Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU,…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เทคโนโลยี และยาที่ใช้บ่อยใน ICU
การพยาบาลผู้ป่วที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจ
ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ
Non-invasive positive ventilator; NPPV เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ แลกเปลี่ยนก๊าซให้ดีขึ้น แก้ไขภาวะกรดจากการหายใจ ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของปอดที่รุนแรง
Invasive positive ventilator; IPPV เครื่องช่วยหายใจประเภทความดันบวกที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ใช้มากสุดในภาวะวิกฤต อัดอากาศเข้าปอดผ่าน endotracheal tube
การแบ่งประเภทของเครื่องช่วยหายใจ
Control mandatory ventilation (CVM)หรือ A/C ventilation การหายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่มีการหายใจเองเลย ปัจจุบันนิยมใช้ A/C ventilation
Synchronized Intermittent mandatory ventilation (SIMV) การช่วยหายใจที่มีทั้งการหายใจเองและใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นการเตรียมหย่าเครื่องช่วยหายใจ
Spontaneous ventilation ผู้ป่วยเริ่มหายใจเองกำหนดระยะเวลาและปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าด้วยตนเองทั้งหมด
continuous positive airway pressure (CPAP) การหายใจที่ให้แรงดันบวกต่อเนื่องในระดับเดียวกันที่งในช่วงหายใจเข้าและออก โดยไม่มีการส่งแรงดันช่วยเพิ่ม เช่น ผู้ป่วย obstructive sleep apnea
Pressure support ventilator (PSV) เครื่องจะช่วยจ่ายก๊าซเพื่อให้ได้ระดับระดับระดับความดันตามที่ได้ตั้งไว้ และจะหยุดจ่ายอากาศเมื่อผู้ป่วยไม่ต้องการแล้ว มักใช้ในการหย่าเคื่องช่วยหายใจ
ข้อบ่งชี้ในการใช้เตรื่องช่วยหายใจ
ลดการทำงานของการหายใจ ช่วยให้การทำงานของการแลกเปลี่ยนอากาศดีขึ้น
ประโยชน์และข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ
ความล้มเหลวของการระบายอากาศ เช่น ผู้ป่วยซึมมาก ผู้ป่วยโรคหืด
กล้ามเนื้อกระบังลมไม่มีแรง เช่น ได้รับยาที่กดศูนย์หายใจ
ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผิดปกติ
ภาวะพร่องออกซิเจน เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
ทำให้เลือดดำไหลกลับเข้าสู่หัวใจลดลง ส่งผลให้ปริมาตรเลือดแดงที่ส่งออกจากหัวใจลดลง
การบาดเจ็บของปอดจากการใช้ปริมาตรการหายใจที่สูงขึ้น
ป้องกันได้โดยการตั้งความดันสุงสูดในถุงลมปอดไม่เกิน 35 เซนติเมตรน้ำ และการตั้งค่า tidal volume ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ภาวะถุงลมปอดแตก
จากการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวก ป้องกันได้โดยการตั้งความดันสุงสูดในถุงลมปอดไม่เกิน 35 เซนติเมตรน้ำ
การบาดเจ็บของทางเดินหายใจ
มักพบในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมเป็นเวลานาน
ภาวะปอดแฟบ
จากการตั้งปริมาตรการหายใจต่ำและไม่มีการตั้งถอนหายใจให้ผู้ป่วย
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนานเกิน 48 ชั่วโมง
ภาวะพิษจากออกซิเจน
จากการได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นมากกว่า 0.6 นานเกิน 24-48 ชั่วโมง ทำให้มีการทำลายของเนื้อปอด ผู้ป่วยจะไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย
ระบบทางเดินอาหาร
จากการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลงเนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจน ภาวะเครียดหรือจากการกลืนอากาศเข้าไปขณะใส่ท่อหลอดลม ทำให้คลื่นใส้อาเจียนได้
ผลต่อภาวะโภชนาการ
คำศัพท์สำคัญ
Peak flow (PF) อัตราการไหลของอากาศเข้าสู่ปอด เป็นการควบคุมช่วงระยะเวลาหายใจเข้า
Inspiratory time : Expiratory time (I:E) เวลาหายใจเข้าต่อเวลาหายใจออก ส่วนใหญ่ตั้ง 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3
Minute volume (MV) ลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที
Sensitivity ความไวของเครื่องที่ผู้ป่วยต้องออกแรงกระตุ้น เพื่อเริ่มต้นการหายใจเข้า
Respiratory rate (RR) อัตราการหายใจ ปกติ 12 - 20 ครั้ง/นาที
Fraction of Inspiratored Oxygen (Fio2) ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนที่เครื่องปล่อยเข้าสู่ผู้ป่วย ปรับได้ตั้งแต่ 21 - 100 %
Tidal volume (Vt) ปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด 1 ครั้ง ค่าปกติ 6 - 8 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
Positive End Expiratory Pressure (PEEP) การทำให้ความดันในช่วงหายใจออกสุดท้ายมีแรงดันบวกค้างไว้ในปอดตลอดเวลา
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลด้านจิตใจ
ประคับประคองด้านจิตโดยอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย วิธีการรักษาอย่างมีเหตุผล แจ้งให้ทราบทุกครั้งเมื่อต้องให้การพยาบาล ให้ความมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด รวมทั้งดูแลด้านจิตใจทั้งผู้ป่วยและญาติ
การดูแลด้านร่างกาย
ประเมินสภาพผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อน
การดูแลท่อหลอดลมและความสุขสบายในช่องปากของผู้ป่วย
การป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ การดูดเสมหะ
การดูแลเครื่องช่วยหายใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การป้องกันภาวะปอดแฟบ โดยการทำ Deep lung inflating โดยใช้ Self-inflating bag บีบลมเข้าปอด
การติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นที่ 1 ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ
มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเพียงพอ
ค่า PEEP น้อยกว่า 5 เซนติเมตรน้ำ
ประเมินโรคหรือสาเหตุที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหายหรือทุเลาลง
ผู้ป่วยรู้สึกตัวและทำตามคำสั่ง
สัญญาณชีพปกติ
ค่า STV เมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจแล้วมากกว่า 5 มิลลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ความสารถในการหายใจเองของผู้ป่วย
ใช้ยาระงับประสาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการควบคุมความกระวนกระวายของผู้ป่วย
ไม่ใช้ยากระตุ้นหัวใจหรือหลอดเลือด
สาารถไอได้ดี สังเกตได้จากขณะที่ดูดเสมหะ
ขั้นตอนที่ 2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าศีรษะสูงหรือท่านั่ง
เริ่มทำการหย่าเคื่องช่วยหายใจเมื่อประเมินว่าผู้ป่วยพร้อม
ดูดเสหะเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
วัดสัญญาณชีพและความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว
อธิบายวิธีการหย่าคร่าวๆ เพื่อลดความกลัว และให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ
เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทุก 15 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
ควรเริ่มหย่าในตอนเช้าหลังจากที่ผู้ป่วยได้พักผ่อนเต็มที่
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจโดย T piece 10 ลิตร/นาที ต่อไปได้ ให้ต่อท่อช่วยหายใจเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ setting ก่อนหน้าที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ขั้นตอนที่ 3 หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ
จัดท่าผู้ป่วยท่านั่งศีรษะสูง
ให้ O2 mask with collugate 10 ลิตร/นาที 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น O2 cannula 3-6 ลิตร/นาที
วัดสัญญาณชีพทุก 15-30 นาทีและทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่และเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต (common drugs used in ICU)
ยาที่ใช้ในภาวะ Tachyarrhythmia
Adenosine
ขนาดยาที่ใช้
Adenosine 6 mg/2 ml/vial IV ขนาด 6 mg ฉีดเร็ว ๆ ภายใน 1–3 วินาที ตามด้วย NSS bolus 20 ml พร้อมกับยกแขนสูง (double syringe technique) ให้ยาซ้ำได้อีก 12 mg
ผลข้างเคียง
อาการหน้าแดง (flushing) เหนื่อยและแน่นหน้าอก อาการไม่รุนแรงและมักจะหายไป
การนำไปใช้
ใช้เป็น first line drug ในภาวะ Stable narrow complex tachycardia (reentry SVT)
ภาวะ regular monomorphic wide complex tachycardia
การพยาบาล
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว (10 วินาที) และหมดฤทธิ์เร็ว จึงต้องฉีดเร็วๆ บริเวณ upper extremities และ flush NSS ตาม 20 ml ด้วยวิธี double syringe technique
