Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A beautiful mind, นางสาวณัฐชยา ฮ้อเจริญทรัพย์ เลขที่ 22 ห้อง A…
A beautiful mind
โรคที่คาดว่าจะเป็น
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
อาการ
ระยะเริ่มมีอาการ
ระยะนี้การเปลี่ยนแปลงจะค่อยเป็นค่อยไป มักมีปัญหาในด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือด้านสัมพันธภาพ การเรียนหรือการทำงาน ญาติหรือคนใกล้ชิดมักเห็นว่าผู้ป่วยเปลี่ยนไปไม่เหมือนคนเดิม
ระยะอาการกำเริบ
อาการหลงผิด
หวาดระแวง หลงผิดว่าเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวล้วนแต่เกี่ยวโยงกับตนเอง
ชนิดที่พบบ่อยคืออาการหวาดระแวง
โดยเชื่อว่าตนเองถูกกลั่นแกล้ง มีคนปองร้าย
อาการประสาทหลอน
รับรู้ทั้งๆ ที่ไม่มีสิ่งกระตุ้น ซึ่งเป็นได้กับการรับรู้ทั้งทางรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
ได้ยินเสียงแว่ว
เห็นภาพหลอน
อาการด้านความคิด
พูดจาไม่ต่อเนื่องกัน พูดเรื่องหนึ่งยังไม่ทันจบก็เปลี่ยนเรื่องทันที โดยที่อีกเรื่องหนึ่งก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเดิมหรืออาจเกี่ยวเนื่องเพียงเล็กน้อย
ตอบไม่ตรงคำถาม
ใช้คำแปลกๆ ที่ไม่มีใครเข้าใจนอกจากตัวเขาเอง
อาการด้านพฤติกรรม
พฤติกรรมในช่วงนี้จะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจเป็นจากความหลงผิด ประสาทหลอน
เก็บตัวมากขึ้น
ทำท่าทางแปลกๆ
อาการด้านลบ
ผู้ป่วยขาดในสิ่งที่ควรจะมีในคนทั่วๆ ไป
ไม่กระตือรือร้น เฉื่อยชาลง
อารมณ์เฉยเมย พูดน้อยหรือไม่ค่อยพูด
ไม่สนใจคบหาสมาคมกับใคร
ระยะอาการหลงเหลือ
ส่วนใหญ่แล้วอาการต่างๆ ที่กำเริบจะเป็นอยู่ช่วงหนึ่ง เมื่อรักษาก็จะทุเลาลง อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนจะหายไป หรืออาจมีแต่ก็น้อยหรือเป็นนานๆ ครั้ง
เกณฑ์การวินิจฉัย
ก. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป นาน 1 เดือน
พูดจาสับสนมาก มักเปลี่ยนเรื่องจนฟังไม่เข้าใจ
พฤติกรรมเรื่อยเปื่อย วุ่นวาย หรือมีท่าทางแปลกๆ
อาการประสาทหลอน
อาการด้านลบ ได้แก่ อารมณ์เฉยเมย ไม่ค่อยพูด หรือเฉื่อยชา
อาการหลงผิด
หมายเหตุ
แม้มีเพียงอาการเดียวก็ถือว่าเข้าเกณฑ์ หากเป็นอาการหลงผิดที่มีลักษณะแปลกพิลึก หรือหูแว่วเสียงคุยกันเรื่องผู้ป่วย หรือแว่วเสียงวิจารณ์ตัวผู้ป่วย
ข. กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน การคบหาพูดคุยกับผู้อื่นแย่ลงมาก หรือไม่สนใจดูแลสุขอนามัยของตนเองอย่างมาก
ค. มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมีระยะอาการกำเริบ (ตามข้อ ก) นานอย่างน้อย 1 เดือน และระยะที่เหลืออาจเป็นระยะเริ่มมีอาการ หรือระยะอาการหลงเหลือ
สาเหตุ
กรรมพันธุ์
ระบบสารเคมีในสมอง
โดปามีน ทำงานมากเกินไป
ความผิดปกติในส่วนอื่นๆ ของสมอง
เลิอดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าลดลง
พบกับสภาพกดดันบางประการทำให้เกิดอาการของโรคจิตเภทขึ้นมา
สภาพครอบครัว เช่น ชอบตำหนิติเตียนผู้ป่วย
การรักษา
ยารักษาโรคจิต
ระยะควบคุมอาการ
เป็นการรักษาในช่วงอาการกำเริบ เป้าหมายของการรักษาในระยะนี้ คือ การควบคุมอาการให้สงบลงโดยเร็ว ยามีส่วนสำคัญมาก จะทำให้อาการของผู้ป่วยสงบลงโดยเร็ว โดยกลางคืนนอนหลับได้ อารมณ์หงุดหงิดหรือพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง อาการกระสับกระส่าย หรือวุ่นวายก็จะดีขึ้น
ระยะให้ยาต่อเนื่อง
หลังจากที่อาการสงบลงแล้ว ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องอยู่อีก ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้กลับมามีอาการกำเริบขึ้นมาอีก ยิ่งผู้ป่วยที่ดูแล้วมีแนวโน้มที่อาการจะกำเริบหรือหายยาก การกินยายิ่งเป็นสิ่งสำคัญ ขนาดของยาที่ใช้ในระยะนี้จะต่ำกว่าในระยะแรก ไม่มีการกำหนดขนาดแน่นอนว่าควรให้ยาขนาดเท่าไร แพทย์จะปรับขนาดยาในผู้ป่วยเป็นรายๆไป โดยดูว่าอาการของโรคเป็นมากน้อยเพียงใด มีอาการข้างเคียงจากยาหรือไม่และผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้อีกมากน้อยเพียงใด
