักษาของแพทย์
5.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Paracetamol (500 mg.) 1 tab oral prn q 4-6 hr. (10 mg/kg/dose) ตามแผนการรักษาของแพทย์ และกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ เพื่อช่วยลดอาการไข้
6.จัดท่านอนศีรษะสูง 45 องศา และสอนการหายใจ พยาบาลควรเฝ้าดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที หากผู้ป่วยไม่สามารถรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ และรายงานให้แพทย์ทราบ
7.วัดสัญญาณชีพทุก 30 นาที สังเกตติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอาการขาดออกซิเจนที่ผิวหนัง เล็บ เยื่อบุช่องปาก ริมฝีปากเขียวหรือไม่ บันทึกอาการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบภาวะขาดออกซิเจนให้การช่วย เหลือตามขอบเขตแห่งวิชาชีพพยาบาล และรายงานแพทย์
8.ประเมินอาการซ้ำที่ 1 ชั่วโมง หลังได้รับยาขยายหลอดลม หากอาการดีขึ้นอนุญาติให้กลับบ้านและถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นให้รับไว้ในโรงพยาบาล
9.นัดติดตามอาการภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อวางแผนการรักษาต่อในระยะยาว
คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อไม่ให้โรคกำเริบ
1.แนะนำให้ผู้ป่วยพกยาฉุกเฉินติดตัวไว้ เพื่อบรรเทาอาการเมื่อมีอาการหอบหืดกำเริบ และคนรอบข้างควร รู้ตำแหน่งที่ผู้ป่วยเก็บยาเอาไว้ หากฉุกเฉินคนรอบข้างจะได้ช่วยเหลือทัน
2.แนะนำการฝึกหายใจที่ถูกต้องเพื่อลดความรุนแรงขณะมีอาการหอบหืดได้ โดยให้หายใจเข้าและออกลึกๆ ยาวๆทางปาก สอนและฝึกบริหารการหายใจและไอที่ถูกวิธี
3.แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ หรือ สารก่อ ภูมิแพ้ ได้แก่ ควันไฟ อากาศเย็น
4.แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง หากมีอาการหอบหรือเหนื่อย ควรหยุดออกกำลังกายทันที
5.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เป็นไข้หวัด หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
6.แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ วันละประมาณ 8-10 แก้ว
การให้คำแนะนำหลังกลับบ้าน ตามหลัก DMETHODS
:red_flag: D (Diagnosis/Disease) = อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นและการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ คือโรคหอบหืด ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก มีอาการเหนื่อยหอบ การทำงานของปอดลดลง อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยหลังจากที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาที่รพ.แพทย์ได้ทำการให้ยาพ่นเพื่อขยายหลอดลมและให้ออกซิเจนเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด
:red_flag: M (Medicine) = แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามแผนการรักษา ให้ถูกต้อง ต่อเนื่อง ตรงเวลา และไม่ซื้อยารับประทานเอง โดยมียา ดังนี้
Paracetamol 500 mg 1 tab oral prn. q 4-6 hr. เพื่อลดไข้
brown mixture 5 ml. oral tid.ac. เพื่อบรรเทาอาการไอแห้งๆ
Terbutaline 5 mg. oral tid. pc. เพื่อใช้รักษาภาวะหลอดลมหดตัวจากโรคหืด อาการหายใจไม่สะดวก และแน่นหน้าอก
Ventolin Evohaler (100 mcg.) 1-2 puff actuation prn. (ไม่เกิน 4 ครั้ง/วัน) เพื่อบรรเทาอาการจากโรคหอบหืด
:red_flag:E (Environment,Exercise,Economic)
Environment = แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจหรือสารก่อนภูมิแพ้ เช่น ควัน การเล่นกีฬาหนัก อากาศเย็น
Excercise = การออกกำลังกายควรทำสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อาจทำโดยค่อยๆปรับเปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องใช้แรงมาก เช่นการเดิน ช่วยให้การทำงานของระบบหายใจดีขึ้น ไม่ควรเดินช้าหรือเร็วเกินไป
การว่ายน้ำ ทำให้ร่างกายแข็งแรงใช้การหายใจช่วยในการทำงานของปอดดีขึ้น
Economic = แนะนำสิทธิในการรักษาพยาบาล เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถรักษาได้ที่ไหนก็ได้ใกล้บ้าน ค่าใช้จ่ายรัฐบาลออกให้ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ
:red_flag:T (Treatment) = สาธิตการพ่นยาที่ถูกต้องและแนะนำการฝึกการหายใจที่ถูกต้อง เพื่อลดความรุนแรงขณะมีหอบหืดได้โดยการหายใจเข้าและออก ลึกๆยาวๆทางปาก
:red_flag: H (Health) = แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ3ครั้งโดยผู้ป่วยชอบเล่นกีฬาบาสจึงแนะนำให้ผู้ป่วยสามารถเล่นได้อย่างเหมาะสม หากมีอาการหอบหรือเหนื่อยควรหยุดออกกำลังกายทันที
:red_flag: O (Outpatient Referral) = แนะนำให้ญาติพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และสังเกตอาการผิดปกติ เช่น หอบเหนื่อยมาก ปลายมือปลายเท้าเขียว หมดสติ เป็นต้น ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
:red_flag: D (Diet) = แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นผักและผลไม้ และแนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 - 10 แก้ว/วัน
:red_flag: S (Support psychological) = แนะนำให้ญาติคอยเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยในการรักษาและดูแลตัวเอง ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