ถ้าฉีดยาช้า ยาจะถูกทำลายหมดก่อนถึงหัวใจ เนื่องจากยามี half-life สั้นมากเพียง 0.5-5 วินาที
Digoxin (Lanoxin ®)
ขนาดยาที่ใช้
Digoxin injection 0.5 mg/ 2 mL amp (=0.25 mg/mL) ขนาดเริ่มแรก 0.25 – 0.5 mg IV และให้ซ้ำได้ สูงสุด 1 mg/day
การนำไปใช้
Heart failure
หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ atrial fibrillation (AF), atrial flutter และ supraventricular Tachycardia (SVT)
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นช้าชนิด Sinus bradycardia, S-A arrest
หัวใจเต้นผิดจังหวะ AV block, Atrial fibrillation
การเป็นพิษจากยา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย สับสบ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจหยุดเต้น
การพยาบาล
กรณียาฉีด ประเมินสัญญาณชีพก่อนให้ยา และหลังให้ยาทุก 15 นาทีติดต่อกัน 2 ครั้ง ต่อไปทุก 30 นาที ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชั่วโมงจนครบ 6 ชั่วโมง
monitor EKG ขณะฉีดยา และหลังฉีดยา 1 ชั่วโมง หรือในผู้ป่วยที่มีลักษณะการเต้นของหัวใจผิดปกติซึ่งอาจเกิดจากพิษของยา
รายงานแพทย์เมื่อ HR < 60 ครั้ง/นาที หรือ >100 ครั้ง/นาที BP < 90/60 mmHg RR < 14 ครั้ง/นาที หรือพบ Arrhythmia
ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor)
Dobutamine
ขนาดยาที่ใช้
Dobutamine 2-20 mcg/kg/min ขนาดยามากกว่า 20 mcg/kg/min ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งทำให้ภาวะหัวใจขาดเลือดแย่ลงได้
ผลข้างเคียง
บางรายอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้นได้
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
ยาอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะได้
การนำไปใช้
เพิ่ม cardiac output ในผู้ป่วยหัวใจวาย หรือ cardiogenic shock
การพยาบาล
เหมือนกับยา Dopamine
Norepinephrine (Levophed®)
ขนาดยาที่ใช้
เริ่มต้นที่ 0.01-3 mcg/kg/min หากขนาดยาเกิน 1 mcg/kg/min เฝ้าระวังการเกิด vasoconstriction อย่างใกล้ชิด
ผลข้างเคียง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย หายใจลำบาก
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
การนำไปใช้
รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ septic shock และ cardiogenic shock ระดับรุนแรง หรือภาวะ shock หลังจากได้รับสารน้ำเพียงพอแล้ว
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor ECG อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชั่วโมง
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากผสมยาความเข้มข้นเกินกว่า 4 mg/D5W 250ml ควรให้ทาง central line
Dopamine (Inopin®)
การนำไปใช้
ขนาดต่ำ ใช้ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะออกน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไต (renal blood flow) และสมอง
ขนาดปานกลาง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ เพิ่ม Cardiac out put
ขนาดสูง ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ shock จากการติดเชื้อในกระแสเลือด
ขนาดยาที่ใช้
ยา 1 Amp บรรจุ 10 ml มีความเข้มข้นของยา 250 mg (25 mg/ml) สารละลายที่ใช้เจือจางยาคือ NSS หรือ D5W
ผลข้างเคียง
การรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดทำให้เนื้อเยื่อตายได้
ผลข้างเคียงเกิดจากการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ เป็นต้น
การพยาบาล
เลือกตำแหน่งให้ยาบริเวณหลอดเลือดดำเส้นใหญ่และควบคุมอัตราการ
ไหลของยาโดยใช้เครื่อง Infusion pump
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมงเพื่อเฝ้าระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด หากพบรอยแดง บวม ให้เปลี่ยนตำแหน่งใหม่ทันที
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต monitor ECG urine out put อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทุก 0.5 -1 ชั่วโมง
ปรับเพิ่มหรือลดยาได้ทีละ 2μd/min keep BP ≥ 90/60 และ ≤140/90 หรือตามแผนการรักษา