การรักษาด้วยไฟฟ้า
เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณศีรษะของผู้ป่วยในปริมาณน้อยๆ เพื่อทำให้เกิดการชักเหมือนกับในโรคลมชัก
การดูแลรักษาด้านจิตใจและสังคม
การช่วยเหลือด้านจิตใจ
ให้คำแนะนำแก่ครอบครัว
กลุ่มบำบัด
นิเวศน์บำบัด
โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder)
สาเหตุ
ยังไม่เป็นที่ทราบชัด ผู้ป่วยโรคนี้หลายรายใช้ชีวิตที่ค่อนข้างแยกตัวเองออกจากสังคมและประสบความ สำเร็จในชีวิตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ผู้ป่วยบางรายเป็นคนอ่อนไหวง่ายหรือเป็นคนขี้ระแวงสงสัยอยู่ก่อนแล้ว
โรคทางกายบางอย่าง
อาการ
อาการหลงผิดซึ่งอาจเป็นเรื่องเดียวหรือหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
ชนิดของโรคจิตหลงผิด
Erotomanic type หลงผิดว่าบุคคลอื่นหลงรักตนหรือเป็นคู่รักของตน ส่วนใหญ่มักเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และมีฐานะทางสังคมสูงกว่า
Grandiose type หลงผิดว่ามีความสามารถเกินความเป็นจริง มีคุณค่า มีอำนาจ มีความรู้สูง มีทรัพย์สินเงินทองมาก
Jealous type หลงผิดว่าคู่ของตนนอกใจ
Pdrsecutory type หลงผิดว่าถูกปองร้าย ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดถูกปองร้าย ถูกติดตาม ถูกหมายเอาชีวิตหรือถูกใส่ร้ายในทางใดทางหนึ่ง
Somatic type หลงผิดว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น มะเร็ง
การรักษา
การบำบัดจิต
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการและรับมือกับความเครียดเกี่ยวกับความหลงผิดได้
โดยปกติแล้วการบำบัดจิตควรทำควบคู่ไปพร้อมกับการรักษาด้วยยาเพื่อผลลัพธ์ที่ดี
รักษาด้วยยา
ยาระงับประสาทช่วยลดอาการหลงผิด และช่วยลดอาการทางจิตเวชต่างๆ
จากข้อมูลคิดว่าผู้ป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia)
การดูแลผู้ป่วยจิตเภท
1.พยาบาลต้องประเมินอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยว่าเกี่ยวข้องกับระบบรับสัมผัสใด ผู้ป่วยแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อการรับรู้นั้นๆ และอาการประสาทหลอนเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเพื่อให้การพยาบาลที่ถูกต้อง
ถ้าพยาบาลพบผู้ป่วยที่กำลังแสดงอาการประสาทหลอน พยาบาลควรบอกสิ่งที่เป็นจริงกับผู้ป่วยในขณะนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้ความจริงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
3.ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการหวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามมาจะทำร้าย อย่าพยายามอธิบายว่าไม่จริง จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่เข้าใจผู้ป่วย ควรรับฟังในสิ่งที่ผู้ป่วยพูด โดยไม่เสริมในอาการหลงผิดของผู้ป่วยและแสดงความเห็นอกเห็นใจในความกลัวของผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยสงบลงได้
4.พยาบาลต้องแสดงการยอมรับอาการประสาทหลอน
ของผู้ป่วย ซึ่งทำได้โดยการรับฟังและไม่โต้แย้ง
5.หลีกเลี่ยงการเข้าไปจับต้องตัวผู้ป่วยก่อนผู้ป่วยจะรู้ตัว
เพราะผู้ป้วยมีแนวโน้มจะตีความหรือรับรู้ผิด
6.จัดหากิจกรรมให้ผู้ปวยทำโดยเฉพาะในเวลากลางวันเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยคิดมาก ฟุ้งชำน แต่ก็ไม่ต้องถึงกับบังคับมากเกินไป
