Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพยนตร์สั้น เรื่องA beautiful mind, image - Coggle Diagram
ภาพยนตร์สั้น เรื่องA beautiful mind
ประวัติทั่วไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยชื่อนายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์(Mr.John Forbes Nash, Jr.)
อายุ24ปี
เชื่อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
ประวัติครอบครัว
ภรรยา ชื่ออลิเซีย มีบุตรร่วมกัน1คน
มีน้องสาว1คน
บิดา ทำอาชีพวิศวกร มารดาทำอาชีพเป็นครูสอนภาษา
ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว
ผู้ป่วยไม่ชอบเล่าเรื่องส่วนตัวให้ครอบครัวฟัง
ผู้ป่วยมีความคิดหมกมุ่นกับตัวเลขจนเกือบทำร้ายภรรยาและลูก
ผู้ป่วยรู้สึกไม่อยากมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแปลกๆ
สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม
สารสื่อประสาทในสมอง
ด้านครอบครัว
ฐานะของครอบครัว
การถูกกดดันจากครอบครัว
ครอบครัวตำหนิ
สภาพครอบครัวไม่เหมาะสมในการแก้ไขให้ดีขึ้น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมรอบตัว
หมกมุ่นอยู่ในห้องทำงานลับที่มีเอกสารเยอะๆ ปิดทึบ ในที่ลับตาคน
เป็นคนเก็บตัวไม่มีเพื่อนสนิท
ไม่มีสัมพันธภาพร่วมกับผู้อื่น
ด้านจิตใจ
ความขัดแย้งภายในจิตใจ
ความเครียด
ความวิตกกังวล
ความสามารถในการปรับตัว
มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นตั้งแต่วัยเด็ก
ประสบการณ์ในอดีต
ถูกเพื่อนแกล้งเป็นประจำ
อาการและอาการแสดง
หวาดระแวง
คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย
มีคนสะกดรอยตาม
พูดรัวและเร็วเมื่อพูดถึงการสะกดรอยตาม
ประสาทหลอน
หูแว่ว ได้ยินเสียงคนสั่งให้ทำตาม
คิดว่ามีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา
ผู้ป่วยบอกว่ามีเพื่อนสนิทชื่อนายชาร์ลส์และหลานสาวที่เป็นเพื่อนสนิทตอนเรียนปริญญาเอกแต่ไม่มีใครเคยพบเห็นบุคคลนั้น
คิดว่ามีคนจะมาทำร้าย
ผู้ป่วยเชื่อว่ากำลังถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับรัสเซีย
ควบคุมตนเองไม่ได้
ทำร้ายร่างกายตนเอง
ทำร้ายบุคคลในครอบครัว
ไม่ชอบเข้าสังคม
ชอบเก็บตัว
ไม่มีเพื่อนสนิท
ทำอะไรด้วยตนเองโดยไม่พึ่งพาผู้อื่น
ด้านพฤติกรรม
เดินหลังค่อม
มองซ้าย ขวา ตลอดเวลา
กระสับกระส่าย เดินไปเดินมา
พยายามโต้ตอบกับใครบางคน
เฉยเมย ไร้ความรู้สึก
พูดตะกุกตะกัก หรือรัวและเร็ว
นั่งกุมมือ บีบมือตัวเองตลอดเวลา
นั่งก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่
แววตาหวาดระแวง
เหม่อลอย
พัฒนาการตามช่วงวัย
วัยเด็ก
ชอบเก็บตัว
ไม่มีเพื่อนสนิทมักมีปัญหาในการปรับตัวร่วมกับผู้อื่น
เป็นเด็กเรียนเก่ง
ไม่ชอบกิจกรรมนันทนาการแต่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และทำการทดลองด้วยตนเองตั้งแต่อายุ12ปี
วัยรุ่น
หันมาสนใจด้านคณิตศาสตรืและมุ่งมั่นในการเรียน
มีบุคลิกแตกต่างจากผู้อื่นชัดเจน
เรียนจบปริญญาเอก
โดดเด่นด้านการเรียนอยู่ในระดับอัจฉริยะ
มีความคิดว่านักคณิตศาสตร์มีความสำคัญต่ออนาคตของอเมริกา
พบเห็นนายชาลร์ลที่เข้ามาเป็นรูมเมทคอยให้กำลังใจและพูดคุยกันทุกเรื่อง
เรียนจบปริญญาโทด้านคณิตศาสตร์ด้วยอายุ20ปี
เริ่มทำงาน
คิดว่าตนเองทำงานเป็นสายลับรวมถึงยังคงทำงานให้กับแลปด้วย
เริ่มมีความคิดหมกมุ่นและพฤติกรรมแปลกๆมากขึ้น
