Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนต์สัั้น เรื่อง A beautiful mind - Coggle Diagram
ภาพยนต์สัั้น
เรื่อง A beautiful mind
ประวัติทั่วไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยชื่อ นายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์(Mr. John F0rbes Nash, Jr.)
ผู้ป่วยอายุ 24 ปี
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
ประวัติครอบครัว
มีภรรยาชื่อ อลิเซีย และมีลูกด้วยกัน 1 คน
และมีน้องสาว 1 คน
ความสัมพันธภาพในครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นคนชอบเก็บตัว
ผู้ป่วยมีความคิดหมกหมุ่น เกือบจะทำร้ายภรรยาและลูกของตัวเอง
ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกไม่อยากมีเพศสัมพันธกับภรรยา
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่แปลกๆ
สาเหตุ
ด้านครอบครัว
ครอบครัวตำหนิ
สภาพครอบครัวไม่เหมาะสมในการแก้ไขให้ดีขึ้น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมรอบข้างที่มีแต่คนเก่ง
เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิท
ไม่มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
อยากเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น
ด้านจิตใจ
ความเครียด (ความขัดแย้งภายในจิตใจ)
ความสามารถในการปรับตัว
โดนเพื่อนแกล้งเป็นประจำ (ประสบการณ์ในอดีต)
ปัญหา
พื้นฐานอารมณ์
เป็นคนใจเย็น ไม่ชอบยุ่งกับใคร
การมีคนสะกดรอยตามทำให้กลัวและกังวลอย่างมาก
การเคลื่อนไหว
เดินหลังค่อม
มองซ้าย ขวา ตลอดเวลา
กระสับกระส่าย เดินไปเดินมา
พยายามโต้ตอบกับใครบางคน
เฉยเมย ไร้ความรู้สึก
การตัดสินใจ
มีท่าทีหวาดระแวงเกือบตลอดเวลา
คิดช้า
ระดับความรู้สึกตัว
รู้สึกตัวดี
มีเหม่อลอยบ้างเล็กน้อย
แสดงอารมณ์
วิตกกังวลและกลัวเนื่องจากมีคนสะกดรอยตาม
มีท่าทีหวาดกลัวเมื่อพบจิตแพทย์
การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง
ไม่ชอบยุ่งกับใคร และคิดว่าคนอื่นก็ไม่ชอบตนเอง
คิดว่าตนเองมีความสำคัญกับประเทศชาติ
คิดว่ามีรหัสฝังอยู่ที่แขนตนเองจึงทำร้ายตัวเอง
การพูด
ถามตอบรู้เรื่องมีตะกุกตะกักบางครั้ง
พอพูดเรื่องสายลับและการถูกสะกดลอยพูดรัว เร็ว
การคิด
คิดว่าตนเองถูกปองร้าย
มีความเชื่อที่ผิด คิดว่าตนเองเป็นสายลับกระทรวงกลาโหม
โรคที่คาดว่าจะเป็น
โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder)
ความเข้าใจผิดในบางเรื่องเป็นเวลามากกว่า 1เดือน ความเข้าใจผิดนี้เป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง
มีอาการประสาทหลอนด้านการได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น หรือรู้สึกถึงบางอย่างไม่มีอยู่จริง
โรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder)
หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีคนมากๆ
มีมนุษย์สัมพันธ์ตา ไม่มีเพื่อนเพราะไม่ชอบการพูดคุย
ผู้ป่วยจะไม่สบตากับใคร ขณะที่พูดคุยกันมักจะหลยตา
โรคเครียด (Stress Disorder)
ผู้ป่วยรู้สึกกดดันอยู่เสมอ รวมมทั้งตื่นตัวได้ง่ายกว่าปกติ
ผู้ป่วยจะนอนหลับยาก โมโหหรือก้าวร้าว ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
ผู้ป่วยจะฝันร้าย หรือนึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรงไม่ดีที่เคยเกิดขึ้นซ้ำๆอยุ่เสมอ
ผู้ป่วยจะหลงลืม มึนงง ไม่มีสติหรือไม่รับรู้การมีอยู่ของตัวเอง หรือรู่้สึกว่าเวลาเดินช้าลง
คิดว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นโรคใด
**โรคจิตเภท (Schizophrenia)
มีอาการหลายอย่าง อย่างที่หนึ่งที่เป็นกันมาก คือ การเห็นภาพหลอน
รวมทั้งการคิดเอาเองว่ามีคนตามฆ่าตามทำร้าย
เห็นอะไร เห็นใครก็ระแวงไปหมด (paranoid)
คนที่มีปัญหาทางจิตแบบนี้ จึงมักเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่คบหาสมาคมกับใคร อยู่ในโลกของตัวเองที่เชื่อว่าเป็นจริง
อาการ
อาการด้านบวก
ประสาทหลอน
ผู้ป่วยอาจมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้สึก หรือรับรสที่ไม่มีอยู่จริง แต่มักเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่จริงซึ่งเกิดจากความคิดของผู้ป่วยเอง
ผู้ป่วยบางรายอาจได้ยินผู้อื่นส่งเสียงพากย์สิ่งที่ตนเองกำลังกระทำอยู่ คิดว่าเสียงนั้นคุยกับตนเอง หรือได้ยินว่าเสียงนั้นกำลังพูดสิ่งที่ตนเองคิด โดยสิ่งที่ได้ยินมักเป็นคำหยาบ คำพูดที่รุนแรงหรือไม่รื่นหู กระทั่งคำสั่งที่ให้ทำตาม ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจตอบโต้กับเสียงที่ได้ยินด้วย จึงทำให้คนอื่นมองเห็นว่ากำลังพูดคนเดียว