7.ให้ผู้ป่วยแยกแยะว่อาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นนั้นเขารู้สึกอย่างไรอาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดหรือมีเหตุการณ์ อะไรนำมาก่อนเพราะผู้ป่วยจะได้รู้จักป้องกันตนเองไม่ให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น
การทำจิตบำบัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและปัญหาของตนเองมากขึ้นและเรียนรู้ที่จะแยกแยะสิ่งที่เป็นจริงและสิ่งที่ไม่ใช่ความจริง
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551
ใจความสำคัญ
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ มีสาระสำคัญคือ การนำบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาให้ได้รับการบำบัดรักษา ภาวะอันตรายที่กล่าวถึงคือ อันตรายที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางจิต ที่แสดงออกมาทางพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดหลงผิดหรือพฤติกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยทางจิตมีพฤติกรรมอาละวาด ทำร้ายคนรอบข้าง ผู้ที่พบเห็นสามารถแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้ดำเนินการพาบุคคลนั้นไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานบำบัด เพื่อให้บุคคลผู้นั้นได้เข้ารับการรักษาอาการทางจิต หรือพฤติกรรมผิดปกตินั้นในโรงพยาบาล แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ยินยอมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ตาม กล่าวโดยสรุปคือ พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ เน้นการบังคับรักษาผู้ป่วยทางจิต แม้ผู้ป่วยจะไม่ยินยอม ถือเป็นการให้ความคุ้มครองเจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่เอาตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยไม่ถือว่าเป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวแต่อย่างใด
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยทางจิตเวชหรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาจะได้รับจากพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.๒๕๕๑ นี้ คือ ผู้ป่วยทางจิตเวชหรือผู้บกพร่องฯ ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา จะได้รับการบำบัดรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันหรือบรรเทามิให้ความผิดปกติทางจิตมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อป้องกันการกระทำที่เกิดจากอาการทางจิตที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง เช่นการทำร้ายตนเอง หรือการฆ่าตัวตาย
บทบาทพยาบาลตามพรบ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551
พยาบาลดูแลผู้ป่วยที่ส่งรักษาตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ในระยะก่อนประชุมคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา ระยะหลังการประชุมคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา ซึ่งอยู่ในระยะบำบัดรักษา โดยพยาบาลให้การบำบัดรักษาอาการ กรณีการบำบัดรักษาต้องการลงนามยินยอม เช่น รักษาด้วยไฟฟ้า พยาบาลจะนำเอกสารและรายงานเข้าประชุมคณะกรรมการสถานบำบัดรักษาลงความเห็นและระยะวางแผนและเตรียมการจำหน่ายจัดกลุ่มเตรียมจำหน่าย ฟื้นฟูสมรรถภาพ การงานอาชีพ และ
ประสานทีมเพื่อจัดหาสถานที่รองรับผู้ป่วยต่อไป เช่น สถานสงเคราะห์
ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงาน
เจอ
เมื่อพบบุคคลที่มีความผิดปกติตามาตรา 22
แจ้ง
แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ตรวจ
สถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาต้องประเมินอาการและวินิจฉัยเบื้องต้นภายใน 48 ชั่วโมง
ส่ง
ส่งรักษาในสถานบำบัด
นางสาวณัฐชยา ฮ้อเจริญทรัพย์ เลขที่ 22 ห้อง A รหัสนักศึกษา 613601023