ยาที่ใช้ในภาวะ Bradyarrhythmia
Atropine
ขนาดยาที่ใช้
0.6-1 mg ทุก 3-5 นาที (ขนาดสูงสุดไม่เกิน 3 mg)
ผลข้างเคียง
ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)
ในกรณีที่มี acute myocardial infarction อาจทำให้เกิดภาวะ ischemia มากขึ้น ท้องอึด การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง
การพยาบาล
ควรระวังการให้ขนาดที่ต่ำกว่า 0.5 mg อาจเกิดการตอบสนองชนิดหัวใจเต้นช้าลงไปอีกได้
ติดตามสัญญาณชีพ monitor EKG อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
ไม่ควรให้ถ้า HR > 60 ครั้ง/นาที
รายงานแพทย์เมื่อ HR > 120 ครั้ง/นาที โดยให้ monitor HR ทุก 5 นาที
การนำไปใช้
ใช้แก้ไขภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติและ AV block
ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
Sodium Nitroprusside
ขนาดยาที่ใช้
การเตรียมยาผสม 50 mg ใน D5W 250 ml เริ่มให้ 0.1 mcg/kg/min ปรับยาขึ้นครั้งละ 10 mcg/min
ผลข้างเคียง
หากลดความดันโลหิตเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก
เกิดพิษจาก cyanide มักพบในผู้ป่วยที่ได้รับยาในขนาดสูง นานมากกว่า 1 ชั่วโมง
การนำไปใช้
ใช้ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive emergency
ลด afterload ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ทุก 5 นาทีหลังให้ยา
ป้องกันยาในขวดน้ำเกลือทำปฏิกิริยากับแสงด้วยกระดาษ ผ้า หรือ aluminum foil ให้สังเกตว่าสีของยาจะเปลี่ยนไปหากทำปฏิกิริยากับแสง
Nitroglycerin (NTG)
ผลข้างเคียง
Hypotension, Tachycardia, Flushing, headache
การพยาบาล
monitor EKG ยาทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต ยามีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำ
ขนาดยาที่ใช้
เริ่มขนาด 5-10 mcg/min เพิ่มทีละ 5-10 mcg/min ทุก 5-10 นาที ขนาดยา 30-40 mcg/min ทำให้เกิด Vasodilatation ขนาดยาที่มากกว่า 150 mcg/min ทำให้เกิด arteriolar dilation
การนำไปใช้
Acute coronary syndrome, Chest pain (angina pectoris)
Heart failure โดยช่วยในการลด preload
Nicardipine
การนำไปใช้
ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypertensive crisis
ขนาดยาที่ใช้
IV bolus คือ เจือจางยา Nicardipine 2 mg ด้วย NSS ให้เป็น 4 ml IV ครั้งละ 1-2 ml นาน 1-2 นาที ให้ซ้ำได้ทุก 15 นาที
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าแดง
ใจสั่น หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ
การรั่วออกของยาออกนอกเสนเลือด เพราะอาจทำใหหลอดเลือดอักเสบ
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต
กรณี Emergency ให้ยาทาง IV bolus ติดตามทุก 5 นาที จน BP, HR ได้ระดับที่ต้องการ จากนั้น
ติดตามทุก 15 นาที
กรณีให้ IV drip ติดตามทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก จากนั้น ทุก 1 ชั่วโมงขณะให้ยา
รายงานแพทย์ทันทีถ้า BP < 90/60 mmHg หรือ HR< 60 ครั้ง/นาที หรือ HR > 120 ครั้ง/นาที
ยาที่ใช้ในภาวะ Pulseless Arrest
Epinephrine หรือ Adrenaline
ขนาดยาที่ใช้
Cardiac arrest เริ่ม 1 mg IV และให้ซ้ำทุก 3-5 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น ขนาดยาที่ให้ทางท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube) ขนาด 2-2.5 mg
Hypotension or symptomatic bradycardia อาจผสม 1 mg ใน NSS หรือ sterile water 500 ml ในขนาด 2-10 mcg/min
ขนาดยาที่ใช้ในกรณีความดันโลหิตต่ำรุนแรง (severe hypotension) ขนาด 0. 05- 1.0 mcg/kg/min
ผลข้างเคียง
tachycardia
arrhythmias
hypertension
การนำไปใช้
ใช้ในภาวะ symptomatic bradycardia ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ atropine
Cardiac arrest
ใช้เป็นยาตัวแรกในการทำ CPR ทั้งในภาวะ systole/PEA และ VF/pulseless VT
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ทุก 15 นาที ติดต่อกัน 2 ครั้ง เมื่อเริ่มให้ยา
ปรับเพิ่ม/ลดขนาดยา เมื่อ BP< 90/60 หรือ >140/90 mmHg หรือ HR>120 ครั้ง/นาที หรือตามแผนการรักษา
Amiodarone (Cordarone®)
การนำไปใช้
ยารักษาหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation และ Atrial flutter
หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิด Ventricular fibrillation (VF) และ Ventricular tachycardia (VT)
ขนาดยาที่ใช้
ในกรณีทำ CPR ขนาด 300 mg หรือ 5 mg/kg เจือจางใน D5W 20 ml. IV push
ผลข้างเคียง
อาจทำให้เกิด vasodilatation และ hypotension ได้
Bradycardia, hypothyroidism, hyperthyroidism, thrombophlebitis
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและ monitor EKG ทุก 15 นาที 3 ครั้ง หลัง loading dose
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือด (central line monitor)
arterial line; A-line
ข้อบ่งชี้ในการวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดง
ในรายที่จำเป็นต้องการตรวจ arterial blood gas หรือส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการบ่อยๆ
ผู้ป่วยที่ใช้ inotropic drugs และ vasoactive drugs
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดซึ่งอาจเสียเลือดได้มาก
ผู้ป่วยที่วัดความดันโลหิตยาก เช่น ผู้ป่วยถูกไฟไหม้
ในผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนเลือดลดลง หรือความดันโลหิตต่ำ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่สายหลอดเลือดแดง
1. ตรวจสอบความแม่นยำของการปรับเทียบค่า
Levelling the transducer
Zeroing the transducer
2. ดูแลระบบของ arterial line ให้มีประสิทธิภาพ ใช้ continuous flush system
3. ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ
การเกิดเนื้อตาย
Air embolization จาก air ที่ใช้หลุดเข้าไปในระบบจากการ flush
ภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ มักเกิดในรายที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลง
4. การป้องกันการติดเชื้อ
ใช้ sterile technique ในทุกขั้นตอนของการเตรียมและการวัด
หลีกเลี่ยงการปลดสาย ข้อต่อต่าง ๆ ดูแลให้เป็นระบบปิด
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อตรงตำแหน่งสายหลอดเลือดแดง
ทำแผลทุก 7 วัน
เปลี่ยนชุดของ transducer และชุดการให้สารน้ำทุก 3 วัน
5. เมื่อมีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทาง arterial line ต้อง flush สาย ไม่ให้มีเลือดหรือฟองอากาศ
ค้างในสาย
6. ตรวจสอบข้อต่อต่าง ๆ ให้แน่นอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการหัก งอ ของสาย arterial line
7. การป้องกันการเลื่อนหลุด ควร immobilized arm โดยใช้ arm broad ที่เหมาะสม
8. ตรวจดูคลื่นที่แสดงการอุดตัน (damped waveform) และบันทึกตำแหน่งของสายยาง
9. จดบันทึกค่า Arterial blood pressure ที่ได้ทุก 15-60 นาที
10. ในกรณีที่แพทย์ถอดสายยางออกแล้วควรกดตำแหน่งแผลไว้นาน อย่างน้อย 10 นาที หรือจนกว่า
เลือดจะหยุด
Central venous pressures; CVP
ข้อบ่งชี้ในการติดตามค่า CVP
ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน
ในกรณีที่ต้องการประเมินการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด ภาวะ shock และกรณีอื่นที่ทำให้ปริมาณเลือดและน้ำในร่างกายลดลง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
ความแม่นยำของการเปรียบเทียบค่า
Levelling the transducer
Zero the transducer
ป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวน
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
พิจารณาความจำเป็นในการคาสายสวนหลอดเลือดดำ และพิจารณาถอดออกให้เร็วที่สุด
ประเมินแผลบริเวณรอบ ๆที่คาสายสวนหลอดเลือดดำทุกเวร
ทำความสะอาดแผลด้วย 2% Chlorhexidine in 70% Alcohol และเปลี่ยน sterile transparent dressing ทุก 7 วัน
สวมปิดบริเวณข้อต่อด้วย needleless connector
ในกรณีการเปลี่ยนชุดสารน้ำควรเปลี่ยนภายใน 72 ชั่วโมง
เฝ้าระวังและดูแลระบบการให้สารน้ำต้องเป็นระบบปิดตลอดเวลา
ป้องกันการอุดตันของสายสวน ควรตรวจสอบตำแหน่งสายและทดสอบสายก่อนใช้งานทุกครั้ง ดูแลสายสวนทางหลอดเลือดดำ ไม่ให้หักพับงอ
การป้องกันฟองอากาศเข้าหลอดเลือดโดยดูแลให้เป็นระบบปิด ป้องกันการเลื่อนหลุดของสาย ป้องกันฟองอากาศเข้าสู่หลอดเลือดในขณะวัด CVP
นางสาวจุฑามาศ โยระภัตร 6001210972 เลขที่ 44 Sec.A