หลงผิด
ผู้ป่วยอาจเชื่อในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่มีอยู่จริง
เชื่อว่ามีคนดังมาหลงรัก เชื่อว่ามีคนวางแผนฆ่าหรือวางแผนปองร้าย หรืออาจเชื่อว่ากำลังจะมีภัยพิบัติเกิดขึ้น
เกิดความผิดปกติทางความคิด
ผู้ป่วยอาจมีกระบวนการคิดหรือการประมวลข้อมูลที่ผิดไปจากปกติหรือไม่เป็นเหตุเป็นผล
คิดอีกเรื่องหนึ่งแล้วไปคิดอีกเรื่องหนึ่งโดยที่ทั้งสองเรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องกัน
มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว
ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างตื่นกลัวหรือทำท่าทางแปลก ๆ ออกมา
อาการด้านลบ
พูดน้อยลง และอาจพูดด้วยเสียงโทนเดียว
แสดงออกทางสีหน้าและอารมณ์น้อยลง
เคลื่อนไหวน้อยและไม่ค่อยทำอะไร
ปลีกตัวออกจากสังคม
ไม่มีอารมณ์ร่วม หรืออาจมีการแสดงออกทางอารมณ์แบบแปลก ๆ เช่น หัวเราะในสถานการณ์ที่ควรรู้สึกเศร้า
มีปัญหาในการบรรลุเป้าหมายหรือแผนที่วางไว้
มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน
อาการด้านการรับรู้
เป็นอาการที่อาจส่งผลต่อกระบวนการคิดและความทรงจำของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการจดจ่อ การทำความเข้าใจข้อมูล การตัดสินใจ ความจำ และการจัดการสิ่งต่าง ๆ
ส่งผลต่อการพูด การคิด การรับรู้ ความรู้สึก และการแสดงออกของผู้ป่วย
สาเหตุ
-ความผิดปกติภายในสมอง และปริมาณสารเคมีในสมองบางชนิดผิดปกติ
-ภาวะขาดออกซิเจนในช่วงแรกเกิด ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่สมอง
-อาการอักเสบ หรือเป็นโรคภูมิต้านตนเอง
-ความเครียด อาจเกิดจากปัญหาด้านการเงิน ปัญหาความสัมพันธ์ การปลีกตัวจากสังคม การสูญเสียคนรักไป หรือปัญหาอื่น ๆ
-ผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี และผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี อาจมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
การรักษาจิตเภท
1.การรักษาในโรงพยาบาล
-ได้รับยาที่เหมาะสม
-การรักษาด้วยไฟฟ้า Electroconvulsive Therapy (ECT)
-ผู้ป่วยมีอาการหวาดระแวง และหลงผิด อาจส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง จึงต้องได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด
2.การดูแลจากคนในครอบครัว
-ดูแลให้ได้รับยาสม่ำเสมอ พร้อมมีคนดูแลผู้ป่วยขณะกินยา
-ความเข้าใจของคนในครอบครัว
-ครอบครัวควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก และให้กำลังใจผู้ป่วย
ประเด็นที่สงสัย
-ผลกระทบอะไรบ้างที่เกิดกับผู้ป่วยรายนี
-การเลี้ยงดูของครอบครัวเป็นอย่างไร
-ทำไมถึงเก็บตัวอยู่คนเดียวและคิดว่าเพื่อนไม่ชอบเกิดจากอะไร
-พัฒนาการในวัยเด็กส่งผลกระทบหรือไม่
-ความคิดหลงผิดกับภาพหลอนต่างกันอย่างไร
-ทำไมผู้ป่วยไม่กินยาอย่างต่อเนื่อง
-ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา ควรได้รับยาชนิดใด
-ครอบครวัจะมีส่วนช่วยในการรักษาผู้ป่วยอย่างไรบ้าง
พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551
การนำบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาให้ได้รับการบำบัดรักษา
ภาวะอันตรายที่กล่าวถึงคือ อันตรายที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางจิต ที่แสดงออกมาทางพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดหลงผิดหรือพฤติกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น
เช่น เมื่อมีผู้ป่วยทางจิตมีพฤติกรรมอาละวาด ทำร้ายคนรอบข้าง ผู้ที่พบเห็นสามารถแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้ดำเนินการพาบุคคลนั้นไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานบำบัด เพื่อให้บุคคลผู้นั้นได้เข้ารับการรักษาอาการทางจิต หรือพฤติกรรมผิดปกตินั้นในโรงพยาบาล แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ยินยอมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ตาม
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ เน้นการบังคับรักษาผู้ป่วยทางจิต แม้ผู้ป่วยจะไม่ยินยอม ถือเป็นการให้ความคุ้มครองเจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่เอาตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยไม่ถือว่าเป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวแต่อย่างใด