นอกจากนายชาร์ลแล้วยังพบเห็นหลานสาวของนายชาร์ลด้วย
เริ่มสร้างห้องทำงานลับที่ใช้ทำงานสายลับไว้ถอดรหัสจากนิตยสารต่างๆ
แต่งงานกับนางอลิเซีย
การคาดการณ์โรคที่เกี่ยวข้อง
โรคจิตเภท(Schyzophrenia)
ลักษณะอาการทางคลินิก
ทางบวก
อาการหลงผิด(Delusion) หมายถึง ความเชื่อใดๆ ที่ไม่สามารถสั่นคลอนได้ แม้ว่าจะมีหลักฐานอย่างชัดเจนที่คัดค้านความเชื่อนั้นๆ
ในเคส ผู้ป่วยมักพูดว่ามีคนจะมาทำร้ายตนเอง มีคนสะกดรอยตาม
ผู้ป่วยคิดว่าตยเองเป็นสายลับคอยถอดรหัสให้กับอเมริกาและเป็นคนสำคัญของอเมริกา
หลงผิดว่าในแขนของตนเองมีรหัสฝังไว้จึงทำร้ายตนเองตอนอยู่ในโรงพยาบาล
อาการประสาทหลอน(Hullucination) หมายถึง มีการรับรู้ทางระบบประสาทใดๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งเร้า(External Stimuli) เช่นได้ยินเสียงคนมาพูดด้วยทั้งๆ ที่ไม่มีใครพูดด้วย (หูแว่ว) มองเห็นวิญญาณ (เห็นภาพหลอน)
ผู้ป่วยพบเห็นนายชาร์ลมาปรากฎตัวพร้อมกับหลานสาวโดยที่ไม่เคยมีใครเคยพบเห็นหรือรู้จักบุคคลนั้นๆ
มีอาการหูแว่วมีคนสั่งให้ทำโน่นทำนี่
เห็นภาพหลอนว่ามีกลุ่มคนที่เขากล่าวว่าเป็นพวกสายลับรัสเซียจะมาทำร้ายและคอยสะกดรอยตาม
ผู้ป่วยพูดคุยโต้ตอบอยู่เพียงคนเดียว
กระบวนความคิดและภาษายุ่งเหยิงไม่เป็นระบบ(Disorganized thinking)
เชื่อว่าตนเองทำงานเป็นสายลับให้กับกระทรวงกลาโหมถูกเรียกตัวไปทำหน้าที่ลับๆ และกำลังถูกปองร้ายจากคนที่เป็นสายลับรัสเซีย
รับรู้ว่าตนเองมีพฤติกรรมแปลกไปเพราะว่าต้องรักษาความลับทางทหารเพื่อความมั่นคงของชาติและที่ตนเองวิ่งหนีออกมาจากที่ทำงานเพราะมีคนสะกดรอยตาม ไม่ยอมรับว่าตนเองป่วย
เมื่อพูดถึงการเป็นสายลับจะพูดเร็วและรัว
พฤติกรรมการเคลื่นอไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ(Grossly disorganized or abnormal motor behavior)
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแปลกๆมากขึ้นตั้งแต่เริ่มเรียนปริญญาเอก เช่น ชอบเก็บตัว สร้างห้องทำงานลับและถอดรหัสตัวเลข
มีท่าทีหวาดระแวงตลอดเวลา นั่งก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่ มองซ้าย ขวา
ทางลบ
ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม การงานหรือกิจกรรมทางสังคม
ผู้ป่วยไม่ชอบยุ่งกับใคร ไม่ชอบกิจกรรมนันทนาการ
ขาดความกระตือรือร้น เฉยชำ เก็บตัว
ผู้ป่วยชอบเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิท
อารมณ์เฉยเมย สีหน้าเรียบเฉย
ขณะซักประวัติผู้ป่วยสีหน้า เรียบเฉย
ความหมาย
คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น โรคนี้พบได้ ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร
การรักษา
การรักษาด้วยยา
Thorazine 30 mg IM q 6 hrs
การรักษาโดยการฉีด ให้ฉีด IM deep ห้ามฉีด subcutaneous
มีฤทธิ์ยับยั้ง Dopamine D2 receptor น้อย ทำให้เกิดผล การรักษาโรค จิตต่ำ
ใช้รักษาและควบคุมอาการโรคจิตชนิดคุ้มคลั่ง และโรคจิตเภท (mania and schizophrenia
Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn
ระงับอาการวิตกกังวล (Anxiolytic) ช่วยให้นอนหลับได้ดี (Sedative) ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว (Muscle relaxant) ระงับอาการชัก (Anticonvulsant)
กลไกการออกฤทธิ์: กระตุ้น GABA receptor
การช็อตไฟฟ้า
ECT 1 course (5 times per week/ 10 weeks)
เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณศีรษะของผู้ป่วยในปริมาณน้อยๆ เพื่อทำให้เกิดการชักเหมือนกับในโรคลมชัก กระแสไฟที่ใช้มีขนาดต่ำมาก ไม่มีอันตรายต่อสมองอย่างแน่นอน ปัจจุบันวิธีการทำก้าวหน้าขึ้นมาก การชักที่เกิดขึ้นนั้นอาจเห็นเพียงปลายแขนขยับเล็กน้อย เนื่องจากก่อนการทำแพทย์จะทำให้ผู้ป่วยหมดสติและกล้ามเนื้อคลายตัวทั้งหมด ซึ่งเป็นกระบวนการเหมือนกับที่ใช้ในการผ่าตัดทั่วๆ ไป แต่ระยะเวลาสั้นกว่ามาก โดยใช้เวลาทั้งหมดประมาณไม่ถึง 5 นาที การรักษาจะทำวันเว้นวัน เช่น วันจันทร์-พุธ-ศุกร์ ทำทั้งหมดประมาณ 10-12 ครั้ง อาจมากน้อยกว่านี้ก็ได้ตามแต่ที่แพทย์เห็นว่าผู้ป่วยอาการเป็นอย่างไร
การรักษาด้านจิตสังคม(psychosocial treatments)
1) การช่วยเหลือด้านจิตใจ
2) การให้คำแนะนำแก่ครอบครัว ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล ให้กำลังใจ พยายามอย่าใช้อารมณ์เพราะจะทำให้เป็นการกดดันผู้ป่วย
3) กลุ่มบำบัด เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้ป่วยขณะที่ผู้ป่วยอยู้ในโรงพยาบาล โดยส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกว่ามีเพื่อน มีคนเข้าใจ ไม่โดดเดี่ยว
4) นิเวศน์บำบัด เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลเพื่อช่วยส่งเสริมขบวนการรักษา
การวินิจฉัย
ก. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป นาน 1 เดือน
อาการหลงผิด
อาการประสาทหลอน
พูดจาสับสนมาก มักเปลี่ยนเรื่องจนฟังไม่เข้าใจ
พฤติกรรมเรื่อยเปื่อย วุ่นวาย หรือมีท่าทางแปลกๆ
อาการด้านลบ ได้แก่ อารมณ์เฉยเมย ไม่ค่อยพูด หรือเฉื่อยชา
ข. กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน การคบหาพูดคุยกับผู้อื่นแย่ลงมาก หรือไม่สนใจดูแลสุขอนามัยของตนเองอย่างมาก
ค. มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมีระยะอาการกำเริบ (ตามข้อ ก) นานอย่างน้อย 1 เดือน และระยะที่เหลืออาจเป็นระยะเริ่มมีอาการ หรือระยะอาการหลงเหลือ
ผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า2ปีหลังจบปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์เขาถูกเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมเรียกตัวให้เขาไปช่วยงานถอดรหัสทางการทหาร เขาทำงานเป็นสายลับแบบลับๆมาโดยตลอดจนกระทั่งพบว่ามีคนสะกดรอยตามและพยายามทำร้ายเขาตลอดแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการตามข้อ ก. เป็นระยะเวลา2ปี รวมถึงพฤติกรรมแปลกๆที่แสดงออกมาจากการซักประวัติว่าเป็นคนชอบเก็บตัว มีห้องทำงานลับ
สาเหตุ
กรรมพันธุ์
ยิ่งมีความใกล้ชิดทางสายเลือดมากยิ่งมีโอกาสสูง
ผู้ป่วยมีน้องสาว1คน
ระบบสารเคมีในสมอง
ชื่อว่าโดปามีน (dopamine) ในบางบริเวณของสมอง มีการทำงานมากเกินไป และพบว่าการที่ยารักษาโรคจิตรักษาโรคนี้ได้เป็นจากการที่ยาไปออกฤทธิ์ยับยั้งการออกฤทธิ์ของสารโดปามีน
ความผิดปกติในส่วนอื่นๆ ของสมอง
ช่องในสมอง (ventricle) โตกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอาการด้านลบเป็นอาการเด่น
ครอบครัวชอบตำหนิติเตียนผู้ป่วย มีท่าทีไม่เป็นมิตร หรือเข้าไปจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากเกินไป
พระราชบัญญัติสุขภาพจิตและจิตเวช พ.ศ.2551
มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่ ๑) ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยอื่น ๒) เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน ๓) มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยบอกกับจิตแพทย์ว่ามีการวางแผนฆ่าภรรยาด้วยปืนที่เก็บซ่อนไว้ เนื่องจากความคิดหวาดระแวง หลงผิด ว่าภรรยาแอบคบหากับผู้ชายอื่น ในกรณีเช่นนี้ จิตแพทย์ควรแจ้งแก่ญาติ ภรรยา หรือทีมที่ทำการรักษาเพื่อทำการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม)
มาตรา ๑๗ การบำบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บำบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา ๑๘ : สาระสำคัญ
การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy, ECT) ให้กระทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องรับทราบถึงเหตุผลความจำเป็น ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน ประโยชน์ของการบำบัด แต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้าต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา ส่วนการให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต หรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
มาตรา ๒๓ ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต คือมีภาวะอันตรายหรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตำรวจโดยเร็ว
มาตรา ๒๔ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจได้รับแจ้ง หรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต ให้ดำเนินการนำตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาล เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยการนำตัวบุคคลดังกล่าวไปสถานพยาบาล จะไม่สามารถผูกมัดร่างกายของบุคลนั้นได้ เว้นแต่ความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อบุคคลนั้นเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น
มาตรา ๒๕ ผู้รับผิดชอบดูแลสถานคุมขัง สถานสงเคราะห์ พนักงานคุมประพฤติ ถ้าพบบุคคลที่อยู่ในความดูแลมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต ให้ส่งตัวบุคคลผู้นั้นไปสถานพยาบาลโดยเร็ว
มาตรา ๒๖ ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับแจ้งตามมาตรา ๒๓ หรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตซึ่งมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึง ให้มีอำนาจนำตัวบุคคลนั้นหรือเข้าไปในสถานที่ใดๆ เพื่อนำตัวบุคคลนั้นส่งสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาซึ่งอยู่ใกล้โดยไม่ชักช้า เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นตามาตรา ๒๗
มาตรา ๒๗ การตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น ต้องให้แล้วเสร็จ ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับตั้งแต่บุคคลนั้นมาถึงสถานพยาบาล และผู้ที่ทำการตรวจวินิจฉัยต้องบันทึกรายละเอียดในแบบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น (ตจ.๑)
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาจนอาการทุเลา ให้แจ้งญาติมารับกลับ ในกรณีที่ไม่มีผู้รับดูแล ให้แจ้งหน่วยงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ ไม่มีสิทธิ์จำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านเอง