Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury) - Coggle Diagram
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
การบาดเจ็บของกระดูก (Bone injuries)
กระดูกหักในทารกแรกเกิดที่มีสาเหตุมาจากคลอดพบได้ไม่มากในรายที่คลอดยากอาจมีการดึงหรือกดรุนแรงที่ผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้กระดูกของทารกหักได้ง่าย กระดูกที่หักมักจะเป็นกระดูกแขน ขา หรือกระดูกไหปลาร้า
กระดูกต้นแขนหัก กระดูกต้นแขนที่หักนั้นส่วนใหญ่จะหักที่ลำกระดูก
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น
อาการและอาการแสดง
ในรายที่มีกระดูกหักสมบูรณ์ (complete) อาจได้ยินเสียงกระดูกหัก
ขณะคลอด แขนข้างที่หักจะมีอาการบวมและทารกไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่หักเนื่องจากรู้สึกเจ็บ
แนวทางการรักษา
กระดูกแขนเดาะ จะรักษาโดยการตรึงแขนให้
แนบกับลำตัวเพื่อไม่ให้แขนเคลื่อนไหว 1-2 สัปดาห์
กระดูกแขนหักสมบูรณ์ จะรักษาโดยการจับ
แขนตรึงกับผนังทรวงอก ศอกงอ 90 องศา
กระดูกต้นขาหัก กระดูกต้นขาหักส่วนใหญ่มักจะหักที่ส่วนลำกระดูก
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น
อาการและอาการแสดง
อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทารกคลอด
อาจไม่ทราบว่ากระดูกหักจนเวลาผ่านไปหลายวันจะพบว่าขาทารกมีอาการบวม
เมื่อจับทารกเคลื่อนไหวหรือถูกบริเวณที่กระดูกต้นขาหักทารกจะร้องไห้เพราะรู้สึกเจ็บ
แนวทางการรักษา
ถ้ากระดูกไม่หักแยกจากกัน (incomplete) รักษาโดยการใส่เฝือกขายาวประมาณ 3 -4สัปดาห์
ถ้ากระดูกหักแยกจากกัน (complete) รักษาโดยการห้อยขาทั้งสองข้างไว้กับราวที่ขวางปลายเตียง ขาเหยียดตรง ให้ก้นและสะโพกลอยจากพื้นเตียง
กระดูกไหปลาร้าหัก กระดูกไหปลาร้าหัก มักพบตรงกลางของลำกระดูก
สาเหตุ
ตุการคลอดทารกท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
ทารกตัวโตหรือคลอดท่าก้นที่แขนเหยียด
อาการและอาการแสดง
ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหักน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
ทารกจะมีอาการหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อสัมผัสบริเวณที่กระดูกหัก
อาจพบว่ามีอาการบวมห้อเลือด (ecchymosis) ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ปมประสาทใต้ไหปลาร้า (brachial plexus) ของทารกอาจได้รับอันตราย
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่หายได้เองค่อนข้างเร็ว มักเกิดกระดูกงอกใหม่ภายใน 1 สัปดาห์
ความหมาย
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury) หมายถึง การบาดเจ็บที่เกิดกับทารกระหว่างคลอดจากแรงที่กระทำกับทารกโดยตรง และไม่เกี่ยวกับโรคที่มารดาเป็นระหว่างการตั้งครรภ์
สาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา
ความผิดปกติที่มีมาก่อนการตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์
ระยะเวลาของการคลอด
ปัจจัยเสี่ยงจากทารก
ทารกมีส่วนนำผิดปกติ
ทารกมีขนาดตัวโตมากทำให้เกิดการคลอดยาก
อายุครรภ์ของทารกไม่ครบกำหนด หรือเกินกำหนด
การคลอดไหล่ยาก
ทารกมีความพิการแต่กำเนิด
ปัจจัยเสี่ยงจากการคลอด
การคลอดด้วยคีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศ
การใช้แรงดึงมากเกินไปในการช่วยคลอดทารก
ปัจจัยเสี่ยงจากผู้ทำคลอด
การบาดเจ็บที่ศีรษะทารก (Skull injuries)
ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ
ความหมาย ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ (caput succedaneum) เกิดจากการคั่งของของเหลวในระหว่างชั้นของหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
การวินิจฉัย
คลำศีรษะทารกจะพบก้อนบวมโน
มีลักษณะนุ่ม กดบุ๋ม ขอบเขตไม่ชัดเจน
แนวทางการรักษา
จะหายไปได้เองภายหลังคลอด
ประมาณ 2 -3 วันหลังคลอด
บทบาทการพยาบาล
. สังเกตลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
สังเกตอาการเปลี่่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นเพื่อคลายความวิตกกังวล
บันทึกอาการและการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารก
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
เป็นการคั่งของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตชัดเจน
การวินิจฉัย
จากการซักประวัติการเบ่งคลอดนานหรือการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ
จากการตรวจร่างกายทารกพบบริเวณศีรษะมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
ในรายที่เป็นรุนแรงอาจพบอาการแสดงทันทีหลังเกิดและพบว่า
ก้อนโนเลือดมีสีผิดปกติ คือ เป็นสีดำหรือน้ำเงินคล้ำ
อาการและอาการแสดง
อาการของภาวะก้อนโนเลือดที่ศีรษะ จะปรากฏให้เห็นชัดเจนหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว
แนวทางการรักษา
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก้อนโนเลือดจะค่อยๆหายไปเองได้ แต่อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยปกติจะค่อยๆหายเองภายใน 2 เดือน
บทบาทการพยาบาล
สังเกต ลักษณะ ขนาด และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมอง
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด
สังเกตอาการซีด การเจาะหาค่า Hc
ดูแลเกี่ยวกับการหาค่า microbilirubin ถ้ามีภาวะตัวเหลือง ให้การพยาบาลทารกที่ได้รับการส่องไฟตามแผนการรักษาของแพทย์
อธิบายมารดาและบิดาให้เข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นของทารกเพื่อลดความวิตกกังวล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองเนื่องจากมีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะที่เกิดจากการคลอด
ทารกมีโอกาสติดเชื้อที่บริเวณผิวหนังรอบๆบริเวณที่มีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
การบาดเจ็บที่ศีรษะทารก (Skull injuries) (ต่อ)
ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
ความหมาย ภาวะเลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ (intracranial hemorrhage) เป็นภาวะที่เลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ
การวินิจฉัย จากประวัติการคลอด
อาการและอาการแสดง
Reflex ลดน้อยลงหรือไม่มี โดยเฉพาะ moro reflex จะเสียไป
กำลังกล้ามเนื้อไม่ดี มีอาการอ่อนแรง
มีภาวะซีด หรือมีอาการเขียว (cyanosis)
ซึม ไม่ร้อง
ดูดนมไม่ดี หรือไม่ยอมดูดนม
ร้องเสียงแหลม
แนวทางการรักษา
ถ้ามีความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจได้รับการรักษาโดยเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบรรเทาอาการความดันในสมอง
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารกถ้าตัวเย็น
ดูแลให้ได้รับยาระงับการชัก และให้วิตามินเค
ดูแลให้ออกซิเจนถ้าทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำอย่างเพียงพอ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกเสี่ยงต่อภาวะชักเนื่องจากภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
ทารกเสี่ยงต่อภาวะตัวเหลืองเนื่องจากมีภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
การบาดเจ็บของเส้นประสาท
การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า (facial nerve injury)
สาเหตุ
การคลอดยาก
การใช้คีมช่วยคลอดทำให้กดเยื่อประสาทสมองคู่ที่ 7
อาการและอาการแสดง
มีอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า
ทารกจะลืมตาได้เพียงครึ่งเดียว ตาปิดไม่สนิท
ริมฝีปากล่างตก
ไม่มีรอยย่นที่หน้าฝาก
แนวทางการรักษา
ถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้าเพียงถูกกดอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน
ถึงสัปดาห์ แต่ถ้าเส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
การบาดเจ็บของเส้นประสาท Brachial
สาเหตุ
เกิดจากข่ายประสาท Brachial ถูกดึงหรือกด
จะพบในทารกที่คลอดโดยมีส่วนนำเป็นก้น
หรือคลอดยากบริเวณแขนหรือไหล่
อาการและอาการแสดง
มีอัมพาตของแขน
กล้ามเนื้อแขนข้างที่เป็นจะอ่อนแรง
แขนช่วงล่างหมุนเข้าด้านใน มือคว่ำ
ทารกไม่สามารถวางแขนเหยียดออกจากไหล่หรือหมุนแขนออกด้านนอกและหงายแขนส่วนล่างได้
แนวทางการรักษา
ให้แขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว
ทำกายภาพบำบัด
ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท